ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิอินคา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kuaytu (คุย | ส่วนร่วม)
สเปน
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
* [[ประวัติศาสตร์สเปน]]
* [[ประวัติศาสตร์สเปน]]
* [[จักรวรรดิแอซเท็ก]]
* [[จักรวรรดิแอซเท็ก]]
*[[จักรวรรดิอินคา|เจี๊ยวรักซ่า รังซิมันโต้]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:02, 6 สิงหาคม 2562

จักรวรรดิอินคา

Tawantinsuyu
ตาวันตินซูยู
ค.ศ. 1418ค.ศ. 1533
จักรวรรดิอินคาขณะมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุด
จักรวรรดิอินคาขณะมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุด
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงกุสโก
(ค.ศ. 1438-1533)
ภาษาทั่วไปภาษาเกชัว (ทางการ) , ภาษาไอย์มารา, ภาษาปูกีนา, ตระกูลคากี, ภาษาโมชีกา และภาษาชนกลุ่มน้อยอีกหลายสิบภาษา
ศาสนา
ศาสนาอินคา
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิแห่งอินคา 
ปาชากูตี
• ค.ศ. 1471-1493
ตูปัก ยูปังกี
• ค.ศ. 1493-1527
อวยนา กาปัก
• ค.ศ. 1527-1532
อวสการ์
• ค.ศ. 1532-1533
อาตาอวลปา
ยุคประวัติศาสตร์ก่อนโคลัมบัส
• ปาชากูตีสถาปนาจักรวรรดิ
ค.ศ. 1418
• สงครามระหว่างอวสการ์และอาตาอวลปา
ค.ศ. 1527-1532
• ถูกสเปนเข้ายึดครอง
ค.ศ. 1533
พื้นที่
ค.ศ. 1438[1]800,000 ตารางกิโลเมตร (310,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 15272,000,000 ตารางกิโลเมตร (770,000 ตารางไมล์)
ประชากร
12000000
20000000
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรกุสโก
เขตอุปราชแห่งเปรู

จักรวรรดิอินคา (อังกฤษ: Inca Empire; สเปน: Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส[2] จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี ค.ศ. 1438 ถึง 1533 อินคาขยายอาณาจักรโดยทั้งสันติวิธีและวิธีทางการทหาร จนสามารถปกครองดินแดนส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศเปรู ประเทศเอกวาดอร์ ตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศโบลิเวีย ตอนเหนือของประเทศชิลี และบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เจนตินา ชาวอินคาเชื่อว่ากษัตริย์ของตนเป็น "บุตรของพระอาทิตย์" ภาษาราชการคือภาษาเกชัว

ชื่อของจักรวรรดิอินคาในภาษาเกชัว คือ "ตาวันตินซูยู (Tawantinsuyo)" ซึ่งมีความหมายว่าภูมิภาคทั้งสี่[3] จักรวรรดิอินคาถูกแบ่งออกเป็นสี่เขต โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกุสโก ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางการปกครอง การเมืองและการทหาร

อารยธรรมอินคา

ชาวอินคาไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร แต่ชาวอินคามีการบันทึกโดยใช้การผูกเชือกหลากสีเป็นปมรูปแบบต่าง ๆ ที่เรียกว่ากีปู

สังคมอินคาเป็นสังคมที่มีการแบ่งวรรณะ โดยชาวอินคาที่มีวรรณะต่ำจะต้องมีหน้าที่ทำเกษตรกรรม และต้องนำผลิตผลที่ได้ไปถวายกษัตริย์อินคา

ชาวอินคาเลี้ยงยามา (llama) ซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลอูฐไว้เป็นสัตว์บรรทุกสัมภาระข้ามภูเขา

ชาวอินคาเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นผู้ให้กำเนิดเผ่าพันธุ์ของตน และยังนับถือ ดวงจันทร์ ดาว และโลกด้วย หรือแม้แต่ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ชาวอินคาก็เชื่อว่ามีเทพเจ้าประจำ

ประวัติศาสตร์

ราชอาณาจักรกุสโก

ชาวอินคาเริ่มอาศัยในบริเวณกุสโกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พวกเขาตั้งนครรัฐกุสโกภายใต้การนำของมันโก กาปัก ในปี 1438 พวกเขาเริ่มขยายดินแดน ตามคำสั่งของซาปา อินคา ปาชากูตี จนทำให้นครรัฐเล็ก ๆ มีอำนาจควบคุมบริเวณส่วนใหญ่ของเทือกเขาแอนดีส

การเปลี่ยนระบบเป็นจักรวรรดิตาวันตินซูยู

การขยายอาณาเขตของอินคา (1438–1527)

ปาชากูตีจัดระบบราชอาณาจักรกุสโกใหม่ให้กลายเป็นจักรวรรดิตาวันตินซูยู ซึ่งใช้ระบบสหพันธรัฐ โดยมีรัฐบาลกลางที่มีกษัตริย์เป็นประมุข และรัฐบาลท้องถิ่นสี่เขต ได้แก่ชินไชย์ซูยู (เขตเหนือ) อันตีซูยู (เขตตะวันออก) กุนตีซูยู (เขตตะวันตก) และกูยาซูยู (เขตใต้) สันนิษฐานกันว่าปาชากูตีเป็นผู้สร้างมาชูปิกชูขึ้นเป็นบ้านพักในหน้าร้อน

ปาชากูตีมักส่งสายสืบไปหาข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปกครอง อำนาจทางการทหารและความร่ำรวยของพื้นที่ที่พระองค์ต้องการจะขยายอาณาเขต แล้วจึงส่งสารอธิบายถึงประโยชน์ของการอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิไปยังหัวหน้าของดินแดนนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ตอบรับและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโดยสันติ บุตรของผู้นำจะถูกนำตัวเข้ามายังกุสโกเพื่อให้ศึกษาระบบบริหารของอินคาแล้วจึงส่งกลับดินแดนของตน ซึ่งระบบนี้ทำให้ดินแดนใหม่รับแนวคิดของอินคาเข้าไป

การขยายอาณาเขต

ตูปัก ยูปันกี พระราชโอรสของปาชากูตีเริ่มบุกขึ้นทางเหนือใน 1463 และขยายอำนาจต่อเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์หลังปาชากูตี ชัยชนะที่สำคัญที่สุดของพระองค์คือการเอาชนะราชอาณาจักรชีมอร์ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของอินคาในเขตชายฝั่งเปรู ในสมัยของตูปัก จักรวรรดิขยายไปทางเหนือถึงบริเวณที่ในปัจจุบันคือประเทศเอกวาดอร์และโคลอมเบีย อวยนา กาปักซึ่งเป็นพระราชโอรสของตูปักสามารถขยายดินแดนส่วนเล็ก ๆ บริเวณเอกวาดอร์และบางส่วนของเปรู

ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิตาวันตินซูยูครอบคลุมบริเวณเปรูและโบลิเวีย เกือบทั้งหมดของประเทศเอกวาดอร์ และดินแดนของชิลีจนถึงตอนเหนือของแม่น้ำเมาเล ซึ่งพวกอินคาโดนต่อต้านจากเผ่ามาปูเช นอกจากนี้ยังกินบริเวณไปถึงอาร์เจนตินาและโคลอมเบียอีกด้วย แต่เขตกูยาซูยูทางใต้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้

การเข้ายึดครองของสเปน

กลุ่มนักสำรวจดินแดนชาวสเปนนำโดย ฟรันซิสโก ปีซาร์โร ได้เดินทางจากปานามาเพื่อสำรวจดินแดนทางใต้และค้นพบจักรวรรดิอินคาในปี ค.ศ. 1526 พวกเขาเห็นโอกาสที่จะได้ค้นพบมหาสมบัติในดินแดนแห่งนี้ จึงกลับมาสำรวจอีกครั้งในปี ค.ศ. 1529 และเดินทางกลับไปสเปนเพื่อขอพระราชานุญาตและกำลังสนับสนุนเพื่อยึดครองดินแดนอินคา เมื่อพวกเขากลับมายังเปรูในปี ค.ศ. 1532 บ้านเมืองอินคากำลังวุ่นวายและอ่อนแอเนื่องจากสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างอวสการ์กับอาตาอวลปาเพิ่งจบลง และเกิดโรคฝีดาษที่แพร่ระบาดมาจากอเมริกากลาง นับเป็นโชคร้ายของชาวอินคาที่มีข้าศึกบุกมาในช่วงเวลานี้

ปีซาร์โรมีกำลังทหารเพียง 168 คน ปืนใหญ่ 1 กระบอก และม้า 27 ตัว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับชาวพื้นเมืองแล้ว นับว่าเขามีอาวุธและยุทธวิธีในการรบที่เหนือกว่ามาก กองทัพสเปนปะทะกับพวกอินคาที่เมืองกาคามาร์กา ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1532 และสามารถจับตัวอาตาอวลปาไว้เป็นตัวประกัน อาตาอวลปาเห็นว่าชาวสเปนสนใจทองคำและเงินมาก จึงเสนอค่าไถ่เป็นทองปริมาณมากพอที่จะเติมห้องขนาดกว้าง 4.8 เมตร ยาว 6.2 เมตร ให้สูงถึง 2.5 เมตร และเงินปริมาณสองเท่าของห้องนั้น แต่เมื่อชาวอินคาสามารถหาค่าไถ่มาได้ ปีซาร์โรกลับไม่ยอมปล่อยตัวประกันตามสัญญา ระหว่างที่อาตาอวลปาถูกกักขัง อวสการ์ถูกลอบสังหารโดยที่ชาวสเปนอ้างว่าเป็นคำสั่งของอาตาอวลปา และพวกสเปนก็ใช้เหตุนี้มาเป็นข้อกล่าวหาในการประหารอาตาอวลปาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1533

มาชูปิกชู เมืองที่เป็นหลักฐานอารยธรรมอินคา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. The Inca Empire. Created by Katrina Namnama & Kathleen DeGuzman
  2. Terence N. D'Altroy, The Incas, Blackwell Publishing, 2002, หน้า 2-3.
  3. ตาวันตินซูยู มาจากคำว่า "tawa" (สี่) เติมปัจจัย "-ntin" (ด้วยกันหรือรวมกัน) แล้วประสมกับคำว่า "suyu" (เขตแดนหรือแคว้น) ภูมิภาคทั้งสี่คือชินไชย์ซูยู (เขตเหนือ) อันตีซูยู (เขตตะวันออก แถบป่าดิบชื้นแอมะซอน) กุนตีซูยู (เขตตะวันตก) และกูยาซูยู (เขตใต้)

แหล่งข้อมูลอื่น