ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิศาสตร์ไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 7991715 โดย 180.183.22.91ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
ประเทศไทยตั้งอยู่ในช่วงพิกัด 5°37′N - 20°27′N และ 97°22′E - 105°37′E
ประเทศไทยตั้งอยู่ในช่วงพิกัด 5°37′N - 20°27′N และ 97°22′E - 105°37′E


ด้วยสภาพพื้นที่ราบซึ่งน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรมการทำนา และดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานมายังใจกลางดินแดนมากกว่าพื้นที่สูงและภูเขาในภาคเหนือ[[ที่ราบสูงโคราช]]ในทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้วยสภาพพื้นที่ราบซึ่งน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรมการทำนา และดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานมายังใจกลางดินแดนมากกว่าพื้นที่สูงและภูเขาในภาคเหนือและ[[ที่ราบสูงโคราช]]ในทางตะวันออกเฉียงเหนือ


ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐจำนวนหนึ่งซึ่งติดต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยการปลูกข้าวและการค้าได้เกิดขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัฐเหล่านี้ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ[[อาณาจักรอยุธยา]] ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบลุ่มแห่งนี้ เมืองหลวงในอดีตของไทยซึ่งตั้งอยู่บนหลายจุดตามแม่น้ำเจ้าพระยา กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคนไทยซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการปลูกข้าวและการค้าระหว่างประเทศ ไทยได้มุ่งหน้าค้าขายกับเมืองท่าต่างชาติโดยอาศัย[[อ่าวไทย]]และ[[ทะเลอันดามัน]]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐจำนวนหนึ่งซึ่งติดต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยการปลูกข้าวและการค้าได้เกิดขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัฐเหล่านี้ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ[[อาณาจักรอยุธยา]] ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบลุ่มแห่งนี้ เมืองหลวงในอดีตของไทยซึ่งตั้งอยู่บนหลายจุดตามแม่น้ำเจ้าพระยา กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคนไทยซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการปลูกข้าวและการค้าระหว่างประเทศ ไทยได้มุ่งหน้าค้าขายกับเมืองท่าต่างชาติโดยอาศัย[[อ่าวไทย]]และ[[ทะเลอันดามัน]]
บรรทัด 60: บรรทัด 60:


=== ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ===
=== ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ===
[[ไฟล์:Pah nok an.JPG|left|thumb|[[ผานกแอ่น]] ใน[[อุทยานแห่งชาติภูกระดึง]]|link=Special:FilePath/Pah_nok_an.JPG]]
[[ไฟล์:Pah nok an.JPG|left|thumb|[[ผานกแอ่น]] ใน[[อุทยานแห่งชาติภูกระดึง]]]]


[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ มีดินไม่ดีซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยทุ่งนาที่น้ำท่วมถึงและระบายน้ำได้น้อยในการเจริญเติบโต และที่ซึ่งแหล่งน้ำใกล้เคียงสามารถท่วมถึงได้ มักจะเก็บเกี่ยวสองครั้งต่อปี พืชค้า อย่างเช่น [[อ้อย]]และ[[มันสำปะหลัง]]มีการเพาะปลูกกันในบริเวณมหาศาล และ[[ยาง]] ในปริมาณที่น้อยกว่าพืชสองชนิดแรก การผลิตไหมเป็นอุตสาหกรรมแถบชนบทและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ภาคอีสานมีฤดูมรสุมสั้น ๆ นำมาซึ่งอุทกภัยในแถบหุบเขาแม่น้ำ ไม่เหมือนกับพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่าของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ภูเขาขนาบภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางตะวันตกและทางใต้ และ[[แม่น้ำโขง]]ไหลกั้นที่ราบสูงโคราชทางเหนือและทางตะวันออก พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล ''[[Curcuma]]'' และพืช[[วงศ์ขิง]] เป็นพืชท้องถิ่นของภาค
[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ มีดินไม่ดีซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยทุ่งนาที่น้ำท่วมถึงและระบายน้ำได้น้อยในการเจริญเติบโต และที่ซึ่งแหล่งน้ำใกล้เคียงสามารถท่วมถึงได้ มักจะเก็บเกี่ยวสองครั้งต่อปี พืชค้า อย่างเช่น [[อ้อย]]และ[[มันสำปะหลัง]]มีการเพาะปลูกกันในบริเวณมหาศาล และ[[ยาง]] ในปริมาณที่น้อยกว่าพืชสองชนิดแรก การผลิตไหมเป็นอุตสาหกรรมแถบชนบทและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ภาคอีสานมีฤดูมรสุมสั้น ๆ นำมาซึ่งอุทกภัยในแถบหุบเขาแม่น้ำ ไม่เหมือนกับพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่าของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ภูเขาขนาบภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางตะวันตกและทางใต้ และ[[แม่น้ำโขง]]ไหลกั้นที่ราบสูงโคราชทางเหนือและทางตะวันออก พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล ''[[Curcuma]]'' และพืช[[วงศ์ขิง]] เป็นพืชท้องถิ่นของภาค

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:22, 20 มิถุนายน 2562

แผนที่ประเทศไทย

ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศได้มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ประเทศไทยยังเป็นเส้นทางทางบกเพียงทางเดียวจากทวีปเอเชียไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์

พิกัดภูมิศาสตร์

ประเทศไทยตั้งอยู่ในช่วงพิกัด 5°37′N - 20°27′N และ 97°22′E - 105°37′E

ด้วยสภาพพื้นที่ราบซึ่งน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้ประเทศไทยมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรมการทำนา และดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานมายังใจกลางดินแดนมากกว่าพื้นที่สูงและภูเขาในภาคเหนือและที่ราบสูงโคราชในทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐจำนวนหนึ่งซึ่งติดต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยการปลูกข้าวและการค้าได้เกิดขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัฐเหล่านี้ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบลุ่มแห่งนี้ เมืองหลวงในอดีตของไทยซึ่งตั้งอยู่บนหลายจุดตามแม่น้ำเจ้าพระยา กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคนไทยซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการปลูกข้าวและการค้าระหว่างประเทศ ไทยได้มุ่งหน้าค้าขายกับเมืองท่าต่างชาติโดยอาศัยอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

ในขณะที่ลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรปนำมาซึ่งช่วงเวลาใหม่ของการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1800 ประเทศไทย (หรือในขณะนั้นยังเรียกว่า "สยาม") เป็นประเทศเดียวที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกในฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่าซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษและอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส อันได้แก่ ลาวและกัมพูชา

รูปร่าง

ประเทศไทยมีลักษณะคล้ายขวาน โดยภาคใต้เป็นด้ามขวาน แนวด้านตะวันตกเป็นสันขวาน ภาคเหนือเป็นหัวขวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเป็นคมขวาน จากลักษณะดังกล่าว ความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด วัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายไปจนถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาว 1,650 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างสุดจากตะวันออกไปตะวันตก วัดจากอำเภอพิบูรมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นระยะทาง 800 กิโลเมตร[1] บริเวณแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดของประเทศตั้งอยู่ระหว่างแนวชายแดนกัมพูชากับพื้นที่บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะทางเพียง 450 เมตร และส่วนพื้นที่บ้านวังด้วน ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากชายแดนประเทศพม่าจนถึงทะเลอ่าวไทย มีระยะทาง 10.6 กิโลเมตร สำหรับส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู (แผ่นดินระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน) อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและระนอง มีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกส่วนนี้ว่า "คอคอดกระ"[1]

อาณาเขตและพรมแดน

พรมแดนทางบก

รวมระยะทางทั้งหมด 4,863 กิโลเมตร

ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย[1]

มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,754 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ชายแดนที่เป็นทั้งภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำสำคัญระหว่างไทยกับลาว มีการสัญจรติดต่อกันโดยใช้เรือ จึงมีท่าเรือสำคัญทั้งสองประเทศ เส้นทางเชื่อมระหว่างสองประเทศนี้ได้แก่ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แห่งที่ 2 แห่งที่ 3 และแห่งที่ 4 ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบเข้าเมือง การลำเลียงยาเสพติด การขนสินค้าหนีภาษี เป็นต้น

มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านชายแดนที่เป็นทั้งภูเขาและแม่น้ำ ผ่านจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,800 กิโลเมตร การแบ่งเขตแดนจะแบ่งโดย ถ้าเป็นภูเขาจะใช้สันปันน้ำเป็นแนวเขต แต่ถ้าเป็นแม่น้ำจะใช้ร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต เนื่องจากชายแดนด้านนี้มีชนกลุ่มน้อยของพม่าตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ เป็นต้น อาศัยอยู่ จึงมีมีการอพยพแรงงานเข้ามาในไทย มีการลักลอบค้าของหนีภาษี ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้สัก บ่อนการพนัน การลักลอบขนยาเสพติด เป็นต้น

มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยนับตั้งแต่ช่องบก (สามเหลี่ยมมรกต) ในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด รวมระยะทางทั้งสิ้น 803 กิโลเมตร บริเวณชายแดนที่ติดกับตอนล่างของภาคอีสานจะใช้ทิวเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน แถบจังหวัดสระแก้วเป็นที่ราบและคลอง จึงเป็นเส้นทางเดินติดต่อกันสะดวก พื้นที่แถบนี้เรียกว่า "ฉนวนไทย" โดยบริเวณอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีตลาดการค้าขนาดใหญ่เรียกว่า "ตลาดโรงเกลือ" ชาวกัมพูชามักจะมาซื้อสินค้าประเภทอาหาร และวัสดุก่อสร้าง ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบค้าของหนีภาษี บ่อนการพนัน และการโจรกรรมรถยนต์จากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมระยะทางเขตแดน 506 กิโลเมตร ที่จังหวัดสตูลมีรั้วคอนกรีตกั้นแบ่ง แต่ส่วนใหญ่จะใช้แนวทิวเขาสันกาลาคีรีและแม่น้ำโกลกแบ่งเขตแดน ชายแดนด้านนี้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งทางรถยนต์และรถไฟ ปัญหาชายแดนด้านนี้คือ การลักลอบขนของหนีภาษี ปัญหาการทำประมง การนับถือศาสนาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมเฉพาะพื้นที่ เป็นต้น

แนวชายฝั่ง

  • รวม: 3,219 กม.

การอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทางทะเล

  • ทะเลอาณาเขต: 12 ไมล์ทะเล (22.8 กม.)
  • เขตเศรษฐกิจเฉพาะ: 200 ไมล์ทะเล (370.4 กม.)
  • ไหล่ทวีป: ความลึก 200 ม. หรือที่ระดับของการแสวงหาผลประโยชน์

ภูมิลักษณ์และทางน้ำ

แผนที่ภูมิลักษณ์ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ชายแดนพม่าผ่านคอคอดกระและคาบสมุทรมลายู ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อย ทั้งนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่หัวอ่าวกรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูงโคราช พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขิน มีแม่น้ำมูลไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำโขง ซึ่งไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยมีคลองและเขื่อนเป็นจำนวนมาก

แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือได้ว่าค้ำจุนเศรษฐกิจเกษตรกรรมของไทย โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและเป็นทางน้ำสำหรับขนส่งสินค้าและผู้คน ในทางกลับกัน ลักษณะทางธรรมชาติของคาบสมุทรในทางภาคใต้ คือ ชายฝั่งทะเลที่ยาว เกาะนอกฝั่ง และบึงพรรณไม้ป่าชายเลนที่กำลังลดจำนวนลง

พื้นที่

  • รวม: 513,115 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 321 ล้านไร่)

ภูมิภาค

สภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณีสัณฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะตั้งอยู่บนที่ราบตอนกลางของประเทศ แต่เนื่องจากมันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด เขตมหานครแห่งนี้จึงอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ทั้งหกนี้มีความแตกต่างกันโดยมีเอกลักษณ์ของตนเองในด้านประชากร ทรัพยากรพื้นฐาน ลักษณะธรรมชาติ และระดับของพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายในภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านี้ได้เป็นส่วนสำคัญต่อลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

ภาคเหนือ

ดอยภูคา จังหวัดน่าน
ป่าสนในจังหวัดเชียงใหม่

ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับกับหุบเขาและพื้นที่สูงซึ่งติดต่อกับเขตที่ราบลุ่มตอนกลางของประเทศ มีทิวเขาที่วางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างทิวเขาจะมีหุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และแพร่ ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาขุนตาน ทิวเขาผีปันน้ำ และทิวเขาหลวงพระบาง[1] ช่วงฤดูหนาวในเขตภูเขาของภาค อุณหภูมิต่ำเพียงพอต่อการปลูกไม้ผล อาทิ ลิ้นจี่และสตรอเบอรี่ แม่น้ำในภาคเหนือหลายสาย รวมไปถึงแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ไหลมาบรรจบกันและก่อให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีต ลักษณะทางธรรมชาติเหล่านี้ทำให้ภาคเหนือสามารถทำการเกษตรได้หลายประเภท รวมไปถึงการทำนาในหุบเขาและการปลูกพืชหมุนเวียนในเขตพื้นที่สูง นอกจากนี้ เขตภูเขาซึ่งมีป่าปกคลุมยังได้ทำให้ภาคเหนือมีจิตวิญญาณต่างจากภาคอื่น ๆ ของประเทศ ป่าไม้ รวมไปถึงไม้สักและไม้เนื้อแข็งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เคยปกคลุมทั่วทั้งภาคเหนือและบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ได้ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จนเหลือพื้นที่เพียง 130,000 ตารางกิโลเมตร และทั่วประเทศมีป่าไม้เหลือเพียงไม่ถึง 30% ของพื้นที่ประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่ในปี ค.ศ. 1961 ป่าไม้เคยปกคลุมพื้นที่กว่า 56% ของประเทศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ไฟล์:Pah nok an.JPG
ผานกแอ่น ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ มีดินไม่ดีซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยทุ่งนาที่น้ำท่วมถึงและระบายน้ำได้น้อยในการเจริญเติบโต และที่ซึ่งแหล่งน้ำใกล้เคียงสามารถท่วมถึงได้ มักจะเก็บเกี่ยวสองครั้งต่อปี พืชค้า อย่างเช่น อ้อยและมันสำปะหลังมีการเพาะปลูกกันในบริเวณมหาศาล และยาง ในปริมาณที่น้อยกว่าพืชสองชนิดแรก การผลิตไหมเป็นอุตสาหกรรมแถบชนบทและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ภาคอีสานมีฤดูมรสุมสั้น ๆ นำมาซึ่งอุทกภัยในแถบหุบเขาแม่น้ำ ไม่เหมือนกับพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่าของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ภูเขาขนาบภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางตะวันตกและทางใต้ และแม่น้ำโขงไหลกั้นที่ราบสูงโคราชทางเหนือและทางตะวันออก พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Curcuma และพืชวงศ์ขิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาค ภาคอีสานแบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็น 5 เขต ได้แก่[1]

  • ทิวเขาด้านทิศตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาดงพญาเย็น มีลักษณะเด่นคือส่วนที่เป็นหินทรายจะยกตัวสูงขึ้นเป็นขอบชันกับพื้นที่ภาคกลาง และมีภูเขายอดตัดจำนวนมาก (เรียกว่า ภู) ได้แก่ ภูเรือ ภูหอ ภูหลวง ภูกระดึง ภูเขาดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินทราย พบภูเขาหินปูนแทรกสลับอยู่บ้าง
  • ทิวเขาทางด้านใต้ มีทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักเป็นทิวเขาหลัก ทิวเขาสันกำแพงมีลักษณะเป็นหินปูน หินดินดานภูเขาไฟ และหินทราย ส่วนทิวเขาพนมดงรักเป็นทิวเขาที่เป็นภูเขาหินทราย และยังมีภูเขาไฟดับแล้วตั้งอยู่
  • ทิวเขาตอนกลาง เป็นเนินและภูเขาเตี้ย เรียกว่า ทิวเขาภูพาน
  • ที่ราบแอ่งโคราช เป็นพื้นที่ราบของลุ่มน้ำชี และมูล ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เป็นที่ราบที่มีเนื้อที่กว้างที่สุดของประเทศ จุดเด่นของแอ่งโคราชคือ มีการพบซากดึกดำบรรพ์ ไม้กลายเป็นหิน ช้างโบราณและไดโนเสาร์จำนวนมาก
  • แอ่งสกลนคร เป็นที่ราบบริเวณฝั่งแม่น้ำโขง มีแม่น้ำสายสั้น ๆ เช่น แม่น้ำสงคราม เป็นต้น บริเวณนี้มีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า "หนองหาน" เกิดจากการยุบตัวจากการละลายของเกลือหิน (อังกฤษ: Rocksalt)

ภาคกลาง

ทิวเขาเพชรบูรณ์

ภาคกลาง เป็นแอ่งที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จนได้รับการขนานนามว่า "อู่ข้าวอู่น้ำ" ระบบชลประทานซึ่งได้พัฒนาสำหรับเกษตรกรรมทำนาในภาคกลางซึ่งได้ให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจและได้พัฒนารัฐไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มาจนถึงกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ภูมิประเทศที่ค่อนข้างแบนราบเป็นส่วนใหญ่ได้อำนวยความสะดวกต่อแหล่งน้ำที่ดอนและการขนส่งทางถนน พื้นที่อันอุดมสมบูรณ์นี้สามารถรองรับประชากรอันหนาแน่นได้ โดยภาคกลางมีความหนาแน่นของประชากรคิดเป็น 422 คนต่อตารางกิโลเมตรในปี ค.ศ. 1987 เมื่อเทียบกับความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยของประเทศที่ 98 คนต่อตารางกิโลเมตร แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาย่อยมีความสำคัญต่อภาคกลางในเกษตรกรรมทำนา กรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางการค้า การขนส่ง และกิจกรรมทางอุตสาหกรรม ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านใต้ของภาคกลาง บริเวณหัวของอ่าวไทย

แม่น้ำเจ้าพระยา ในกรุงเทพมหานคร

ภาคกลางมีแนวภูเขาเป็นขอบด้านตะวันออกและตะวันตก ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาถนนธงชัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์บริเวณภาคกลางตอนบนเป็นที่ราบเชิงเขา ลานตะพักลำน้ำ และเนินตะกอนรูปพัด ส่วนด้านตะวันออกเป็นที่ราบลาดเนินตะกอนเชิงเขาและภูเขาโดดเตี้ยๆ ซึ่งเป็นภูเขาไฟเก่า พบทั้งหินบะซอลต์ หินไรโอไลต์ และหินกรวดภูเขาไฟ มีพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน และแม่น้ำป่าสัก ส่วนภาคกลางตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด มีลานตะพักลำน้ำ และที่ราบน้ำท่วมถึง และคันดินธรรมชาติยาวขนานตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน ที่ราบภาคกลางตอนกลางมีชื่อเรียกว่า "ทุ่งราบเจ้าพระยา" เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ไปจนสุดอ่าวไทย[1]

ภาคตะวันออก

น้ำตกเหวสุวัตในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาคตะวันออกประกอบด้วย 7 จังหวัด มีอาณาเขตติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางทิศเหนือ ประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทยทางทิศใต้ ติดกับภาคกลางด้านตะวันตก มีเนื้อที่ 34,380 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งได้ 4 ลักษณะ คือ ภูมิประเทศส่วนทิวเขา มีทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาจันทบุรี และทิวเขาบรรทัด ภูมิประเทศส่วนที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำ คือที่ราบลุ่มน้ำบางปะกง ที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงไปจนสุดเขตแดนที่แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ส่วนใหญ่ชายฝั่งทะเลจะมีหาดทรายสวยงาม และส่วนเกาะและหมู่เกาะ เช่น เกาะสีชัง เกาะเสม็ด หมู่เกาะช้าง และเกาะกูด[1] และมีท่าเรือพานิชย์ที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย อยู่ที่แหลมฉบัง

เมืองพัทยา

ภาคตะวันตก

ถ้ำพระยานครในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ภาคตะวันตกประกอบด้วย 5 จังหวัด มีเนื้อที่ 53,679 ไร่ มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเทือกเขายาวตั้งแต่ภาคเหนือมาถึงภาคตะวันตกของประเทศ และเป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่า สภาพภูมิประเทศของภาคตะวันตกมีลักษณะเช่นเดียวกับภาคเหนือ โดยมีภูเขาสูงสลับกับหุบเขาซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่าน มีที่ราบลุ่มน้ำสำคัญได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง-วัง ที่ราบลุ่มน้ำแม่กลอง และที่ราบลุ่มน้ำเพชรบุรี ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าซึ่งยังไม่ถูกรบกวนเป็นจำนวนมาก ทรัพยากรน้ำและแร่ธาตุเป็นทรัพยากรที่สำคัญของภาค โดยอุตสาหกรรมเหมืองแร่ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลัก นอกจากนี้ ภาคตะวันตกยังเป็นที่ตั้งของเขื่อนที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์

ภาคใต้

หาดมาหยา ในหมู่เกาะพีพี
อ่าวสำโรง ในเกาะสมุย
ทะเลสาบสงขลา

ภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรแคบ มีความแตกต่างกับภาคอื่น ๆ ของไทยทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และทรัพยากร ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้แบ่งเป็น 4 แบบ ได้แก่[1]

  • ทิวเขา ประกอบด้วยทิวเขาสำคัญ ได้แก่ ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันกาลาคีรี
  • ที่ราบฝั่งอ่าวไทยและที่ราบฝั่งอันดามัน โดยที่ราบฝั่งอ่าวไทยจะตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาค มีลักษณะเป็นอ่าวขนาดใหญ่กระจัดกระจาย ชายฝั่งค่อนข้างเรียบตรงและมีหาดทรายสวยงาม และยังมีส่วนที่เป็นหาดเลนและโคลน จะเป็นป่าชายเลน มีลักษณะเด่นคือมีแหลมที่เกิดจากการทับถมของทรายและโคลน 2 แห่ง ได้แก่ แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และแหลมตาชี จังหวัดปัตตานี และมีทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำพัดพาตะกอนทรายไปทับถมเป็นแนวสันทราย ส่วนที่ราบฝั่งทะเลอันดามัน จะอยู่ด้านตะวันตกของภาค มีลักษณะเป็นชายฝั่งแบบยุบตัว มีที่ราบแคบเนื่องจากมีชายเขาและหน้าผาติดชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีชายฝั่งที่เว้าแหว่งมากและนอกฝั่งออกไปพื้นน้ำจะลาดลึกลงไปอย่างรวดเร็ว จะมีหาดทรายขาวแคบ ๆ
  • เกาะ ภาคใต้มีเกาะและหมู่เกาะมากมาย โดยฝั่งอ่าวไทยมีเกาะสำคัญเช่น เกาะสมุย เกาะพงัน หมู่เกาะอ่างทอง เป็นต้น ส่วนฝั่งอันดามันมี เกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะสิมิลัน เกาะตะรุเตา

เศรษฐกิจของภาคใต้ขึ้นอยู่กับการทำนาเพื่อยังชีพเป็นหลักและการผลิตยางสำหรับอุตสาหกรรม แหล่งรายได้อื่น ๆ รวมไปถึงการปลูกมะพร้าว การทำเหมืองแร่ดีบุก และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ภูมิประเทศแบบม้วนตัวกับภูเขาและการขาดแม่น้ำสายใหญ่ ๆ เป็นลักษณะเด่นของภาคใต้ แนวภูเขาซึ่งเรียงตัวกันในแนวเหนือ-ใต้ และป่าฝนเขตร้อนอันลึกลับได้ทำให้เกิดการโดดเดี่ยวในยุคเริ่มต้นและการพัฒนาทางการเมืองแยกต่างหากกับส่วนอื่น ๆ ของประเทศ การเข้าถึงทะเลอันดามันและอ่าวไทยทำให้ภาคใต้เป็นทางผ่านของทั้งพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และศาสนาอิสลาม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อดีตอาณาจักรปัตตานีซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

ภูมิอากาศ

ภาพถ่ายประเทศไทยจากทางอากาศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือแบบสะวันนาตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบคอบเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-41°C ในฤดูแล้ง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของเดือนมีนาคม โดยสูงกว่า 40°C ในบางพื้นที่ในช่วงกลางเดือนเมษายนเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านจุดเหนือศีรษะ

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดเข้าสู่ประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม (ยกเว้นภาคใต้) เป็นจุดบ่งชี้ว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งกินเวลาจนถึงเดือนตุลาคม และเมฆซึ่งปกคลุมทำให้อุณหภูมิลดลง แต่มีความชื้นสูงมาก เดือนพฤศจิกายนและเดือนธนวาคมเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูแล้งและอุณหภูมิในเวลากลางคืนเหนือพื้นดินสามารถลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงมายังภูมิประเทศ ฤดูแล้งในภาคใต้มีระยะเวลาสั้นที่สุด เนื่องจากการที่ภาคใต้ตั้งอยู่ใกล้ทะเลจากทุกด้านในคาบสมุทรมลายู พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง

ภูมิอากาศไทย
เดือน: ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
เชียงใหม่ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 29 32 34 36 34 32 31 31 31 31 30 28
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13 14 17 22 23 23 23 23 23 21 19 15
ชั่วโมง/วัน 9 10 9 9 8 6 5 4 6 7 8 9
มม./เดือน 7 11 15 50 140 155 190 220 290 125 40 10
วัน/เดือน 1 1 2 5 12 16 18 21 18 10 4 1
ภูเก็ต อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 32 33 33 31 31 31 31 30 31 31 31
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23 23 24 25 25 25 25 24 24 24 14 14
ชั่วโมง/วัน 9 9 9 8 6 6 6 6 5 6 7 8
มม./เดือน 35 40 75 125 295 265 215 246 325 315 195 80
วัน/เดือน 4 3 6 15 19 19 17 17 19 19 14 8
แหล่งข้อมูล: [2]

ทรัพยากรธรรมชาติ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย[1] แบ่งได้ดังนี้

ทรัพยากรดิน ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ดินเหนียว พบได้ในบริเวณแอ่งโคราช ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง ดินร่วน พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ ดินทราย พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินอินทรีย์ พบมากในป่าพรุ เช่น ป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส

ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้จะกระจายอยู่ประเทศ มีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิประเทศและภูมิอากาศ มี 2 ประเภท ได้แก่ ป่าผลัดใบ พบได้ในทุกภูมิภาค แต่ภาคใต้พบน้อยที่สุด และป่าไม่ผลัดใบ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และบนภูเขาสูงที่มีความชุ่มชื้น เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เขาใหญ่ รามคำแหง ภูสอยดาว เป็นต้น

ทรัพยากรน้ำ ในประเทศไทยมีแหล่งน้ำสำคัญ 2 แหล่งคือ จากน้ำผิวดิน ซึ่งมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำต่าง ๆ ตามภูมิภาค เช่น แม่น้ำมูล ชี ปิง วัง ยม น่าน แม่กลอง ตาปี เป็นต้น และจากน้ำบาดาล

ทรัพยากรแร่ธาตุ พบอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แตกต่างกันตามสภาพทางธรณีวิทยา เช่น สังกะสีพบมากในภาคตะวันตกและภาคเหนือ ดีบุกพบมากในภาคใต้ แร่รัตนชาติพบมากในภาคตะวันออก และแร่เชื้อเพลิง ซึ่งพบมากในอ่าวไทย เช่น แก๊สธรรมชาติ ส่วนลิกไนต์จะพบมากในภาคเหนือ

ที่สุดทางภูมิศาสตร์

ดอยอินทนนท์
เกาะภูเก็ต

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 ดร.กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.1, สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด, 2548, หน้า 24-25
  2. "Saisons et climats 2003" Hachette ISBN 2012437990
  3. 3.0 3.1 ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล. สถิติภูมิอากาศของประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). รายงานข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเลขที่ 551.582-02-2537, ISBN : 974-7554-80-1, กองภูมิอากาศ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงคมนาคม

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น