ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะโขง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
}}
}}
'''ตะโขง''' หรือ '''จระเข้ปากกระทุงเหว''' หรือ '''ตะโขงมลายู''' ({{lang-en|Malayan gharial, False gharial}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Tomistoma schlegelii}}) เป็น[[สัตว์เลื้อยคลาน]]ขนาดใหญ่ใน[[จระเข้|อันดับจระเข้]] อยู่ใน[[วงศ์ตะโขง]] (Gavialidae) จัดเป็นหนึ่งในสอง[[สปีชีส์|ชนิด]]ของ[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]นี้ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แต่จัดว่าเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] ''Tomistoma''
'''ตะโขง''' หรือ '''จระเข้ปากกระทุงเหว''' หรือ '''ตะโขงมลายู''' ({{lang-en|Malayan gharial, False gharial}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Tomistoma schlegelii}}) เป็น[[สัตว์เลื้อยคลาน]]ขนาดใหญ่ใน[[จระเข้|อันดับจระเข้]] อยู่ใน[[วงศ์ตะโขง]] (Gavialidae) จัดเป็นหนึ่งในสอง[[สปีชีส์|ชนิด]]ของ[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]นี้ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แต่จัดว่าเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] ''Tomistoma''

<br />


==ลักษณะ==
==ลักษณะ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:26, 17 กรกฎาคม 2562

ตะโขง
ส่วนหัวและจะงอยปากที่เรียวยาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Gavialidae
วงศ์ย่อย: Tomistominae
สกุล: Tomistoma
Müller, 1846
สปีชีส์: T.  schlegelii
ชื่อทวินาม
Tomistoma schlegelii
(Müller, 1838)
การกระจายพันธุ์ของตะโขง
ชื่อพ้อง[1]
  • Crocodilus (Gavialis) schlegelii Müller, 1838
  • Tomistoma schlegelii King & Burke, 1989
  • Tomistoma schlegelii Cox et al., 1998
  • Tomistoma schlegelii Chan-Ard et al., 1999

ตะโขง หรือ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขงมลายู (อังกฤษ: Malayan gharial, False gharial; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tomistoma schlegelii) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ อยู่ในวงศ์ตะโขง (Gavialidae) จัดเป็นหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แต่จัดว่าเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Tomistoma

ลักษณะ

มีลำตัวขนาดปานกลาง ความยาวเต็มที่ประมาณ 2.80-3.0 เมตร ปากแหลมเรียวยาวมาก แต่ไม่มีก้อนเนื้อตอนปลายจมูกเหมือน ตะโขงอินเดีย (Gavialis gangeticus) มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวและหาง

พบกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรมลายูและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, มาเลเซีย, เวียดนาม, กาลีมันตัน, บอร์เนียว, สุมาตรา และพบถึงประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ โดยมักอาศัยที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยหรือป่าชายเลน แม้จะมีลำตัวที่ใหญ่แต่ทว่าด้วยรูปทรงของปากที่เรียวเล็ก ทำให้ตะโขงสามารถกินอาหารได้เพียงไม่กี่ประเภท เช่น ปลา เท่านั้น เป็นต้น

ตะโขงเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 5-6 ปี หรือความยาว 2.50-3.0 เมตร มีพฤติกรรมการจับคู่แบบเดียวกับนกเงือกคือ จะจับคู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยทำรังโดยพูนดินและวัชพืชขึ้นบนชายฝั่ง วางไข่ครั้งละ 20-60 ฟอง ในฤดูแล้ง ระยะฟักไข่ราว 2.5-3 เดือน เป็นตัวประมาณต้นฤดูฝน การเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงเพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2548 จากฟาร์มจระเข้ สมุทรปราการ เป็นครั้งแรกของโลก โดยได้พ่อแม่พันธุ์จากประเทศสิงคโปร์[2]

สำหรับสถานะในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลขหนึ่ง (Appendix I) คือ ห้ามล่าหรือค้าโดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็นไปเพื่อการศึกษาวิจัย

ตะโขงในไทย

สถานภาพในธรรมชาติของตะโขงนับว่าใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว สำหรับในประเทศไทยไม่พบมีรายงานการพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ในอดีตมีรายงานการพบบ้างที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2503 และ พ.ศ. 2504 ในระยะหลังมีรายงานการพบบ้างที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง) จังหวัดนราธิวาส แต่ก็พบเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น

ในปลายปี พ.ศ. 2550 ได้มีการพบตะโขงขนาดเล็กที่ฝายเก็บน้ำคลองถูป อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[3][4]

ทางวัฒนธรรมและความเชื่อ

ในไทยที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เคยมีความเชื่อว่ามีตะโขงอาศัยอยู่ที่นั่นและเป็นจระเข้เจ้า มักปรากฏตัวให้เห็นบริเวณหน้าวัดที่เป็นสบน้ำของแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกันทำให้เกิดน้ำวนขนาดใหญ่เรียกว่า "น้ำวนบางกะจะ" เมื่อถึงฤดูน้ำเรือและแพที่ผ่านบริเวณนั่นก็จะถูกน้ำวนดังกล่าวดูดไป เมื่อมีคนตายก็กล่าวกันว่านั่นเกิดจากการกระทำของตะโขง แต่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวไม่มีแล้ว[5]

รูปภาพ

กะโหลกของตะโขง
ภาพจากด้านบน
ตลอดทั้งตัว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Crocodile Specialist Group (2000). "Tomistoma schlegelii". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4.
  2. ตะโขง"จระเข้พันธุ์หายากคนไทยโชว์ฝีมือเพาะได้ครั้งแรกของโลก
  3. “ไอ้เข้” โผล่ซ้ำเห็นชัดปากยาวเรียว แท้จริง “ตะโขง” สัตว์ป่าหายาก
  4. ชาวบ้านตื่นหน้าเหมือนจระเข้โผล่-ที่แท้ “ตะโขง” สัตว์ป่าคุ้มครองหายาก
  5. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. "ลุ่มน้ำเจ้าพระยากับตะเข้". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tomistoma schlegelii ที่วิกิสปีชีส์