ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักข่าวไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8431596 สร้างโดย 2001:44C8:4343:3E1A:D4C8:71DC:229E:EE60 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:TNA logo.svg|thumb|ตราสัญลักษณ์สำนักข่าวไทย เริ่มใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557]]
'''สำนักข่าวไทย''' ({{lang-en|Thai News Agency}} ชื่อย่อ : สขท.; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการ[[ข่าวสาร]] ของ[[บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ [[16 มิถุนายน|23]]กรกฎาคม​ [[พ.ศ. 2520|พ.ศ. 2562]]เป็น[[สำนักข่าว]]แห่งแรกของ[[ประเทศไทย]]
'''สำนักข่าวไทย''' ({{lang-en|Thai News Agency}} ชื่อย่อ : สขท.; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการ[[ข่าวสาร]] ของ[[บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ [[16 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2520]] ถือเป็น[[สำนักข่าว]]แห่งแรกของ[[ประเทศไทย]]


<nowiki> </nowiki>มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าว เพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทาง[[วิทยุกระจายเสียง]] [[วิทยุโทรทัศน์]] สื่อ[[อิเล็กทรอนิกส์]] และสื่ออื่นๆ เช่น [[อินเทอร์เน็ต]] สื่อทาง[[คอมพิวเตอร์]]ออนไลน์ และ[[โทรศัพท์เคลื่อนที่]] ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าว[[เชียงใหม่]] ศูนย์ข่าว[[ขอนแก่น]] ศูนย์ข่าว[[อำเภอหาดใหญ่|หาดใหญ่]] และศูนย์ข่าว[[ระยอง]]​ กรุงเทพ​ ให้ข่าวตามจริง
<nowiki> </nowiki>มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าว เพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทาง[[วิทยุกระจายเสียง]] [[วิทยุโทรทัศน์]] สื่อ[[อิเล็กทรอนิกส์]] และสื่ออื่นๆ เช่น [[อินเทอร์เน็ต]] สื่อทาง[[คอมพิวเตอร์]]ออนไลน์ และ[[โทรศัพท์เคลื่อนที่]] ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าว[[เชียงใหม่]] ศูนย์ข่าว[[ขอนแก่น]] ศูนย์ข่าว[[อำเภอหาดใหญ่|หาดใหญ่]] และศูนย์ข่าว[[ระยอง]]


== สื่อที่ให้บริการ ==
== สื่อที่ให้บริการ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:46, 3 สิงหาคม 2562

ตราสัญลักษณ์สำนักข่าวไทย เริ่มใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557

สำนักข่าวไทย (อังกฤษ: Thai News Agency ชื่อย่อ : สขท.; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการข่าวสาร ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ถือเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของประเทศไทย

มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าว เพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อทางคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ ศูนย์ข่าวขอนแก่น ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ และศูนย์ข่าวระยอง

สื่อที่ให้บริการ

สำนักข่าวไทย ให้บริการข่าวสาร ผ่านสื่อชนิดต่างๆ คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต

วิทยุกระจายเสียง

สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิตรายการสดประเภทรายงานข่าว เพื่อส่งกระจายเสียงทางสถานีวิทยุ อสมท เครือข่ายทั่วประเทศ ทุกต้นชั่วโมงตามที่กำหนด, บริหารและผลิตรายการหลัก เพื่อส่งกระจายเสียงทางคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ (100.5 MCOT News Network) รวมไปถึงจัดหา และผลิตรายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ เพื่อส่งกระจายเสียงทางคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 107.0 เมกะเฮิร์ตซ์

วิทยุโทรทัศน์

สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิตรายการสดประเภทรายงานข่าว เพื่อแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี (ช่อง 30) ได้แก่ เช้าชวนคุย(มีสถานะเทียบเท่าข่าวเช้า), ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ, ข่าวต้นชั่วโมง และแถบอักษรข่าววิ่ง นอกจากนี้ สขท.ยังผลิตรายการประเภทรายงานข่าวเศรษฐกิจ รายงานข่าวบันเทิง การวิเคราะห์ข่าวในและต่างประเทศ เพื่อออกอากาศทางเอ็มคอตเอชดี ได้แก่รายการ คุยโขมงบ่าย 3 โมง, คับข่าวครบประเด็น, ไนน์เอ็นเตอร์เทน เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังผลิตรายการร่วมกับ สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตแฟมิลี่ (ช่อง 14) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์พี่น้องกับ บมจ.อสมท เช่น Econ Live (อีค่อนไลฟ์)

อินเทอร์เน็ต

สำนักข่าวไทย ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางเว็บเพจในเว็บไซต์ของ บมจ.อสมท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนวิดีทัศน์และสื่อบันทึกเสียง ของการรายงานข่าวต่างๆ ที่แพร่ภาพทางช่อง 9 MCOTHD และ 100.5 MCOT News Network มาแล้ว ทาง www.tnamcot.com ตลอดจนไปถึง Facebook LINE Twitter

การผลิตข่าว

บมจ.อสมท มีนโยบายให้สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวต่างประเทศ ในสัดส่วนทัดเทียมกัน โดยที่ข่าวในประเทศ สขท.จะจัดหาโดยใช้วิธีการหลักคือ รายงานข่าวที่สำนักข่าวไทย เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาเอง กับรายงานข่าวที่จัดหา รายงาน หรือเขียนขึ้นโดยผู้สื่อข่าวอิสระ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80:20 ในขณะที่การจัดหาข่าวต่างประเทศ โดยทั่วไปมีที่มาจากสำนักข่าวต่างประเทศเป็นหลัก แต่ในกรณีเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ สขท.จะจัดส่งผู้สื่อข่าวในสังกัด เดินทางไปจัดทำข่าวนั้นๆ ด้วยตนเอง[ต้องการอ้างอิง]

รายการข่าว (ระยะเวลาออกอากาศ)

ช่อง 9 MCOTHD (30)

รายการ เวลาออกอากาศ
เช้าชวนคุย (จ.-ศ.) 05:30 - 07:30 น.
นาทีลงทุน (จ.-ศ.) 09:30 - 10:00 น.
ข่าวเที่ยง สำนักข่าวไทย (จ.-ศ.) 12:00 - 13:00 น.
คู่ข่าวเสาร์-อาทิตย์ (ส.-อา.) 11:30 - 13:00 น.
เรื่องพลบค่ำ (จ.-ศ.) 17:00 - 18:00 น.
คลุกข่าวเล่าประเด็น (จ.-ศ.) 18:20 - 18:50 น.
ข่าวค่ำ สำนักข่าวไทย (จ.-อ./พฤ.-อา.) 19:00 - 20:15 น.
(พ.) 19:00 - 20:00 น.
ข่าวในพระราชสำนัก ในรายการข่าวค่ำสำนักข่าวไทย
คับข่าวครบประเด็น (จ.-ศ.) 22:00 - 22:45 น.
เรื่องง่ายใกล้ตัว (จ.-อ./พฤ.) 20:15 - 20:30 น.
(พ.) 20:10 - 20:25 น.
(ศ.) 20:45 - 21:00 น.
ข่าวต้นชั่วโมง (จ.-อา.) ทุกๆต้นชั่วโมง

ช่อง MCOT Family (14)

รายการ เวลาออกอากาศ
ตลาดเช้าเล่าเรื่อง (จ.-ศ.) 08:00 - 09:00 น.
นาทีลงทุน (จ.-ศ.) 09:30 - 10:00 น.
คู่ข่าวเล่าทุกเรื่อง (จ.-ศ.) 10:30 - 11:30 น.
14 อีกครั้งกับสุวิช (ส.-อา.) 10:30 - 11:30 น.

รายการข่าว (ผู้ประกาศข่าว)

ช่อง 9 MCOTHD (30)

รายการ ผู้ประกาศข่าว
เช้าชวนคุย กำภู ภูริภูวดล
รัชนีย์ สุทธิธรรม
คุยเพลินเพลิน สุวิช สุทธิประภา
ภรภัทร นีลพัธน์
คัมภีร์วิถีรวย สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์
จิรภา สีตาบุตร
ข่าวเที่ยง สำนักข่าวไทย ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์
เจษฎา ศาลาทอง
ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์
ชุติมา พึ่งความสุข
วัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น
ธนัท ศิรางกูร
จิรายุ จับบาง
รัชนิพงศ์ วรศะริน
คู่ข่าวเสาร์-อาทิตย์ กำภู ภูริภูวดล
รัชนีย์ สุทธิธรรม
คุยโขมงบ่าย 3 โมง สุวิช สุทธิประภา
ภรภัทร นีลพัธน์
เรื่องพลบค่ำ กำภู ภูริภูวดล
รัชนีย์ สุทธิธรรม
คลุกข่าวเล่าประเด็น โศภณ นวรัตนาพงษ์
กิตติมา ณ ถลาง
จิรายุ จับบาง
อรชุลี พิศลยบุตร
รัชนิพงศ์ วรศะริน
ข่าวค่ำ สำนักข่าวไทย วรรณศิริ ศิริวรรณ
สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์
ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
ข่าวในพระราชสำนัก ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
ชุติมา พึ่งความสุข
ดารากาญจน์ ทองลิ่ม
ฟังหูไว้หู วีระ ธีรภัทร
ชุติมา พึ่งความสุข
คุยรอบทิศ สุทธิชัย หยุ่น
วีระ ธีรภัทร
วิสุทธิ์ คมวัชรพงษ์
คับข่าวครบประเด็น โศภณ นวรัตนาพงษ์
เพ็ญพรรณ แหลมหลวง
สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์
กาแฟดำค่ำนี้ สุทธิชัย หยุ่น
ข่าวต้นชั่วโมง ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์
สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์
สุธิดา ปล้องพุดซา
ศุภชาติ ศุภเมธี
ภัทรดนัย เทศสุวรรณ
กมลเนตร นวลจันทร์
รวีวรรณ สมรภูมิ
เรื่องง่ายใกล้ตัว นิติเทพ กิ่งชา

ช่อง MCOT Family (14)

รายการ ผู้ประกาศข่าว
ตลาดเช้าเล่าเรื่อง รวิฌา ทังสุบุตร
ศุภัคญาฎาร์ อัครวัฒนอังกูร
ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์
จิรายุ จับบาง
คู่ข่าวเล่าทุกเรื่อง กำภู ภูริภูวดล
รัชนีย์ สุทธิธรรม
สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์
ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์
14 อีกครั้งกับสุวิช สุวิช สุทธิประภา
ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์
จิรายุ จับบาง

อดีตผู้ประกาศและพิธีกรข่าว

รายการ ผู้ประกาศข่าว
สำนักข่าวไทย ภิญญาพัชญ์ ด่านอุตรา (ข่าวเที่ยง/คลุกวงข่าว/คุยโขมงข่าวเช้า/Biztime/ข่าวค่ำ; 2553 - 30 กรกฎาคม 2561)- ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7
สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา (เกาะข่าว9/9ข่าวร้อน/ข่าวต้นชั่วโมง/9SpeedNews/ลมฟ้าจราจร/ลมฟ้าอากาศ/พระราม9ข่าวเช้า/คุยโขมงหน้า 1/คุยข่าวเสาร์-อาทิตย์/รวมข่าวเสาร์-อาทิตย์/เช้าชวนคุย/ข่าวค่ำ; 1 มกราคม 2555 - 31 พฤษภาคม 2561) - ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7
บัญชา ชุมชัยเวทย์ (สดจากห้องค้า; พ.ศ. 2547-2549) - ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจทางช่อง 3 และช่อง 33
กิตติ สิงหาปัด (ข่าวค่ำ; 23 กรกฎาคม 2550-31 กรกฎาคม 2551) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ข่าวค่ำ; พ.ศ. 2551-2552) - ปัจจุบันอยู่ไบรท์ทีวี
เจก รัตนตั้งตระกูล (ข่าวเที่ยง, คัดข่าวเด่น) - ปัจจุบันอยู่ช่องTNN16
พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ข่าวค่ำ, ลมฟ้าอากาศ, เกาะข่าว 9) - ปัจจุบันอยู่วอยซ์ทีวี
อรชุน รินทรวิฑูรย์ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3, ช่อง 33
กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่องวัน
ฤทธิกร การะเวก (ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันเป็นผู้บรรยายกีฬาอิสระ
ณัฐ เสตะจันทร์ (ข่าวกีฬาภาคเที่ยง, ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ช่องเอ็นบีที 2 เอชดี
ลลิตา มั่งสูงเนิน (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ, 9 SPEED NEWS, รอบวันข่าว, คุยข่าวเสาร์-อาทิตย์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
อรการ จิวะเกียรติ (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ทรูโฟร์ยู
อำไพรัตน์ เตชะภูวภัทร (ข่าวค่ำ, ลมฟ้าอากาศ, พิธีกรรายการเอ็มคอตแฟมิลีนิวส์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
ภูริภัทร บุญนิล : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี
มินดา นิตยวรรธนะ (ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
รินทร์ ยงวัฒนา (ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 24
ศุภโชค โอภาสะคุณ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี
โศธิดา โชติวิจิตร (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
มนุชา เจอมูล : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่JKN-CNBC
ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์
ไอลดา สุโง๊ะ (เอ็มคอตแฟมิลีนิวส์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
นฤมล รัตนาภิบาล (ข่าวในพระราชสำนัก) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชัยนันท์ สันติวาสะ (ข่าวในพระราชสำนัก) - ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีในช่องเดียวกัน
ประชา เทพาหุดี (ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุนทร สุจริตฉันท์ - ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระและนักธุรกิจส่วนตัว
อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (ข่าวรับอรุณ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
นิรมล เมธีสุวกุล : ผู้ประกาศข่าวและผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
วิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์ (ข่าวพยากรณ์อากาศ) - ปัจจุบันเป็นผู้บริหารบริษัท 2020 เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด พิธีกรรายการตีสิบเดย์ ทางช่อง 3 และช่อง 33
กรรณิกา ธรรมเกษร (ข่าวภาคค่ำ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
พิภู พุ่มแก้ว (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่Mono29 และเดอะสแตนดาร์ด
อารตี คุโรปการนันท์ - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
พิสิทธิ์ กีรติการกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับช่อง 7 รวมไปถึงพิธีกรรายการคดีเด็ด
สมเกียรติ อ่อนวิมล - ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ
ศศิธร ลิ้มศรีมณี : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุรชา บุญเปี่ยม : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ศัตฉัน วิสัยจร : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สกาวรัตน สยามวาลา - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ศรีอาภา เรือนนาค - ปัจจุบันเป็นนักพากย์
ถึงลูกถึงคนกับคุยคุ้ยข่าว ของ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด สรยุทธ สุทัศนะจินดา - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่ทั้งหมดแล้ว หลังจากได้รับคำพิพากษาจากศาล เมื่อปี พ.ศ. 2559 จากกรณีบริษัท ไร่ส้ม จำกัด
กนก รัตน์วงศ์สกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับเนชั่นทีวี
ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ - ปัจจุบันอยู่ทรูโฟร์ยู เฉพาะรายการ SmartNews ข่าวเช้า เท่านั้น
9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย - ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการ ม.ปลายสายเก่ง ทางช่อง 28
ธันย์ชนก จงยศยิ่ง - ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์
ถวัลย์ ไชยรัตน์ - ปัจจุบันยุติหน้าที่พิธีกรแล้ว
วันชัย สอนศิริ - ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ข่าวข้นคนข่าวกับเช้าข่าวข้นคนข่าวเช้า ของ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กนก รัตน์วงศ์สกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับเนชั่นทีวี
ธีระ ธัญไพบูลย์ - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับเนชั่นทีวี รวมไปถึงช่อง 3 และช่อง 33 เฉพาะรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ เท่านั้น
จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี เฉพาะรายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ เท่านั้น
คลุกวงข่าว ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี
ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ - ปัจจุบันอยู่ช่อง8
สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 24

เทคโนโลยีการผลิตรายการ

บมจ.อสมท มีนโยบายส่งเสริมให้สำนักข่าวไทย ใช้เทคโนโลยีเข้าส่งเสริมการผลิตรายการประเภทรายงานข่าว เพื่อเพิ่มความสวยงามและน่าสนใจ โดยมีเครื่องมือหลายชนิด ประกอบด้วย

การแสดงภาพในห้องส่งข่าว

  • 9 เมษายน พ.ศ. 2552 - 24 เมษายน พ.ศ. 2555 / ใช้เทคโนโลยีกราฟิกสามมิติจากวิซอาร์ที (Vizrt) เข้าช่วยให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพชัดเจน ส่วนมากจะใช้แสดงข้อมูลสถิติ หรือแผนที่ ประกอบข่าวต่างๆ
  • 25 เมษายน พ.ศ. 2555 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557 / ใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร จำนวนรวม 9 จอ กับการรายงานข่าว ในช่วงเวลาต่างๆ แต่มีการยกเลิกสัญญาเช่า อย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุ พร้อมระบบกราฟิกสามมิติจากวิซอาร์ที (Vizrt)
  • 16 มกราคม - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 / ใช้เทคโนโลยีฉากเสมือนจริงในโรงถ่าย (Virtual Studio) ด้วยระบบโมนาร์ก เวอร์ชุโอโซ (Monarch Virtuoso) แต่เดิมมีการใช้เทคโนโลยีกล้องเสมือน (Virtual Camera) ในการควบคุมฉาก ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้กล้องจริงแทนในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ในรายการข่าวเที่ยง
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 / ใช้ฉากรายการที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาใหม่ ลักษณะพื้นที่เป็นทรงเหลี่ยม ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ขนาด 12 cube ช่วยในการนำเสนอ ภายหลังมีการนำเทคโนโลยีกราฟิกสามมิติจากโมนาร์ก เวอร์ชุโอโซ (Monarch Virtuoso) มาใช้ในการรายงานข่าวบางช่วง เช่นข่าวกีฬา, ข่าวต้นชั่วโมง (9 Speed News)
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน / มีการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์จำนวน 12 จอ, เทคโนโลยีกราฟิกสามมิติ, เทคโนโลยีฉากเสมือนจริงในโรงถ่าย (Virtual Studio) จากวิซอาร์ที (Vizrt) มูลค่า 101,500,000 บาท แต่ต่อมาไม่ได้นำมาใช้จริง เนื่องจากต้นทุนสูงมาก

ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข่าวในรูปแบบตัวอักษรบนหน้าจอทีวี เรียกว่า Teletext ในรายการ ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะออกอากาศในช่วงบ่าย เวลา 13.00 - 15.00 น. ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 - 2538 รูปแบบการออกอากาศ จะแสดงหัวข้อข่าว และ เนื้อหาของข่าว ขึ้นหน้าจอทีวี พื้นหลังสีน้ำเงิน และ แถบสีแดงข้างล่าง แสดงข้อความรณรงค์ หรือ คำขวัญประจำรายการ

แถบอักษรข่าววิ่ง

ไฟล์:MCOT News Ticker.jpg
การแสดงแถบตัวอักษรข่าววิ่งของสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอเนื้อหาข่าวอย่างสั้น ในรูปแบบอักษรวิ่ง โดยนับเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ที่นำเสนอในลักษณะดังกล่าว โดยตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2545 ข่าวที่อยู่ในแถบ จะแสดงต่อเนื่องกัน โดยแต่ละข่าวจะเว้นช่องว่างเป็นช่วงกว้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ตราสัญลักษณ์ สขท.คั่นระหว่างข่าว และเพิ่มตัวอักษร "สำนักข่าวไทย" บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว ครั้งหลังสุด เปลี่ยนรูปแบบเป็น แสดงครั้งละหนึ่งข่าว ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 แถบอักษรข่าวจะแสดงครั้งละประโยคข่าวโดยไม่มีการเลื่อนไปทางซ้ายของจอ เช่นเดียวกับเนชั่นแชนแนล แต่การแสดงหัวข้อข่าว ใช้แบบ ซีเอ็นเอ็น คือข่าวหนึ่งจะเลื่อนขึ้นเป็นอีกข่าวหนึ่ง แต่ต่อมาข่าวในแถบตัวอักษรวิ่งเริ่มกลับมามีการเลื่อนไปทางซ้ายของจอ เนื่องจากหัวข้อข่าวบางชิ้นมีลักษณะยาว จึงต้องบีบอัดตัวอักษร ทำให้อ่านยากขึ้น

ในวันที่ 25 เมษายน 2555 แถบอักษรข่าวจะแสดงครั้งละประโยคข่าวโดยมีการเลื่อนจากด้านขวาอย่างรวดเร็ว และเลื่อนไปทางซ้ายอย่างช้า และเลื่อนไปทางซ้ายอย่างเร็ว โดยทางด้านซ้ายจะมีคำว่า "สำนักข่าวไทย" และ "Thai News Agency" โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว ซึ่งทั้ง 2 คำนี้จะมีการแสดงสลับกันในแต่ละหัวข้อข่าว ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นคำว่า "สำนักข่าวไทย อสมท" เพียงคำเดียว

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 สถานีฯ ก็กลับไปใช้แถบวิ่งตามรูปแบบเมื่อปลายปี 2545 โดยจะมีตราสัญลักษณ์ สขท.คั่นระหว่างข่าว (ในก่อนหน้านั้นมีการเพิ่มตัวอักษร "สำนักข่าวไทย" บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว)

นอกจากในข่าวทุกช่วงแล้ว ยังมีการแสดงแถบอักษรข่าววิ่งในรายการอื่นๆที่มิใช่รายการข่าวอีกด้วย เช่นเดียวกับ ททบ.5 และ สทท. 11 แต่เปลี่ยนบริเวณที่เป็นคำว่า "สำนักข่าวไทย อสมท" เป็นสัญลักษณ์ของ คลื่นข่าว 100.5 แถบตัววิ่งข่าว 9 Speed เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นการแสดงแถบตัววิ่งข่าวเมื่อเหตุการณ์ด่วนสำคัญที่ขึ้นบนหน้าจอของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

แถบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข้อมูลการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ ในรูปแบบอักษรวิ่ง (ภายหลังพัฒนาเป็นการใช้อักษรเลื่อนขึ้นร่วมด้วย) โดยในปีพ.ศ. 2533 ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นับเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เริ่มใช้แถบรายงานดังกล่าว เป็นครั้งแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ โดยมีรายการเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาประมาณ 08.30-16.30 น. พร้อมทั้งใช้กราฟิก รายงานข่าวเศรษฐกิจตลอดช่วงบ่าย โดยใช้ชื่อว่า "สถานีหุ้น โมเดิร์นไนน์ทีวี" ซึ่งในสมัยนั้นมี 2 ชั้น

นับจากวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 แถบข้อมูลหุ้นได้ลดลงเหลือเพียงชั้นเดียว และเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีเมื่อแรกใช้ในสมัยที่แถบวิ่งมี 2 ชั้น เมื่อวันที่ 21 มกราคมปีเดียวกัน

นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 โมเดิร์นไนน์ทีวีได้เริ่มออกอากาศคู่ขนานผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง ในนาม MCOT HD (ปัจจุบันเป็น ช่อง 9 MCOT HD 30) โดยระยะแรกอาจมีการปรากฏแถบข้อมูลหุ้นในบางครั้ง จนกระทั่งเมื่อรายการทั้งหมดพร้อมออกอากาศในระบบภาพคมชัดสูง ก็ไม่มีการปรากฏของแถบข้อมูลหุ้น ส่งผลให้ผู้ที่รับชมเอ็มคอตเอชดีผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่อง 30 และผ่านดาวเทียมและโทรทัศน์เคเบิล Must Carry ช่อง 40 ในขณะนั้น ไม่สามารถรับชมแถบข้อมูลหุ้นได้พร้อมกับผู้ชมในระบบแอนะล็อก วีเอชเอฟ ช่อง 9 และผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ระบบซี-แบนด์ ทำให้ต่อมาในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 มีการปรับปรุงแถบข้อมูลหุ้นเพื่อให้ผู้ชมในระบบแอนะล็อกและดิจิทัลสามารถรับชมได้พร้อมกัน โดยเพิ่มแถบแยกประเภทหลักทรัพย์ในช่วงที่มีการแสดงข้อมูลหลักทรัพย์รายตัว(แถบสีเหลือง)โดยให้ตัววิ่งหายไปเมื่อวิ่งเข้าสู่แถบนี้แล้วจะเลื่อนขึ้นเมื่อเข้าสู่หมวดธุรกิจ (Sector) ถัดไป และปรับขนาดให้ยาวขึ้น รองรับอัตราส่วนภาพ 16:9

ช่วงปลายเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีการทดลองระบบแถบข้อมูลตลาดหุ้นแบบใหม่ล่าสุด ซึ่งพบว่าส่วนที่แสดงดัชนีที่เป็นอักษรเลื่อนขึ้น เกิดความไม่ต่อเนื่องกัน คือหลังจากแสดงดัชนีใหม่แล้ว มีการปล่อยแถบดัชนีว่างประมาณ 2 วินาที และขึ้นดัชนีใหม่ ส่งผลให้ต้องกลับไปใช้แถบข้อมูลตลาดหุ้นแบบเดิม (ในระหว่างปรับปรุงระบบแถบข้อมูลหุ้นแถบใหม่) หลังจากนั้นไม่นาน กลับมาใช้แถบข้อมูลนี้อีกครั้ง

ส่วนระยะเวลาการแสดงข้อมูลนั้น จะแสดงเฉพาะทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันทำการตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกเว้นวันหยุดทำการ เริ่มแสดงเวลา 10.00 น. จบการแสดงเวลา 16.50 น.

อนึ่ง เมื่อมีการไว้ทุกข์ถวายพระราชวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ลงแล้ว โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2551, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเมื่อปี พ.ศ. 2556 และล่าสุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2559 ก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีเทาเพื่อแสดงความไว้อาลัย และก่อนช่วงปี พ.ศ. 2550 โมเดิร์นไนน์ทีวี ได้แสดงตัววิ่งรายงานข่าวเศรษฐกิจหรือข้อมูลการเงินต่างประเทศจาก สำนักข่าวไทย ประกบแถบข้อมูลตลาดหุ้นอีกด้วย ซึ่งจะขึ้นต้นคำว่า "สำนักข่าวไทย-เศรษฐกิจ" เป็นหัวหลัก (โดยเฉพาะรายการเกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจ เช่น จับเงินชนทอง และรายการวิเคราะห์หุ้น เช่น สดจากห้องค้า , วิพากษ์หุ้น) ถ้ามีการถ่ายทอดสดหรือประกาศต่าง ๆ จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในช่วงที่มีการแสดงแถบข้อมูลหุ้น ทางสถานีจะทำการปิดการแสดงแถบข้อมูลหุ้นไว้ชั่วคราว และจะเปิดการแสดงแถบข้อมูลหุ้นอีกครั้งหลังจากการถ่ายทอดสดหรือประกาศนั้น ๆ จบลง

แถบข้อความทวิตเตอร์

สำนักข่าวไทย ได้นำแถบข้อความทวิตเตอร์ ในลักษณะแถบยาว เช่นเดียวกับแถบอักษรข่าววิ่ง (แตกต่างจากเนชั่นทีวี ซึ่งจะปรากฏในลักษณะแถบขนาดใหญ่ ทีละข้อความจากผู้ติดต่อ และไม่มีการเลื่อนตัวอักษรไปทางแนวนอน) มาปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ เฉพาะรายการคุยโขมงข่าวเช้า , คุยโขมงบ่าย 3 โมง, และคลุกวงข่าว(ปัจจุบันคือรายการคับข่าวครบประเด็น) โดยปรากฏครั้งแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งติดต่อได้ทาง Twitter ที่@tnamcot ชึ่งจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้ติดต่อสามารถติดแท็ก(#:tags)พร้อมคำศัพท์ ตามที่รายการฯได้เสนอคำศัพท์ไว้ด้วย (ปัจจุบันยกเลิกการเผยแพร่แถบข้อความแบบนี้แล้ว)

ภาษามือ

ปุจฉา-วิสัชนา

ไฟล์:MCOT Putcha Wisatchana Front Cover.png
หน้าปกหนังสือปุจฉา-วิสัชนา ของ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

ช่วง ปุจฉา-วิสัชนา ออกอากาศคั่นระหว่างข่าวภาคค่ำทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. กับภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, วันละสองชุดคำถามและคำตอบ, โดยแบ่งเป็นสองช่วง เริ่มแพร่ภาพเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 จนถึงราวปี พ.ศ. 2539

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเดียวกัน ผ่านทางสถานีวิทยุ อสมท เอฟเอ็ม 95.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ลูกทุ่งมหานคร ก่อนและหลังเวลา เข้าสู่ข่าวต้นชั่วโมง หรือหลังจากบรรเลงเพลงประจำสถานีฯ

ไตเติ้ลเปิดรายการข่าว

เพลงประกอบรายการข่าว

  • พ.ศ. 2520-2525 เพลงมาร์ช (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2525-2538 เพลงซิมโฟนี (ข่าวร่วม ช่อง 3 และ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ปัจจุบันเป็นเพลงประกอบรายการ ก้าวทันข่าว ของโมเดิร์นเรดิโอ)
  • พ.ศ. 2538-2545 เพลงของ บรูซ แกสตัน และวงฟองน้ำ (ไม่ทราบชื่อ; ปัจจุบัน ใช้เป็นเพลงเปิด รายงานข่าวต้นชั่วโมง ของโมเดิร์นเรดิโอ)
  • พ.ศ. 2538-2545 เพลงเขมรคราม ของ บรูซ แกสตัน และวงฟองน้ำ เป็นเพลงปิดรายการรายงานข่าว 9 อ.ส.ม.ท.ภาคค่ำ
  • พ.ศ. 2545-2550 เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2550-2552 เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
  • พ.ศ. 2554-2555 เพลงประกอบชุด Nightly ของ Opuzz (ใช้ในช่วงข่าวเที่ยงคืน) Corporate Headlines ของ Opuzz(ใช้ในช่วงข่าวด่วนและรายงานพิเศษ)
  • พ.ศ. 2557-2560 เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ N24 ประเทศเยอรมนี (ใช้ในช่วง 9 Speed)
  • พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ TF1 ประเทศฝรั่งเศส (ใช้เป็นเพลงประกอบตราสัญลักษณ์ของสำนักข่าวไทยช่วงจบรายการข่าวทุกช่วง และสปอตแนะนำประเด็นข่าวที่จะเสนอในข่าวภาคค่ำประจำวัน)
  • พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ RTL 4 ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ใช้ในช่วงรอบวันข่าว)
  • พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ France 2 ประเทศฝรั่งเศส (ใช้ในช่วงข่าวต้นชั่วโมง)

ความร่วมมือกับสำนักข่าวต่างประเทศ

สำนักข่าวไทย ขยายความร่วมมือกับสำนักข่าว และสื่อต่างประเทศสำคัญๆ ของโลก เป็นจำนวนมาก ได้แก่

สถานีโทรทัศน์ ได้แก่

สถานีวิทยุ ได้แก่

กลุ่มองค์กรความร่วมมือ ได้แก่

ตราสัญลักษณ์

ตราสำหรับการออกอากาศภาพคมชัดสูง พ.ศ. 2557

พ.ศ. 2520-พ.ศ. 2545

ตราสัญลักษณ์แรก เป็นภาพกลุ่มวงกลมสีชมพูเข้ม ซ้อนกันเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ มีรูปสามเหลี่ยมคล้ายลำโพงอยู่ทางซ้าย

พ.ศ. 2546-30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตราสัญลักษณ์ที่สอง ใช้ตราจากสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน พร้อมกันกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

ตราสัญลักษณ์สำหรับการออกอากาศภาพคมชัดสูง 1 เมษายน พ.ศ. 2557-30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตราสัญลักษณ์ที่ใช้กับการออกอากาศข่าว ในระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง ทางช่องเอ็มคอตเอชดี เป็นภาพตัวอักษร "TNA NEWS HD สำนักข่าวไทย" มีลูกโลกสีส้มใต้ตัวอักษร "T"

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน

ตราสัญลักษณ์ที่สาม จะมี 2 แบบ คือ แบบภาษาอังกฤษ จะมีคำว่า "Thai News Agency" โดยคำว่า Thai จะเป็นสีแดง และคำว่า News Agency เป็นสีขาว อยู่ในวงกลมสีน้ำเงิน และด้านล่างวงกลมสีน้ำเงินนั้น มีคำว่า "สำนักข่าวไทย" กำกับอยู่ด้วย ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 (ปัจจุบันยังมีให้เห็นในเว็บไซต์สำนักข่าวไทยและบนยานพาหนะที่ใช้ทำข่าวนอกสถานที่) และแบบภาษาไทย จะมีคำว่า "สำนักข่าวไทย" โดยคำว่า สำนัก จะเป็นสีแดง และคำว่า ข่าวไทย เป็นสีขาว อยู่ในวงกลมสีน้ำเงิน และด้านล่างวงกลมสีน้ำเงินนั้น มีคำว่า "Thai News Agency" กำกับอยู่ด้วย ซึ่งแบบภาษาไทย เริ่มใช้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557

ตราสัญลักษณ์ที่มิได้ใช้จริง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 บมจ.อสมท แถลงข่าวว่าจะเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ ที่ใช้กับการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์ของสำนักข่าวไทย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เป็นต้นไป ภายใต้แนวคิดดังนี้[1]

  • เส้นที่วิ่งรอบจุดศูนย์กลาง แสดงถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมทั่วโลก การเดินทางรอบโลกอย่างรวดเร็ว ภายใต้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่เข้าไปสัมพันธ์ ตั้งแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ไปจนถึงในชีวิตประจำวัน และความสนใจของแต่ละบุคคล
    • ภาพที่นำมาใช้กับเส้นรอบโลก เป็นได้ทั้งภาพจักรวาล ท้องฟ้า เมือง ธรรมชาติ สัตว์ป่า ใต้ทะเลลึก เซลล์อะตอม หรือแม้แต่ หน่วยที่เล็กที่สุดในร่างกาย
  • จุดศูนย์กลางที่แทนความหมายของโลก ทั้งที่เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจักรวาล เป็นสถานที่รวมเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งเป็นโลกของคนที่มีความสนใจแตกต่างกันไป
    • สีของจุดศูนย์กลาง สามารถใช้สีต่างๆ โดยเปลี่ยนไปตามเรื่องราว แต่สีหลักเป็นสีฟ้า ตามสีของโลก
  • ในพื้นที่ว่าง ระหว่างเส้นรอบโลกกับลูกโลก มีรูปร่างเป็นเลข 9 แทนลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ที่มองจากมุมที่แตกต่าง ในแง่ที่คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึง
  • ช่องส่วนปลายของเลข 9 ที่เจาะทะลุ เป็นช่องที่เปิดผ่านเปลือกนอก เข้าไปสู่แก่นแท้ สื่อถึงความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และวิเคราะห์ถึงประเด็นหลักที่แท้จริง

อนึ่ง สำนักข่าวไทยมิได้นำตราสัญลักษณ์นี้มาใช้จริง เนื่องจากมีกระแสโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและประชาชนบางกลุ่ม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), แบบแสดงรายการข้อมูล ประจำปี พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น