ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูหลามปากเป็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8339215 สร้างโดย 58.11.27.93 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบบนเกาะบอร์เนียว]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบบนเกาะบอร์เนียว]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศอินโดนีเซีย]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศมาเลเซีย]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศสิงคโปร์]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศบรูไน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:41, 19 มิถุนายน 2562

งูหลามปากเป็ด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Pythonidae
สกุล: Python
สปีชีส์: P.  curtus
ชื่อทวินาม
Python curtus
Schlegel, 1872
ชนิดย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของงูหลามปากเป็ด (สีแดง: ชนิด P. c. brongersmai, สีเหลืองชนิด P. c. breitensteini และสีเขียวชนิด P. c. curtus)
ชื่อพ้อง
  • Python breitensteini Steindachner, 1881
  • Aspidoboa curta Sauvage, 1884

งูหลามปากเป็ด (อังกฤษ: Blood python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python curtus) เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวที่อ้วน หนา กว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้นแลดูไม่สมส่วน และมีลวดลายที่แปลกออกไป มีหลายหลากสี ทั้งน้ำตาล, แดง, เหลือง, ส้ม หรือ เขียว โดยงูแต่ละตัวจะมีสีสันและลวดลายต่างกันออกไป ขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1.50 เมตร จัดเป็นงูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลนี้[1]

พบในประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ตลอดจนมาเลเซีย, สิงคโปร์จนถึงอินโดนีเซีย โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกอยู่ที่เกาะสุมาตรา[2] เป็นงูที่ไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ มักจะซุ่มรออาหารตามพื้นดินที่เฉอะแฉะใกล้แหล่งน้ำ[3] ที่โดยมากเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก งูหลามปากเป็ดวางไข่ครั้งละประมาณ 30–50 ฟอง [4][1]

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ P. c. curtus เป็นชนิดทั่วไป, P. c. breitensteini พบในบอร์เนียว และ P. c. brongersmai พบในแหลมมลายูของมาเลเซียและสิงคโปร์[5] เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลื้อยคลานเพราะมีความสวยงาม[6] ในบางข้อมูลจะให้ชนิดย่อยทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกันไปเลย

รูปภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Mehrtens JM. 1987. Living Snakes of the World in Color. New York: Sterling Publishers. 480 pp. ISBN 0-8069-6460-X.
  2. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. ความหมายของคำว่า "ปากเป็ด" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. งูหลามปากเป็ด
  5. "Python curtus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 11 September 2007.
  6. Keogh, J. S. (2001). "Heavily exploited but poorly known: systematics and biogeography of commercially harvested pythons (Python curtus group) in Southeast Asia (abstract)". Biological Journal of the Linnean Society. 73 (1): 113. doi:10.1111/j.1095-8312.2001.tb01350.x. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)