ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
}}
}}


'''พันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์''' หรือชื่อเล่นว่า '''ใหญ่'''<ref>สุวพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2470). [http://www.homebankstore.com/dl/ebookthbl/147.pdf ''ข้าวของประเทศสยาม.''] พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.</ref> ([[12 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2406]]-[[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2469]]) เป็นโอรสใน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์]] กับหม่อมเขียน
'''พันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์''' หรือชื่อเล่นว่า '''ใหญ่'''<ref>สุวพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2470). [http://www.homebankstore.com/dl/ebookthbl/147.pdf ''ข้าวของประเทศสยาม.''] พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.</ref> ([[12 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2406]]-[[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2469]]) เป็นโอรสใน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์]] กับหม่อมเขียน เป็นพระปัยกา (ทวด) ใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ]]


หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้าถวายตัวต่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตั้งแต่อายุได้ 7 ปี และทรงเลือกให้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสืบทอดวิชาแพทย์ต่อจากพระบิดา หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์เดินทางไปศึกษาที่[[สกอตแลนด์]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 เมื่ออายุ 9 ปี จบการศึกษาแพทย์ศาสตร์จาก[[มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก]] เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2427
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้าถวายตัวต่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตั้งแต่อายุได้ 7 ปี และทรงเลือกให้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสืบทอดวิชาแพทย์ต่อจากพระบิดา หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์เดินทางไปศึกษาที่[[สกอตแลนด์]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 เมื่ออายุ 9 ปี จบการศึกษาแพทย์ศาสตร์จาก[[มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก]] เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2427

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:52, 1 สิงหาคม 2562

หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในบั้นปลายอายุ
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2469 (62 ปี)
คู่สมรสจำเริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เงียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุตร23 คน
บุพการีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

พันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ หรือชื่อเล่นว่า ใหญ่[1] (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406-21 มกราคม พ.ศ. 2469) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน เป็นพระปัยกา (ทวด) ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่อายุได้ 7 ปี และทรงเลือกให้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสืบทอดวิชาแพทย์ต่อจากพระบิดา หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์เดินทางไปศึกษาที่สกอตแลนด์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 เมื่ออายุ 9 ปี จบการศึกษาแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2427

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้ารับราชการเป็นผู้ช่วยของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระบิดา ทั้งด้านกิจการแพทย์ และการทหาร ได้รับพระราชทานยศพันตรี ช่วยปรับปรุงกิจการทหาร ร่วมจัดตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร และเป็นเลขานุการพระบิดา ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ พร้อมกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2433 เพื่อประกอบกิจการส่วนตัวร่วมกับพระบิดา เป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนเหนือของพระนคร จากตำบลบ้านใหม่ วัดเทียนถวาย ปทุมธานี ไปถึงนครนายก ในนามบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม คลองนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยุรศักดิ์" หรือ "คลองรังสิต" [2]

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ป่วยเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2469 อายุ 62 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2470[3]

สุวพันธุ์ คือชื่อที่รับพระราชทาน[4] ชื่อ สุวพรรณ นั้นท่านเปลี่ยนเองในปลายอายุของท่าน[5] สนิทวงศ์ ในอักษรโรมัน สะกดว่า Sanidvongs[6] ส่วนชาวต่างชาติเรียกท่านว่า ดอกเตอร์ใหญ่ (Dr. Yai)[7]

บุตร-ธิดา

เจริญ บุนนาค

จำเริญ บุนนาค ธิดาพระยาอรรคราชนาถภักดี (หวาด บุนนาค) ราชนิกูล มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ [8]

  • หม่อมหลวงพงศ์ สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น มหาอำมาตย์ตรี พระยาชลมารคพิจารณ์
  • หม่อมหลวงต้อม สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงเป้ สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น อำมาตย์โท พระสุวพันธุ์พิทยาการ
  • หม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์ (ไชยันต์) เป็นหม่อมใน พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
  • หม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ (ผดุงชีพ)
  • หม่อมหลวงธัญญะ สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์

[8]

ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ธิดาศาสนาจารย์กิมเฮง มังกรพันธ์ และนางทองอยู่ ปักษานนท์ มีบุตรธิดาจำนวน 4 คน ได้แก่

เงียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

  • หม่อมหลวงพวงแก้ว ณ ระนอง (8 สิงหาคม 2461 — 27 กรกฎาคม 2550)[9] สมรสกับสง่า ณ ระนอง มีบุตรสี่คน[10]

ประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

มีบุตร รวม 3 คน[ต้องการอ้างอิง]

1 หม่อมหลวง บัว สนิทวงศ์ สมรสกับ นาง แถม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เหลี่ยมจันทร์)

2 หม่อมหลวง นาวี สนิทวงศ์ สมรสกับ นาง อาบ ชูโต

3 หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ (29 เม.ย. 2462 - มี.ค. 2546) สมรสกับ มรว ทรงศรี ศรีธวัช

ไม่มีข้อมูล

  • หม่อมหลวงลำพวน สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงฟาง สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงไชย สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงศรีพรรณ สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงวิโรจ สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงมัลลิกา สนิทวงศ์ (กมลคนธ์)
  • หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (หงสนันทน์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. สุวพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2470). ข้าวของประเทศสยาม. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
  2. สายสกุลสนิทวงศ์
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๖๓๑
  4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ชมรมดำรงวิทยา, 2526. ISBN 9789749557006
  5. พบได้จาก "เข็มกลัดสุวพรรณ" ที่ท่านแจกญาติมิตรในช่วงปลายอายุ
  6. ลายพระราชหัตถเลขาฯ พระราชทานนามสกุล
  7. หนังสือ The rice of siam พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ
  8. 8.0 8.1 อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  9. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงพวงแก้ว สนิทวงศ์
  10. "ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง". ณ ระนอง. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๔, ตอน ๒๔, ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๑๙๑

แหล่งข้อมูลอื่น