ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำเจ้าพระยา"

พิกัด: 13°32′25″N 100°35′23″E / 13.54028°N 100.58972°E / 13.54028; 100.58972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มอ้างอิงและข้อมูล
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎สัตว์น้ำหายากที่พบ: เพิ่มปลาหายาก
บรรทัด 647: บรรทัด 647:
== สัตว์น้ำหายากที่พบ ==
== สัตว์น้ำหายากที่พบ ==
*[[วาฬบรูด้า]]<ref>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000072947</ref>
*[[วาฬบรูด้า]]<ref>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000072947</ref>
*[[ปลาทรงเครื่อง]] มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (Labeo chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาว มีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อน ครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร และยังเป็นปลาน้ำจืดเฉพาะถิ่นของไทย และพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น<ref>https://www.amarintv.com/lifestyle-update/articles-1239/383822/</ref>


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:21, 5 สิงหาคม 2562

แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงกรุงเทพมหานคร
ประเทศ ประเทศไทย
จังหวัด นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
แม่น้ำสาขา
 - ซ้าย แม่น้ำป่าสัก
 - ขวา แม่น้ำสะแกกรัง
ต้นกำเนิด ไหลรวมจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน
 - ตำแหน่ง ปากน้ำโพ, อำเภอเมืองนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์
ปากแม่น้ำ ปากน้ำ
 - ตำแหน่ง อ่าวไทย, อำเภอเมืองสมุทรปราการ, จังหวัดสมุทรปราการ
 - ระดับ
ความยาว 372 km (231 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ 160,400 ตร.กม. (61,931 ตร.ไมล์)
การไหล for นครสวรรค์
 - เฉลี่ย 718 m3/s (25,356 cu ft/s)
 - สูงสุด 5,960 m3/s (210,475 cu ft/s)
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ[1] เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันบริเวณหน้าเขื่อนในตัวเมือง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม่น้ำน่าน จะมีสีค่อนข้างแดงและแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างไปทางเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่[2] ซึ่งถือได้ว่าจังหวัดนครสวรรค์เป็นเมืองต้นแม่น้ำ[3] จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน)[4] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท

การขุดลัดแม่น้ำ

แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด

การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย

  1. คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[5] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  2. คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  3. คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ล่าสุดมีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า

ลำน้ำสาขา

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

ต้นน้ำ

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย

ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม สัญจร ทัศนาจร และท่องเที่ยว ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำล้างภาชนะ ใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและวิถีชีวิต ใช้ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และ ทำประมง ใช้อุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า และระบายน้ำ ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

จังหวัดชัยนาท

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดปทุมธานี

จังหวัดนนทบุรี

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการ

ลำน้ำสาขาฝั่งขวา

ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม สัญจร ทัศนาจร และท่องเที่ยว ใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำล้างภาชนะ ใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและวิถีชีวิต ใช้ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และ ทำประมง ใช้อุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า และระบายน้ำ ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดปทุมธานี

จังหวัดนนทบุรี

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการ

ท่าน้ำ

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้[6]

สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ

จังหวัดชัยนาท

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดปทุมธานี

จังหวัดนนทบุรี

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการ

การนำน้ำผลิตน้ำประปา

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนเขตจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบโดยการประปานครหลวง โดยมีสถานีสูบน้ำดิบวัดสำแล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

สัตว์น้ำหายากที่พบ

  • วาฬบรูด้า[10]
  • ปลาทรงเครื่อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (Labeo chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาว มีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อน ครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร และยังเป็นปลาน้ำจืดเฉพาะถิ่นของไทย และพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • จารุภัทร วิมุตเศรษฐ์. สะพานข้ามเจ้าพระยา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°32′25″N 100°35′23″E / 13.54028°N 100.58972°E / 13.54028; 100.58972