ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phat2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| สีอักษร = #8f5f12
| สีอักษร = #8f5f12
| ภาพ =
| ภาพ =
| พระราชสมภพ = ข้อมูลไม่แน่ชัด
| พระราชสมภพ = พ.ศ. 2005
| สวรรคต = พ.ศ. 2034
| สวรรคต = พ.ศ. 2034 ( 29 พรรษา)
| พระพุทธปฏิมาประจำรัชกาล = [[ปางประสานบาตร|พระพุทธรูปปางประสานบาตร]]
| พระพุทธปฏิมาประจำรัชกาล = [[ปางประสานบาตร|พระพุทธรูปปางประสานบาตร]]
| พระราชชนก = [[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]
| พระราชชนก = [[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:53, 28 กรกฎาคม 2562

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ครองราชย์พ.ศ. 2006 - พ.ศ. 2034
รัชสมัย3 ปี
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ประสูติพ.ศ. 2005
สวรรคตพ.ศ. 2034 ( 29 พรรษา)
พระมเหสีไม่ทราบพระนาม
ราชวงศ์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชชนกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า พระนามเดิมว่าพระบรมราชา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

แม้พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จะระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระองค์เดียวกับสมเด็จพระรามาธิบดี[1] ส่วนพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่าเป็นสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบายว่าที่ถูกควรเรียกว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3[2]

พระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า มีพระนามเดิมว่าพระบรมราชา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก จึงให้พระบรมราชาเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาแทน ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช ในปีนั้นพระเจ้าติโลกราชยกทัพมาตีเมืองสุโขทัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงตามเสด็จและสามารถตีทัพพระยายุทธิษเฐียรแตก[3] และในปี พ.ศ. 2009 ทรงผนวช[4]

ในช่วงว่างจากราชการสงครามได้เสด็จฯ ไปวังช้างที่ตำบลไทรย้อยในปี พ.ศ. 2026 และที่ตำบลสำฤทธีบุรณในปี พ.ศ. 2029 ถึงปี พ.ศ. 2031 ทรงตีได้เมืองทวายแต่เกิดอาเพศหลายประการคือ มีโคตกลูกตัวหนึ่งมี 8 เท้า มีไข่ไก่ออกเป็นตัวมี 4 เท้า ไก่ฟักไข่สามฟองแต่ออกมาเป็น 6 ตัว มีข้าวสารงอกใบ แล้วพระราชบิดาก็สวรรคตในปีนั้น และพระราชกิจสำคัญอย่างสุดท้ายคือโปรดให้ก่อกำแพงเมืองพิชัยในปี พ.ศ. 2033[3]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2034 สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกจึงเสด็จลงมาสืบราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี[3]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 57
  2. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 78
  3. 3.0 3.1 3.2 พระโหราธิบดี (ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ.1072). "พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์". วิกิซอร์ซ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 55
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8

ดูเพิ่ม


ก่อนหน้า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ถัดไป
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พ.ศ. 1991 - 2006

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. 2006 - 2034)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พ.ศ. 2034 - 2072