ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าบีทีเอส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bp101697 (คุย | ส่วนร่วม)
Taewonder (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 286: บรรทัด 286:
| align="center" | [[ไฟล์:BTS E11.svg|25px]]
| align="center" | [[ไฟล์:BTS E11.svg|25px]]
| [[สถานีปุณณวิถี]]
| [[สถานีปุณณวิถี]]
| [[ทรู ดิจิทัล พาร์ค]]
| [[ทรู ดิจิทัล พาร์ค]] [[วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร|วัดธรรมมงคล]]
|-
|-
| align="center" | [[ไฟล์:BTS E12.svg|25px]]
| align="center" | [[ไฟล์:BTS E12.svg|25px]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:48, 23 กรกฎาคม 2562

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ และปทุมธานี
จำนวนสถานี43 (เฉพาะที่เปิดให้บริการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ
ระบบระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร [1]
เส้นทาง2
ผู้ดำเนินงานบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2572)
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2585)
ขบวนรถซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร 35 ขบวน
ซีอาร์อาร์ซี บอมบาร์ดิเอร์ 17 ขบวน
ซีเมนส์ อินสไปโร 22 ขบวน
ผู้โดยสารต่อวัน731,467 เที่ยวคน
ประวัติ
เปิดเมื่อ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ส่วนต่อขยายล่าสุด6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (สถานีปู่เจ้า-สถานีเคหะฯ)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง51.69 km (32.12 mi)
จำนวนทางวิ่ง2
รางกว้าง1.435 เมตร
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (อังกฤษ: The Elevated Train in Commemoration of H.M. the King's 6th Cycle Birthday) หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ประวัติ

รถไฟฟ้าชุดใหม่ของ BTS ขบวนละ 4 ตู้โดยสาร สั่งซื้อเมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 ใช้วิ่งหลักในสายสีลม

รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจากรถไฟฟ้ามหานคร โดยเกิดขึ้นจากการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากขณะนั้นในกรุงเทพมหานคร ไม่มีระบบขนส่งมวลชนทางราง มีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบเช่น รถไฟฟ้าลาวาลิน แต่มีแนวโน้มไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจาก คณะรัฐมนตรี ขณะที่การจราจรในกรุงเทพมหานคร ติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์ที่สะสมเพิ่มมากขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรีให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ)[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมา กรุงเทพมหานคร อนุมัติสัมปทานการก่อสร้างและจัดการเดินรถให้กับ บริษัท ธนายง จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)) ของคีรี กาญจนพาสน์ ทีแรกกำหนดให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่สวนลุมพินี แต่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สวนลุมพินีเพื่อออกกำลังกายเป็นประจำได้รวมตัวประท้วงการเข้าใช้พื้นที่ว่าขัดต่อพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากโครงสร้างยกระดับลอยฟ้าเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ในที่สุดจึงได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุง ไปใช้ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นที่ทำการ สถานีขนส่งสายเหนือเดิม (สถานีหมอชิต) ใกล้กับสวนจตุจักร โดยในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้าธนายง[2] ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน

รถไฟฟ้าบีทีเอสได้มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายออกไปเพิ่มเติมอีกสองระยะโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในส่วนต่อขยายแรกหรือส่วนต่อขยายสายสมุทรปราการ(สีเขียวใต้) จากสถานีแบริ่ง ถึงสถานีเคหะฯ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีบันทึกข้อตกลงตามสัญญาว่าด้วยความเข้าใจกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในการรับโอนโครงการ โดยกรุงเทพมหานครได้รับโอนโครงการและเปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และในส่วนต่อขยายที่สองหรือส่วนต่อขยายสายพหลโยธิน (สีเขียวเหนือ) จากสถานีหมอชิต ถึงสถานีคูคต ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ไปจนถึง พ.ศ. 2563 ตามลำดับ

นอกจากส่วนต่อขยายทั้งสองส่วนแล้ว รถไฟฟ้าบีทีเอส ยังมีแผนส่วนต่อขยายอีกทั้งหมดสี่ส่วน คือส่วนต่อขยายสายสีลมส่วนใต้จากสถานีบางหว้า ถึงสถานีตลิ่งชัน ส่วนต่อขยายสายสีลมส่วนตะวันตก จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานียศเส ส่วนต่อขยายสายสมุทรปราการระยะที่สอง จากสถานีเคหะฯ ถึงสถานีบางปู และส่วนต่อขยายสายพหลโยธินระยะที่ 3 จากสถานีคูคต ถึงสถานีลำลูกกา ทำให้โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสมีเส้นทางระบบขนส่งมวลชนที่ยาวที่สุดในประเทศไทยที่ 89 กิโลเมตร เมื่อสร้างแล้วเสร็จครบทุกส่วน โดยรวมเส้นทางทั้งสองสายเข้าด้วยกัน

สายที่เปิดให้บริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการ 2 สายคือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 1 หรือ สายสุขุมวิท ("สายสีเขียวอ่อน" ระยะทาง 17 กิโลเมตร เมื่อแรกเปิดให้บริการและอีก 18.1 กิโลเมตร สำหรับส่วนต่อขยาย) และรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ สาย 2 หรือ สายสีลม ("สายสีเขียวเข้ม" ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร เมื่อแรกเปิดให้บริการและอีก 8.17 กิโลเมตร สำหรับส่วนต่อขยาย) [3]

โดยมีสถานีทั้งหมด 43 สถานี (นับสถานีเชื่อมต่อเป็นสถานีเดียว, ไม่รวม 2 สถานีโครงการในอนาคต) เชื่อมต่อทั้ง 2 สาย ที่สถานีสยาม และรวมระยะทางทั้งสิ้น 51.69 กิโลเมตร

เส้นทาง เปิดให้บริการ ต่อขยายล่าสุด สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
width=5 bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines 2542 2562 หมอชิต
(จตุจักร)
เคหะฯ
(อำเภอเมืองสมุทรปราการ)
37.02 km (23.00 mi) 31
width=5 bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines 2542 2556 สนามกีฬาแห่งชาติ
(ปทุมวัน)
บางหว้า
(ภาษีเจริญ)
14.67 km (9.12 mi) 13

ส่วนต่อขยาย

สายสุขุมวิท

สายสีลม

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

รถไฟฟ้ามหานคร

จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีศาลาแดง-สถานีสีลม
รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในปัจจุบัน
สถานีหมอชิต แม่แบบ:BTS Lines : สถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อโดยตรง
สถานีอโศก แม่แบบ:BTS Lines : สถานีสุขุมวิท เชื่อมต่อโดยตรง
สถานีศาลาแดง แม่แบบ:BTS Lines : สถานีสีลม มีทางเดินยกระดับระยะทางประมาณ 150 เมตร
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
สถานีชิดลม แม่แบบ:BTS Lines : สถานีประตูน้ำ เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับราชประสงค์นอร์ทวอล์ก ระยะทางประมาณ 400 เมตร
สถานีสยาม
สถานีราชเทวี แม่แบบ:BTS Lines : สถานีราชเทวี เชื่อมต่อโดยตรง
สถานีห้าแยกลาดพร้าว แม่แบบ:BTS Lines : สถานีพหลโยธิน เชื่อมต่อด้วยสะพานยกระดับจากตัวสถานีมาเชื่อมกับ
สะพานยกระดับข้ามแยกเดิมของสายสีน้ำเงิน
สถานีบางหว้า แม่แบบ:BTS Lines : สถานีบางหว้า เชื่อมต่อโดยตรง

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ไฟล์:BTS to ARL bridge.jpg
ทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ทลิงก์ ได้ที่สถานีพญาไท โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มายังสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งประตูเครื่องตรวจตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมบริเวณกลางสถานี ทำให้พื้นที่ที่ผ่านเครื่องตรวจตั๋วโดยสารแล้ว (paid area) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะเดียวกันกับสถานีสยาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะต่อรถเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
สถานีพญาไท แม่แบบ:BTS Lines : สถานีพญาไท เชื่อมต่อโดยตรง
วุฒากาศ แม่แบบ:BTS Lines : สถานีวุฒากาศ เชื่อมต่อโดยตรง
สถานียสเส แม่แบบ:BTS Lines : สถานียศเส เชื่อมต่อโดยตรง
สถานีตลิ่งชัน แม่แบบ:BTS Lines : สถานีตลิ่งชัน เชื่อมต่อโดยตรง

รถบริการรับส่ง

ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเคยให้บริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่า รถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 5 สายดังนี้

โดยบริการรถรับส่งนี้ไม่คิดค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 06.30–22.30 น

ปัจจุบันได้ยกเลิกบริการดังกล่าวทุกเส้นทางแล้วตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549

นอกจากนี้ยังมีเอกชนให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสใกล้เคียงไปยังสถานที่ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้

โดยบริการดังกล่าวไม่เสียค่าบริการ ยกเว้นเส้นทางหมอชิต–อิมแพ็ค เมืองทองธานีจะเก็บค่าโดยสาร 30 บาทต่อเที่ยว เนื่องจากเส้นทางหลักต้องผ่านทางด่วน

ท่าเรือ

บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีสะพานตากสิน กับท่าเรือสาทร

ทางเดินเข้าอาคาร

รหัสสถานี สถานี ทางเดินเข้าอาคาร
สถานีหมอชิต อาคาร เดอะ ไลน์ จตุจักร-หมอชิต (คอนโดมิเนียม)
สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า และอาคารรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สถานีพญาไท ซีพีทาวเวอร์ 3 อาคาร A และ อาคาร B
สถานีราชเทวี โรงแรมเอเชีย (ตั้งแต่เวลา 07.00–23.00 น.)
สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สถานีสยาม สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, สยามสแควร์วัน, เซ็นเตอร์พ้อยท์ แอท สยามสแควร์, เซ็นทรัลเวิลด์, เกษรวิลเลจ และอมรินทร์พลาซา, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาราชดำริ, เดอะ มาร์เก็ต บาย แพลตตินั่ม และแพลตตินั่ม ช้อปปิ้ง พลาซา (ผ่านทางเดินเชื่อม)
สถานีราชดำริ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพ
สถานีศาลาแดง ศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์, ตึกธนิยะ, ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผ่านทางเชื่อมของสายสีน้ำเงิน)
สถานีช่องนนทรี อาคารสาธรธานี, อาคารสาธรสแควร์, อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ และ อาคารคิง เพาเวอร์ มหานคร
สถานีสุรศักดิ์ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร
สถานีชิดลม เซ็นทรัลเวิลด์ (ผ่านทางเชื่อม), ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาชิดลม, อาคารเมอร์คิวรี่ วิลล์, เอราวัณบางกอก, เกษรวิลเลจ และอมรินทร์พลาซา, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาราชดำริ, เดอะ มาร์เก็ต บาย แพลตตินั่ม และแพลตตินั่ม ช้อปปิ้ง พลาซา (ผ่าน Ratchaprasong Walk) และเซ็นทรัล เอ็มบาสซี (ผ่านเซ็นทรัลชิดลม)
สถานีเพลินจิต อาคารปาร์ค เวนเจอร์, อาคารเวฟเพลส และห้างโฮมโปร สาขาเพลินจิต, และเซ็นทรัล เอ็มบาสซี
สถานีนานา อาคาร คิว เฮาส์ สุขุมวิท (คอนโดมิเนียม), โรงแรมไฮแอท รีเจนซี สุขุมวิท และไฮด์ สุขุมวิท (คอนโดมิเนียม)
สถานีอโศก อาคารเอ็กซ์เชนจ์, อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21, โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท, ศูนย์การค้าไทม์สแควร์, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท และโรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท, เทอร์มินัล 21 อโศก, โรงแรมปาร์คพลาซา สุขุมวิท, เอ็มสเฟียร์ , โรงแรมโซลาเรีย นิชิเท็ตสึ กรุงเทพ (ในอนาคต)
สถานีพร้อมพงษ์ ดิ เอ็มดิสทริค (เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์)
สถานีทองหล่อ อาคารโนเบิลรีมิกซ์ 2 (คอนโดมิเนียม)
สถานีเอกมัย ศูนย์การแพทย์แบงค็อกเมดิเพล็กซ์ เซ็นเตอร์ และอาคารณุศาศิริ สุขุมวิท (คอนโดมิเนียม), ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย, อาคารสหกรณ์กรุงเทพ และโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สุขุมวิท
สถานีพระโขนง ดับเบิ้ลยู ดิสทริกต์, โรงแรมบีทโฮเทล, เลอรัก คอนโดมิเนียม, สกายวอล์ค คอนโดมิเนียม (โครงการ)
สถานีอ่อนนุช เทสโก้ โลตัส สุขุมวิท 50 และ ศูนย์การค้าเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซา สุขุมวิท
สถานีปุณณวิถี ทรู ดิจิทัล พาร์ค วัดธรรมมงคล
สถานีอุดมสุข ศูนย์การค้า แบงค็อก มอลล์ (โครงการ)
สถานีบางนา ศูนย์การประชุมนานาชาติไบเทคบางนา (ฮอลล์ 98-99), ศูนย์การประชุมภิรัช และอาคารภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค, อาคารเดอะคอสท์ บางนา (คอนโดมิเนียม) และ ศูนย์การค้า แบงค็อก มอลล์ (โครงการ)
สถานีสำโรง ศูนย์การค้า อิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง
สถานีปู่เจ้า ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สำโรง 2
สถานีแพรกษา ศูนย์การค้า โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สมุทรปราการ และ ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สมุทรปราการ
ในอนาคต สายสุขุมวิทส่วนเหนือได้แก่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีรัชโยธิน และ สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีโครงการสร้างทางเดินเชื่อมต่อไปยังเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว, เอสซีบี ปาร์คพลาซา (ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่), เมเจอร์ รัชโยธิน และ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตามลำดับ
รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ที่สถานีสาทร ซึ่งเชื่อมต่อกับสถานีช่องนนทรี

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (Bangkok BRT)

สามารถเปลี่ยนไปใช้รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) สายสาทร–ราชพฤกษ์ ได้ที่สถานีช่องนนทรี โดยเชื่อมต่อกับสถานีสาทร ของรถโดยสารด่วนพิเศษ และที่สถานีตลาดพลูอีกแห่ง โดยเชื่อมต่อกับสถานีราชพฤกษ์ ของรถโดยสารด่วนพิเศษ

รถไฟฟ้าบีทีเอสได้ทำโครงการใช้บัตรโดยสารร่วมกันโดยผู้โดยสาร สามารถใช้บัตรโดยสารบีทีเอสสมาร์ทพาส-บีอาร์ที เพียงใบเดียวในการจ่ายเงินค่าโดยสารได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการสะสมคะแนนกับบัตรหนูด่วนพลัสได้ หากใช้บริการของบีอาร์ที เนื่องจากเป็นคนละบริษัท โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป สามารถใช้บัตรแรบบิทไปโดยสารบีอาร์ทีได้แล้ว

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น


ระบบรถไฟฟ้า

ภายในรถไฟฟ้าซีเมนส์ (EMU-A1)
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B)
ภายในรถไฟฟ้าซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B)
จอ DRM แสดงรายชื่อสถานีแบบเดิมภายในรถไฟฟ้าซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B)
จอ DRM แสดงรายชื่อสถานีแบบใหม่ภายในรถไฟฟ้าซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B)
รถไฟฟ้าซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-A2) ที่ประกอบเสร็จ ณ โรงงานโบซันคายา เมืองอังการา ประเทศตุรกี
ภายในรถไฟฟ้าซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-A2)
จอ DRM แสดงรายชื่อสถานีภายในรถไฟฟ้าซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-A2)
จอ DRM แสดงรายชื่อสถานีรูปแบบใหม่ภายในรถไฟฟ้าซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-A2)
ขบวนรถใหม่จากซีเอ็นอาร์ ฉางชุน ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

หมายเหตุ:

 EMU-A1 ให้บริการทั้งสายสุขุมวิทและสายสีลม 
 EMU-A2 ให้บริการเฉพาะสายสุขุมวิท
 EMU-B ให้บริการทั้งสายสีลมและสายสุขุมวิท
 *ข้อมูลล่าสุด 11 พฤษภาคม 2562

ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A1)

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 35 ขบวน

รถรุ่นโมดูลาร์ เมโทร (Modular Metro) ที่ประกอบขึ้นเป็นรถ 1 ขบวนมีทั้งหมด 3 แบบคือ

  1. เอ-คาร์ (A-Car) มีระบบขับเคลื่อนและมีห้องคนขับ
  2. บี-คาร์ (B-Car) มีระบบขับเคลื่อนแต่ไม่มีห้องคนขับ
  3. ซี-คาร์ (C-Car) ไม่มีทั้งระบบขับเคลื่อนและห้องคนขับ

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบัน มีเพียงแค่เอ-คาร์และซี-คาร์เท่านั้น โดยใน 1 ขบวนจะมีเอ-คาร์อยู่ที่หัวและท้ายขบวนจำนวน 2 ตู้ และมีซี-คาร์อยู่กลางขบวนรถ 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงเพิ่มได้สูงสุดถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตร และมีความกว้าง 3.20 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ความจุผู้โดยสารต่อรถไฟฟ้า 1 ขบวน

  • ความจุผู้โดยสารรวม 1 ขบวน ที่ 8 คน/ตารางเมตร
  • ความจุผู้โดยสาร 1 ตู้ (นั่ง + ยืน)
  • จำนวนที่นั่ง 1 ตู้ 42
  • จำนวนที่นั่ง 1 ขบวน 168 ที่นั่ง

ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B)

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 17 ขบวน

รถรุ่น ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน ที่ประกอบขึ้นเป็นรถ 1 ขบวนมีทั้งหมด 2 แบบคือ

  1. Tc-Car หรือ Trailer Car ไม่มีระบบขับเคลื่อน แต่มีห้องคนขับ
  2. M-Car หรือ Intermediate Car มีระบบขับเคลื่อน แต่ไม่มีห้องคนขับ

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบัน จะประกอบไปด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตรและมีความกว้าง 3.2 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ความจุผู้โดยสารต่อรถไฟฟ้า 1 ขบวน

  • ความจุผู้โดยสารรวม 1 ขบวน (4 ตู้) ที่ 8 คน/ตารางเมตร ประมาณ 1,490 คน
  • ความจุผู้โดยสารในตู้ Tc-Car (นั่ง + ยืน) ประมาณ 361 คน
  • ความจุผู้โดยสารในตู้ M-Car (นั่ง + ยืน) ประมาณ 384 คน
  • จำนวนที่นั่ง 1 ตู้ 42 ที่นั่ง
  • จำนวนที่นั่ง 1 ขบวน 168 ที่นั่ง

ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-A2)

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 22 ขบวน (จัดส่งถึงประเทศไทยแล้ว 14 ขบวน ให้บริการจริง 12 ขบวน อยู่ระหว่างทดสอบและใช้เป็นขบวนสำรอง 2 ขบวน)

รถไฟฟ้าบีทีเอสรุ่น ซีเมนส์ อินสไปโร ที่ประกอบขึ้นเป็นรถ 1 ขบวนมีทั้งหมด 3 แบบคือ

  1. Mc-Car หรือ Motor Car with Cab มีทั้งระบบขับเคลื่อนและห้องคนขับ
  2. M-Car หรือ Motor Car มีระบบขับเคลื่อน แต่ไม่มีห้องคนขับ
  3. T-Car หรือ Trailer Car ไม่มีทั้งระบบขับเคลื่องและห้องคนขับ

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสรุ่นใหม่ จะประกอบไปด้วย Mc-Car และ T-Car โดย Mc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ T-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตรและมีความกว้าง 3.12 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์พร้อมระบบกรองอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน มีกล้องวงจรปิดสำหรับบันทึกและสอดส่องผู้โดยสาร และประหยัดพลังงานกว่ารถไฟฟ้าซีเมนส์รุ่นเดิมที่ใช้งานอยู่ รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ความจุผู้โดยสารต่อรถไฟฟ้า 1 ขบวน

  • ความจุผู้โดยสารรวม 1 ขบวน (4 ตู้) ที่ 8 คน/ตารางเมตร 1,572 คน
  • จำนวนที่นั่ง 1 ตู้ ที่นั่ง 28 ที่นั่ง และที่สำหรับยืนพิง (Perch Seat) 14 ที่
  • จำนวนที่นั่ง 1 ขบวน ที่นั่งรวม 112 ที่นั่ง

การจัดหารถไฟฟ้าเพื่อรองรับส่วนต่อขยายหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต และแบริ่ง–สมุทรปราการ

ทั้งนี้เพื่อรองรับเส้นทางที่ยาวเพิ่มขึ้น บีทีเอสซีจึงได้มีการจัดหารถไฟฟ้าเพิ่มเติม โดยในปี พ.ศ. 2559 ได้ลงนามสัญญาสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมด 46 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ มูลค่า 10,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • สัญญาที่ 1 ว่าจ้างกิจการร่วมค้าซีเมนส์-โบซันคาย่า ในการผลิตรถไฟฟ้า ซีเมนส์ อินสไปโร จำนวน 22 ขบวน โดยจำนวน 12 ขบวนจะใช้รองรับในช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ อีก 7 ขบวนรองรับเส้นทางปัจจุบัน หมอชิต-แบริ่ง และเป็นขบวนรถไฟฟ้าสำรอง 3 ขบวน รถไฟฟ้าชุดนี้จะผลิตขึ้นที่โรงงานโบซันคาย่า ประเทศตุรกี โดยซีเมนส์จะเป็นผู้ออกแบบขบวนรถไฟฟ้า จัดหาอะไหล่ที่จำเป็น ควบคุมงานประกอบ และให้บริการหลังการขาย 16 ปีนับจากวันที่ส่งขบวนแรกมาประเทศไทย
  • สัญญาที่ 2 ว่าจ้าง บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด ในการผลิตรถไฟฟ้าซีเอ็นอาร์รุ่นปัจจุบัน (EMU Type-B) เพิ่มเติม 24 ขบวน ใช้รองรับในช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต 21 ขบวน และเป็นขบวนรถไฟฟ้าสำรอง 3 ขบวน โดยใช้วัสดุในการประกอบรถไฟฟ้าจากแหล่งเดิม เพื่อให้ได้มาตรฐานที่บีทีเอสซีกำหนดไว้

รถไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากทั้งสองสัญญานี้ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เหมือนกันทั้งหมด คือ ใช้ระบบแสดงผลสถานีแบบอัตโนมัติ (DRM: Dynamic Route Map) รูปแบบใหม่โดยเปลี่ยนเป็นจอ LCD และมีตู้พิเศษที่จะไม่ติดตั้งเก้าอี้นั่งในบางจุดโดยเปลี่ยนเป็นที่สำหรับยืนพิง (Perch Seat) และติดกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยในทุกตู้โดยสาร รถไฟฟ้าชุดนี้จะเริ่มจัดส่งเข้าประเทศไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน โดยรถไฟฟ้าซีเมนส์จะถูกจัดเก็บไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงสมุทรปราการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ และรถไฟฟ้าฉางชุนจะจัดเก็บไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงคูคต ในพื้นที่เขตสายไหมของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ และพร้อมให้บริการพร้อมกับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใน พ.ศ. 2561 และ 2563 ตามลำดับ

การให้บริการ

บัตรโดยสารและอัตราค่าโดยสาร

เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารเที่ยวเดียวรุ่นเก่า (ปัจจุบันถูกปรับปรุงใหม่ เป็นเครื่องจำหน่ายตั๋วแบบใหม่ทั้งหมด)
เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารเที่ยวเดียวรุ่นใหม่
ไฟล์:บัตรโดยสารเที่ยวเดียวแบบบาง(เริ่มใช้2018).jpg
บัตรโดยสารเที่ยวเดียวแบบใหม่ชนิดบาง
ไฟล์:QR Code on BTS TIM.jpeg
หน้าจอของเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารด้วยคิวอาร์โค้ด

บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นบัตรที่ใช้เทคโนโลยีของบัตรสมาร์ตการ์ดแบบไม่มีการสัมผัสที่ติดตั้งไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) ปัจจุบันแบ่งใช้งานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. บัตรโดยสารแบบสมาร์ตการ์ดชนิดบาง (Thin Card) สามารถใช้เดินทางได้ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และสามารถเดินทางข้ามไปยังโครงการ รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง, รถไฟฟ้าสายสีชมพู, รถไฟฟ้าสายสีทอง และระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ของกลุ่มบีทีเอสและบริษัทในเครือที่จะเปิดใช้งานในอนาคตได้ โดยไม่ต้องออกบัตรใหม่ที่สถานีเชื่อมต่อ มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
    1. บัตรประเภทเที่ยวเดียว คิดค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทางจริง สามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติชนิดหยอดเหรียญหรือธนบัตร และที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ซึ่งใช้ได้เฉพาะวันที่ซื้อเท่านั้น โดยมีอัตราค่าโดยสารดังต่อไปนี้
      • อัตราค่าโดยสารสำหรับบุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาท สูงสุด 44 บาท โดยไม่รวมค่าโดยสารของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (บางจาก–เคหะฯ/ห้าแยกลาดพร้าว–คูคต) และส่วนต่อขยายสายสีลม (โพธิ์นิมิตร–บางหว้า) ซึ่งคิดค่าโดยสารแยกต่างหากในอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 21 บาท
    2. บัตรประเภท 1 วัน ราคา 140 บาท ใช้เดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวและระยะทางตั้งแต่เวลาที่ซื้อบัตร จนถึงเวลาปิดทำการในแต่ละวัน (24.00 น. หรือตามเวลาที่บีทีเอสซีกำหนด) สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี
  2. บัตรแรบบิท (Rabbit Card) สามารถใช้เดินทางได้ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ และระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร กลุ่มบีทีเอสและบริษัทในเครือที่จะเปิดใช้งานในอนาคตได้ อีกทั้งยังสามารถใช้จ่ายแทนเงินสดได้กับร้านค้าที่ร่วมรายการ เริ่มจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555 มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่
    1. แรบบิทมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ บุคคลทั่วไป, ผู้สูงอายุ และนักเรียน-นักศึกษา โดยสามารถขอออกบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และสถานีรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ทีทุกสถานี และสามารถเติมเงินได้ตามสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส, สถานีรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที หรือจุดบริการเติมเงินต่างๆ ที่เปิดให้บริการ มีค่าธรรมเนียมในการออกบัตร 200 บาท โดยแบ่งเป็นค่าธรรมเนียมในการออกบัตรใหม่ 100 บาท และยอดเงินเริ่มต้น 100 บาท สามารถเติมได้ทั้งเงินสดและเที่ยวการเดินทางตามโปรโมชั่นของบีทีเอสหรือตามที่กลุ่มบีทีเอสเป็นผู้กำหนด บัตรมีอายุการใช้งาน 7 ปี สามารถเติมมูลค่าในบัตรได้สูงสุด 4,000 บาท โดยมูลค่าในบัตรมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ใช้งานครั้งสุดท้าย
    2. แรบบิทพิเศษ เป็นบัตรแรบบิทที่บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด เป็นผู้ออกมาจำหน่ายในแบบจำนวนจำกัด โดยจะออกวางจำหน่ายตามเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระราชสมภพ, วันพระราชพิธี หรือวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น
    3. แรบบิทธุรกิจ เป็นบัตรแรบบิทที่ออกตามความต้องการของบริษัทพันธมิตร โดยมีการออกลายหน้าบัตรเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ หรือทำเป็นของที่ระลึกเนื่องในโอกาสต่างๆ โดยลายแรกของบัตรแรบบิทธุรกิจคือ บัตรแรบบิท-แครอท ลิมิเต็ด อิดิชั้น ที่ออกเพื่อเป็นการสมนาคุณกับสมาชิกบัตรหนูด่วนพลัส
    4. แรบบิทร่วม เป็นบัตรแรบบิทที่ออกร่วมกับองค์กรต่างๆ เช่น การรวมบัตรแรบบิทเข้ากับบัตรเอทีเอ็ม, บัตรเดบิต, บัตรเครดิต, ใช้บัตรแรบบิทเป็นบัตรนักศึกษา หรือใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น
  3. บัตรเอไอเอส แรบบิท ไลน์เพย์ (AIS Rabbit LINE Pay Card) เป็นบัตรแรบบิทมาตรฐานและบัตรแรบบิทพิเศษ ที่ผนวกความสามารถของบริการ เอไอเอส แรบบิท ไลน์เพย์ ของบริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด เข้ามาไว้ในบัตรใบเดียว ทำให้สามารถใช้เดินทางโดยการตัดค่าโดยสารผ่านบัญชีแรบบิท ไลน์เพย์ หรือผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตโดยตรงได้ โดยเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561
    สำหรับค่าโดยสารของบัตรแรบบิทและบัตรเอไอเอส แรบบิท ไลน์เพย์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1. ค่าโดยสารแบบเงินสด
      • บัตรแรบบิทและบัตรเอไอเอส แรบบิท ไลน์เพย์ สำหรับบุคคลทั่วไป คิดค่าโดยสารตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 43 บาท โดยไม่รวมค่าโดยสารของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท และส่วนต่อขยายสายสีลมในราคาเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 21 บาท
      • บัตรแรบบิทและบัตรเอไอเอส แรบบิท ไลน์เพย์ สำหรับนักเรียนนักศึกษา คิดค่าโดยสารตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 43 บาท โดยไม่รวมค่าโดยสารของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท และส่วนต่อขยายสายสีลมในราคาเริ่มต้น 10 บาท สูงสุด 16 บาท
      • บัตรแรบบิทและบัตรเอไอเอส แรบบิท ไลน์เพย์ สำหรับผู้สูงอายุ คิดค่าโดยสารตามระยะทาง เริ่มต้น 7 บาท สูงสุด 21 บาท โดยไม่ร่วมค่าโดยสารของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท และส่วนต่อขยายสายสีลมในราคาเริ่มต้น 7 บาท สูงสุด 13 บาท
      • อัตราค่าโดยสารพิเศษ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 – 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
    2. เที่ยวเดินทาง
      • เที่ยวเดินทางสำหรับบุคคลทั่วไป
        • 50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 26 บาท
        • 40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท
        • 25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 29 บาท
        • 15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 31 บาท
      • เที่ยวเดินทางสำหรับนักเรียนนักศึกษา
        • 50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 19 บาท
        • 40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 20 บาท
        • 25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 22 บาท
        • 15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 24 บาท
      • เที่ยวเดินทางสามารถใช้เดินทางได้ในเฉพาะเส้นทางสัมปทาน (อ่อนนุช–หมอชิต และ สนามกีฬาแห่งชาติ–สะพานตากสิน) และส่วนต่อขยายสายสีลมระยะที่ 1 (สะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่) เท่านั้น กรณีต้องการเดินทางเข้า-ออกส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (บางจาก–เคหะฯ/ห้าแยกลาดพร้าว–คูคต) และส่วนต่อขยายสายสีลมระยะที่ 2 (โพธินิมิตร–บางหว้า) ต้องมีเงินในบัตรคงเหลือขั้นต่ำ 15 บาท ถึงจะสามารถเข้า-ออกระบบที่สถานีส่วนต่อขยายได้
  4. บัตรแรบบิทพลัส (Rabbit Plus Card) เป็นบัตรแรบบิทที่ผนวกความสามารถของบัตรแมงมุมด้วยการติดตั้งชิปแบบ Hybrid Chip ทั้งไมโครชิปไร้สัมผัส และชิปแบบ EMV แบบเดียวกับบัตรเครดิต สามารถใช้ได้ในทุกระบบการขนส่ง ตั้งแต่รถไฟฟ้า, รถประจำทาง, เรือโดยสาร, ทางด่วน และทางพิเศษ ภายในบัตรเดียว จะพร้อมให้บริการภายใน พ.ศ. 2564 บัตรดังกล่าวแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    1. แรบบิทพลัสสำหรับบุคคลทั่วไป มีคุณสมบัติเทียบเท่าบัตรแมงมุมสำหรับบุคคลทั่วไป
    2. แรบบิทพลัสสำหรับนักเรียนและนักศึกษา สามารถใช้งานได้ตั้งแต่อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 23 ปี หรือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีคุณสมบัติเทียบเท่าบัตรแมงมุมสำหรับนักเรียนและนักศึกษา
    3. แรบบิทพลัสสำหรับผู้สูงอายุ บัตรสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีคุณสมบัติเทียบเท่าบัตรแมงมุมสำหรับผู้สูงอายุ
    4. แมงมุมสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นบัตรพิเศษสำหรับผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ที่มีรายได้น้อย โดยมีงบค่าโดยสาร 500 บาท/เดือน ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว

การส่งเสริมการขายร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ให้บริการตรวจสุขภาพฟรี หรือรู้จักกันในคลินิกลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ และยังมีความร่วมมือกับโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล (สะพานควาย) ในการให้บริการตรวจเลือดฟรีหรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจฟรีอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเดิมเงินในบัตรเดินทางตามจำนวนที่บริษัทกำหนด (ที่ผ่านมา 300 บาท) ในบัตรเดินทางประเภท (BTS Rabbit) เท่านั้น ซึ่งทั้งสองโครงการมีปีละครั้ง

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ให้บริการส่วนลดร้านค้าอื่นๆ ตามประกาศของธนาคารกรุงเทพ สำหรับผู้ที่ใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพที่ใช้ร่วมกับบัตรเดินทางประเภท (BTS Rabbit) รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เท่านั้นโดยจะประกาศเป็นช่วงระยะเวลาเช่นเดียวกัน

การสนับสนุนภาครัฐ

การสนับสนุนภาครัฐของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษามีความเหมือนกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลทุกประการยกเว้นไม่มีได้มีรายการรู้รักภาษาไทยในขบวนรถ อย่างไรก็ดีได้มีบริการข่าวสารจากเครือเนชั่น, วอยซ์ทีวี และสปริงนิวส์ ทั้งบนรถและชานชาลาสถานีรถไฟแทน

คนพิการ

ในส่วนการดำเนินการเพื่อคนพิการมีความแตกต่างกัน เนื่องจากรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาสงวนสิทธิ์คนพิการในการเปลี่ยนสถานีกลางคัน (ห้ามเปลี่ยนสถานี) และมีตั๋วให้ทุกครั้งที่ใช้บริการพร้อมเลขที่กำกับตั๋ว ซึ่งต้องให้คนพิการลงนามกำกับทุกครั้งและเจ้าพนักงานของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาต้องเซ็นกำกับที่ตั๋วทุกครั้งและอาจต้องแสดงตั๋วกับพนักงานรักษาความปลอดภัยก่อนออกจากสถานีต้นทาง เมื่อถึงที่หมายจะมีเจ้าพนักงานหรือพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยรับผู้โดยสารบริเวณชานชาลาเพื่ออำนวยความสะดวกในการพาไปยังทางออกที่ต้องการ และมีเจ้าพนักงานมีอำนาจในการเปิดหรือปิดประตูรับตั๋วบริเวณทางออกซึ่งต้องเป็นเจ้าพนักงานของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาเท่านั้น การดำเนินการทั้งหมดจึงใช้เวลามากกว่ารถไฟฟ้ามหานคร โดย ณ ปัจจุบัน ตั๋วที่ออกให้กับผู้พิการมีสี่สีคือสีฟ้าออกที่สถานีกรุงธนบุรี, ตั๋วสีน้ำตาลออกที่สถานีสยาม, ตั๋วสีม่วงออกที่สถานีหมอชิต และตั๋วสีเขียวใช้กับสถานีทั่วไป

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ

ตามนโยบายของภาครัฐฯ ที่ต้องการสนับสนุนสวัสดิการในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทโดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ธนาคารกรุงไทยจึงได้ผนวกบัตรแมงมุมเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดบริวารโดยรอบ และกำหนดให้มีงบค่าโดยสารในบัตรเดือนละ 500 บาท โดยผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้งานที่สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองได้ทันทีเมื่อเปิดใช้บริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอส ร่วมกับกรมบัญชีกลาง และธนาคารกรุงไทย พร้อมให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสายสุขุมวิทและสายสีลมกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ได้ฟรีตั้งแต่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยผู้โดยสารจะต้องแสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อรับบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบเที่ยวเดียว จำกัดครั้งละ 2 ใบ ทั้งนี้ยอดค่าโดยสารต้องไม่เกินวงเงินคงเหลือในบัตร และไม่เกินกรอบวงเงินสำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน 500 บาท/เดือน หากใช้บริการเกินวงเงิน เจ้าหน้าที่จะออกบัตรโดยสารเที่ยวเดียวมูลค่าต่ำสุด (16 บาท) ให้ผู้ถือบัตรฯ สามารถเข้าระบบได้ และผู้ถือบัตรฯ จะต้องชำระส่วนต่างที่เหลือที่สถานีปลายทางก่อนออกจากระบบ[4]

ความปลอดภัย

เว็บไซต์ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพระบุว่า รถไฟฟ้าบีทีเอสมีความปลอดภัยสูง นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ไม่พบว่ามีรายงานอุบัติเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร[5][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] บริษัทฯ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารจึงพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุ รวมถึงจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินไว้ในขบวนรถและบนสถานี รวมถึงจัดเตรียมมาตรการตรวจสอบ การซ่อมบำรุง การปรับปรุงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังจัดทำคู่มือการใช้ระบบอย่างปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร

ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสได้พัฒนาเข้าสู่ระบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Management System) ตามมาตรฐาน BPM (Best Practice Model) ของ Lloyd Register Rail ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการขนส่งระบบราง และได้เข้าสู่ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001) ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อมาตรฐานสูงสุดในการให้บริการ และมอบความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสารทุกครั้งที่มาใช้บริการ[6]

ความปลอดภัยในการเดินรถ

ในการเดินรถปกติ รถไฟฟ้าทุกขบวนจะใช้ระบบควบคุมรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control: ATC) ซึ่งอยู่ภายใต้ระบบการเดินรถไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Train Operation: ATO) ที่ความเร็วจำกัดไม่เกิน 80 กม./ชม. และมีระบบป้องกันความผิดพลาดของการเดินรถ (Automatic Train Protection: ATP) เป็นระบบควบคุมระยะห่างระหว่างขบวนรถให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัย รวมถึงควบคุมความเร็วของขบวนรถให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

ความปลอดภัยในขบวนรถ

ห้องโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้รับการออกแบบไม่ให้มีส่วนแหลมคม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้โดยสาร และใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ และยากต่อการลุกลามเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในขบวนรถ เช่น เพลิงไหม้, ผู้โดยสารเจ็บป่วยกระทันหัน หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ผู้โดยสารสามารถติดต่อเพื่อแจ้งเหตุแก่พนักงานควบคุมรถไฟฟ้าโดยกดปุ่มรูปกระดิ่งสีเหลือง ที่ติดตั้งไว้บริเวณประตูรถไฟฟ้า

ความปลอดภัยบนสถานี

โครงสร้างของสถานีได้รับการออกแบบและก่อสร้างภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคารและมาตรฐาน NFPA 130 ว่าด้วยการขนส่งมวลชนระบบราง และได้ติดตั้งระบบป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ภายใต้มาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ได้แก่ ถังดับเพลิง, สายฉีดน้ำดับเพลิง และระบบฉีดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ครอบคลุมพื้นที่ของสถานี รวมทั้ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบสายล่อฟ้าภายใต้มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และได้ติดตั้งปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) เพื่อใช้หยุดการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้า ไม่ให้เข้าหรือออกจากสถานีในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีผู้โดยสารพลัดตกลงราง

ระบบรักษาความปลอดภัยของรถไฟฟ้าบีทีเอส

รถไฟฟ้าบีทีเอสเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยภายในระบบ โดยได้กำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้สอดคล้องกับนโยบายด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO9001 : 2008 โดยได้แบ่งการบริหารจัดการงานรักษาความปลอดภัยออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่

1. ด้านบุคลากร

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

รถไฟฟ้าบีทีเอสได้จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 394 คน ต่อวัน ปฏิบัติหน้าที่บนสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 34 สถานี ที่อาคารศูนย์บริหารและควบคุมการเดินรถไฟฟ้า โรงจอดและซ่อมบำรุง และลานจอดรถหมอชิต แบ่งการปฏิบัติหน้าที่เป็น 2 ผลัด ผลัดละ 10–12 ชั่วโมง โดยจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสถานีละ 4 ถึง 10 คน (ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการ) ประจำบนชั้นชานชาลาฝั่งละ 1 คน ตลอดเวลาให้บริการ และบริเวณประตูอัตโนมัติบนชั้นจำหน่ายตั๋ว ฝั่งละ 1 คน ทั้งนี้ ในช่วงเวลากลางวันจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหญิงสถานีละ 1 คน คอยให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่เป็นสุภาพสตรีในกรณีต่างๆ เช่น คอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้โดยสารที่เป็นสุภาพสตรีที่เป็นลมหมดสติ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ จะเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อคอยตรวจตราความเรียบร้อยในขบวนรถไฟฟ้า

การฝึกอบรม

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกคน จะต้องผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัย รวมทั้ง ต้องผ่านการอบรบพิเศษเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และวิธีใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยภายในระบบ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมความรู้พิเศษอื่นๆ เพิ่ม เช่น วิธีช่วยเหลือนำทางคนตาบอด รวมทั้ง เข้าร่วมการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินกับหน่วยงานภายนอกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 6 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือผู้โดยสาร

การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

นอกจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารในระบบแล้ว รถไฟฟ้าบีทีเอสยังได้รับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ตำรวจและสุนัขตำรวจ (เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย สุนัขตำรวจ 2 ตัว) จากงานตรวจพิสูจน์ กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ตรวจหาวัตถุระเบิดในระบบ

2. เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จากกองกำกับการ 2 ศูนย์สืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ปฏิบัติหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยหรือมิจฉาชีพชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าบีทีเอสยังได้เตรียมพร้อมในการประสานงานเพื่อขอกำลังสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเพิ่มเติม ดังนี้ ตำรวจท้องที่ (ที่ใกล้เคียงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส), สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด, ศูนย์กู้ชีพเอราวัณ, โรงพยาบาลเลิศสิน, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลกลาง, ศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพ, โรงพยาบาลหัวเฉียว และกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ม. 2 รอ.)[7]

2. ด้านอุปกรณ์

เครื่องตรวจวัตถุโลหะ (Metal Detector/ Guard Scan) ใช้ตรวจหาวัตถุที่มีส่วนประกอบของโลหะ โดยได้ตั้งจุดตรวจไว้ที่ชั้นจำหน่ายตั๋วในเขตชำระเงิน บริเวณใกล้ประตูอัตโนมัติทั้ง 2 ฝั่ง ทุกสถานีใช้สุ่มตรวจกระเป๋าหรือสัมภาระของผู้โดยสาร เพื่อป้องปรามการก่ออาชญากรรมหรือการก่อวินาศกรรมในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส

ระบบตรวจการณ์ (Patrol Management System) รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้นำชุดอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ประกอบด้วย แท่งตรวจการณ์ (Patrol Stick) และจุดตรวจ (Patrol Checker) มาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแต่ละคนตรวจตราความเรียบร้อยของพื้นที่ตามเวลาและจุดตรวจที่กำหนดทั่วทั้งสถานี แล้วรายงานความเรียบร้อย หลังจากนั้นจะนำข้อมูลจากแท่งตรวจการมาประมวลผล เพื่อตรวจสอบรายงานการเดินตรวจการณ์ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแต่ละคน

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television System หรือ CCTV System) รถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดครอบคลุมพื้นที่สถานี อาคารศูนย์บริหารและควบคุมการเดินรถไฟฟ้า และโรงจอดและซ่อมบำรุง รวมทั้งสิ้น 1,507 ตัว (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2556) โดยมีศูนย์เฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัย (CCTV Security Center) อยู่ที่สถานีสยาม ซึ่งมีพนักงานปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารตลอดเวลาเปิดให้บริการ ทั้งนี้ เมื่อตรวจพบวัตถุหรือบุคคลต้องสงสัย จะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการทันที และสามารถย้อนดูภาพที่บันทึกไว้ได้ประมาณ 14 วัน

อุปกรณ์ตรวจวัตถุใต้ท้องรถ (Under Vehicle Search Mirror) ใช้ตรวจรถยนต์ทุกคันที่เข้าพื้นที่โรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า เพื่อป้องปรามการก่ออาชญากรรม หรือการก่อวินาศกรรม โดยจุดตรวจจะอยู่บริเวณทางเข้าโรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า[8]

การตรวจค้นกระเป๋า

อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย[9]พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาจึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[10]
เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด [11]

ประตูกั้นชานชาลา

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารพลัดตกจากชานชาลา เป็นประตูแบบ Half Height Platform Screen Door หรือประตูครึ่งบาน โดยเป็นรั้วสูง 1.50 เมตร บริเวณขอบชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า งบลงทุน 600 ล้านบาท เพื่อจัดระเบียบการขึ้นลงรถไฟฟ้าบีทีเอสให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากในเวลานั้นมีผู้โดยสารสูงสุด 7 แสนคนต่อวัน ทำให้เกิดความแออัดและหนาแน่นบริเวณทางเข้าออกของประตูรถไฟฟ้า โดยสถานีที่นำร่องก่อนคือ สถานีสยาม[12]

ประตูกั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีศาลาแดง

รายชื่อสถานีที่มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลา มีดังนี้ สยาม, อโศก, อ่อนนุช, พญาไท, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ศาลาแดง, ชิดลม, พร้อมพงษ์ และช่องนนทรี[ต้องการอ้างอิง]

แต่หลังจากเปิดทดสอบได้ไม่นานก็เกิดปัญหาทำให้ระบบควบคุมหลักไม่สามารถใช้การได้ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ระบบควบคุมชุดประตู ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเดินรถได้ และทำให้ระบบควบคุมการเดินรถทั้งหมดมีปัญหา เบื้องต้นบีทีเอสได้หารือกับบอมบาร์ดิเอร์และได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า จะยุติการทดสอบการใช้งานประตูกั้นชานชาลาก่อน เพื่อหาทางแก้ไขไม่ให้การเชื่อมต่อกับระบบประตูนั้น ทำให้ระบบรถไฟฟ้าล่มอีกเป็นครั้งที่สอง

ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครและบีทีเอสซี อยู่ในระหว่างการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาเพิ่มเติมในสถานีต่างๆ โดยบีทีเอสซีรับผิดชอบการติดตั้งในสถานีส่วนสัมปทาน 13 สถานี (ยกเว้นสถานีสะพานตากสินที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้าง) โดยเริ่มจากสถานีสุรศักดิ์และสถานีทองหล่อเป็นสองสถานีแรก และจะทยอยติดตั้งไปจนครบทุกสถานีในอนาคตโดยคำนวณจากปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยของแต่ละสถานี และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการติดตั้งในสถานีส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท แบริ่ง–เคหะฯ 9 สถานี เพื่อรองรับการเปิดให้บริการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 ในส่วนสถานีส่วนต่อขยายอีก 11 สถานี จะเริ่มดำเนินการติดตั้งในปีงบประมาณ 2562[ต้องการอ้างอิง] ในส่วนเส้นทางส่วนต่อขยายสำโรง–เคหะฯ ได้มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาแล้วเสร็จและเปิดใช้งานครบทั้ง 9 สถานีแล้ว

บริการอื่น

  • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับบริการนักท่องเที่ยวและสามารถหาซื้อสินค้าที่ระลึกได้ที่ สถานีสยาม, สถานีพญาไท และสถานีสะพานตากสิน
  • ศูนย์บริการประชาชน มีศูนย์บริการประชาชนของกรุงเทพมหานครที่เรียกว่า จุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ที่ สถานีสยาม, สถานีหมอชิต, สถานีพร้อมพงษ์, สถานีอุดมสุข, สถานีบางนา, สถานีแบริ่ง และสถานีวงเวียนใหญ่ ซึ่งให้บริการงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนและงานทะเบียนราษฎร์เป็นหลัก
  • ศูนย์การค้า มีบริการศูนย์การค้าขนาดย่อมในทุกสถานี ยกเว้น สถานีโพธิ์นิมิตร, สถานีตลาดพลู, สถานีวุฒากาศ, สถานีบางหว้า, สถานีสำโรง, สถานีปู่เจ้า, สถานีช้างเอราวัณ, สถานีโรงเรียนนายเรือ, สถานีปากน้ำ, สถานีศรีนครินทร์, สถานีแพรกษา, สถานีสายลวด และสถานีเคหะฯ
  • ตู้ถอนเงิน มีบริการตู้ถอนเงินในทุกสถานี ยกเว้น สถานีโพธิ์นิมิตร, สถานีตลาดพลู, สถานีวุฒากาศ, สถานีบางหว้า, สถานีสำโรง, สถานีปู่เจ้า, สถานีช้างเอราวัณ, สถานีโรงเรียนนายเรือ, สถานีปากน้ำ, สถานีศรีนครินทร์, สถานีแพรกษา, สถานีสายลวด และสถานีเคหะฯ โดยด้านนอกพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารจะเป็นตู้ถอนเงินของธนาคารกรุงเทพ ส่วนด้านในพื้นที่ตรวจบัตรโดยสาร มีให้บริการตู้ถอนเงินของธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา สลับกันไปตามแต่ละสถานี ในบางสถานีมีธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) มาเปิดสาขาย่อยบนสถานี และในอดีตธนาคารกสิกรไทยได้เปิดให้บริการสาขาย่อยขนาดเล็กภายในพื้นที่สถานีเช่นกัน
  • โทรศัพท์ ในอดีตโครงการมีบริการโทรศัพท์และตู้ทำธุรกรรมทางการเงินจาก ทรู คอร์ปอเรชั่น และทีโอที ให้บริการแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ เอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ เอช ในการวางโครงข่ายไร้สายใน 23 สถานี และร่วมมือกับ เอแอลที เทเลคอม ในการวางโครงข่ายไร้สายใน 30 สถานี ให้ผู้โดยสารสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนสถานีได้

สถิติผู้ใช้บริการ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยใน พ.ศ. 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว [13] และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มี​ผู้โดยสาร​ใช้​บริการ​รถไฟ​ฟ้า​เฉลี่ย​ใน​วัน​ทำ​การ​สร้าง​สถิติ​ใหม่​สูง​สุด​เท่ากับ 509,106 เที่ยว​/คน [14]

และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชี เมษายน พ.ศ. 2554 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมา 21.24% และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น 18.26% เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน[15] ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสมียอดผู้โดยสารสะสมครบ 2,000 ล้านคนไปเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 หลังเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 14 ปี 9 เดือน

สถานีสยาม เป็นสถานีที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการมากที่สุด จำนวน 148,000 เที่ยวคน/วัน
5 อันดับสถานีที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด [16]
ที่ สถานี จำนวน (เที่ยวคน/วัน)
1 สยาม 148,000
2 อโศก 135,000
3 หมอชิต 118,000
4 ศาลาแดง 88,000
5 อนุสาวรีย์ชัยฯ 87,000

สถิติผู้ใช้บริการ [17]

(นับเฉพาะเส้นทางสายหลัก ยกเว้นส่วนต่อขยายทุกระยะ)
ปี ยอดผู้โดยสารรวม ยอดผู้โดยสารเฉลี่ยรายวัน
1999 4,585,743 169,842
2000 55,092,671 150,469
2001 74,025,652 202,685
2002 93,493,981 256,033
2003 102,348,697 280,379
2004 115,681,448 316,068
2005 127,350,084 348,795
2006 140,048,849 383,635
2007 132,070,502 361,977
2008 136,350,007 372,551
2009 140,957,969 386,145
2010 143,102,971 392,376
2011 167,348,070 458,275
2012 194,113,068 530,422
2013 208,764,971 571,855
2014 219,422,367 598,984
2015 229,853,593 629,218
2016 237,047,435 647,752
2017 241,067,194 657,874
2018 240,139,471 658,123

อุบัติเหตุและความขัดข้อง

  • วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 07.40 น. นางจิราภรณ์ เกียรติชูศักดิ์ อายุ 49 ปี สะดุดร่วงตกลงไปในรางรถไฟฟ้าบนสถานีหมอชิต เนื่องจากนางจิราภรณ์รีบก้าวล้ำไปก่อน ทำให้พลาดสะดุดพื้นเซตกลงไปในรางตัดหน้าขบวนรถไฟฟ้าที่แล่นเข้ามา ในระหว่างเกิดเหตุได้ปิดการเดินรถเป็นการชั่วคราวระหว่างสถานีหมอชิตและสถานีสะพานควาย เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นจึงเปิดให้บริการตามปกติในเวลา 08.18 น. หลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ ทางบีทีเอสจึงเพิ่มมาตรการความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร[18]
  • วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553[19] รถไฟฟ้าบีทีเอสได้ประกาศปิดทำการทั้งสายเป็นเวลา 1 วัน เนื่องจากมีเหตุการณ์กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้นำยางรถยนต์ไปวางบนสถานีรถไฟฟ้าชิดลม จึงประกาศหยุดเดินรถ บริษัทจึงดำเนินการฟ้องร้อง โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๘๑ [20]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[21]รถไฟฟ้าสายสุขุมวิทเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถให้บริการได้ในเส้นทางระหว่างสถานีอโศกถึงสถานีอ่อนนุช เนื่องจากทำการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณรถไฟใหม่จากของบริษัทซีเมนส์ เป็นของบริษัทบอมบาร์ดิเอร์ และในวันถัดมา[22]รถไฟฟ้าสายสีลมก็เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถให้บริการได้ในช่วงเวลาระหว่าง 07.20–09.30 น. เนื่องด้วยเหตุผลประการเดียวกัน
  • วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09.30 น.[23] ร.ต.ท. สากล คำยิ่งยง ร้อยเวร สถานีตำรวจนครบาลพญาไท ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลราชวิถีว่า มีนักเรียนถูกแทงได้รับบาดเจ็บ โดยเมื่อไปถึงพบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรถไฟฟ้าบีทีเอส ควบคุมตัวนายธิติวัฒน์ วงศ์เสาร์ อายุ 18 ปี นักศึกษาชั้นปี 1 แผนกวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ซึ่งเป็นคนร้าย จึงควบคุมตัวมาดำเนินคดี ส่วนคนเจ็บทราบชื่อคือ นายกิติพัฒน์ ศิริเดชชัย อายุ 20 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีบาดแผลถูกแทงเข้าบริเวณช่องท้องด้านซ้าย แพทย์ผ่าตัดรักษาอาการจนพ้นขีดอันตราย
  • วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19.15 น.[24] เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างชาวต่างชาติกับพนักงานรักษาความปลอดภัยบนสถานีพร้อมพงษ์ โดยเจ้าหน้าที่ รปภ. ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พยายามขัดขวางและเข้าแย่งลูกโป่งสวรรค์ 4 ลูก จากชายชาวต่างชาติคนหนึ่ง ที่เดินถือผ่านช่องเสียบบัตรเข้าไปด้านในสถานีแต่ไม่สำเร็จ จึงได้เดินฝ่าเหล็กกั้นช่องทางสำหรับผู้พิการเข้าไปพร้อมกับลูกโป่งสวรรค์ ทำให้ รปภ.ต้องเข้าห้ามปราม โดยสุดท้าย ชายชาวต่างชาติและเจ้าหน้าที่รปภ. ต่างได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย
  • วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 03.00 น.[25]เกิดเหตุขัดข้องในระบบการควบคุมการเดินรถหลัก หลังจากที่ได้เริ่มทดสอบระบบประตูอัตโนมัติกั้นขอบชานชาลาในสถานีพร้อมพงษ์ และทำให้ระบบล่มลงในเวลาต่อมา ทำให้รถไฟฟ้าบีทีเอสไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 06.00–11.00 น. และระบบขัดข้องอีกครั้งในส่วนชิดลม–ปุณณวิถีในเวลา 12.30 น. ก่อนที่ระบบจะเป็นปกติโดยสมบูรณ์ในเวลา 14.00 น. ซึ่งใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานี้ทั้งหมด 11 ชั่วโมง โดยเหตุการณ์นี้สร้างความเสียหายให้กับผู้โดยสารและบีทีเอสพอสมควร
  • มกราคม พ.ศ. 2557 รถไฟฟ้าบีทีเอสประกาศปิดให้บริการในบางสถานีเนื่องจากเหตุการณ์กลุ่ม กปปส. เข้าชัตดาวน์กรุงเทพมหานคร โดยสถานีที่ปิดคือ อโศก นานา เพลินจิต ชิดลม สนามกีฬาแห่งชาติ ราชดำริ ศาลาแดง และสยาม (ไม่ให้ผู้โดยสารออกจากสถานี แต่เปลี่ยนสายได้) และจากเหตุนี้ทำให้บีทีเอสต้องปรับวิธีการเดินรถใหม่คือจากพร้อมพงษ์จะมุ่งตรงไปสยามโดยไม่จอดรายทาง และจากช่องนนทรีมุ่งตรงไปราชดำริ เพื่อให้ผู้โดยสารเปลี่ยนขบวนรถเข้าสถานีสยามต่อไป
  • วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 08.15 น.[26] เกิดเหตุหญิงสาวเป็นลมตกลงไปในรางที่สถานีหมอชิต แต่ขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสามารถช่วยเหลือได้ทันด้วยการกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉิน และตัดกระแสไฟฟ้าภายในบริเวณสถานีเพื่อลงไปช่วยเหลือ ภายหลังทราบว่าเป็นผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเธอรู้สึกตัวอีกทีคือถูกหามส่งโรงพยาบาลไปแล้ว เหตุการณ์นี้นับเป็นเหตุการณ์ครั้งที่สองที่มีผู้โดยสารตกลงไปในชานชาลา และจากเหตุการณ์นี้ทำให้บีทีเอสตัดสินใจเข้าปรึกษาเรื่องการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาเพิ่มเติมกับกรุงเทพมหานคร
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 05.00 น.[27] เกิดเหตุขัดข้องบริเวณจุดสับรางรถไฟฟ้าช่วงสถานีชิดลมมุ่งหน้าเข้าสถานีสยาม ทำให้รถไฟฟ้าไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติในสายสุขุมวิท โดยบีทีเอสได้จัดรถวิ่งเป็นสี่ช่วง คือช่วงแบริ่ง–สยาม–แบริ่ง หมอชิต–สยาม–หมอชิต หมอชิต–บางหว้า–หมอชิต และสนามกีฬาแห่งชาติ–สยาม–สนามกีฬาแห่งชาติ ความถี่ 5–10 นาทีต่อคัน โดยผู้โดยสารต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสยามเพื่อเดินทางไปยังสถานีปลายทาง ต่อมาดร.อาณัติ อาภาภิรม ได้ออกแถลงว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่จุดสับรางรถไฟฟ้าบริเวณดังกล่าวเสียหาย การซ่อมแซมจำเป็นต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนยกชุด ดังนั้นบีทีเอสซีจะดำเนินการซ่อมแซมภายในคืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์หลังปิดให้บริการ และจำเป็นต้องให้บริการรถตามแผนการเดินรถฉุกเฉินทั้งวันจนถึงเวลาปิดให้บริการ จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของบีทีเอสซีอย่างหนัก รวมถึงกรณีที่อายุของโครงการเริ่มเข้าใกล้ 20 ปี จึงถูกให้ความเห็นอย่างหนักว่าถึงเวลาที่บีทีเอสซีต้องสั่งซื้อขบวนรถใหม่ยกชุดแล้วหรือยัง
  • มิถุนายน พ.ศ. 2561 รถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดเหตุขัดข้อง 9 ครั้งภายในเดือนเดียว (ตั้งแต่วันที่ 1–25 มิถุนายน) กล่าวคือตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีชิดลม ทำขบวนรถล่าช้า 10 นาที วันที่ 12 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีอ่อนนุช ทำขบวนรถล่าช้า 24 นาที วันที่ 13 มิถุนายน ระบบประตูกั้นชานชาลาขัดข้องที่สถานีสยาม ทำให้ขบวนรถเข้า-ออกจากสถานีสยามได้ล่าช้า วันที่ 15 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่บริเวณรางสับหลีกช่วงสถานีพร้อมพงษ์–สถานีอโศก ทำขบวนรถล่าช้า 10 นาที วันที่ 18 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทำขบวนรถล่าช้าในสายสีลม 10 นาที วันที่ 22 มิถุนายน เวลา 12.27 น. รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีสำโรง ทำขบวนรถล่าช้า 10 นาที วันที่ 22 มิถุนายน เวลา 21.00 น. รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต ทำขบวนรถล่าช้า 10 นาที วันที่ 24 มิถุนายน ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องตั้งแต่สถานีสยามถึงสถานีสะพานควาย ทำขบวนรถล่าช้าทั้งระบบ 10 นาที และขบวนรถเข้า-ออกจากสถานีสยามได้ล่าช้า และวันที่ 25 มิถุนายน ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องอีกครั้งตั้งแต่สถานีสยามถึงสถานีสะพานควาย ทำขบวนรถล่าช้าทั้งระบบ 15 นาที และขบวนรถเข้า-ออกจากสถานีสยามได้ล่าช้า[28] ต่อมา ดร.อาณัติ อาภาภิรม ประธานกรรมการที่ปรึกษา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกแถลงการณ์ถึงปัญหาความขัดข้องดังกล่าวจำนวนสามเหตุผล ดังต่อไปนี้
    1. บริษัทฯ และกรุงเทพธนาคม กำลังดำเนินการติดตั้งและทดสอบระบบอาณัติสัญญาณ และการติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงสถานีสำโรง ถึงสถานีเคหะฯ ร่วมกับบอมบาร์ดิเอร์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถือเป็นความขัดข้องตามปกติเมื่อครั้งที่บริษัทฯ ดำเนินการทดสอบระบบอาณัติสัญญาณที่สถานีส่วนต่อขยายเมื่อ พ.ศ. 2552–2556
    2. บริษัทฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณของโครงการส่วนเดิมทั้งสายเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนจากภายนอก
    3. เนื่องจากสถานีสยามยังคงใช้งานระบบเดิม ทำให้มีปัญหาถูกคลื่นรบกวนการทำงานของระบบอาณัติสัญญาณบ่อยครั้ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24–25 มิถุนายน เกิดจากมีคลื่นรบกวนการทำงานของระบบอาณัติสัญญาณจนทำให้ระบบล่มลง ทำให้การเดินรถอัตโนมัติไม่สามารถทำได้ บริษัทฯ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเปลี่ยนการทำงานมาใช้ระบบแมนวลในการนำรถไฟฟ้าเข้าจอดที่สถานีสยามควบคู่กับการพยายามกู้ระบบอัตโนมัติให้กลับมาทำงานได้

ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าปัญหาทั้งหมดจะถูกแก้ไขเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากการดำเนินการต้องใช้เวลานาน ประกอบกับกำหนดการทดสอบระบบเพื่อเตรียมความพร้อมมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จึงขออภัยผู้โดยสารล่วงหน้าในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น[29] โดยบริษัทฯ วางแผนแก้ไขปัญหาในระยะสั้นคือดำเนินการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณใหม่และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัญญาณรบกวนเพิ่มเติมบริเวณสถานีสยามภายในวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และจะดำเนินการแก้ไขระบบและทดสอบระบบที่ส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก

  • วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดเหตุขัดข้องอีกครั้งโดยเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากวันที่ 25 มิถุนายน เบื้องต้นนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้แถลงสาเหตุคร่าวๆ ว่า สาเหตุเกิดจากคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ช่วงปลาย (~2370 MHz) ของดีแทคและทีโอที มารบกวนการทำงานของระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าซึ่งทำงานอยู่บนคลื่นความถี่สาธารณะ 2400 MHz (2.4 GHz) ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จนกระทั่งสัญญาณบริเวณย่านสยามสแควร์ถูกปล่อยแรงขึ้นก็เลยทำให้ระบบมีปัญหาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มาจนถึงปัจจุบัน[30] อย่างไรก็ตามดีแทคได้แถลงข่าวสวนกลับว่าคลื่น 2300 MHz ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการให้บริการรถไฟฟ้า[31] แต่ดีแทคยินดีร่วมหาสาเหตุที่แท้จริงไปพร้อมกันด้วยการปิดสัญญาณเครือข่าย "ดีแทค-ที" ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าตั้งแต่เช้าวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 6.00 น. และส่งวิศวกรเครือข่ายระดับสูงเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันหาสาเหตุพร้อมๆ กับเจ้าหน้าที่ของ กสทช. ที่เข้าร่วมหาสาเหตุในเช่นเดียวกัน[32] ผลปรากฏว่าหลังดีแทคปิดสัญญาณ ระบบรถไฟฟ้าเกิดปัญหาอีกครั้งในเวลา 6.15 น. 6.28 น. และ 7.18 น. ตามลำดับ ทางดีแทคจึงสรุปว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรบกวนกันเองของคลื่น 2400 MHz ไม่ใช่ผลจากการเปิดให้บริการเครือข่าย 2300 MHz ตามที่บีทีเอสกล่าวอ้าง และต่อมา สำนักงาน กสทช. ได้มีข้อสรุปออกมาเช่นเดียวกันว่าระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ถูกก่อกวนด้วยสัญญาณไวไฟจากอาคารข้างเคียงมากกว่าสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ[33] ต่อมานายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ได้ออกแถลงการณ์ใหญ่ผ่านเฟซบุ๊กของบริษัทต่อกรณีที่เกิดขึ้น[34] โดยระบุสาเหตุที่แท้จริงทั้งหมดสองข้อคือ หนึ่งบริษัทฯ กำลังติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณใหม่ทั้งระบบเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ในเดือนธันวาคม และสองเป็นเพราะระบบอาณัตสัญญาณที่ทำงานอยู่บนคลื่น 2400 MHz ถูกรบกวนโดยสัญญาณเครือข่ายไวไฟที่ใช้ในย่านเดียวกันจากอาคารข้างเคียง ซึ่งมีกำลังส่งสูงถึง 1 วัตต์ โดยอาการดังกล่าวถูกตรวจพบที่สถานีสยาม (จากศูนย์การค้าสยามพารากอน) สถานีอโศก (ศูนย์การค้าเทอร์มินัล 21 อโศก) และสถานีพร้อมพงษ์ (จากศูนย์การค้าเอ็มโพเรี่ยม และศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์) เบื้องต้นบริษัทจะแก้ไขปัญหาด้วยการเปลี่ยนโหมดการทำงานของระบบรถไฟฟ้าจากระบบอัตโนมัติมาเป็นการขับเคลื่อนแบบแมนวลไปจนกว่าการย้ายช่วงคลื่นความถี่ที่ใช้งานและการติดตั้งอุปกรณ์กันสัญญาณรบกวนเสร็จสิ้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือไปยังห้างสรรพสินค้าให้มีการปิดสัญญาณไวไฟที่มีปัญหาก่อนจนกว่าบีทีเอสจะดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้บีทีเอสจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนระบบไปใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. แทนการใช้งานคลื่นความถี่สาธาณะต่อไป หลังจากที่ กสทช.​ เสนอแนวทางให้บีทีเอสเลือกใช้งานคลื่น 800 MHz และ 900 MHz ร่วมกับระบบจีเอสเอ็ม-อาร์ (GSM-R) แทนการใช้คลื่นความถี่สาธารณะในการให้บริการ[33] แต่อย่างไรเสีย วิศวกรของบอมบาร์ดิเอร์ยืนยันว่าระบบของรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถทำงานร่วมกับคลื่นจีเอสเอ็ม-อาร์ได้ เพราะระบบถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับคลื่นความถี่สาธารณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น กสทช. จึงมีมติให้บีทีเอสย้ายคลื่นความถี่ของระบบอาณัติสัญญาณไปอยู่ที่ช่วง 2480 MHz - 2495 MHz ความกว้าง 15 MHz แทน ซึ่งช่วงคลื่นความถี่ดังกล่าวปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน เนื่องจากเดิมเป็นคลื่นสำหรับเทคโนโลยีไวไฟ บี (802.11b) ที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว และยังเป็นช่วงคลื่นที่สหรัฐอเมริกาใช้งานสำหรับกิจการดาวเทียม และบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์รวมถึงองค์กร ITU ไม่ให้มีการจัดสรรคลื่นช่วงนี้ให้ประชาชนใช้งาน กสทช. จึงเห็นว่าในไทยที่ไม่ได้ใช้คลื่นช่วงนี้อยู่แล้ว ให้บีทีเอสย้ายมาอยู่คลื่นช่วงนี้แล้วติดตั้งอุปกรณ์กรองสัญญาณจะดีที่สุด[35]
  • วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 8.15 น. เกิดเหตุผู้โดยสารเป็นลมตกลงไปในรางรถไฟฟ้าที่สถานีราชเทวีฝั่งมุ่งหน้าสถานีสำโรง แต่ขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสามารถช่วยเหลือได้ทันด้วยการกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉินทั้งสองฝั่ง และตัดกระแสไฟฟ้าภายในบริเวณสถานีเพื่อลงไปช่วยเหลือ กระบวนการช่วยเหลือใช้เวลา 10 นาที และทำขบวนรถล่าช้าทั้งระบบ 5 นาที เหตุการณ์นี้นับเป็นเหตุการณ์ครั้งที่สามที่มีผู้โดยสารตกลงไปในรางรถไฟฟ้าแต่โชคดีที่ไม่เกิดอุบัติเหตุเฉกเช่นกรณีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันจนทำให้มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากขบวนรถไฟฟ้าทับร่าง[36] จากเหตุการณ์นี้กรุงเทพมหานครได้ตัดสินใจเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกรุงเทพธนาคมและบีทีเอสซี เข้ามาปรึกษาหารือเรื่องการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาใน 24 สถานีที่เหลือ (ไม่รวมสถานีสะพานตากสินที่จะทำการปรับปรุง และสถานีศึกษาวิทยาที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง) เนื่องจากสัญญาสัมปทานโครงการทั้งสองฉบับไม่ได้มีการระบุให้โครงการมีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาเป็นขอบเขตของงานเหมือนกับส่วนต่อขยายสายสุขุมวิททั้งช่วงแบริ่ง–เคหะฯ และหมอชิต–คูคต ที่ในขอบเขตของงานระบบมีการบังคับให้ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาในทุกสถานี[37]
  • วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 11.49 น. เกิดเหตุจุดสับรางขัดข้อง[38]ก่อนเข้าสถานีหมอชิต ทำให้ต้องแบ่งการเดินรถเป็น 2 ช่วง คือ หมอชิต-สนามเป้า-หมอชิต และสนามเป้า-เคหะ-สนามเป้า โดยได้รับการแก้ไขปัญหาเมื่อเวลา 17.14 น. ในวันเดียวกัน[39]

ข่าวลือเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อสถานี

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ทางเว็บไซต์ของนิตยสาร Positioning Magazine[40] ได้มีการลงบทความทางหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ "สถานีพร้อมพงษ์" เดิม เป็น "เอ็ม ดิสทริค สเตชัน" (Em District Station) ทั้งนี้ภายในเวลาต่อมาภายในวันเดียวกัน ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาชี้แจงต่อสื่อ[41] ว่าไม่มีนโยบายการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีพร้อมพงษ์ตามที่ได้เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางกลุ่มเชื่อว่า[ต้องการอ้างอิง]การปล่อยข่าวลือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการโฆษณาของห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์ ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่มีกำหนดการเปิดให้บริการในอีกไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์ข่าวลือ เพื่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และที่พูดถึงในวงกว้างจากประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (31 มีนาคม พ.ศ. 2560). ข้อมูลที่สำคัญอื่น - แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538
  3. http://www.bts.co.th/corporate/th/01-about-history.aspx ประวัติความเป็นมา
  4. เริ่มแล้ว ! ใช้บัตรสวัสดิการฯ ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส
  5. http://www.bts.co.th/corporate/th/02-system-safety.aspx
  6. http://www.bts.co.th/corporate/th/02-system-safety.aspx
  7. http://www.bts.co.th/corporate/th/02-system-security01.aspx
  8. http://www.bts.co.th/corporate/th/02-system-security02.aspx
  9. http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973876&Ntype=19
  10. http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html
  11. http://ilaw.or.th/node/673
  12. BTS เตรียมติดรั้วชานชาลารถไฟฟ้า
  13. http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=514835&page=38 บีทีเอสเล็งลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทุกเส้น
  14. http://www.thairath.co.th/content/eco/176151
  15. http://www.ryt9.com/s/iq05/1399682 BTS ​เผย​เม.ย.54-มี.ค.55ยอด​ผู้​ใช้รถ​ไฟฟ้า​โต 21.2%,​เตรียมรับมอบขบวนรถ​เพิ่ม
  16. https://www.prachachat.net/prachachat-top-story/news-145681
  17. http://bts.listedcompany.com/bts_ridership.html
  18. สาวใหญ่ร่วง รางบีทีเอส หวิดทับดับ
  19. http://www.ryt9.com/s/iq01/888850
  20. http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973876&Ntype=19
  21. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000053690
  22. รถไฟฟ้า BTS สายสีลมเสีย
  23. ช่างกลระแวง แทน นศ.ราชภัฏ สาหัสบนบีทีเอส นึกว่าเป็นคู่อริ
  24. ว่อนเน็ต! คลิปรปภ.รถไฟฟ้าบีทีเอส ทะเลาะกับฝรั่ง
  25. บีทีเอสแถลงข่าว ระบบเดินรถไฟฟ้าขัดข้อง
  26. ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 วูบตกราง BTS ปลอดภัยแล้ว
  27. รถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งจุดสับรางเสีย "ชิดลมมุ่งหน้าสยาม"
  28. ข้อมูลจากทวิตเตอร์ @bts_skytrain ตั้งแต่วันที่ 1–25 มิถุนายน พ.ศ. 2561
  29. BTS แจงเดินรถล่าช้า เหตุ 'คลื่นรบกวน' อาณัติสัญญาณ
  30. DTAC แจงคลื่นความถี่ 2300 MHz ไม่ได้รบกวนสาเหตุบีทีเอสขัดข้อง ,เช้านี้กสทช.-ดีแทคเข้ามาร่วมแก้ปัญหา
  31. ดีแทคแจง คลื่น 2300MHz ไม่ใช่ต้นเหตุบีทีเอสระบบป่วน
  32. กสทช.ส่งจนท.ตรวจคลื่นรบกวนรถไฟฟ้า BTS เชิญ TOT ชี้แจงพฤหัสนี้ ด้าน DTAC ระบุลองปิดสัญญาณแล้วเช้านี้
  33. 33.0 33.1 กสทช.ยอมรับ WiFi ป่วน! กระทบบีทีเอส ระบบขัดข้อง
  34. รถไฟฟ้าบีทีเอส ชี้แจงเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง
  35. ได้ข้อสรุป! กสทช.สั่ง BTS ย้ายช่องความถี่ เคลียร์ดราม่าคลื่นกวนระบบ ให้บริการเป็นปกติ 30 มิ.ย.
  36. หญิงเป็นลมตกราง 'บีทีเอส' ราชเทวี เผยเจ็บเล็กน้อย
  37. "กทม." เรียก "บีทีเอส"หารือติดแผงกั้นชานชาลาหลังผู้โดยสารตกไปในราง
  38. https://timeline.line.me/post/_dSUOne_qJCFE8EGQliHv61eo87Y_jSo_RBE_v6Y/1156120215304053142
  39. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/105328
  40. เส้นใหญ่มั๊ย!…สถานีพร้อมพงษ์ เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีเอ็ม ดิสทริค”
  41. [1]

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น