ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การผลิตข้าวในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Rice plantation in Thailand.jpg|thumb|right|380px|นาข้าวในประเทศไทย]]
[[ไฟล์:Rice plantation in Thailand.jpg|thumb|right|380px|นาข้าวในประเทศไทย]]
'''การผลิต[[ข้าว]]ใน[[ประเทศไทย]]''' เป็นส่วนสำคัญของ[[เศรษฐกิจไทย]]ซึ่งมีแรงงานทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก<ref>Country Profile: Thailand. ''[http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Thailand.pdf]'' 7 (July 2007).</ref>
'''การผลิต[[ข้าว]]ใน[[ประเทศไทย]]''' เป็นส่วนสำคัญของ[[เศรษฐกิจไทย]]ซึ่งมีแรงงานทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก​ ดึดราคา​ 11


9
ประเทศไทยมีประเพณีการปลูกข้าวมาช้านาน มีที่ดินปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ห้าของโลกและเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก<ref>Thailand backs away from rice cartel plan." The International Herald Tribune 7 May 2008: 12. 2 Feb. 2009 [http://www.lexisnexis.com/us/lnacademic/results/docview/docview.do?docLinkInd=true&risb=21_T5677060145&format=GNBFI&sort=RELEVANCE&startDocNo=1&resultsUrlKey=29_T5677060151&cisb=22_T5677060150&treeMax=true&treeWidth=0&csi=8357&docNo=6].</ref> ประเทศไทยวางแผนที่จะเพิ่มที่ดินเพื่อผลิตข้าวให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ 500,000 [[เฮกตาร์]] จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่แล้วเดิม 9.2 ล้านเฮกตาร์<ref name="lexisnexis.com">"Rice strain is cause of comparatively low productivity." The Nation (Thailand) 16 Apr. 2008. 2 Feb. 2009 [http://www.lexisnexis.com/us/lnacademic/search/homesubmitForm.do].</ref> [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตรของไทย]] คาดว่าการผลิตข้าวจะให้ผลผลิตราว 30 ล้านตันในปี พ.ศ. 2551<ref name="ghost">Nirmal, Ghost. "Thailand to set aside more land for farming; It plans to increase rice production and stop conversion of agricultural land." The Straits Times (Singapore) 24 Apr. 2008.</ref> ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในประเทศคือ [[ข้าวหอมมะลิ]] ซึ่งเป็นข้าวประเภทที่มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวประเภทอื่นอย่างมาก แต่โดยปกติแล้วสามารถขายได้ราคามากกว่าสองเท่าของข้าวสายพันธุ์อื่นในตลาดโลก<ref name="lexisnexis.com"/>

,00 โดยประมาณ

ประเทศไทยมีประเพณีการปลูกข้าวมาช้านาน มีที่ดินปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ห้าของโลกและเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ประเทศไทยวางแผนที่จะเพิ่มที่ดินเพื่อผลิตข้าวให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ 500,000 [[เฮกตาร์]] จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่แล้วเดิม 9.2 ล้านเฮกตาร์<ref name="lexisnexis.com">"Rice strain is cause of comparatively low productivity." The Nation (Thailand) 16 Apr. 2008. 2 Feb. 2009 [http://www.lexisnexis.com/us/lnacademic/search/homesubmitForm.do].</ref> [[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|กระทรวงเกษตรของไทย]] คาดว่าการผลิตข้าวจะให้ผลผลิตราว 30 ล้านตันในปี พ.ศ. 2562 ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในประเทศคือ [[ข้าวหอมมะลิ]] ซึ่งเป็นข้าวประเภทที่มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวประเภทอื่นอย่างมาก แต่โดยปกติแล้วสามารถขายได้ราคามากกว่าสองเท่าของข้าวสายพันธุ์อื่นในตลาดโลก<ref name="lexisnexis.com" />


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:45, 3 สิงหาคม 2562

นาข้าวในประเทศไทย

การผลิตข้าวในประเทศไทย เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจไทยซึ่งมีแรงงานทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก​ ดึดราคา​ 11

9

,00 โดยประมาณ

ประเทศไทยมีประเพณีการปลูกข้าวมาช้านาน มีที่ดินปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ห้าของโลกและเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ประเทศไทยวางแผนที่จะเพิ่มที่ดินเพื่อผลิตข้าวให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ 500,000 เฮกตาร์ จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่แล้วเดิม 9.2 ล้านเฮกตาร์[1] กระทรวงเกษตรของไทย คาดว่าการผลิตข้าวจะให้ผลผลิตราว 30 ล้านตันในปี พ.ศ. 2562 ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในประเทศคือ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวประเภทที่มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวประเภทอื่นอย่างมาก แต่โดยปกติแล้วสามารถขายได้ราคามากกว่าสองเท่าของข้าวสายพันธุ์อื่นในตลาดโลก[1]

ประวัติศาสตร์

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

ก่อนหน้าคริสต์ทศวรรษ 1960 การผลิตข้าวในประเทศไทยประกอบด้วยชาวนาจำนวนมากที่ทำนาในพื้นที่ขนาดเล็กและผลิตข้าวในปริมาณที่เพียงพอสำหรับเลี้ยงตัวเองเท่านั้น (การเกษตรเพื่อยังชีพ) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าวในเวลานั้น[2] การเกษตรเป็นส่วนสำคัญของสินค้าทั้งหมดที่ผลิตในประเทศไทยและพลเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นชาวนา เหตุผลสำคัญที่พลเมืองไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรนั้นมีสองข้อ คือ ที่ดินกว้างใหญ่ไพศาลสามารถใช้ในการเกษตรได้และนโยบายเฉพาะของรัฐบาลที่จะถางพื้นที่ให้ได้มากขึ้นและปกป้องสิทธิชาวนา รัฐบาลจะช่วยให้ชาวนาได้มีที่ดินทำกินมากขึ้นและยังปกป้องจากเจ้าของที่ดินชนชั้นสูง[2] จากที่ท่าของรัฐบาลทำให้พ่อค้าไม่สามารถควบคุมอุตสาหกรรมข้าวในประเทศไทยได้มากนัก มีข้อกังวลว่ารัฐบาลปกป้องชาวนาปัจเจกชนไม่มากเท่ากับผลผลิตโดยรวม ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยค่อนข้างพึ่งพาตนเอง ต่อต้านสิ่งประดิษฐ์ของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลง และความเสมอภาค ชาวนาส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองและการแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างชาวนาถือเป็นเรื่องปกติ การผลิตข้าวโดยปกติแล้วจะไม่มากไปกว่าเท่าที่ชาวนานั้นต้องการบริโภคเพื่อมีชีวิตอยู่เท่านั้น[2]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เมื่อยุโรปเริ่มต้นที่จะรวมตัวกันในหลายประเด็น รวมทั้งนโยบายการเกษตร (และการสนับสนุนราคา) ประเทศไทยจึงเริ่มที่จะปกป้องชาวนาข้าวน้อยลงและทำงานร่วมกับพ่อค้ามากขึ้น รัฐบาลเริ่มต้นกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่เพิ่มขึ้นและแสวงผลประโยชน์จากส่วนเกินที่เพิ่มมากขึ้นจากอุตสาหกรรมข้าว[2] ประเทศไทยหันไปยังพ่อค้าที่จะสร้างแรงกดดันนี้และให้ผลดีเยี่ยม[2]

นโยบายของรัฐบาล

รัฐบาลต้องการสนับสนุนการเติบโตของเมือง โดยหนึ่งในวิธีการที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือการตั้งภาษีอุตสาหกรรมข้าวและใช้เงินในเมืองใหญ่ ๆ[2] ในความเป็นจริง ในช่วงปี พ.ศ. 2496 ภาษีข้าวคิดเป็นรายได้ 32% ของรัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาผูกขาดสำหรับการส่งออก ซึ่งเพิ่มรายได้ภาษีและทำให้ราคาข้าวภายในประเทศต่ำ ผลกระทบโดยรวมคือประเภทของรายได้ถูกเปลี่ยนจากชาวนาไปยังรัฐบาลและผู้บริโภคในเมือง (ผู้ซื้อข้าว) นโยบายเรื่องข้าวเหล่านี้ถูกเรียกว่า "พรีเมียมข้าว" ซึ่งใช้มาจนถึง พ.ศ. 2528 จนกระทั่งสุดท้ายต้องยอมจำนนต่อแรงกดดันทางการเมือง[2] การเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยปกป้องชาวนาข้าวได้ทำให้อุตสาหกรรมข้าวห่างไกลจากค่านิยมความเสมอภาคที่เคยพอใจกันในหมู่ชาวนา ไปเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์สมัยใหม่ ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด[2]

รัฐบาลไทยมีสิ่งจูงใจอย่างแข็งขันที่จะผลิตการผลิตข้าวและประสบความสำเร็จในแผนการส่วนใหญ่ รัฐบาลได้ลงทุนในระบบชลประทาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และโครงการสนับสนุนข้าวอื่น ๆ ธนาคารโลกยังได้สนับสนุนเงินทุนในการสร้างเขื่อน คลอง คูน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ ในโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ นโยบายเหล่านี้ช่วยทำให้ที่ดินปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านไร่ เป็น 59 ล้านไร่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1980[2] ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในแง่ของผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด แม้ว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยจะไม่ได้เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่คาดหมายเอาไว้อยู่แล้ว แต่ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960

ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

ผลผลิตข้าวเปลือกต่อเฮกตาร์
ผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด

การเพิ่มผลผลิตอย่างรวดเร็วนี้ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการเพิ่มกำลังผลิตข้าวในภาคอีสานของประเทศ[3] ขณะที่ในอดีต ภาคกลางเป็นผู้ผลิตข้าวรายหลัก ภาคอีสานได้ก้าวเข้ามามีปริมาณผลผลิตตามทันภาคกลางอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะระบบถนนใหม่ระหว่างภาคอีสานและเมืองที่เน้นการขนส่งทางเรือตามชายฝั่ง หมู่บ้านที่เน้นการผลิตข้าวเป็นสำคัญก็ได้เปลี่ยนแปลงจากการเกษตรที่เน้นเพื่อยังชีพไปสู่แรงงานที่เน้นค่าแรง (การแลกเปลี่ยนแรงงานก็ได้หายไปบางส่วนด้วยเช่นกัน) วัวและกระบือถูกแทนที่ด้วยรถแทรกเตอร์เพื่อทำงานในนาและเทคโนโลยีชลประทานได้รับการปรับปรุงในหมู่บ้านส่วนใหญ่ การปฏิวัติสีเขียวเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเพื่อเผยแพร่ตามอุตสาหกรรมการเกษตรของโลก ชาวนาและพ่อค้าใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของข้าว สายพันธุ์ ปุ๋ย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่น[3] สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) เองก็ได้เผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆ และข้อมูลอื่น ๆ แก่ผู้ผลิตข้าวในประเทศไทย ผลผลิตข้าวต่อหน่วยพื้นที่ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1970 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50[2]

ผลกระทบต่อชาวนา

ขณะที่ข้อได้เปรียบทั้งหมดเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโดยรวมในประเทศไทย ชาวนาจำนวนมากกลับไม่สามารถรักษาที่ดินที่พวกเขาใช้สำหรับเก็บเกี่ยวข้าวและจำเป็นต้องเช่าที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงตัวเอง[2] รัฐบาลมักจะคาดหวังรายได้จากภาษีอยู่เสมอ แม้ว่าปีนั้นจะเป็นปีที่ได้ผลผลิตน้อยก็ตาม ซึ่งเหตุผลนี้ได้ผลักดันให้ชาวนาจำนวนมากเข้าใกล้สภาวะขาดทุนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังได้ขยับราคาต้นทุนในการทำนาสูงขึ้นและทำให้เป็นการยากขึ้นสำหรับชาวนาที่จะเป็นเจ้าของที่ดินและปลูกข้าว ชาวนาที่ค่อนข้างมีการผลิตที่ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว หรือสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายสารเคมีใหม่ ๆ สายพันธุ์ข้าว และแทรกเตอร์จะได้รับประโยชน์อย่างมาก ขณะที่ชาวนาธรรมดาต้องหันจากผู้ผลิตข้าวที่มีที่ดินเป็นของตัวเองไปเป็นแรงงานมนุษย์ในที่ดินของคนอื่น[2]

ความสำคัญของข้าว

ข้าวมีบทบาทสำคัญหลายอย่างต่อสังคมไทยตั้งแต่เป็นอาหารไปจนถึงงาน[4] พื้นที่ปลูกข้าวคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศและใช้แรงงานมากกว่าครึ่งของแรงงานทั้งประเทศ ข้าวเป็นหนึ่งในอาหารหลักและเป็นแหล่งโภชนาการสำหรับพลเมืองไทยส่วนใหญ่ ข้าวยังเป็นส่วนสำคัญในการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมข้าวของไทยเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่ไม่กี่ข้อ สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง ภัยคุกคามใหญ่สามประการประกอบด้วย

(1) การแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
(2) การแข่งขันกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นที่เพิ่มมูลค่าการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าแรงงานและ
(3) การเสื่อมคุณภาพของสภาพระบบนิเวศ[4]

เมื่อการผลิตข้าวทั่วโลกแข่งขันกันมากขึ้น จึงทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทยที่จะรักษาข้อได้เปรียบในการแข่งขันและขอบที่ผู้ผลิตข้าวไทยเคยชิน สำหรับภัยคุกคามที่สอง การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยนำไปสู่การเพิ่มความมั่งคั่งและต้นทุนค่าแรงงาน ทำให้ชาวนาซึ่งใช้แรงงานมนุษย์ราคาถูกมีต้นทุนสูงขึ้น อย่างที่สาม ที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งใช้ปลูกข้าวสามารถมีผลกระทบในทางที่ไม่ดีระยะยาวต่อผลผลิตต่อพื้นที่ได้

ประเพณี

ประเพณีการแห่ขอฝนเป็นสิ่งปกติสำหรับชาวนาในประเทศไทย ประเพณีทำนองนี้มีจัดขึ้นในกรุงเทพมหานครเช่นกัน (พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ)[3] อีกประเพณีหนึ่งที่จัดขึ้นบ่อยครั้งในภาคกลาง คือ การแห่นางแมว ซึ่งชาวบ้านจะแบกแมวไปยังสถานที่ต่าง ๆ และสาดน้ำใส่มัน เนื่องจากความเชื่อที่ว่า แมวที่ "กำลังร้องไห้" จะนำมาสู่ผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์[3]

การรวมกลุ่มทางธุรกิจ

ในบางครั้ง ประเทศไทยได้พิจารณาที่จะรวมกลุ่มทางธุรกิจเรื่องข้าวกับเวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จุดประสงค์คือเพื่อควบคุมการผลิตและกำหนดราคาให้ใกล้เคียงกับการรวมกลุ่มของโอเปกซึ่งควบคุมการผลิตน้ำมัน ประเทศไทยเคยได้ส่งข้อเสนอไปยังประเทศอื่น ๆ แต่ได้ถอนข้อเสนอในปี พ.ศ. 2551 นักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่า การจัดการกำหนดราคาดังกล่าวจะไม่ได้ผลเนื่องจากความไร้เสถียรภาพในความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งหมดและแต่ละประเทศไม่สามารถควบคุมการผลิตของชาวนาได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังมองที่จะสร้างองค์การเวทีระหว่างประเทศเพื่ออภิปรายอุปสงค์และผลผลิตข้าว นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ต้องการที่จะให้เรียกเวทีดังกล่าวว่า "สภาความร่วมมือค้าข้าว" และเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้วางแผนที่จะเชิญจีน อินเดีย ปากีสถาน กัมพูชา พม่า และเวียดนามเข้าร่วม นพดลกล่าวว่าเวทีระหว่างประเทศใหม่นี้จะไม่ซ้ำกับผลงานของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Rice strain is cause of comparatively low productivity." The Nation (Thailand) 16 Apr. 2008. 2 Feb. 2009 [1].
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Pasuk Phongpaichit, and Christopher John Baker. Thailand, Economy and Politics. Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1995.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Perehudoff, Carol. "Thailand's miracle grain for all seasons; Humble rice has the power to feed, cleanse, fight ravages of time." The Toronto Star [Toronto] 30 June 2007.
  4. 4.0 4.1 Evenson, Robert E., Robert W. Herdt, and Mahabub Hossain. Rice Research in Asia: Progress and Priorities. Wallingford, UK: CAB International in association with the International Rice Research Institute, 1996.
  5. "Thailand backs away from rice cartel plan." The International Herald Tribune 7 May 2008: 12. 2 Feb. 2009 [2].