ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอคำเขื่อนแก้ว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมชื่อ '''บ้านลุมพุก''' ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2451 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอ แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ บริเวณเมืองยโสธรเดิมให้เป็นอำเภอปจิมยะโสธร และบริเวณบ้านลุมพุกตั้งขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี'''เจ้าเหลี่ยม ณ จำปาศักดิ์''' เป็นนายอำเภอคนแรก
อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมชื่อ '''บ้านลุมพุก''' เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหนองลุมพุกใกล้กับวัดบูรพาราม ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ได้รวมหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงบ้านลุมพุกจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลลุมพุก ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี


ปี พ.ศ. 2445 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอ แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ บริเวณเมืองยโสธรเดิมให้เป็นอำเภอปจิมยะโสธร และบริเวณบ้านลุมพุกตั้งขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมี'''หลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยะกุล)''' เป็นนายอำเภอคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งจังหวัดยโสธรขึ้น โดยแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้รวมเอาอำเภอคำเขื่อนแก้วมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรตั้งแต่บัดนั้น ครั้งหนึ่งอำเภอคำเขื่อนแก้วเคยกลับมาใช้ชื่อว่า '''อำเภอลุมพุก''' และประชาชนทั่วไปก็มักใช้เรียกอำเภอคำเขื่อนแก้วว่าอำเภอลุมพุกตลอดมา

ปี พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสว่า นามอำเภอในมณฑลอุบลซึ่งเรียกใช้ในราชการอยู่เวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอเหล่านี้ใหม่ จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยยะโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ซึ่งนำชื่อของเมืองคำเขื่อนแก้วเดิม อยู่ในฐานะการปกครองของเมืองเขมราฐมาตั้งเป็นนามอำเภอ)

ปี พ.ศ. 2509 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งตำบลโพธิ์ไทร ตำบลโคกนาโก และตำบลกระจาย ของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าติ้ว ต่อมาเป็น[[อำเภอป่าติ้ว]]ในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2515 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งจังหวัดยโสธรขึ้น โดยแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้รวมเอาอำเภอคำเขื่อนแก้วมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรตั้งแต่บัดนั้น ครั้งหนึ่งอำเภอคำเขื่อนแก้วเคยกลับมาใช้ชื่อว่า '''อำเภอลุมพุก''' และประชาชนทั่วไปก็มักใช้เรียกอำเภอคำเขื่อนแก้วว่าอำเภอลุมพุกตลอดมา


== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:28, 8 กรกฎาคม 2562

อำเภอคำเขื่อนแก้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kham Khuean Kaeo
คำขวัญ: 
เมืองโบราณ ธารสองสาย
ไก่รสเด็ด เมล็ดข้าวหอม
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
พิกัด: 15°39′11″N 104°18′32″E / 15.65306°N 104.30889°E / 15.65306; 104.30889
ประเทศ ไทย
จังหวัดยโสธร
พื้นที่
 • ทั้งหมด538.25 ตร.กม. (207.82 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด66,818 คน
 • ความหนาแน่น124.13 คน/ตร.กม. (321.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 35110,
35180 (เฉพาะตำบลนาคำ ดงแคนใหญ่ นาแก และแคนน้อย)
รหัสภูมิศาสตร์3504
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ถนนแจ้งสนิท) ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

คำเขื่อนแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด 23 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 รองจากอำเภอเมืองยโสธร และอำเภอเลิงนกทา มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดยโสธร อีกทั้งยังตั้งอยู่ในเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2083 จึงเป็นชุมทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ คือ เส้นทางเชื่อมไปยังจังหวัดอุบลราชธานี (คำเขื่อนแก้ว-เขื่องใน-อุบลราชธานี) และเส้นทางเชื่อมไปยังจังหวัดศรีสะเกษ (คำเขื่อนแก้ว-มหาชนะชัย-ราษีไศล-อุทุมพรพิสัย-ศรีสะเกษ) อีกทั้งยังมีโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือ ปราสาทดงเมืองเตย , พระธาตุกู่จาน และกู่บ้านงิ้ว

ประวัติ

อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมชื่อ บ้านลุมพุก เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหนองลุมพุกใกล้กับวัดบูรพาราม ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ได้รวมหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงบ้านลุมพุกจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลลุมพุก ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. 2445 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอ แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ บริเวณเมืองยโสธรเดิมให้เป็นอำเภอปจิมยะโสธร และบริเวณบ้านลุมพุกตั้งขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยะกุล) เป็นนายอำเภอคนแรก

ปี พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสว่า นามอำเภอในมณฑลอุบลซึ่งเรียกใช้ในราชการอยู่เวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอเหล่านี้ใหม่ จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยยะโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ซึ่งนำชื่อของเมืองคำเขื่อนแก้วเดิม อยู่ในฐานะการปกครองของเมืองเขมราฐมาตั้งเป็นนามอำเภอ)

ปี พ.ศ. 2509 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งตำบลโพธิ์ไทร ตำบลโคกนาโก และตำบลกระจาย ของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าติ้ว ต่อมาเป็นอำเภอป่าติ้วในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2515 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งจังหวัดยโสธรขึ้น โดยแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้รวมเอาอำเภอคำเขื่อนแก้วมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรตั้งแต่บัดนั้น ครั้งหนึ่งอำเภอคำเขื่อนแก้วเคยกลับมาใช้ชื่อว่า อำเภอลุมพุก และประชาชนทั่วไปก็มักใช้เรียกอำเภอคำเขื่อนแก้วว่าอำเภอลุมพุกตลอดมา

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอคำเขื่อนแก้วตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอคำเขื่อนแก้วแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ลุมพุก (Lumphuk) 8. กู่จาน (Ku Chan)
2. ย่อ (Yo) 9. นาแก (Na Kae)
3. สงเปือย (Song Pueai) 10. กุดกุง (Kud Kung)
4. โพนทัน (Phon Than) 11. เหล่าไฮ (Lao Hai)
5. ทุ่งมน (Thung Mon) 12. แคนน้อย (Khaen Noi)
6. นาคำ (Na Kham) 13. ดงเจริญ (Dong Charoen)
7. ดงแคนใหญ่ (Dong Khaen Yai)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลุมพุก
  • เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงแคนใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพุก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปือยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนทันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่จานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดกุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าไฮทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคนน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเจริญทั้งตำบล

วัดสำคัญภายในตัวอำเภอ

  1. วัดบูรพาราม
  2. วัดคำเขื่อนแก้ว
  3. วัดป่าประชาอุทิศ
  4. วัดโนนหนองบัว

สถานที่ราชการสำคัญ

  • ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร สาขาคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานเกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
  • สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ยโสธร
  • การไฟ้ฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาคำเขื่อนแก้ว
  • ที่ทำการไปรษณีย์คำเขื่อนแก้ว รหัสไปรษณีย์ 35110
  • ที่ทำการไปรษณีย์ดงแคนใหญ่ รหัสไปรษณีย์ 35180

สถานศึกษา

สถานที่ท่องเที่ยว

พระธาตุกู่จาน ปูชนียสถานที่สำคัญ
  • พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของประชาชนชาวจังหวัดยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้
ปราสาทดงเมืองเตย
  • ดงเมืองเตย ตั้งอยู่บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทก่ออิฐ ไม้สอปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สูงประมาณ 1.7 เมตร กว้างประมาณ 5.0 เมตร ยาวประมาณ 5.5 เมตร ประกอบด้วยฐานชุดเขียง 4 ชั้น โดยฐานเขียงชั้นที่ 1 ย่อมุม 3 ช่วง และฐานเขียงชั้นที่ 2 ย่อมุม 2 ช่วง ซึ่งฐานเขียงแต่ละชั้นจะมีขนาดลดหลั่นขึ้นไป ถัดจากฐานเขียงขึ้นไปเป็นชุดฐานบัว บริเวณทางขึ้นด้านทิศตะวันออกติดกับฐานเขียงชั้นที่ 1 มีอัฒจรรย์ก่อเป็นรูปปีกกา 1 ชั้น ต่อจากอัฒจรรย์มีการก่ออิฐเป็นลานทางเดินด้านหน้า ยาวประมาณ 28 เมตร ด้านหน้าทางเดินมีการก่ออิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลายชั้น ส่วนบริเวณรอบปราสาทเป็นลานอิฐ
  • กู่บ้านงิ้ว
  • เจดีย์สังเวชนียสถาน วัดบ้านสงเปือย