ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 119: บรรทัด 119:


=== ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว ===
=== ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว ===

{{Fs start}}
{{Fs start}}
{{fs player|no=—|nat=AUT|pos=DF|name=[[Marco Friedl|มาร์โก ฟรีเดิล]]|other=ไป [[เอสเฟาแวร์เดอร์เบรเมิน|แวร์เดอร์เบรเมิน]] จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2019}}
{{fs player|no=—|nat=BRA|pos=FW|name=[[โดกลัส กอสตา]]|other=ยืมตัวไป [[สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส|ยูเวนตุส]] จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2018}}
{{fs player|no=—|nat=GER|pos=MF|name=[[แซร์ช ญาบรี]]|other=ยืมตัวไป [[เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์|1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์]] จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2018}}
{{Fs player|no=—|pos=MF|nat=POR|name=[[รือนาตู ซังชึช]]|other=ยืมตัวไป [[สโมสรฟุตบอลสวอนซีซิตี|สวอนซีซิตี]] จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2018}}
{{Fs end}}
{{Fs end}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:42, 31 กรกฎาคม 2562

บาเยิร์นมิวนิค
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมึนเชิน
ฉายาDer FCB (The FCB)
Die Bayern (The Bavarians)
Stern des Südens (Star of the South)
Die Roten (The Reds)[1]
FC Hollywood[2]
ชื่อย่อไบเอิร์น
ก่อตั้ง27 กุมภาพันธ์ 1900; 124 ปีก่อน (1900-02-27)
สนามอัลลีอันทซ์อาเรนา
Ground ความจุ75,000[3]
ประเทศUli Hoeneß
ประธานKarl-Heinz Rummenigge
ผู้จัดการนิคอ คอวัช
ลีกบุนเดิสลีกา
2018–19อันดับที่ 1
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก หรือ สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมึนเชิน (เยอรมัน: FC Bayern München) [4] เป็นสโมสรในประเทศเยอรมนี อยู่ที่นครมิวนิก รัฐไบเอิร์น อีกชื่อหนึ่งอาจเรียกว่า บาวาเรียมิวนิก หรือ ไบเอิร์นมึนเชิน เป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศเยอรมนี โดยสามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุด (บุนเดิสลีกา) มาครองได้มากถึง 28 ครั้ง แชมป์สโมสรโลก 3 ครั้ง ยูโรเปี้ยนคัพ/ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 5 ครั้ง ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 ครั้ง และยูฟ่าคัพ 1 ครั้ง

ประวัติของสโมสร

ช่วงยุคแรก

ไบเอิร์นมิวนิก ก่อตั้งขึ้นภายในสโมสรกีฬายิมนาสติกของเมืองมิวนิก วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1900 สมาคมฟุตบอลเยอรมัน มีมติห้ามไม่ให้นักฟุตบอลจากสโมสรดังกล่าวเข้าร่วมการแข่งขัน ทำให้นักเตะจำนวน 11 คนตัดสินใจออกจากสโมสร แล้วมาก่อตั้งสโมสรใหม่ในชื่อ สโมสรฟุตบอล ไบเอิร์นมิวนิก และเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น พวกเค้าก็ได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ในการแข่งขัน เซ้าท์ เยอรมัน แชมป์เปียนชิพ ฤดูกาล 1900-1901 ฤดูกาลถัดมาพวกเค้าก็ได้ถ้วยรางวัลในรายการท้องถิ่น

ฤดูกาล 1910-1911 สโมสรได้เข้าร่วมก่อตั้งลีกใหม่ของรัฐไบเอิร์นคือ เครียส์ลีกา โดยพวกเค้าได้แชมป์ในฤดูกาลแรก แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้แชมป์อีกเลย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น การแข่งขันทุกอย่างก็หยุดชะงักลง หลังสงครามจบลง พวกเค้าได้แชมป์ในระดับภูมิภาคหลายครั้ง ก่อนจะได้แชมป์ เซ้าท์ เยอรมัน แชมป์เปียนชิพ ในปี ค.ศ.1926 และทำได้อีกครั้งใน 2 ปีต่อมา ได้แชมป์ระดับชาติครั้งแรกในปี ค.ศ.1932 เมื่อโค้ช ริชาร์ด คอห์น นำทีมเอาชนะ ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 2-0 ในรายการชิงแชมป์เยอรมัน ภายหลังการกำเนิดลัทธินาซีขึ้น ทำให้ผู้จัดการทีม และผู้เล่นหลายราย ต้องหลบหนีออกจากประเทศ จนมีคำกล่าวว่า ไบเอิร์นมิวนิก คือทีมของคนยิว

เข้าสู่ยุคบุนเดิสลีกา

หลังสงครามโลกจบลง ไบเอิร์นได้เข้าร่วมการประชุมการก่อตั้งโอเบอร์ลีกา โดยแบ่งลีกออกเป็น 5 ส่วน ในช่วงปี ค.ศ.1945-1963 พวกเค้าเปลี่ยนโค้ชถึง 13 คน หลังจากที่ แลนเดอร์ กลับจากการลี้ภัยสงครามในปี ค.ศ.1947 เค้าก็กลับมาเป็นประธานสโมสรอีกครั้ง สโมสรประสบปัญหาทางการเงินในปี ค.ศ.1950 โรแบนด์ เอนเดลอร์ ได้หาเงินทุนมาสนับสนุนทีมเป็นเวลา 4 ปี โดยอยู่จนถึงปี ค.ศ.1951 ในปี ค.ศ.1955 สโมสรตกชั้นไปแข่งในโอเบอร์ลีกา ในฤดูกาลถัดไป โดยพวกเค้าคว้าแชมป์ DFB Pokal หลังเอาชนะทีม ฟอร์ทูน่า ดุยเซลดอล์ฟ 1-0

ปี ค.ศ.1963โอเบอร์ลีกา ถูกรวมลีกเป็นลีกแห่งชาติแค่ลีกเดียว โดยคัดเอา 5 อันดับแรกจากตารางคะแนน ไบเอิร์นมิวนิก อยู่อันดับ 3 และ1860 มิวนิกเป็นแชมป์โอเบอร์ลีกา ทางสมาคมเห็นว่า 1 เมืองควรมีแค่ทีมเดียว จึงตัดสิทธิของไบเอิร์นมิวนิก ออกจากบุนเดิสลีกา อย่าไรก็ตาม 2 ปีให้หลัง ทีมก็เลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จด้วยการนำทีมของนักเตะระดับตำนานอย่าง ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์,เกร์ด มูลเล่อร์ และ เซฟฟ์ เมียเออร์

ก้าวสู่เป็นจ้าวของเยอรมันแล้วครองจ้าวยุโรป 3 สมัยซ้อน

ในฤดูกาลแรกในการแข่งในระดับบุนเดิสลีกานั้น พวกเค้าคว้าอันดับที่ 3 พร้อมแชมป์ DFB Pokal มาได้ ทำให้ได้สิทธิลงแข่งในฟุตบอล ยูโรเปี้ยนคัพ วินเนอร์สคัพ และเป็นพวกเค้าที่คว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ หลังเอาชนะทีม เรนเจอร์ ปีค.ศ.1967 แม้ทีมจะได้แชมป์ DFB Pokal แต่ด้วยรูปแบบการเล่นที่ไม่ดี สโมสรเลยแต่ตั้ง บลังโก้ เซเบค เข้ามาเป็นโค้ชของทีม ด้วยรูปแบบการเล่นที่เน้นการบุก และความมีวินัยมากกว่าเดิม ทำให้พวกเค้าได้แชมป์ฟุตบอลลีก และฟุตบอลถ้วย ได้ในปี ค.ศ.1969 โดยเป็น 1 ใน 4 ทีมที่คว้า 2 แชมป์ได้ในปีเดียวกัน เหมือนทีม โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์,เอฟซี โคโลญน์,และแวร์เดอร์ เบรเมน โดยเซเบคใช้ผู้เล่นทั้งฤดูกาลแค่ 13 คนเท่านั้น ปี ค.ศ.1970 อูโด แลตเท็ก เข้ามาเป็นโค้ชต่อ เพียงแค่ 1 ปีเค้าก็นำทีมคว้าแชมป์ DFB Pokal ได้สำเร็จ และนำไบเอิร์นมิวนิกเป็นแชมป์ฟุตบอลเยอรมันได้เป็นครั้งที่ 3

ฤดูกาล 1971-1972 ไบเอิร์นเปลี่ยนมาใช้สนามกีฬาโอลิมปิกนครมิวนิก เป็นนัดแรก โดยนัดนี้มีการถ่ายทอดสอดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกอีกด้วย พวกเค้าเอาชนะทีม ชาล์เก้ 04 ไปได้ถึง 5-1 แล้วฤดูกาลนั้นพวกเค้าคว้าแชมป์ 2 รายการในประเทศ แต่ที่สุดยอดกว่านั้นคือ ในปี ค.ศ.1974 พวกเค้าคว้าแชมป์ในรายการยูโรเปี้ยน คัพ โดยการชนะทีม อัตเลติโกเดมาดริด ถึง 4-0 หลังจากที่ปี ค.ศ.1967 เคยได้แชมป์ คัพวินเนอร์สคัพ และเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ ในปี ค.ศ.1968 และ1972 แสดงให้เห็นว่าทีมมีพัฒนาการที่ดีเยี่ยม เป็นช่วงเวลาที่ทีมประสบความสำเร็จมากมาย ปี ค.ศ.1975 พวกเค้าป้องกันแชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ ได้สำเร็จเมื่อเอาชนะทีม ลีดส์ ยูไนเต็ด จากประตูของ รอธ และ มูลเลอร์ ถ้วยรางวัลสุดท้ายในยุคนี้คือ ถ้วยอินเตอร์คอนติเนนตอล คัพ โดยพวกเค้าแพ้ต่อสโมสรครูไซโร่ จากบราซิลทั้งสองนัด หลังจากนั้นสโมสรก็เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนแปลงและไม่ได้แชมป์อะไรเลย ปี ค.ศ.1977 ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ ย้ายไปนิว ยอร์ค คอสมอส ปี ค.ศ.1979 เซฟฟ์ และ อูลี โฮเนบ ประกาศเลิกเล่นฟุตบอล เกร์ด มูลเลอร์ ย้ายไปร่วมทีม ฟอร์ท เลาว์เดอดาเล่

ยุค80S

ช่วงหลังปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงที่วุ่นวายทั้งในสนาม และปัญหาทางการเงิน ของทีมไบเอิร์นมิวนิก เพาล์ เบรท์เนอร์ และ คาร์ล เฮนส์ รูมเมนิกจ์ ช่วยให้ทีมได้แชมป์บุนเดิสลีกาปี ค.ศ.1980 และ 1981 จนได้รับชื่อทีมใหม่ว่า เอฟซี เบรท์เนอร์ หลังจากได้แชมป์ DFB Pokal ในปี ค.ศ.1982 เบรท์เนอร์ประกาศเลิกเล่นฟุตบอล และสองปีหลังจากนั้นสโมสรก็ไม่ได้แชมป์ใดๆเลย จนอดีตโค้ชอย่าง อูโด เลตเทค เข้ามาคุมทีมอีกครั้ง ไบเอิร์นก็ได้แชมป์ DFB Pokal ในปี ค.ศ.1984 แล้วคว้าแชมป์บุนเดิสลีกา 5 ครั้ง จากการแข่งขัน 6 ฤดูกาล โดยได้สองแชมป์ในปี ค.ศ.1986 และได้รองแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ ในปี ค.ศ.1982 และ1987 ยุพ ไฮน์เคิส ได้รับการแต่งตั้งเป็นโค้ชในปี ค.ศ.1987 เค้าช่วยให้ทีมคว้าแชมป์หลังจากนั้น 2 ฤดูกาลได้แก่ ฤดูกาล 1988-1989, 1989-1990 แล้วฟอร์มการเล่นของทีมก็ตกลง หลังจากจบฤดูกาล 1990-1991 พวกเค้าได้อันดับที่ 2 แต่ฤดูกาล 1991-1992 สโมสรมีคะแนนมากกว่าโซนตกชั้น 5 คะแนน ในปีฤดูกาล 1993-1994 พวกเค้าตกรอบคัดเลือกการแข่งขัน ยูฟ่า คัพ เมื่อแพ้ทีมนอริว์ช จากอังกฤษ ที่โอลิมปิค สเตเดี้ยน บ้านของพวกเค้าเอง โดยเป็นทีมเดียวจากอังกฤษที่มาชนะพวกเค้าถึงที่นี่

ยุค90S

ความสำเร็จกลับมาอีกครั้ง เมื่อฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ เข้ามาคุมทีมในช่วงกลางฤดูกาล 1993-1994 ช่วยให้พวกเค้าคว้าแชมป์ได้สำเร็จ หลังจาก 4 ปี ที่ว่างเปล่าก่อนหน้านี้ จากนั้นเค้าก็ถูกแต่งตั้งเป็นประธานสโมสร โดยมีการแต่งตั้งจิโอวานนี ตราปัตโตนี และออทโท เรฮาเกิล เป็นผู้จัดการทีมต่อ ทั้งคู่จบด้วยการไม่ได้รางวัลอะไรเลย ช่วงนั้นผู้เล่นของไบเอิร์นมิวนิก มักมีข่าวปรากฏในแวดวงฮอลลีวู้ดบ่อยๆ จนได้รับการขนานนามว่า เอฟซี ฮอลลีวู้ด

ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์กลับมาดูแลทีมอีกครั้ง ในฐานะที่ปรึกษาโค้ช ฤดูกาล 1995-1996 เค้าช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ยูฟ่า คัพได้สำเร็จ โดนเอาชนะบอร์กโดซ์ ได้ในรอบชิงชนะเลิศ ฤดูกาล 1996-1997 ตราปัตโตนี นำทีมกลับมาคว้าแชมป์บุนเดิสลีกาได้อีกครั้ง ฤดูกาลถัดมาไบเอิร์น แพ้ต่อทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอย่าง ไกเซอร์สเลาเทิร์น และตราปัตโตนี่ ก็ลาออกเป็นครั้งที่ 2

ยุค2000S สู่ครองแชมป์ยุโรปสมัยที่ 4

หลังจากที่ไบเอิร์นมิวนิก แต่งตั้ง ออทมาร์ ฮิตซ์เฟลด์ อดีตโค้ชของดอร์ทมุนท์ มาเป็นโค้ชแล้ว เพียงฤดูกาลแรกเค้าก็พาไบเอิร์นคว้าแชมป์บุนเดิสลีกา และเข้ารอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมป์ปี้ยนลีก ก่อนจะแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในช่วงทดเวลา ฤดูกาลถัดมาถือเป็นช่วงครับ 100 ปี สโมสร พวกเค้าคว้า 2 แชมป์ได้อีกครั้ง ในการคว้าแชมป์บุนเดิสลีกา 3 สมัยติดต่อกันนั้น ปีเดียวกันนี้พวกเค้าก็ได้แชมป์ ยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก เมื่อเอาชนะจุดโทษทีมบาเลนเซียได้สำเร็จ เป็นการได้แชมป์ยุโรปอีกครั้งในรอบ 25 ปี ฤดูกาล 2001-2002 พวกเค้าเริ่มต้นด้วยการคว้าแชมป์ อินเตอร์คอนติเนนตอล คัพ แต่ฤดูกาลนั้นพวกเค้าไม่ได้แชมป์อะไรเลย ฤดูกาล 2002-2003 พวกเค้าได้แชมป์บุนเดิสลีกาสมัยที่ 4 ติดต่อกัน และฮิตซ์เฟลด์ก็ลาออกจากสโมสรในปี 2004 ปีนั้นพวกเค้าได้แค่รอง

ฤดูกาลถัดมา เฟลิกซ์ มากัธ เข้ามาคุมทีม และช่วยให้ทีมคว้าสองแชมป์ในปีนั้น ฤดูกาล 2005-2006 พวกเค้าย้ายสนามแข่งจากโอลิมปิค สเตเดี้ยน ไปใช้สนาม อัลลีอันซ์ อารีน่า โดยใช้ร่วมกับทีม 1860 มิวนิก ฤดูกาล 2006-2007 พวกเค้าทำผลงานได้ไม่ดีนัก ทำให้มากัธถูกไล่ออกในช่วงหน้าหนาวปีนั้น ฮิตซ์เฟลด์กลับมาคุมทีมอีกครั้งในเดือนมกราคม 2017 แต่ฤดูกาลนั้นทีมจบด้วยอันดับ 4 และไม่มีถ้วยรางวัลใดๆเลย ฤดูกาล 2007-2008 ทีมได้เปลี่ยนแปลครั้งใหญ่ ทีมได้เซ็นนักเตะชื่อดังเข้ามามากมาย และวันที่ 11 มกราคม 2008 ได้แต่งตั้งเยือร์เกิน คลีนส์มัน เป็นผู้จัดการทีมต่อจาก ฮิตซ์เฟลด์ ฤดูกาลนั้นไบเอิร์นเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ โดยแพ้ต่อทีมสปอร์ตติ้ง ซีพี จากโปรตุเกส สองวันหลังจากนั้นพวกเค้าก็แพ้ชาล์เก้ 04 พร้อมตกไปอยู่อันดับที่ 3 ขอตาราง คลีนส์มัน ถูกไล่ออก และยุพ ไฮน์เคิสเป็นผู้จัดการทีมต่อ เค้าช่วยให้ไบเอิร์นได้สิทธิไปเล่นยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก ในฤดูกาล 2009-2010 สโมสรได้เซ็นสัญญากับลูวี ฟัน คาล ในฐานะผู้จัดการทีม และใช้เงินหลายล้านยูโรในการดังผู้เล่นอย่างอาร์เยิน โรบเบิน และมาริโอ โกเมซ มาร่วมทีม เพื่อหวังกลับไปเป็นทีมนำในยุโรปอีกครั้ง ฤดูกาล 2009-2010 นั้นไบเอิร์นคว้าแชมป์ บุนเดิสลีกา,DFB Pokal แต่พลาดท่าแพ้อินเตอร์ มิลนในนัดชิงชนะเลิศ 0-2

ทศวรรษที่ 2010 ครองแชมป์ยุโรปสมัยที่ 5

ฤดูกาล 2010-2011 พวกเค้าตกรอบแรกยูฟ่าแชมป์เปียนลีกด้วยน้ำมืออินเตอร์มิลาน อีกครั้ง ก่อนจะจบด้วยอันดับ 3 ในลีก ลูวี ฟัน คาลถูกไล่ออกหลังจากนั้น ฤดูกาลต่อมา ยุพ ไฮน์เคิสกลับมาคุมทีมอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ใดๆได้ ฤดูกาลต่อมาเค้าช่วยให้ทีมคว้าอันดับที่ 2 เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมป์เปียนลีก โดยนัดนี้แข่งที่ อัลลีอันซ์ อารีน่า แต่พวกเค้าก็แพ้จุดโทษต่อทีมเชลซีไป 3-4 ฤดูกาล 2012-2013 ทีมคว้าแชมป์ DFL ซูเปอร์คัพ และไม่แพ้ใครในลีกติดต่อกัน 8 นัดแรกในบุนเดิสลีกา วันที่ 6 เมษายน 2013 ทีมคว้าแชมป์บุนเดิสลีกาทั้งที่เหลือการแข่งขันอีก 6 นัด เป็นสถิติการคว้าแชมป์ที่เร็วที่สุดในเยอรมัน พร้อมทำสถิติมากมาย เช่น ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด คือ 91 คะแนน,ทำแต้มห่างกับอันดับสองมากที่สุดถึง 25 คะแนน,ชนะมากที่สุดในฤดูกาล 29 นัด เสียประตูน้อยที่สุดเพียง 18 ประตู

ไบเอิร์นเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมป์เปียนลีกเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 ปีหลังสุด และครั้งนี้พวกเค้าทำสำเร็จเมื่อเอาชนะทีมดอร์ทมุนท์ได้ที่ เวมบลีย์ 2-1 รวมพวกเค้าได้แชมป์รายการนี้แล้วถึง 5 ครั้ง ปี ค.ศ.2013 พวกเค้าได้แชมป์ DFB Pokal วันที่ 1 กรกฎาคม เปป กวาดิโอล่า เข้ามาเป็นโค้ชให้กับทีม ก่อนเริ่มต้นฤดูกาล 2013-2014 วันที่ 24 กรกฎาคม 2013 มีรายงานว่าทีมมีสมาชิกมากถึง 200,000 คน มากที่สุดในเยอรมัน

วันที่ 30 สิงหาคม 2013 ไบเอิร์นชนะการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพเหนือเชลซีอีกครั้ง วันที่ 27 เมษายน 2014 สร้างสถิติทีมที่ไม่แพ้ใครตลอด 53 นัด และชนะในรายการยูฟ่าแชมป์เปียนลีก ติดต่อกันถึง 10 นัด วันที่ 31 ธันวาคม 2013 ได้แชมป์ ฟีฟ่าคลับ เวิลด์คลับ หลังเอาชนะทีม รายา คาซาบลังกา มาได้ 2-0

วันที่ 25 มีนาคม พวกเค้าคว้าแชมป์บุนเดิสลีกา ในการแข่งนัดที่ 24 ก่อนจบฤดูกาลอีก 7 นัด ในตอนท้ายฤดูกาล 2015-2016 เปป กวาดิโอล่า ได้ลาออกเพื่อไปคุมทีม แมนเชสเตอร์ซิตี และได้ คาร์โล อันเชลอตติ มาคุมทีมแทน โดยเริ่มต้นฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์ DFL ซูเปอร์คัพ เข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก ฤดูกาลนั้นพวกเค้าหวังคว้าแชมป์บุนเดิสลีกาเป็นสมัยที่ 5 แต่หลังจากเริ่มได้ 3 นัด หลังจากที่แพ้ วีเอฟแอล โวล์ฟบวร์ก อันเชลอตติก็ถูกไล่ออก และแทนที่ด้วยผู้จัดการทีมชั่วคราวอย่าง วิลลี่ ซายอล หลังจากนั้น วันที่ 9 ตุลาคม 2017 ยุพ ไฮน์เคิสก็กลับมาคุมทีมอีกเป็นครั้งที่ 4

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 [5][6]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เยอรมนี มานูเอ็ล น็อยเออร์ (กัปตัน)
4 DF เยอรมนี นิคคลัส ซือเลอ
5 DF ฝรั่งเศส แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์
6 MF สเปน เตียโก
8 DF สเปน ฆาบิ มาร์ติเนซ
9 FW โปแลนด์ รอแบร์ต แลวันดอฟสกี
15 FW เยอรมนี ยัน-ฟีเทอ อาร์พ
17 DF เยอรมนี เฌโรม โบอาเท็ง
18 MF เยอรมนี เลอ็อน โกเร็ทซ์คา
19 MF แคนาดา อัลฟอนโซ เดวีส์
21 DF ฝรั่งเศส ลูกัส แอร์น็องแดซ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 MF เยอรมนี แซร์ช ญาบรี
24 MF ฝรั่งเศส กอร็องแต็ง ตอลีโซ
25 FW เยอรมนี โทมัส มึลเลอร์ (รองกัปตัน)
26 GK เยอรมนี ชเวน อุลไรช์
27 DF ออสเตรีย ดาวิด อาลาบา
29 MF ฝรั่งเศส กีงส์แล กอมาน
32 DF เยอรมนี โยซูอา คิมมิช
35 MF โปรตุเกส รือนาตู ซังชึช
36 GK เยอรมนี คริสทีอัน ฟรึชเทิล
39 GK เยอรมนี ร็อน-ทอร์เบิน ฮ็อฟมัน

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง ปี ลงเล่น ประตู
ฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์ เยอรมนี DF 1964–1977 427 60
แกร์ด มึลเลอร์ เยอรมนี FW 1964–1979 453 398
อูลี่ เฮอเนส เยอรมนี FW 1970–1979 239 86
เซปป์ ไมเออร์ เยอรมนี GK 1962–1979 536 0
ฮันส์-กอร์ก ซวาร์เซนเบค เยอรมนี DF 1966–1981 416 21
เพาล์ ไบรท์เนอร์ เยอรมนี MF 1970–1974, 1978–1983 255 83
คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้ เยอรมนี FW 1974–1984 310 162
ดีเตอร์ เฮอเนส เยอรมนี FW 1979–1987 224 102
เคลาส์ ออเกนธาเลอร์ เยอรมนี DF 1975–1991 404 52
โรแลนด์ โวฮ์ฟาร์ธ เยอรมนี FW 1984–1993 254 119
โลธ่าร์ มัทเธอุส เยอรมนี DF/MF 1984–1988, 1992–2000 302 85
สเตฟาน เอฟเฟนแบร์ก เยอรมนี MF 1990–1992, 1998–2002 160 35
โอลิเวอร์ คาห์น เยอรมนี GK 1994–2008 429 0
เมห์เม็ต โชล เยอรมนี MF 1992–2007 334 87
บิเชนเต ลิซาลาซู ฝรั่งเศส DF 1997–2004, 2005–2006 182 7
Giovane Élber บราซิล FW 1997–2003 169 92
ฟิลิปป์ ลาห์ม เยอรมนี DF 2002–2017 332 12

เกียรติประวัติ

เยอรมนีระดับประเทศ

  • บุนเดิสลีกา
    • ชนะเลิศ (29): (1931–32), 1968–69, 1971–72, 1972–73, 1973–74, 1979–80, 1980–81, 1984–85, 1985–86, 1986–87, 1988–89, 1989–90, 1993–94, 1996–97, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2004–05, 2005–06, 2007–08, 2009–10, 2012-13, 2013-14, 2014-15, 2015-16, 2016-17, 2017-18, 2018-19

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

โลก ระดับโลก

สถิติสโมสร

อ้างอิง

  1. "Never-say-die Reds overcome Ingolstadt at the death". FC Bayern Munich. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2017. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. Whitney, Clark (8 April 2010). "CL Comment: Van Gaal's Bayern Give New Meaning to "FC Hollywood"". goal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2014. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. "Ab sofort 75.000 Fans bei Bundesliga-Heimspielen" [As of now 75,000 for Bundesliga home matches]. FC Bayern Munich. 13 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2015. สืบค้นเมื่อ 13 January 2015. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. "พี่เสือกด 3-1 ซิวบุนเดสฯเร็วสุด 27 นัด". ผู้จัดการออนไลน์. 26 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2014.
  5. "FC Bayern München – Profis" [FC Bayern Munich – Professionals]. fcbayern.com (ภาษาGerman). FC Bayern München AG. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. "Bayern Munich Coach Heynckes Heaps Praise on Thomas Müller & Claims There Is No One Else Like Him". Sports Illustrated. 27 February 2018. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:นักเตะในทีมสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก