ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทอง ณ บางช้าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chandrasugree (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Thomaschanathip (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


==ประวัติ==
==ประวัติ==
พระชนกทอง ณ บางช้าง หรือ ทอง เกิดที่[[บ้านบางช้าง]] [[ตำบลอัมพวา]] [[อำเภอเมืองสมุทรสงคราม]] ในสมัยแผ่นดิน[[สมเด็จพระเพทราชา]] เป็นบุตรของท่านตาเจ้าพรกับท่านยายเจ้าชี ซึ่งเป็นธิดาคนโตของท่านตาเจ้าปะขาวพลาย<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = เทพ สุนทรศารทูล| ชื่อหนังสือ = ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม| URL = | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์พระนารายณ์| ปี = พ.ศ. 2541| ISBN = | จำนวนหน้า = 192| หน้า = 34}}</ref> ต่อมาท่านทองได้สืบทอดมรดกของบิดามารดาเป็นคหบดีและเป็นเศรษฐีแห่งบ้านบางช้าง และได้สมรสกับท่านสั้น (ต่อมาคือ [[สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี]]) ทั้งสองก็มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 11 พระองค์ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า'''เจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ 1''' ทั้งสิ้น ได้แก่<ref name="ราชสกุล">{{อ้างหนังสือ
พระชนกทอง ณ บางช้าง หรือ ทอง เกิดที่[[บ้านบางช้าง]] [[ตำบลอัมพวา]] [[อำเภอเมืองสมุทรสงคราม]] ในสมัยแผ่นดิน[[สมเด็จพระเพทราชา]] เป็นบุตรของท่านตาเจ้าพรกับท่านยายเจ้าชี ซึ่งเป็นธิดาคนโตของท่านตาเจ้าปะขาวพลาย<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = เทพ สุนทรศารทูล| ชื่อหนังสือ = ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม| URL = | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์พระนารายณ์| ปี = พ.ศ. 2541| ISBN = | จำนวนหน้า = 192| หน้า = 34}}</ref> ต่อมาท่านทองได้สืบทอดมรดกของบิดามารดาเป็นคหบดีและเป็นเศรษฐีแห่งบ้านบางช้าง ท่านมีพี่ยาและพี่นางชื่อ ท่านตาเจ้าแทน และท่านยายเจ้ามุก และได้สมรสกับท่านสั้น (ต่อมาคือ [[สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี]]) ทั้งสองก็มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 11 พระองค์ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า'''เจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ 1''' ทั้งสิ้น ได้แก่<ref name="ราชสกุล">{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ
| ผู้แต่ง = ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ
| ชื่อหนังสือ = ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
| ชื่อหนังสือ = ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:18, 13 มิถุนายน 2562

พระชนกทอง ณ บางช้าง

ทอง
พระชนก
ประสูติไม่ปรากฏ
พิราลัยไม่ปรากฏ
พระชายาสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
พระนามเต็ม
พระชนกทอง ณ บางช้าง
พระบุตร10 พระองค์
พระบิดาท่านตาเจ้าพร
พระมารดาท่านยายเจ้าชี

พระชนกทอง ณ บางช้าง เป็นพระราชชนกในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และทรงพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

ประวัติ

พระชนกทอง ณ บางช้าง หรือ ทอง เกิดที่บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา เป็นบุตรของท่านตาเจ้าพรกับท่านยายเจ้าชี ซึ่งเป็นธิดาคนโตของท่านตาเจ้าปะขาวพลาย[1] ต่อมาท่านทองได้สืบทอดมรดกของบิดามารดาเป็นคหบดีและเป็นเศรษฐีแห่งบ้านบางช้าง ท่านมีพี่ยาและพี่นางชื่อ ท่านตาเจ้าแทน และท่านยายเจ้ามุก และได้สมรสกับท่านสั้น (ต่อมาคือ สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) ทั้งสองก็มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 11 พระองค์ ทรงบัญญัติให้เรียกว่าเจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ 1 ทั้งสิ้น ได้แก่[2]

  • เจ้าคุณหญิงแวน (บางแห่งว่า แว่น[3])
  • เจ้าคุณหญิงทองอยู่ สมรสกับท่านตาขุนทอง มีบุตรธิดา ๒ คนชื่อ "สังข์" และ "หงส์" เวลาต่อมาท่านสังข์ได้เป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๒ เป็นหมัน ส่วนท่านหงส์ได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมพระสนมในรัชกาลที่ ๑ แต่ไม่มีพระองค์เจ้า ราชินิกุลวงศ์เจ้าคุณหญิงทองอยู่หมดสูญเชื้อสายแต่เพียงชั้นบุตรธิดาทั้งสองท่าน ไม่มีเชื้อสายสืบต่อลงไปอีก
  • เจ้าคุณชายชูโต ต้นสกุลชูโต แสง-ชูโต และ สวัสดิ์-ชูโต
  • สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (มีนามเดิมว่า นาค หรือ นาก)
  • เจ้าคุณชายแตง
  • เจ้าคุณหญิงชีโพ มีบุตรชายเพียงผู้เดียวชื่อ หงส์ แต่โดนพม่าจับเอาไปเป็นเชลย และไม่ได้กลับคืนมา จึงสิ้นสุดวงศ์เพียงเท่านี้[4]
  • เจ้าคุณชายพู
  • เจ้าคุณหญิงเสม
  • เจ้าคุณหญิงนวล ต่อมาสมรสกับเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ต้นสกุล บุนนาค[5]
  • เจ้าคุณหญิงแก้ว ต้นสกุล ณ บางช้าง

ภริยาอื่น มีธิดาชื่อ เจ้าจอมมารดามา ใน สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

เมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้มหาดเล็กคอยสืบเสาะหาสตรีรูปงามไปถวาย มหาดเล็กคนสนิทกราบทูลว่า มีสตรีรูปงามในแขวงบางช้างนางหนึ่งเป็นบุตรเศรษฐีบางช้าง จึงโปรดให้เจ้าเมืองราชบุรีไปสู่ขอต่อบิดา-มารดา ด้วยสมัยนั้นเมืองสมุทรสงครามเป็นหัวเมืองตรีขึ้นต่อเมืองราชบุรีส่วนเมืองราชบุรีเป็นหัวเมืองชั้นโท นายทองและภรรยา ได้บ่ายเบี่ยงว่าขอถามความสมัครใจของธิดาก่อน แล้วนำความไปปรึกษาพระแม่กลองบุรี (เสม) เจ้าเมืองแม่กลองซึ่งเป็นญาติก่อน ธิดาของนายทองไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวัง นายทองสงสารธิดา จึงพร้อมด้วยเจ้าเมืองสมุทรสงคราม นำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอักษร (ทองดี) เสมียนตรากรมมหาดไทย หลวงพินิจอักษรก็ได้เกิดปัญญาว่านายทองด้วงบุตรชายได้บวชเรียน แล้วยังไม่มีคู่ครอง หากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่ง เพราะเป็นหญิงอุดมด้วยทรัพย์สมบัติและรูปสมบัติ ฝ่ายชายแลก็รูปงามมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รับราชการในวังนับว่าเหมาะสมกันดียิ่งนัก ทั้งยังเป็นเกราะป้องกันมิให้ธิดาตกเป็นสนมในวัง เมื่อคิดอุบายได้ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นดีด้วย จึงได้ทำฎีกากราบทูลว่าธิดาท่านเศรษฐีบางช้างตนได้สู่ ขอให้นายทองด้วงบุตรชายแล้วขอพระราชทานให้แก่บุตรชายของตนเสียเถิด พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบเพียงกิตติศัพท์ความงามของนางนาก แต่ยังมิเคยได้ทอดพระเนตรรูปร่างหน้าตา จึงมิได้อาลัยและพระราชทานอนุญาตให้วิวาห์ได้ตามความประสงค์ ธิดาท่านเศรษฐีทองจึงได้วิวาห์มงคลกับนายทองด้วงมหาดเล็ก ซึ่งต่อมาได้ตำแหน่งหลวงอร่ามฤทธิ์ หลวงยกบัตรราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม รับราชการในกรุงธนบุรีได้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจซ้าย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อหมดบุญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ธิดาของนายทองจึงได้เป็นอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

นายทองได้พิราลัยไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ นาค ธิดาของท่านได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี" สั้น ภริยาของท่านจึงได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามสกุล และได้พระราชทานนามสกุล ณ บางช้าง แก่ผู้สืบเชื้อสายจากท่าน[6]

อ้างอิง

  1. เทพ สุนทรศารทูล. ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พระนารายณ์, พ.ศ. 2541. 192 หน้า. หน้า 34.
  2. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  3. จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ มหาวรรณ). เวียงวัง เล่ม ๑. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพื่อนดี บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2551. 300 หน้า. หน้า หน้าที่ 60. ISBN 978-974-253-061-7
  4. จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ มหาวรรณ). เวียงวัง เล่ม ๑. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพื่อนดี บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2551. 300 หน้า. หน้า หน้าที่ 60. ISBN 978-974-253-061-7
  5. ชมรมสายสกุลบุนนาค
  6. คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. โครงกระดูกในตู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามรัฐ, พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2547. 109 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-131-1