ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคเณศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูล "พระพิฆเนศกับการนำมาเป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบัน"
บรรทัด 81: บรรทัด 81:


เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่าง ๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ "เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน<ref>[https://www.sanook.com/horoscope/16965/ สืบสานประเพณีพิธีคเณศจตุรถี และคเณศวิวาหะ (แต่งงานพระคเณศ)], Sanook.com วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 2:42 น.</ref>
เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่าง ๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ "เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน<ref>[https://www.sanook.com/horoscope/16965/ สืบสานประเพณีพิธีคเณศจตุรถี และคเณศวิวาหะ (แต่งงานพระคเณศ)], Sanook.com วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 2:42 น.</ref>

== พระพิฆเนศกับการนำมาเป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบัน ==

<gallery>
ไฟล์:Thailand Fine Arts Dept Seal.svg|<center>สัญลักษณ์กรมศิลปากร</center>
ไฟล์:Silpakorn University Logo.svg|<center>สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร</center>
ไฟล์:College of Fine Arts Logo.png|<center>สัญลักษณ์วิทยาลัยช่างศิลป</center>
ไฟล์:Bunditpatanasilpa Institute Logo.png|<center>สัญลักษณ์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์</center>
</gallery>

จากคติความเชื่อที่ว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ โดยในรัชสมัยของ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 6) ด้วยความเลื่อมใสของพระองค์ที่มีต่อพระพิฆเนศ จนถึงขนาดที่ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระพิฆเนศขึ้น ณ [[พระราชวังสนามจันทร์]] จังหวัดนครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้ง [[วรรณคดีสโมสร]] ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อ [[กรมศิลปากร]] เกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรม โดยตรากรมศิลปากร ใช้เป็นรูปพระพิฆเนศประทับลวดลายกนกลักษณะคล้ายเมฆ ทรงถือปาศะครอบน้ำวัชระและทันตะอยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยดวงแก้ว 7 ดวง หมายถึงศิลปวิทยา 7 อย่างที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกรมศิลปากร และต่อมายังได้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของ [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/053/1296.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่องกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒], ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๕๓ เล่ม ๖๘ หน้า ๑๒๙๖ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๔</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/182/25.PDF ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร], ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๕ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙</ref> [[วิทยาลัยช่างศิลป]] และ [[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]] <ref>[http://sornsornn.wixsite.com/ganesha/blank-28 ความเชื่อ เรื่อง พระพิฆเนศวรในบริบทของสังคมไทย]</ref><ref>[https://www.posttoday.com/dhamma/586153 ไทยนับถือพระคเณศมากสุดในสุวรรณภูมิ]</ref>


== ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ==
== ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:42, 26 กรกฎาคม 2562

พระพิฆเนศ
  • การเริ่มต้น, ความสำเร็จ, สติปัญญา และ ศิลปะวัฒนธรรม (ในประเทศไทย)
  • การขจัดอุปสรรค[1][2]
Attired in an orange dhoti, an elephant-headed man sits on a large lotus. His body is red in colour and he wears various golden necklaces and bracelets and a snake around his neck. On the three points of his crown, budding lotuses have been fixed. He holds in his two right hands the rosary (lower hand) and a cup filled with three modakas (round yellow sweets), a fourth modaka held by the curving trunk is just about to be tasted. In his two left hands, he holds a lotus in the upper hand and an axe in the lower, with its handle leaning against his shoulder.
เทวรูปพระพิฆเนศองค์มหึมาที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อในอักษรเทวนาครีगणेशः
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตGaṇeśa
ส่วนเกี่ยวข้องเทวะ, พระพรหม (คณปัตยะ), Saguna Brahman(Panchayatana puja),พระอิศวร
ที่ประทับเขาไกรลาศ (เคียงพระศิวะและพระปารวตี), คเนศโลก
มนตร์Oṃ Shri Gaṇeśāya Namaḥ
Oṃ Gaṃ Gaṇapataye Namaḥ
อาวุธParaśu (axe), pāśa (noose), aṅkuśa (elephant goad)
สัญลักษณ์โอม, ขนมโมทกะ
พาหนะหนู
คัมภีร์คเนศปุรณะ, Mudgala Purana, Ganapati Atharvashirsa
เพศบุรุษ
เทศกาลคเนศจตุรถี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครอง
บิดา-มารดา
พี่น้องShanmukha (elder brother) Sastha (younger brother)

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश ทมิฬ: பிள்ளையார் อังกฤษ: Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ[3] (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศวร์ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพใน ศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามอุปสรรคทั้งปวง (ผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรค)

ที่มาของพระนามและพระนามอื่น ๆ

พระพิฆเนศศิลปะพม่า

พระพิฆเนศมีพระนามอื่น ๆ ที่นิยมเรียกขานกัน เช่น “พระคณปติ” (Ganapati, Ganpati) และ “พระวิฆเนศวร” หรือ “พระวิฆเนศ” (Vighneshwara) โดยทั่วไปแล้วมักพบการนำคำว่า “ศรี” ไว้นำหน้าพระนามด้วย เช่น “พระศรีฆเนศวร” (Sri Ganeshwara)

คำว่า “คเณศ” นั้นมาจากคำสันสกฤตคำว่า “คณะ” (gaṇa) แปลว่ากลุ่ม ระบบ และ “อิศ” (isha แปลงเสียงเป็น เอศ) แปลว่า จ้าว[4] คำว่า “คณ” นั้นสามารถใช้นิยาม “คณะ” คือกองทัพของสิ่งมีชีวิตกี่งเทวะที่เป็นหนึ่งในผู้ติดตามของพระศิวะ ผู้ทรงเป็นพระบิดาของพระพิฆเนศ[5] แต่โดยทั่วไปนั้นคือความหมายเดียวกันกับ “คณะ” ที่ใช้ในภาษาไทย แปลว่ากลุ่ม องค์กร หรือระบบ[6] มีนีกวิชาการบางส่วนที่ตีความว่า “พระคณ” จึงอาจแปลว่าพระแห่งการรวมกลุ่ม พระแห่งคณะคือสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้น ธาตุต่าง ๆ [7] ส่วนคำว่า “คณปติ” (गणपति; gaṇapati) มาจากคำสันสกฤตว่า “คณ” แปลว่าคณะ และ “ปติ” แปลว่า ผู้นำ[6] แม้คำว่า “คณปติ” จะพบครั้งแรกในฤคเวทอายุกว่าสองพันปีก่อนคริสต์กาล บทสวด 2.23.1 นักวิชาการยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำนี้จะหมายถึงพระคเณศโดยเฉพาะเลยหรือไม่[8][9] ในอมรโกศ (Amarakosha)[10] ปทานุกรมสันสกฤตโบราณ ได้ระบุพระนามของพระคเณศดังนี้ “วินยกะ” (Vinayaka), “วิฆนราช” (Vighnarāja ตรงกับ “วิฆเนศ” ในปัจจุบัน), “ทไวมาตุระ” (Dvaimātura ผู้ซึ่งมีสองมารดา), [11] “คณาธิป” (Gaṇādhipa ตรงกับ คณปติ และ คเณศ ในปัจจุบัน), เอกทันต์ (Ekadanta งาเดียว), “Heramba”, “ลัมโพทร” (Lambodara ผู้ซึ่งมีท้องกลมเหมือนหม้อ) และ “คชานนะ” (Gajānana)[12]

“วินยกะ” (विनायक; vināyaka) ก็เป็นอีกพระนามหนึ่งที่พบทั่วไป โดยพบในปุราณะต่าง ๆ และในตันตระของศาสนาพุทธ[13] โบสถ์พราหมณ์ 8 แห่งที่โด่งดังในรัฐมหาราษฏระที่เรียกว่า “อัศตวินายก” (Ashtavinayaka) ก็ได้นำพระนามนี้มาใช้ในการตั้งชื่อเช่นกัน[14] ส่วนพระนาม “วิฆเนศ”(विघ्नेश; vighneśa) และ “วิฆเนศวร”(विघ्नेश्वर; vighneśvara) แปลว่า “จ้าวแห่งการกำจัดอุปสรรค”[15] แสดงให้เห็นถึงการยกย่องให้ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นและกำจัดอุปสรรค (วิฆน) ในศาสนาฮินดู[16]

ในภาษาทมิฬนิยมเรียกพระนาม “ปิลไล” (Pillai; ทมิฬ: பிள்ளை) หรือ “ปิลไลยาร์” (Pillaiyar; பிள்ளையார்)[17] A.K. Narain ระบุว่าทั้งสองคำนี้ต่างกันที่ ปิลไล แปลว่า “เด็ก” ส่วน ปิลไลยาร์ แปลว่า “เด็กผู้สูงศักดิ์” ส่วนคำอื่น ๆ อย่าง “ปัลลุ” (pallu), “เปลละ” (pell), “เปลลา” (pella) ในกลุ่มภาษาทราวิฑ สื่อความถึง “ทนต์” คือฟันหรืองา[18] Anita Raina Thapan เสริมว่ารากศัพท์ของ “ปิลเล” (pille) ใน “ปิลไลยาร์” น่าจะมาขากคำที่แปลว่า “ความเยาว์ของช้าง” ซึ่งมาจากคำภาษาบาลี “ปิลลกะ” (pillaka) แปลว่า ช้างเด็ก[19]

ในภาษาพม่าเรียกพระคเณศว่า “Maha Peinne” (မဟာပိန္နဲ, ออกเสียง: [məhà pèiɴné]) ซึ่งมาจากภาษาบาลี “มหาวินายก” (Mahā Wināyaka (မဟာဝိနာယက)[20] และในประเทศไทยนิยมใช้พระนาม “พระพิฆเนศ”[21]

ลักษณะของพระพิฆเนศ

มีพระวรกายเป็นมนุษย์เพศชาย อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีพระเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว (ถูกขวานปรศุรามหักเสียงา) สีพระวรกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง) มี 4 พระกร พระหัตถ์ขวาบนทรงตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงขันน้ำมนต์เป็นกะโหลกศีรษะมนุษย์

ทรงมีหนูมุสิกะเป็นพระสหาย (บางก็ว่าเป็นพระพาหนะ)

ปกรณัม

ในคราวที่ พระศิวะ เสด็จไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระปารวตี เนื่องจากประทับอยู่พระองค์เดียวเลยเกิดความเหงา และมีพระประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์ และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนัก จึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่พระศิวะเสด็จออกไปตามพระกิจต่าง ๆ มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงน้ำในพระตำหนักด้านในนั้น พระศิวะเสด็จกลับมาและเมื่อจะเสด็จเข้าไปด้านใน ก็ทรงถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากมิทรงทราบว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกัน พระศิวะก็มิทรงทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระปารวตีทรงเสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ทรงถูกขัดพระทัยก็ทรงพิโรธและทรงตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้ พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กหนุ่มนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใคร เพราะตนกำลังทำตามพระบัญชาของพระปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของพระศิวะจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป

ในขณะนั้นเอง พระปารวตีเมื่อทรงได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็เสด็จออกมาด้านนอก และถึงกับทรงสิ้นพระสติเมื่อทอดพระเนตรร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อทรงได้พระสติก็ทรงมีความโศกาอาดูรและตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง เมื่อทรงได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้น พระศิวะก็ตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่ แต่ก็เกิดปัญหาเนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งทรงกระวนกระวายพระทัย เนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อเห็นเช่นนั้น พระศิวะ จึงทรงโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรกที่พบมา และปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมา ซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่ พร้อมยกย่องให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า "พระพิฆเนศ" ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค และยังประทานพรว่าในการประกอบพิธีการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น

เนื่องจากพระพิฆเนศมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่น ๆ นั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ดังนี้

  1. พระเศียรของพระองค์หมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต
  2. พระวรกายแสดงถึงการที่ทรงเป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี
  3. พระเศียรช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด
  4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า "โอม" (ॐ) ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล
  5. พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้างที่หักครึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์ มหาภารตะ ให้ ฤๅษีวยาส และเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละ
  6. พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง ทรงป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก
  7. อีกพระหัตถ์ทรงลูกประคำ แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  8. ขนมโมทกะ หรือขนมลัฑฑูในงวง เป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความหวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเอง เพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่น ๆ
  9. พระกรรณที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัด หมายความว่าพระองค์ทรงพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา
  10. งูที่พันอยู่รอบพระอุทร แสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ
  11. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือพระองค์ และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก

เทศกาลคเณศจตุรถี

การอุ้มเทวรูปพระพิฆเนศลงน้ำ ที่เมืองมุมไบ ในเทศกาลคเณศจตุรถี

เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระองค์ทรงชนะอสูร เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬารเพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่าง ๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี เป็นต้น แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล

เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่าง ๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ "เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน[22]

พระพิฆเนศกับการนำมาเป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบัน

จากคติความเชื่อที่ว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ โดยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ด้วยความเลื่อมใสของพระองค์ที่มีต่อพระพิฆเนศ จนถึงขนาดที่ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระพิฆเนศขึ้น ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้ง วรรณคดีสโมสร ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อ กรมศิลปากร เกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรม โดยตรากรมศิลปากร ใช้เป็นรูปพระพิฆเนศประทับลวดลายกนกลักษณะคล้ายเมฆ ทรงถือปาศะครอบน้ำวัชระและทันตะอยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยดวงแก้ว 7 ดวง หมายถึงศิลปวิทยา 7 อย่างที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกรมศิลปากร และต่อมายังได้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร[23][24] วิทยาลัยช่างศิลป และ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [25][26]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ใน พ.ศ. 2553 ค่าย Shemaroo Entertainmant ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนอินเดีย เรื่อง "Bal Ganesh" หรือในชื่อภาษาไทยว่า พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งปัญญา ถึง 2 ภาค

อ้างอิง

  1. Heras 1972, p. 58.
  2. Getty 1936, p. 5.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 834
    • Narain, A.K. "Gaṇeśa: A Protohistory of the Idea and the Icon". Brown, pp. 21–22.
    • Apte, p. 395.
  4. For the derivation of the name and relationship with the gaṇas, see: Martin-Dubost. p. 2.
  5. 6.0 6.1 Apte 1965, p. 395.
  6. The word gaṇa is interpreted in this metaphysical sense by Bhāskararāya in his commentary on the gaṇeśasahasranāma. See in particular commentary on verse 6 including names Gaṇeśvaraḥ and Gaṇakrīḍaḥ in: Śāstri Khiste 1991, pp. 7–8.
  7. Grimes 1995, pp. 17–19, 201.
  8. Rigveda Mandala 2 เก็บถาวร 2 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Hymn 2.23.1, Wikisource, Quote: गणानां त्वा गणपतिं हवामहे कविं कवीनामुपमश्रवस्तमम् । ज्येष्ठराजं ब्रह्मणां ब्रह्मणस्पत आ नः शृण्वन्नूतिभिः सीद सादनम् ॥१॥; For translation, see Grimes (1995), pp. 17–19
    • Oka 1913, p. 8 for source text of Amarakośa 1.38 as vināyako vighnarājadvaimāturagaṇādhipāḥ – apyekadantaherambalambodaragajānanāḥ.
    • Śāstri 1978 for text of Amarakośa versified as 1.1.38.
  9. Y. Krishan, Gaṇeśa: Unravelling an Enigma, 1999, p. 6): "Pārvati who created an image of Gaṇeśa out of her bodily impurities but which became endowed with life after immersion in the sacred waters of the Gangā. Therefore he is said to have two mothers—Pārvati and Gangā and hence called dvaimātura and also Gāngeya."
  10. Krishan p. 6
  11. Thapan, p. 20.
  12. For the history of the aṣṭavināyaka sites and a description of pilgrimage practices related to them, see: Mate, pp. 1–25.
  13. These ideas are so common that Courtright uses them in the title of his book, Ganesha: Lord of Obstacles, Lord of Beginnings. For the name Vighnesha, see: Courtright 1985, pp. 156, 213
  14. For Krishan's views on Ganesha's dual nature see his quote: "Gaṇeśa has a dual nature; as Vināyaka, as a grāmadevatā, he is vighnakartā, and as Gaṇeśa he is vighnahartā, a paurāṇic devatā." Krishan, p. viii.
  15. Martin-Dubost, p. 367.
  16. Narain, A.K. "Gaṇeśa: The Idea and the Icon". Brown, p. 25.
  17. Thapan, p. 62.
  18. Myanmar-English Dictionary, Yangon: Dunwoody Press, 1993, ISBN 978-1881265474, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010, สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2010 {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  19. Justin Thomas McDaniel (2013). The Lovelorn Ghost and the Magical Monk: Practicing Buddhism in Modern Thailand. Columbia University Press. pp. 156–157. ISBN 978-0231153775.
  20. สืบสานประเพณีพิธีคเณศจตุรถี และคเณศวิวาหะ (แต่งงานพระคเณศ), Sanook.com วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 2:42 น.
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่องกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒, ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๕๓ เล่ม ๖๘ หน้า ๑๒๙๖ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๔
  22. ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๕ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
  23. ความเชื่อ เรื่อง พระพิฆเนศวรในบริบทของสังคมไทย
  24. ไทยนับถือพระคเณศมากสุดในสุวรรณภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น