ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอลิซาเบธแห่งยอร์ก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
== การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ==
== การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ==
[[ไฟล์:Younghenry7.jpg|thumb|ภาพเฮนรี ทิวดอร์ในวัยหนุ่ม วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสใน[[อาวีญง]]]]
[[ไฟล์:Younghenry7.jpg|thumb|ภาพเฮนรี ทิวดอร์ในวัยหนุ่ม วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสใน[[อาวีญง]]]]
ปี ค.ศ. 1483 การสิ้นพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้นำพัดพาพายุร้ายมาสู่ราชวงศ์ยอร์กของอังกฤษ พระมารดาของพระองค์ได้พาลูกๆ ไปอยู่ในสถานที่คุ้มภัย ขณะที่พระอนุชาของพระองค์ถูกประกาศให้เป็น[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5]] แต่เนื่องด้วยกษัตริย์มีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา [[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|ริชาร์ด แพลนทาเจเนต]] พระปิตุลาของพระองค์จึงถูกประกาศชื่อเป็นผู้พิทักษ์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 จะได้รับการสวมมงกุฎ ริชาร์ดได้จองจำพระองค์กับริชาร์ด พระอนุชาของพระองค์ที่[[หอคอยแห่งลอนดอน]] ริชาร์ด แพลนทาเจเนตได้ยึดบัลลังก์อังกฤษมาครอบครองเป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และได้ประกาศให้การสมรสของพระบิดามารดาของเอลิซาเบธแห่งยอร์กไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยทรงอ้างว่าในตอนที่ทำการสมรสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้หมั้นหมายอยู่กับหญิงอื่น
ปี ค.ศ. 1483 การสิ้นพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้นำพัดพาพายุร้ายมาสู่ราชวงศ์ยอร์กของอังกฤษ พระมารดาของเอลิซาเบธได้พาลูกๆ ไปอยู่ในสถานที่คุ้มภัย ขณะที่พระอนุชาของพระองค์ถูกประกาศให้เป็น[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5]] แต่เนื่องด้วยกษัตริย์มีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา [[พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|ริชาร์ด แพลนทาเจเนต]] พระปิตุลาของพระองค์จึงถูกประกาศชื่อเป็นผู้พิทักษ์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 จะได้รับการสวมมงกุฎ ริชาร์ดได้จองจำพระองค์กับริชาร์ด พระอนุชาของพระองค์ที่[[หอคอยแห่งลอนดอน]] ริชาร์ด แพลนทาเจเนตได้ยึดบัลลังก์อังกฤษมาครอบครองเป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และได้ประกาศให้การสมรสของพระบิดามารดาของเอลิซาเบธแห่งยอร์กไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยทรงอ้างว่าในตอนที่ทำการสมรสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้หมั้นหมายอยู่กับหญิงอื่น


หลังพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ขึ้นครองราชย์ได้ระยะหนึ่ง เจ้าชายทั้งสองซึ่งเป็นทายาทชายที่ยังมีชีวิตอยู่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ก็ได้หายตัวไป แม้เอลิซาเบธจะถูกประกาศให้เป็นบุตรนอกสมรสแต่มีข่าวลือว่าพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 มีแผนที่จะสมรสกับพระองค์ การทรยศหักหลังของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทำให้เลดีวูดวิลล์เกลียดชังพระอนุชาของพระสามีเป็นอย่างมาก พระองค์หันไปร่วมมือกับ[[มาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี|มาร์กาเร็ต โบฟอร์ต]]แห่งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ซึ่งมารดาของ[[พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ|เฮนรี ทิวดอร์]] ผู้อ้างตนเป็นทายาทในบัลลังก์ เอลิซาเบธถูกจับหมั้นหมายกับเฮนรี ทิวดอร์ มีคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าเอลิซาเบธ วูดวิลล์คงรู้หรืออย่างน้อยก็พอจะเดาได้ว่า "เจ้าชายในหอคอย" พระโอรสทั้งสองของตนสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จึงพยายามจับพระธิดาสมรสกับเฮนรี ทิวดอร์
หลังพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ขึ้นครองราชย์ได้ระยะหนึ่ง เจ้าชายทั้งสองซึ่งเป็นทายาทชายที่ยังมีชีวิตอยู่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ก็ได้หายตัวไป แม้เอลิซาเบธจะถูกประกาศให้เป็นบุตรนอกสมรสแต่มีข่าวลือว่าพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 มีแผนที่จะสมรสกับพระองค์ การทรยศหักหลังของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทำให้เลดีวูดวิลล์เกลียดชังพระอนุชาของพระสวามีเป็นอย่างมาก พระองค์หันไปร่วมมือกับ[[มาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี|มาร์กาเร็ต โบฟอร์ต]]แห่งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ซึ่งมารดาของ[[พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ|เฮนรี ทิวดอร์]] ผู้อ้างตนเป็นทายาทในบัลลังก์ เอลิซาเบธถูกจับหมั้นหมายกับเฮนรี ทิวดอร์ มีคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าเอลิซาเบธ วูดวิลล์คงรู้หรืออย่างน้อยก็พอจะเดาได้ว่า "เจ้าชายในหอคอย" พระโอรสทั้งสองของตนสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จึงพยายามจับพระธิดาสมรสกับเฮนรี ทิวดอร์


== พระราชินีแห่งอังกฤษ ==
== พระราชินีแห่งอังกฤษ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:36, 14 กรกฎาคม 2562

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ประสูติ11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน
สิ้นพระชนม์11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503
พระราชวังริชมอนด์ ลอนดอน
จักรพรรดินีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ
เอลิซาเบธแห่งยอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระบุตรอาเทอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์
มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตแลนด์
สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ
แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
ราชวงศ์ยอร์ก
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ
พระมารดาเอลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ลายพระอภิไธย

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Elizabeth of York) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503)

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก[1]ประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและเอลิซาเบธ วูดวิลล์ พระราชินีเอลิซาเบธแห่งยอร์กทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เมื่อปี ค.ศ. 1486 เป็นพระราชินีตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1486 จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503 ที่พระราชวังริชมอนด์ ลอนดอน พระราชินีเอลิซาเบธเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ และพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

วัยเยาว์

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 กับพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ กับพระโอรสคนโต (อนาคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5) จากภาพ "ถ้อยแถลงของนักปราชญ์" ที่พระราชวังแลมเบิร์ธ

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก หรือ เอลิซาเบธ แพลนทาเจเนต เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระองค์เป็นพระโอรสธิดาคนโตในบรรดาพระโอรสธิดาแปดคนของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษกับเอลิซาเบธ วูดวิลล์ พระมเหสี การสมรสของพระบิดามารดาของพระองค์ได้สร้างปัญหาใหญ่ที่ทำให้พระบิดาของพระองค์ถูกปลดออกจากตำแหน่งเป็นระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ. 1470 ในปี ค.ศ. 1471 ผู้แย่งชิงบัลลังก์กับพระบิดาของพระองค์ถูกปราบและสังหาร ชีวิตช่วงแรกของเอลิซาเบธค่อนข้างสงบแม้ว่าความขัดแย้งและสงครามจะดำเนินอยู่รอบตัวพระองค์

ในปี ค.ศ. 1469 ได้มีการตกลงกันว่าจะให้เอลิซาเบธวัย 3 พรรษาหมั้นหมายกับจอร์จ เนวิลล์ แต่การหมั้นหมายถูกเลื่อนออกไปจนกระทั่งจอร์จเสียชีวิต เนื่องจากจอห์น เนวีล บิดาของจอร์จได้ประกาศตนเป็นศัตรูกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในช่วงที่มีการก่อจราจล ซึ่งเป็นยุคแห่งความวุ่นวายและสงครามกลางเมืองระหว่างราชวงศ์ยอร์กและราชวงศ์แลงคาสเตอร์ สงครามแย่งชิงบัลลังก์อังกฤษที่เกิดขึ้นนี้ถูกเรียกว่า "สงครามดอกกุหลาบ" เดือนกันยายน ค.ศ. 1470 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ต้องหนีเมื่อเอิร์ลแห่งวอริคและมาร์เกอรีตแห่งอ็องฌูจากฝั่งแลงคาสเตอร์คุกคามชีวิตของพระองค์ เอลิซาเบธ วูดวิลล์หลบภัยอยู่ในวิหารเวสต์มินสเตอร์เพื่อคุ้มกันความปลอดภัยให้ลูกๆ

เอลิซาเบธน่าจะได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการในพระราชวังตอนพระชนมายุ 5-6 พรรษา ทรงศึกษาประวัติศาสตร์และการเล่นแร่แปรธาตุจากพระบิดาและห้องสมุดของพระบิดา พระองค์กับพี่น้องหญิงเรียนรู้ทักษะที่พระราชินีในอนาคตควรมีจากนางกำลังและจากการดูเอลิซาเบธ วูดวิลล์เป็นตัวอย่าง หนึ่งในทักษะเหล่านั้นคือการอ่านเขียนภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และการบริหารครัวเรือน รวมถึงการเย็บปักถักร้อย, การขี่ม้า, ดนตรี และการเต้นรำ พระองค์พูดภาษาฝรั่งเศสได้แต่ไม่ค่อยคล่อง ทรงเป็นเด็กสาวผู้อ่อนโยนและเป็นที่รักของพระบิดามารดาและพี่น้อง และศรัทธาในพระเจ้าอย่างที่สุด

ปี ค.ศ. 1475 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสได้หมายตาบัลลังก์อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงบุกฝรั่งเศสเป็นการตอบโต้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสตัดสินใจทำสนธิสัญญาสันติภาพโดยมีเงื่อนไขว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะต้องยกพระธิดาให้ดูแฟ็งชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งฝรั่งเศส เอลิซาเบธวัย 11 พรรษาถูกจับหมั้นหมายกับดูแฟ็งชาร์ลส์ พระโอรสวัย 5 พรรษาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1475 ตามเงื่อนไขในสนธิสัญญาปิกคีนญี ทว่าในปี ค.ศ. 1482 การหมั้นหมายเป็นอันยุติเมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสไม่เคารพข้อตกลงและทำผิดสัญญา

การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4

ภาพเฮนรี ทิวดอร์ในวัยหนุ่ม วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสในอาวีญง

ปี ค.ศ. 1483 การสิ้นพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้นำพัดพาพายุร้ายมาสู่ราชวงศ์ยอร์กของอังกฤษ พระมารดาของเอลิซาเบธได้พาลูกๆ ไปอยู่ในสถานที่คุ้มภัย ขณะที่พระอนุชาของพระองค์ถูกประกาศให้เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แต่เนื่องด้วยกษัตริย์มีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ริชาร์ด แพลนทาเจเนต พระปิตุลาของพระองค์จึงถูกประกาศชื่อเป็นผู้พิทักษ์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 จะได้รับการสวมมงกุฎ ริชาร์ดได้จองจำพระองค์กับริชาร์ด พระอนุชาของพระองค์ที่หอคอยแห่งลอนดอน ริชาร์ด แพลนทาเจเนตได้ยึดบัลลังก์อังกฤษมาครอบครองเป็นพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และได้ประกาศให้การสมรสของพระบิดามารดาของเอลิซาเบธแห่งยอร์กไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยทรงอ้างว่าในตอนที่ทำการสมรสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้หมั้นหมายอยู่กับหญิงอื่น

หลังพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ขึ้นครองราชย์ได้ระยะหนึ่ง เจ้าชายทั้งสองซึ่งเป็นทายาทชายที่ยังมีชีวิตอยู่ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ก็ได้หายตัวไป แม้เอลิซาเบธจะถูกประกาศให้เป็นบุตรนอกสมรสแต่มีข่าวลือว่าพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 มีแผนที่จะสมรสกับพระองค์ การทรยศหักหลังของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทำให้เลดีวูดวิลล์เกลียดชังพระอนุชาของพระสวามีเป็นอย่างมาก พระองค์หันไปร่วมมือกับมาร์กาเร็ต โบฟอร์ตแห่งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ซึ่งมารดาของเฮนรี ทิวดอร์ ผู้อ้างตนเป็นทายาทในบัลลังก์ เอลิซาเบธถูกจับหมั้นหมายกับเฮนรี ทิวดอร์ มีคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าเอลิซาเบธ วูดวิลล์คงรู้หรืออย่างน้อยก็พอจะเดาได้ว่า "เจ้าชายในหอคอย" พระโอรสทั้งสองของตนสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จึงพยายามจับพระธิดาสมรสกับเฮนรี ทิวดอร์

พระราชินีแห่งอังกฤษ

สำเนาภาพวาดคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระนางถือดอกกุหลายขาว สัญลักษณ์ของราชวงศ์ยอร์กไว้ในมือ

เฮนรี ทิวดอร์โจมตีกองทัพของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และปราบพระองค์ที่สมรภูมิบอสเวิร์ธ จากนั้นได้ยึดบัลลังก์แห่งอังกฤษตั้งตนเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 พระองค์ได้ลบล้างมลทินและประกาศให้ลูกๆ ของเลดีวูดวิลล์เป็นพระโอรสธิดาที่เกิดจากการสมรสอย่างถูกต้องของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 กับเลดีเอลิซาเบธ วูดวิลล์

การสมรสของพระองค์กับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก ทายาทแห่งราชวงศ์ยอร์กถูกเลื่อนออกไปหลายเดือนเพื่อให้พิธีราชาภิเษกของพระองค์เรียบร้อยเสียก่อน สุดท้ายทั้งคู่ก็สมรสกันในเดือนมกราคม ค.ศ. 1486 การสมรสได้รวมราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่มีตัวแทนคือพระเจ้าเฮนรีที่ 7 (ซึ่งอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์อังกฤษจากการพิชิต ไม่ใช่จากชาติกำเนิด) กับราชวงศ์ยอร์กที่มีตัวแทนคือเอลิซาเบธเข้าด้วยกัน สัญลักษณ์ของกษัตริย์แลงคาสเตอร์ที่สมรสกับพระราชินียอร์กได้รวมกุหลาบแดงแห่งแลงคาสเตอร์กับกุหลาบขาวแห่งยอร์กเข้าด้วยกัน ถือเป็นการจบสิ้นสงครามดอกกุหลาบ พระเจ้าเฮนรีได้นำเอากุหลาบทิวดอร์ที่มีทั้งสีแดงและสีขาวมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์

กุหลาบทิวดอร์ที่รวมกุหลาบแดงของราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับกุหลาบของราชวงศ์ยอร์กเข้าด้วยกัน

แหล่งข้อมูลบางฉบับกล่าวว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ไม่ได้มีใจรักเอลิซาเบธ พระองค์นับถือพระนางที่เป็นคนอ่อนโยน, มีจิตใจเอื้อเฟื้อ และเป็นบุคคลแสนวิเศษผู้เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน เอลิซาเบธวางตัวอยู่ห่างจากการเมืองแต่ก็ให้การสนับสนุนพระสวามีอยู่เบื้องหลัง แม้ว่าผู้ภักดีต่อราชวงศ์ยอร์กส่วนหนึ่งจะยังคงมองว่าพระนางคือทายาทโดยชอบธรรมในบัลลังก์ก็ตาม เอลิซาเบธใช้เวลามากมายไปกับการเดินทาง บางครั้งก็มีพระสวามีร่วมเดินทางด้วย แต่โดยส่วนมากพระองค์มักเดินทางเพียงลำพังไปในดินแดนซึ่งอยู่ห่างไกลของราชอาณาจักร หลังสมรสไม่นานพระองค์ได้ตั้งครรภ์และในเดือนกันยายน ค.ศ. 1486 พระองค์ได้ให้กำเนิดพระโอรสชื่ออาร์เธอร์ที่ต่อมาได้รับการสวมมงกุฎเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์

วันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1487 เอลิซาเบธได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษ การสมรสของพระองค์กับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เป็นจุดเริ่มต้นในราชบัลลังก์บริเตนของราชวงศ์ทิวดอร์

พระโอรสธิดา

เอลิซาเบธแห่งยอร์กมีชีวิตสมรสที่สงบสุข พระองค์กับพระเจ้าเฮนรีมีพระโอรสธิดาด้วยกันแปดคน คือ

  1. อาร์เธอร์ (ประสูติ 19 กันยายน ค.ศ. 1486) เจ้าชายแห่งเวลส์และรัชทายาท สิ้นพระชนม์ก่อนพระบิดา
  2. มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ (ประสูติ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1489) พระราชินีคู่สมรสแห่งสกอตแลนด์จากการสมรสกับพระเจ้าเจมส์ที่ 4 และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าเจมส์ที่ 5 พระโอรส ทรงเป็นพระอัยกีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์และเฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์
  3. พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (ประสูติ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1491)
  4. เอลิซาเบธ ทิวดอร์ (ประสูติ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1492) สิ้นพระชนม์ในวัยเด็ก
  5. แมรี ทิวดอร์ (ประสูติ 18 มีนาคม ค.ศ. 1496) พระราชินีแห่งฝรั่งเศสจากการสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ทรงเป็นพระอัยกีของเลดีเจน เกรย์
  6. เอ็ดเวิร์ด ทิวดอร์ (ประสูติ ค.ศ. 1498)
  7. เอ็ดมุนด์ ทิวดอร์ (ประสูติ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1499) สิ้นพระชนม์ในวัยเด็ก
  8. แคทเธอรีน (ประสูติ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503) สิ้นพระชนม์ในวัยทารก

ปี ค.ศ. 1501 อาร์เธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระโอรสคนโตของทั้งคู่สมรสกับกาตาลินาแห่งอารากอน ลูกพี่ลูกน้องชั้นที่สามของทั้งพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และเอลิซาเบธแห่งยอร์ก หลังจากนั้นไม่นานกาตาลินากับอาร์เธอร์ล้มป่วยด้วยโรคเหงื่อออกซึ่งทำให้อาร์เธอร์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1502 สร้างความเจ็บปวดอย่างมากให้แก่สองสามีภรรยา

พระเจ้าเฮนรีรักพระโอรสของพระองค์มากกว่าสิ่งใดในโลก ความรักของพระองค์พังลงเมื่อพระโอรสสิ้นพระชนม์ บันทึกหลายฉบับกล่าวว่าพระองค์เศร้าเสียใจอย่างรุนแรง และเมื่อเอลิซาเบธ พระมเหสีเข้ามาปลอบโยนพระองค์ ความรักของทั้งคู่ก็ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พระนางได้บอกแก่พระองค์ว่าทั้งตนและพระองค์ยังอายุน้อย สามารถมีพระโอรสธิดาได้อีกหลายคนเท่าที่ต้องการ คำพูดดังกล่าวปลอบใจกษัตริย์ได้เป็นอย่างดี

การสิ้นพระชนม์

สันนิษฐานกันว่าเอลิซาเบธได้ตั้งครรภ์อีกครั้งหลังพยายามจะมีทายาทชายในบัลลังก์อีกคนหลังอาร์เธอร์สิ้นพระชนม์ เผื่อกรณีที่เฮนรี พระโอรสที่ยังมีชีวิตอยู่อีกคนเกิดสิ้นพระชนม์ การตั้งครรภ์ทายาทเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของพระราชินีคู่สมรส โดยเฉพาะสำหรับราชวงศ์ใหม่อย่างทิวดอร์ แต่ระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมลงทำให้ร่างกายของพระองค์อ่อนแออย่างมากจนเกิดภาวะติดเชื้อหลังคลอดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503 เอลิซาเบธแห่งยอร์กวัย 53 พรรษาได้สิ้นพระชนม์ในหอคอยแห่งลอนดอนด้วยภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดพระโอรสธิดาคนที่แปดซึ่งเป็นพระธิดานามว่าแคทเธอรีนที่สิ้นพระชนม์หลังการคลอดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ในตอนที่สิ้นพระชนม์พระองค์เหลือพระโอรสธิดาอยู่เพียงสามคน คือ มาร์กาเร็ต, เฮนรี และแมรี ร่างของเอลิซาเบธแห่งยอร์กถูกฝังที่โบสถ์น้อยของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ในวิหารเวสต์มินสเตอร์

หลักฐานทางเอกสารเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 กับเอลิซาเบธแห่งยอร์กมีอยู่ไม่มาก แต่เอกสารที่หลงเหลืออยู่หลายฉบับกล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่เป็นความรักที่นุ่มนวลอ่อนโยน ตลอดชีวิตสมรส กษัตริย์ไม่เคยมีสนมลับ พระองค์อยู่กับพระมเหสีและมีสายสัมพันธ์รักใกล้ชิดร่วมกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีนักในสายตาของที่ปรึกษาผู้จงรักภักดีที่มองว่ากษัตริย์ไม่ควรมีความรู้สึกต่อคู่สมรสมากเกินไป แต่พระเจ้าเฮนรีที่ 7 หาได้สนใจ พระองค์ยังคงรักและใส่ใจพระมเหสีจนถึงวันสุดท้ายของพระนาง

นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งอ้างว่าหลังการสิ้นพระชนม์ของเอลิซาเบธ พระเจ้าเฮนรีปลีกวิเวกเพียงลำพังและสั่งห้ามไม่ให้ใครมารบกวนการไว้อาลัยให้แก่การจากไปของพระมเหสีของพระองค์ พระองค์เริ่มล้มป่วยและไม่สามารถดึงตัวเองออกมาจากความเศร้าโศกได้ สมาชิกหลายคนในราชสำนักของพระองค์เริ่มมองพระองค์เป็นผู้ปกครองและคนที่ไร้ความสามารถ พระองค์เอาแต่สะอื้นและกลายเป็นคนไม่พูดไม่จา สมาชิกราชสำนักแนะนำให้พระองค์สมรสใหม่และมีข้อเสนอสมรสถูกยื่นเข้ามามากมาย แต่พระองค์ก็ยังครองตนเป็นม่ายและสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1509 ร่างของพระองค์ถูกฝังเคียงข้างกับเอลิซาเบธ พระมเหสีผู้ล่วงลับของพระองค์ในโบสถ์น้อยของพระองค์เอง

อ้างอิง

  1. Tudorhistory.org: Elizabeth of York, Queen of England[1]

ดูเพิ่ม