ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศีรษะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gta2123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8367679 สร้างโดย Gta2123 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
ในทาง[[กายวิภาคศาสตร์]] '''ศีรษะ''' ({{lang-la|caput}}, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ '''หัว'''ของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ใน[[มนุษย์]]มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น [[กะโหลกศีรษะ]] ใบหน้า [[สมอง]] [[เส้นประสาทสมอง]] [[เยื่อหุ้มสมอง|เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง]] [[ฟัน]] อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่น[[หลอดเลือด]] [[หลอดน้ำเหลือง]] และ[[ไขมัน]]<ref>Keith L. Moore - Clinically oriented Anatomy (Fourth edition) ISBN 0-683-06141-0</ref>
ในทาง[[กายวิภาคศาสตร์]] '''ศีรษะ''' ({{lang-la|caput}}, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ '''หัว'''ของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ใน[[มนุษย์]]มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น [[กะโหลกศีรษะ]] ใบหน้า [[สมอง]] [[เส้นประสาทสมอง]] [[เยื่อหุ้มสมอง|เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง]] [[ฟัน]] อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่น[[หลอดเลือด]] [[หลอดน้ำเหลือง]] และ[[ไขมัน]]<ref>Keith L. Moore - Clinically oriented Anatomy (Fourth edition) ISBN 0-683-06141-0</ref>


[[สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง|สัตว์ชั้นต่ำ]]หลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษะเปียนทาง
[[สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง|สัตว์ชั้นต่ำ]]หลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษะ


== ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป ==
== ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:39, 26 มิถุนายน 2562

ศีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane)

ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (ละติน: caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน[1]

สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษะ

ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป

กายวิภาคศาสตร์ของศีรษะด้านข้าง มุมมองพื้นผิว
  • กะโหลกศีรษะ เกิดจากกระดูก 2 ส่วน คือกระดูกหุ้มสมอง (Neurocranium) และกระดูกใบหน้า (Splanchnocranium) เป็นที่อยู่ของ สมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ส่วนต้นของเส้นประสาทสมองและหลอดเลือด กระดูกหน้าประกอบไปด้วยกระดูกที่ล้อมรอบปาก จมูกและส่วนที่เป็นเบ้าตา การเจริญของกระดูกใบหน้าใช้เวลานานมากกว่ากะโหลกศีรษะ[2]
  • ใบหน้า คือส่วนด้านหน้าของศีรษะ ยื่นลงมาจากหน้าผากถึงคาง และจากหูข้างหนึ่งถึงหูอีกข้างหนึ่ง รูปร่างพื้นฐานของใบหน้าขึ้นอยู่กับกระดูกที่อยู่ข้างใต้ ไขมัน และกล้ามเนื้อใบหน้าทำให้หน้ามีรูปร่างที่สมบูรณ์
  • สมอง ประกอบด้วยสมองใหญ่ (Cerebrum) สมองน้อย (cerebellum) และก้านสมอง อยู่ภายในช่องกะโหลกศีรษะ ห่อหุ้มด้วยเยื่อบุสมองและน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
  • เส้นประสาทสมอง เหมือนกับเส้นประสาทไขสันหลัง เนื่องจากประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกหรือสั่งการ เกิดจากแขนงที่ยื่นจากเซลล์ประสาท เพื่อไปควบคุมกล้ามเนื้อหรือต่อมหรือนำกระแสประสาทจากบริเวณรับความรู้สึก ที่ได้ชื่อว่าเส้นประสาทสมอง เนื่องจากโผล่ออกมาจากรูหรือร่องในกะโหลกศีรษะ มีทั้งหมด 12 คู่ เรียงตามเลขโรมัน I-XII จากส่วนหน้าไปยังส่วนหลังของสมอง[3]
  • เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ปกป้องสมอง หลอดเลือดแดง หลอดเลือดและแอ่งเลือดดำ (venous sinus) และช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) ซึ่งสำคัญมากต่อการทำงานอย่างเป็นปรกติของสมอง
  • ฟัน (ดูเพิ่ม)

ภาพอื่นๆ

อ้างอิง

  1. Keith L. Moore - Clinically oriented Anatomy (Fourth edition) ISBN 0-683-06141-0
  2. Philippa Francis-West*, Raj Ladher, Amanda Barlow and Ann Graveson Department of Craniofacial Development, UMDS, Guy's Tower, Floor 28, London Bridge, London SE1 9RT, UK
  3. Akesson EJ. Loeb JA, Pauwels LW. Core textbook of anatomy, 2nd ed. 1990

บรรณานุกรม

  • Gray's anatomy for students. Drake, RL., Vogl, W. and Mitchell, AWM.
  • Clinically Oriented Anatomy, 5th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.
  • Basic Gross Anatomy with Clinical Correlation, รศ.พญ.ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์