ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทวสถานโบสถ์พราหมณ์"

พิกัด: 13°45′08″N 100°30′01″E / 13.752344°N 100.500371°E / 13.752344; 100.500371
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
}}
}}


'''เทวสถานโบสถ์พราหมณ์''' เป็น[[โบสถ์พราหมณ์]] ตั้งอยู่แขวงเสาชิงช้า [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ใกล้[[เสาชิงช้า]] และ[[ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]]
'''เทวสถานโบสถ์พราหมณ์''' หรือ '''สำนักพราหมณ์พระราชครูในสำนักพระราชวัง'''<ref>{{cite web |url= http://e-service.dra.go.th/search.php?act=do_search&page=1&s_name=&s_r_code=hinduism&s_part=&s_province=&s_order_by=visit_no |title= ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู |author=|date=|work= ศูนย์ข้อมูลกลางด้านศาสนา |publisher=|accessdate= 16 กรกฎาคม 2562 }}</ref> เป็น[[โบสถ์พราหมณ์]]แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่แขวงเสาชิงช้า [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ใกล้[[เสาชิงช้า]] และ[[ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:52, 16 กรกฎาคม 2562

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทโบสถ์พราหมณ์
สถาปัตยกรรมไทย
เมือง268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2327
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างปูนและไม้

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ หรือ สำนักพราหมณ์พระราชครูในสำนักพระราชวัง[1] เป็นโบสถ์พราหมณ์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2327 แล้วโปรดให้นำพราหมณ์จากภาคใต้ขึ้นมาประจำราชสำนัก ทำหน้าที่ประกอบพระราชพิธีสำหรับพระองค์และราชอาณาจักร[2] ภายในเทวสถานมีโบสถ์ทั้งหมด 3 หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว มีกำแพงล้อมรอบ ปัจจุบันมีอายุได้ 240 ปี

เทวสถานได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 หน้าที่ 5281 ลำดับที่ 11 ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492[3]

ศิลปกรรม

เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า จะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม (พระผู้สร้าง) ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2515 ภายในเทวสถาน จะมีโบสถ์อยู่ 3 หลัง คือ[2]

  • สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัยพระพรหม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูนต่ำ รูปพระอิศวร พระแม่อุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย ภายในสถานพระอิศวร มีเทวรูปพระอิศวรประทับยืน และยังมีเทวรูปขนาดกลางอีกสามสิบเอ็ดองค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจา มีศิวลึงค์สององค์ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูปพระพรหมสามองค์ พระราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 และพระสรัสวดี สองข้างแท่นลด มีเทวรูปพระอิศวรทรงโคนันทิ และพระอุมาทรงโคนันทิ ทางด้านซ้ายมือเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปนางกระดานสามองค์สำหรับใช้ในการพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ประกอบด้วยนางกระดานพระแม่ธรณี (แผ่นซ้าย) นางกระดานนางพระคงคา (แผ่นกลาง) และกระดานพระอาทิตย์และพระจันทร์ (แผ่นริม) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระอิศวร พระอุมา พระคเณศ) วันแรม 5 ค่ำ เดือนยี่ (พระนารายณ์) และวันแรม 3 ค่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีช้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพมุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ พระนักษัตร
  • สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวรห้าองค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ หินเกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์
  • สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร ภายในประดิษฐานบุษบกสามองค์เคียงกันประกอบด้วยเทวรูป พระลักษมี (บุษบกองค์ซ้ายมือ) พระนารายณ์ (บุษบกองค์กลาง) พระภูมิเทวี (บุษบกองค์ขวามือ) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์

นอกจากนี้ยังมี หอเวทวิทยาคม อยู่ภายในโบสถ์พราหมณ์อีกด้วย ซึ่งจัดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ เก็บรวบรวมสรรพวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดี พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ทางศาสนาพราหมณ์ โหราศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บำเพ็ญกุศล แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถา อภิปรายสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกันตามโอกาสอันควร หอเวทวิทยาคมแห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมสรรพวิทยาการด้านประเพณีและพิธีกรรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย เปิดให้ประชาชนเข้าไปค้นคว้าเพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาฮินดู 

อ้างอิง

  1. "ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู". ศูนย์ข้อมูลกลางด้านศาสนา. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 กรมการศาสนา, ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและองค์การศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย, หน้า 175-6
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมศิลปากร เรื่องกำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน, ตอนที่ 64, เล่ม 66, 22 พฤศจิกายน 2492, หน้า 2580

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′08″N 100°30′01″E / 13.752344°N 100.500371°E / 13.752344; 100.500371