ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การระดมยิงคาโงชิมะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "นามามุงิ" → "นามามูงิ" +แทนที่ "ชิมะซุ" → "ชิมาซุ" +แทนที่ "ฮิซะมิสึ" → "ฮิซามิตสึ" +แทนที่ "ชิเงะฮิซะ" → "ชิเงฮิซะ" +แทนที่ "ไรเพิล" → "ไรเฟิล" +เก็บกวาด +แทนที่ "บะกุมะสึ" → "บากูมัตสึ" +แทนที่ "เอะโดะ" → "เอโดะ" +แทนที่ "โทะกุงะวะ" → "โทกูงาวะ" +แทนที่ "ชารล์ส" → "ชาลส์" +แทนที่ "โอะงะซะวะระ" → "โองาซาวาระ" +แทนที่ "นะงะมิชิ" → "นางามิจิ" +แทนที่ "ซะมุไร" → "ซามูไร" ด้วยสจห.
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
{{เรียงลำดับ|ระดมยิงคาโงชิมะ}}
{{เรียงลำดับ|ระดมยิงคาโงชิมะ}}


[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับอังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับอังกฤษ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:04, 15 กรกฎาคม 2562

การระดมยิงคาโงชิมะ
ส่วนหนึ่งของ เหตุนามามูงิ

ภาพแสดงการปะทะกันในอ่าวคาโงชิมะ
วันที่15 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2406
สถานที่
ผล ชัยชนะของอังกฤษ
คู่สงคราม
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร แคว้นซัตสึมะ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร เซอร์ ออกัสตัส คูเปอร์ ชิมาซุ ฮิซามิตสึ
ชิมาซุ ชิเงฮิซะ
กำลัง
เรือรบพลังไอน้ำ 7 ลำ ทหารพลปืนไรเฟิลอังกฤษ 125 นาย ทหารพลปืนไรเฟิลนิวซีแลนด์ 80 นาย เรือรบสุ่มยิง 2 ลำ พลระเบิดชาวมาลายู 13 นาย เรือพลังไอน้ำ 5 ลำ
ปืนใหญ่ 80 กระบอก ทหารดาบ 2,850 นาย พลปืน 1,000 นาย
ความสูญเสีย
เรือรบ 3 ลำอัปปาง
เสียชีวิต 11 นาย บาดเจ็บ 52 นาย
เรือ 4 ลำอัปปาง
ทหารเสียชีวิตจากกระสุนปืน 200 นาย เสียชีวิตจากปืนใหญ่บนเรือรบ 320 นาย

การระดมยิงคาโงชิมะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามอังกฤษ-ซัตสึมะ (ญี่ปุ่น: 薩英戦争โรมาจิSatsu-Ei Sensō) เป็นการปะทะที่เกิดขึ้นในวันที่ 15 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในยุคเอโดะตอนปลาย

การปะทะเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณีนามามูงิ ในปี พ.ศ. 2405 ที่ ชาลส์ เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน ถูกฆาตกรรม ทำให้อังกฤษเรียกร้องเงินสินไหมทดแทนจากไดเมียวแห่งซัตสึมะ

เบื้องหลัง

ภายหลังจากกรณีนามามูงิ นาวาโท จอห์น นีล อุปทูตอังกฤษ ได้เรียกร้องคำขอโทษและค่าสินไหมจากรัฐบาลเอโดะ เป็นจำนวนเงิน 100,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1/3 ของรายได้ทั้งปีของรัฐบาลเอโดะ[1] ซึ่งนีลได้ยื่นคำขู่ถึงรัฐบาลเอโดะว่าหากไม่ได้รับค่าสินไหม[2] อาจจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการด้วยกำลัง นอกจากนี้ อังกฤษยังเรียกร้องจากแคว้นซัตสึมะให้มีการจับกุมและดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด และเงินอีก 25,000 ปอนด์สำหรับเหยื่อที่รอดชีวิตและครอบครัวของชาลส์ ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเอโดะ โดย โองาซาวาระ นางามิจิ ผู้แทนโชกุน[3] ได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะมีปัญหากับชาติยุโรป ซึ่งขณะนั้นต้องเผชิญกับภัยคุกคามทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ

รัฐบาลเอโดะได้ปฏิเสธที่จะขอโทษและการจ่ายค่าสินไหมแก่อังกฤษรวมไปถึงการลงโทษซามูไรสองคนที่ก่อเหตุ ซึ่งญี่ปุ่นได้อ้างถึงผลประโยชน์มากมายของชาวยุโรปในญี่ปุ่น รวมถึงสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่กฎหมายญี่ปุ่นไม่มีผลบังคับใช้กับชาวต่างชาติ ซึ่งบรรดาข้อตกลงที่ไม่มีความยุติธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นถูกบีบบังคับให้จำยอม

จากความอยุติธรรมของชาติมหาอำนาจยุโรป ทำให้เกิดกระแสต่อต้านชาวยุโรปขึ้นในญี่ปุ่น ซึ่งแผ่ขยายไปทั้งประเทศ ในห้วงเวลานั้น สมเด็จพระจักรพรรดิโอซาฮิโตะก็ทรงตรา "โองการขับไล่คนเถื่อน" ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2406 ซึ่งชาติยุโรปเลือกที่จะโต้ตอบด้วยวิธีการทางทหาร เรือสินค้าของอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศสที่ผ่านช่องแคบชิโมโนเซกิล้วนถูกโจมตี ซึ่งทำให้กองเรือผสมที่นำโดยราชนาวีอังกฤษต้องระดมยิงตอบโต้เพื่อป้องกันเรือสินค้า

อ้างอิง

  1. Totman, p.68-69
  2. Totman, p.71
  3. Totman, p.72