ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 2001:44C8:4147:F255:1:1:A60:3F90 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย พุทธามาตย์
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
| ปี = 2554| ISBN = 978-616-7308-25-8| จำนวนหน้า = 264| หน้า = 132-5}}{{dead link|date=August 2018}}</ref> มีพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เดิมบวชเป็น[[พระภิกษุ]]อยู่ที่วัดระฆัง มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อน[[สมณศักดิ์]]เป็น''[[พระพิมลธรรม]]อนันตปรีชา'' มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้ง[[จหมื่นศรีสรรักษ์ (วังหน้า)|จหมื่นศรีสรรักษ์]]ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย
| ปี = 2554| ISBN = 978-616-7308-25-8| จำนวนหน้า = 264| หน้า = 132-5}}{{dead link|date=August 2018}}</ref> มีพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เดิมบวชเป็น[[พระภิกษุ]]อยู่ที่วัดระฆัง มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อน[[สมณศักดิ์]]เป็น''[[พระพิมลธรรม]]อนันตปรีชา'' มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้ง[[จหมื่นศรีสรรักษ์ (วังหน้า)|จหมื่นศรีสรรักษ์]]ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย


ในแผ่นดินของ[[พระศรีเสาวภาคย์]] จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ]] แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับ[[พระศรีเสาวภาคย์]]นำไป[[สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์]] แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 ([[พ.ศ. 2154]]) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็น[[พระมหาอุปราช]]
ในแผ่นดินของ[[สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์]] จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ]] แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับ[[สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์]]นำไป[[สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์]] แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 ([[พ.ศ. 2154]]) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็น[[พระมหาอุปราช]]


สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ [[พระเชษฐากุมาร]] [[พระพันปีศรีศิลป์]] และ[[พระอาทิตยวงศ์]] ส่วน[[จดหมายเหตุวันวลิต]]ระบุว่า พระองค์มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ [[พระเชษฐากุมาร]] [[พระพันปีศรีศิลป์]] และ[[พระอาทิตยวงศ์]] ส่วน[[จดหมายเหตุวันวลิต]]ระบุว่า พระองค์มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:37, 2 กรกฎาคม 2562

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

พระศรีสิน
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์2154–2171
รัชสมัย17 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระศรีเสาวภาคย์
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระเชษฐาธิราช
ประสูติพ.ศ. 2135
สวรรคต12 ธันวาคม พ.ศ. 2171
พระราชบุตรสมเด็จพระเชษฐาธิราช
พระพันปีศรีศิลป์
พระอาทิตยวงศ์
ราชวงศ์ราชวงศ์สุโขทัย
พระราชบิดาสมเด็จพระเอกาทศรถ[1]
พระราชมารดาพระสนมไม่ปรากฏพระนาม

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ[2] เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย

หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์องค์ก่อนแล้ว พระศรีศิลป์หรือพระพิมลธรรม หรือพระเจ้าทรงธรรมก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ

พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระนามเดิมว่าพระอินทราชา (แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าพระนามเดิมคือพระศรีสิน) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถกับพระสนมชาวบางปะอิน[3] มีพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เดิมบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดระฆัง มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมอนันตปรีชา มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้งจหมื่นศรีสรรักษ์ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย

ในแผ่นดินของสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์นำไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 (พ.ศ. 2154) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็นพระมหาอุปราช

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ พระเชษฐากุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และพระอาทิตยวงศ์ ส่วนจดหมายเหตุวันวลิตระบุว่า พระองค์มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์

ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราชจนกว่าจะได้ครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราย์ได้ 17 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้

พระราชกรณียกิจ

ด้านพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาพุทธในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรีจึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

พระองค์ทรงมีสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยะมะดะ นะงะมะซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข

ด้านราชการสงคราม

เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตกในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ. 2165 ต่อมา กัมพูชาและแคว้นเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา

พระราชบุตร

ใน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระมเหสีสองพระองค์ คือพระนางจันทราชา และพระนางขัตติยเทวี มีพระราชธิดาด้วยกันองค์ละสี่พระองค์ รวมมีพระราชธิดาทั้งหมดแปดพระองค์ ดังนี้[4]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. พระเจ้าทรงธรรม[ลิงก์เสีย]
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. หน้า 261-4. ISBN 978-616-7146-08-9
  3. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. หน้า 132-5. ISBN 978-616-7308-25-8[ลิงก์เสีย]
  4. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 90-91
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ถัดไป
พระศรีเสาวภาคย์
(ราชวงศ์สุโขทัย)

(พ.ศ. 2153)

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์สุโขทัย)

(พ.ศ. 2154 - พ.ศ. 2171)
สมเด็จพระเชษฐาธิราช
(ราชวงศ์สุโขทัย)

( พ.ศ. 2171 - พ.ศ. 2173)