ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิษวิทยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NP-chaonay (คุย | ส่วนร่วม)
ตรวจสอบ + นำป้าย "รอการตรวจสอบ" จากการสังคายนาครั้งที่ 2 ออก, ปรับปรุงเท่าที่ทำได้
NP-chaonay (คุย | ส่วนร่วม)
ยังไม่แน่ใจ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ข้อควรปรับปรุงของบทความ|ไม่เป็นสารานุกรม=yes|แก้รูปแบบ=yes|เพิ่มอ้างอิง=yes|แก้ภาษา=yes|รีไรต์=yes}}
{{ข้อควรปรับปรุงของบทความ|ไม่เป็นสารานุกรม=yes|แก้รูปแบบ=yes|เพิ่มอ้างอิง=yes|รีไรต์=yes}}


[[ไฟล์:Toxicology_Research_at_FDA_(NCTR_1193)_(6009043040).jpg|right|thumb|282x282px|การทดลองการวิจัยด้านพิษวิทยาที่[[องค์การอาหารและยาสหรัฐ]]]]
[[ไฟล์:Toxicology_Research_at_FDA_(NCTR_1193)_(6009043040).jpg|right|thumb|282x282px|การทดลองการวิจัยด้านพิษวิทยาที่[[องค์การอาหารและยาสหรัฐ]]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:31, 15 มิถุนายน 2562

การทดลองการวิจัยด้านพิษวิทยาที่องค์การอาหารและยาสหรัฐ

พิษวิทยา (อังกฤษ: Toxicology มาจากคำว่า toxicos และ logos ในภาษากรีก) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของสารพิษที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต อาการพิษ กลไกการเกิดพิษ วิธีการรักษา และการตรวจสอบความเป็นพิษของสาร

ประวัติความเป็นมาของพิษวิทยา

ประวัติความเป็นมาของวิชาพิษวิทยาโดยคร่าว ๆ อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักเรื่องสารพิษมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล มนุษย์ในสมัยก่อนรู้จักสังเกตสิ่งมีชีวิตรอบตัว เช่น พืชมีพิษหรือสัตว์มีพิษ และมีการนำพิษจากสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย หรือตัดสินโทษประหารในสมัยก่อน เช่น

  1. การฆ่าตัวตายของพระนางคลีโอพัตรา (Cleopatra) โดยใช้งูพิษ
  2. การตัดสินโทษประหารโสเครติส (Socrates) ด้วยการให้ดื่มยาพิษจากต้นเฮมล็อก

ในคัมภีร์สมัยอียิปต์โบราณมีการกล่าวถึงเรื่องพิษชนิดต่าง ๆ ซึ่งนับว่าว่าเป็นหลักฐานที่เป็นเอกสารทางด้านพิษวิทยาที่เก่าแก่ที่สุด

พิษวิทยาได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจิงจังในยุคของพาราเซลซัส (Paracelcus ชื่อเต็ม Philippus Aureolus Theophrastus Bombastus von Hoehenheim; ค.ศ. 1493 – 1541) เป็นแพทย์และนักแคมีชาวสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาพิษวิทยา และเป็นผู้เสนอแนวคิดที่ว่าถึง การทดลองและย้ำให้เห็นความสำคัญของการทดลอง แนวคิดที่สอง คือให้ความสำคัญกับขนาดเพราะถ้าเราได้รับขนาดของพิษในระดับที่ต่างกันพิษทีเกิดขึ้นก็จะส่งผลที่แตกต่างกัน โดยพาราเซลซัสได้กล่าวประโยคสำคัญหนึ่งไว้ ความว่า “All substances are poisons; there is none which is not a poison. The right dose differentiates poison from a remedy” แปลเป็นไทยคือ “สารเคมีทุกชนิดล้วนเป็นพิษ ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่ไม่มีพิษ ขนาดเท่านั้นที่จะเป็นตัวแยกระหว่างความเป็นพิษกับความเป็นยา” แนวคิดหลักของพาราเซลซัสยังคงได้รับความเชื่อถือเป็นหลักการที่สำคัญของพิษวิทยามาจนถึงทุกวันนี้

ต่อมาได้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิษวิทยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้แก่ รามาซซินี (Bernardino Ramazzini; ค.ศ. 1633 – 1714) นายแพทย์ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งอาชีวเวชศาสตร์ ในเรื่องสารพิษหลายชนิดที่พบได้จากการทำงานของคนทำงาน ในยุคปัจจุบัน นายแพทย์เพอร์ซิวาล พอตต์ (Percival Pott; ค.ศ. 1714 – 1788) ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสเขม่าปล่องไฟกับการเกิดโรคมะเร็งถุงอัณฑะ ซึ่งทำให้ได้ทราบว่าพิษจากสารเคมีบางอย่างก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ออร์ฟิลา (Orfila ชื่อเต็ม Mathieu Joseph Bonaventure Orfila; ค.ศ. 1787 – 1853) แพทย์และนักพิษวิทยาชาวสเปน ปัจจุบัน ออร์ฟิลา ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพิษวิทยาสมัยใหม่ (Modern toxicology) ใช้การวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อหาสารพิษจากศพ นำผลพิสูจน์นั้นมาช่วยในกระบวนการยุติธรรม วางรากฐานนิติพิษวิทยา

เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม (Industrial revolution; ราว ค.ศ. 1760 – 1840) สารเคมีหลายชนิดถูกพัฒนาสังเคราะห์ขึ้นได้ในปริมาณมาก เช่น กรดซัลฟูริก (Sulfuric acid) กรดเกลือ (Hydrochloric acid) โซดาแอช (Sodium carbonate) และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม สารเคมีอินทรีย์ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงต่อมา และในสงครามโลกครั้งที่ 1 (World war I; ค.ศ. 1914 – 1918) ก็ได้มีการนำสารเคมีอินทรีย์เหล่านี้มาใช้เป็นอาวุธเคมี ได้แก่ แก๊สฟอสจีน (Phosgene) และแก๊สมัสตาร์ด (Mustard) สารเคมีอินทรีย์อื่น ๆ เช่น คลอโรฟอร์ม (Chloroform) คาร์บอนเตตราคลอไรด์ (Carbon tetrachloride) ถูกค้นพบและนำมาใช้ ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (World war II; ค.ศ. 1939 – 1945) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการสังเคราะห์สารเคมีชนิดใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย ทั้งเพื่อใช้เป็นอาวุธสงคราม เช่น กลุ่มแก๊สพิษต่อระบบประสาท (Nerve gas) และเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมต่างๆ การสังเคราะห์สารเคมีใหม่ ๆ ยังคงพัฒนาต่อไปแม้สิ้นสุดสงครามแล้ว และถูกพัฒนาจนมีจำนวนมากมายตามการพัฒนาของอุตสาหกรรม จนมาถึงปัจจุบันนี้ พิษของสารเคมีต่าง ๆ ต่อคน สัตว์ พืช รวมถึงการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมก็ถูกค้นพบมากขึ้น

ออสวาลด์ ชไมเดอเบิร์ก (Oswald Schmiedeberg; ค.ศ. 1838 – 1921) เภสัชกรชาวเยอรมัน ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชาเภสัชศาสตร์สมัยใหม่ ศึกษาเรื่องพิษจลนศาสตร์ และยังเป็นอาจารย์สอนเภสัชกรและนักพิษวิทยาอีกด้วย

แบรดฟอร์ด ฮิลล์ (Austin Bradford Hill; ค.ศ. 1897 – 1991) นักระบาดวิทยาและสถิติชาวอังกฤษ เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ทางด้านพิษวิทยา คือการเสนอแนวคิดเรื่องหลักการหาความเป็นสาเหตุ (Causal relationship) ทางระบาดวิทยา และใช้หลักการนี้พิสูจน์ความสัมพันธ์ของมะเร็งปอดกับการสูบบุหรี่ได้ หลักการนี้ช่วยให้นักพิษวิทยาสมัยใหม่นำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีชนิดต่าง ๆ

ในปี ค.ศ. 1962 ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson; ค.ศ. 1 907 – 1 964) นักชีววิทยาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Silent spring ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น ดีดีที (DDT) ต่อนกและสัตว์ชนิดต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และทำให้เกิดความตื่นตัวในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในสังคมตามมา เกิดการจัดตั้ง หน่วยงาน Environmental Protection Agency (EPA) ขึ้นในปี ค.ศ. 1970 และมีการยกเลิกการใช้สารดีดีทีในประเทศ สหรัฐอเมริกา จนเธอถูกยกย่องให้เป็นผู้ริเริ่มด้านการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental movement)

กลไกการเกิดพิษ

สิ่งที่ทำให้เกิดพิษหรือสารพิษ ซึ่งอาจจะเป็นสารเคมี ยา สารพิษและยังครอบคลุมไปถึงปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น เสียง แสง ความร้อน เป็นต้น และยังครอบคลุมถึงปัจจัยทางด้านชีวภาพอีกด้วย สื่งที่กล่าวมานี้จะสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ และในกลไกการเกิดพิษจะทำให้เราทราบเกี่ยวกับการเกาะจับของสื่งที่จะทำให้เกิดสารพิษที่ส่งผลโดยตรงกับร่างกาย หรืออวัยวะ และส่วนต่างๆของเซลล์ภายในร่างกาย ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดพิษอาจจะเกิดขึ้นได้ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน ความเป็นพิษเรื้อรัง หรืออาจจะเกิดความเป็นพิษในลักษณะเฉพาะ เช่น การกลายพันธุ์ การเกิดมะเร็ง เป็นต้น

ประเภทของสารพิษ

ประเภทของสารพิษ สารพิษสามารถแบ่งได้เป็น 9 ชนิด

1.) สารพิษป้องกันกำจัดศัตรูพืช (Pesticides) หมายถึงสารพิษที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำลายหรือขับไล่ศัตรูพืชสัตว์ ส่วนมนุษย์เป็นตัวสร้างสารพิษที่สำคัญนั่นเอง สารพิษป้องกันและกำจัดแมลง (Insecticides) เป็นสารพิษที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลง หนอนของพืช สัตว์ และมนุษย์ อาจเป็นสารพิษที่อยู่ในธรรมชาติหรือเป็นสารพิษที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น

สารพิษที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมี 4 กลุ่ม ได้แก่

1.1กลุ่มมอแกนโนคลอรีน (Organocholrine) สารพิษกลุ่มนี้มีความคงตัวสลายตัวได้ยาก บางชนิดมีพิษตกค้างเป็นสิบ ๆ ปี มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง มีฤทธิ์กกประสาททำให้หน้ามืดวิงเวียนศีระษะและอาจทำให้หัวใจวายและตายได้ สารพิษจำพวกนี้ ได้แก่ ดีดีที ออลดริน ดิลดริน เอนดริน เฮปคาคลอร์ ลินแดน และอื่น ๆ

1.2กลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต(Organophosphate) เป็นสารที่มีฟอสฟอรัส(P) เป็นองค์ประกอบสำคัญ สารพิษกลุ่มนี้สลายตัวได้ง่ายและมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมไม่นานนัก เฉลี่ยประมาณ 3-15 วัน จะมีพิษรุนแรง มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ดี สารพิษพวกนี้จะมีผลต่อระดับความดันโลหิตและระดับเอนไซม์โคลีนเอสสเตอเรส (Cholinesterase) ในเลือด หากๆด้รับสารเข้าไปจะวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นตะคริว สารพิษจำพวกนี้ ได้แก่ คาร์บาริล, คาร์โบฟูเรน, ไบกอน และอื่น ๆ

1.3กลุ่มไบรีรอย (Pyrethroids) เป็นสารพิษที่มีในธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ขึ้นของมนุษย์ สารพิษกลุ่มนี้ใช้ฆ่าแมลงได้ดี แต่มีทุนสูงเพราะทุนในการสังเคราะห์จะสูงกว่าการสกัดในธรรมชาติ สารพิษกลุ่มนี้มีการสลายตัวง่าย มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อย

2.)โลหะหนัก เป็นสารพิษที่พบในธรรมชาติและที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น โลหะหนักที่สำคัญ ได้แก่ -ตะกั่ว เป็นโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้เป็นสารผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง ทำโลหะเจือ สีทาเหล็ก กระสุนปืน ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมกรดซัลฟูริค เป็นต้น ตะกั่วสามารถปะปนอยู่ในอาหาร ในบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้ ตะกั่วมีพิษทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดที่มีผลกระทบต่อประสาทและทำให้เกิดอันตรายต่อไต

3.)สารระคายผิว เป็นสารที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ ได้แก่ พวกที่ดึงน้ำออก เมื่อถูกผิวหนังจะดึงจ้ำออกผิว เกิดความร้อนให้กรดที่กัดผิวหนัง เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ซัลเฟอร์ไทรออกไซด์, ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์, แคลเซียมออกไซด์, แคลเซียมคลอไรด์ -พวกที่ละลายไขมัน ได้แก่ ตัวทำละลายที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป เช่น อะซีโตน , อีเทอร์, เอสเตอ, สารละลายด่าง ตัวทำละลายนี้จะละลายไขมันตามธรรมชาติและอาจละลายผิวชั้นนอกได้ด้วย -พวกที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ น้ำจะทำให้สารหลายชนิดแตกตัวให้อิออน เช่น น้ำกับฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ ให้คลอได์อิออนและกรดไฮไฮโปโครัส เป็นต้น -พวกที่ตกตะกอนโปรตีน เช่น เกลือของโลหะต่าง ๆ, กรดแทนนิล, ฟอมาดีไฮด์, แอลกอฮอล์ และอื่น ๆ -พวกรีดิวเซอร์ จะไปดึงออกซิเจนออกมาและส่งผลให้ผิวลอกหรือผิวชั้นนอดกหนาขึ้น เช่น ไฮโดควินโนน, ซัลไฟท์ เป็นต้น -พวกออกซิไดเซอร์ ซึ่งจะรวมกับไฮโดรเจน ปล่อยออกซิเจนออกมา เช่น คลอรีน, เฟอร์รัคคลอไรด์, กรดโครมิล, สารเปอแมงกา-เนท เป็นต้น -พวกทำให้เป็นมะเร็ง โดยไปกระตุ้นการเติบโตของชั้นผิวนอกและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

4.)สารที่เป็นผงหรือฝุ่นซึ่งมีอนุภาคเล็ก ๆ เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ ตัวอย่างเช่น ผงฝุ่นของแอสเบสเตอสทำให้เกิดโรคปอดแข็ง (Asbestosis) ผงฝุ่นของซิลิเกทเป็นอันตรายต่อปอด ผงฝุ่นของโลหะต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมี่ยม และอื่น ๆ

5.)สารที่ไอเป็นพิษ เป็นสารเคมีที่ให้ไอพิษ หากสูดดมเข้าไปทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้แก่ ตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ เช่น เบนซิน, คาร์บอนไดซัลไฟต์, คาร์บอนเคดตะคลอไรด์, เมทธิบแอลกอฮอล์

6.)ก๊าซพิษ มีหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมทจัมีก๊าซพิษบางชนิดที่อันตรายมาก โดยส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้ร่างกายระคายเคือง เช่น พอสจีน, ไนโตรเจนออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์

7.)สารเจือปนในอาหาร เป็นสารเคมีที่นำมาใส่เข้าไปในอาหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้อาหารเสีย และเพื่อคงหรือเพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอาหาร ตลอดจนเพื่อให้อาหารนั้นมีกลิ่น รส สี ที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น สารเคมีเหล่านี้ บางชนิดถ้าใส่ในปริมาณมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดเป็นพิษเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่าง เช่น สารไนเตรทไนไตรท์ ผงชูรส โซเดียม เบนโซเอท เป็นต้น นอกจากนี้สารเคมีบางชนิดก็เป็นสารที่เป็นพิษมีอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น สีย้อมผ้า กรดกำมะถัน บอแรกซ์ กรดซาลิโซลิก เป็นต้น

8.)สารที่สังเคราะห์โดยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ สารที่สังเคราะห์จากเชื้อรา แบคทีเรีย พืช และสัตว์บางชนิด ตัวอย่างของสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา เช่น สารพิษ Aflatoxin เกิดจากเชื้อราพวก Aspergillus flavus ที่ขึ้นอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพดหรืออาหารแห้งอื่น ๆ หรือสารพิษ Botulinum toxin เกิดจากเชื้อแบททีเรีย Clostridium botulinum ที่ขึ้นในอาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตราฐานสารพิษ Trichothecene หรือ T-2 toxin เกิดจากเชื้อรา Fusarium tricinetum ที่ขึ้นในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับพืชและสัตว์ที่สามารถสร้างสารพิษได้ เช่น เห็ดพิษ กลอย มันสำปะหลัง คางคก เหรา (สัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง) ปลาปักเป้า เป็นต้น

9.) สารกัมมันตภาพรังสี เป็นสารที่สามารถแผ่รังสีมาจากตัวเองได้ มนุษย์ได้มำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือในด้านการแพทย์ และการผลิตไฟฟ้า สารกัมมันตภาพรังสีนับเป็นสารที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารพิษชนิดอื่น ๆ โดยจะทำอันตรายโดยตรง และถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้อีกด้วย กัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมามี 3 ชนิด คือ รังสีอัลฟา รังสีเบต้า และรังสีแกมมา สารกัมมันตภาพรังสีในธรรมชาติมีหลายตระกูล แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ตระกูลยูเรเนียม และตระกูลทอเรียม ที่สำคัญรองลงมาคือ โปแตสเซียม -40 ยูบีเดียม – 87 สมาเรียม – 147 ลูซีเตียม – 176 และเรเดียม – 220 เป็นต้น

การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ

สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้3ทาง คือ

1.ทางจมูก เป็นการเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการสูดดม ละอองของสารพิษจะเข้าไปปะปนกับลมหายใจซึ่งสารพิษบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน ส่งผลให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือสารพิษซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตส่งผลให้โลหิตเป็นพิษ

2.ทางปาก อาจเป็นการเข้าปากโดยบางครั้งเราไม่รู้ตัว เช่น หยิบอาหารรับประทานโดยที่ไม่ล้างมือ หรือกินผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างอยู่ หรือในบางกรณีที่ตั้งใจกินสารพิษเพื่อฆ่าตัวตาย

3.ทางผิวหนัง เป็นการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ ซึ่งสารพิษสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ เมื่อเข้าไปทำปฏิกิริยากับร่างกายทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย

สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางใดก็ตาม หากมีความเข้มข้นจะทำปฏิกิริยา ณ จุดสัมผัสและซึมเข้าสู่ร่างกายหรือกระแสโลหิต กระแสโลหิตจะพาสารพิษไปทั่วร่างกาย ความสามารถในการแพร่เข้าสู่โลหิตจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการละลายน้ำของสารพิษนั้นและสารพิษบางชนิดร่างกายสามารถขับออกทางไตได้ แต่จะส่งผลต่อทางเดินปัสสวะและกระเพาะปัสสวะ อีกทั้งยังมีสารพิษบางชนิดที่ถูกสะสมไว้ที่ตับและไขมัน

อันตรายจากสารพิษ และวิธีการป้องกัน

สารพิษ สารเคมี หรือวัตถุที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่ทำปฏิกิริยาต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย จนทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต อันตรายที่เกิดขึ้นอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารพิษที่ได้รับ
สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 4 วิธี คือ

1. ทางปาก
2.ทางระบบทางเดินหายใจ
3.ทางผิวหนัง
3.การดมกลิ่น

การได้รับสารพิษแบบเฉียบพลัน (Acute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษในปริมาณมากในระยะเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดเข้าช่องท้อง ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การกิน หรือการทาที่ผิวหนังโดยตรง เป็นต้น

การได้รับสารพิษแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน หรือน้อยกว่า

การได้รับสารพิษแบบกึ่งเรื้อรัง (Subchonic exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 1-3 เดือน

การได้รับสารพิษแบบเรื้อรัง (Chonic exposure) หมายถึง การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายภายในปริมาณน้อยเป็นเวลานานเกิน 3 เดือนขึ้นไป


วิธีการป้องกันอันตรายจากสารพิษ
1.พยายามหลีกเลี่ยงจากการใช้สารเคมีและสารพิษในการทำกิจกรรม
2.ควรศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการใช้สารเคมี และอันตรายที่เกิดขึ้นแต่ละชนิด
3.ควรใช้อุปกรณื เครื่องมือในการป้องกันอันตรายขณะที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี
4.ควรมีการตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารพิษและสารเคมี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
5.พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสารเคมี เพื่อป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ทางปากและทางจมูก
6.เมื่อต้องใช้สารเคมี ควรอ่านฉลากกำกับให้เข้าใจก่อนใช้ และควรปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด
7.อย่าทิ้งภาชนะที่บรรจุสารเคมี หรือสารพิษลงไปในแม่น้ำ ลำธาร
8.ภาชนะที่บรรจุสารเคมีหรือสารพิษ เมื่อใช้หมดแล้วให้ฝังดินหรือทำลายโดยทันที

วิธีการปฏิบัติเมื่อถูกสารพิษ

1.เมื่อสารพิษเข้าทางผิวหนัง
1.1.ต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ
1.2.หากถูกสารเคมีที่เป็นกรดต้องล้างด้วยน้ำสะอาดและล้างด้วยสารละลายอิ่มตัวของโซเดียมไบคาร์บอเนต
1.3.หากถูกสารเคมีที่เป็นด่างต้องล้างด้วยน้ำสะอาดและล้างด้วยสารละลายของกรดน้ำส้ม
1.4.หากสารเคมีมีกรดหรือด่างเข้าตาต้องรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดและลืมตาในน้ำสะอาดแล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที
2.เมื่อสารพิษเข้าทางปาก
2.1.พยายามทำให้อาเจียรออกมาโดยใช้น้ำอุ่นมากๆกลั้วคอ แต่ถ้ากินกรดหรือด่างเข้าไปห้ามทำให้อาเจียร แต่ถ้าทราบว่ากินกรดเข้าไปให้กินน้ำสบู่อ่อนๆ แต่ถ้ากินด่างเข้าไปให้กินน้ำส้มสายชูอ่อน ๆ หรือน้ำส้มคั้น แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
2.2.รีบให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
2.3.ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ใช้เป่าลมเข้าทางปาก ทางจมูก แล้วนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้ว ให้ทำให้ผู้ป่วยอาเจียรทันที
3.เมื่อสารพิษเข้าทางจมูก
3.1.ควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษและสารเคมี
3.2.ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก ให้เป่าลมเข้าทางจมูกหรือทางปาก
3.3.ใช้ยาดมฉุน ๆ เพื่อช่วยในการกระตุ้นการหายใจได้สะดวกขึ้น

อ้างอิง

http://www.summacheeva.org/index_thaitox_basic.htm https://wedbre.wordpress.com/2015/02/26/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-9-%E0%B8%8A/
http://riskcomthai.org/

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น