ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ขอความเห็นการพูดคุยหารือระหว่างผู้ใช้ (2562) ระยะที่ 2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
PEAK99 (คุย | ส่วนร่วม)
ความคิดเห็น
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
: โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
: โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
* ความเห็นของผมคือ สนับสนุนเต็มที่ และประสงค์ให้การสร้างใหม่ให้มีรูปแบบที่ดูทันสมัยยิ่งขึ้น มีลูกเล่นในการสนทนาที่มีการใช้สติ๊กเกอร์แทนความรู้สึกหรือภาพในคอมมอนส์แทนความรู้สึกคงทำให้มีผู้สนใจใช้งานวิกิส์มากขึ้น และการตอบกลับที่ง่ายขึ้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีในการสื่อสารอย่างแน่นอน รวมไปถึงการย่อหน้า การแยกส่วนการพูดคุย อีกทั้งการลงชื่ออัตโนมัติให้จะดีมากเพราะสุดท้ายผู้ใช้ต้องทำการล็อคอินก่อนใช้งาน และการพูดคุยอะไรก็ตามเมื่อแบ่งส่วนแล้วด้านบนของแต่ละส่วนควรแสดงว่าผู้ใดเป็นผู้พูดคุยดังกล่าว ส่วนวิกิเท็กซ์ที่มีอยู่เดิมสำหรับผู้ใช้ที่ประสงค์ใช้รูปแบบเดิมก็สามารถให้แสดงผลเช่นเดิมได้ คล้ายกับตัวเลือก Visual editing กับ Source editing ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบของแต่ละผู้ใช้ที่จะเลือกให้แสดงผลในการดำเนินการ จึงเห็นว่ายิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--[[User:Tris T7|<span style="color:aqua">Tris </font><font color="#FFB300">T7</font></b>]] <sup>[[User talk:Tris T7|<i style="color:blue">TT me</i>]]</sup>
* ความเห็นของผมคือ สนับสนุนเต็มที่ และประสงค์ให้การสร้างใหม่ให้มีรูปแบบที่ดูทันสมัยยิ่งขึ้น มีลูกเล่นในการสนทนาที่มีการใช้สติ๊กเกอร์แทนความรู้สึกหรือภาพในคอมมอนส์แทนความรู้สึกคงทำให้มีผู้สนใจใช้งานวิกิส์มากขึ้น และการตอบกลับที่ง่ายขึ้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีในการสื่อสารอย่างแน่นอน รวมไปถึงการย่อหน้า การแยกส่วนการพูดคุย อีกทั้งการลงชื่ออัตโนมัติให้จะดีมากเพราะสุดท้ายผู้ใช้ต้องทำการล็อคอินก่อนใช้งาน และการพูดคุยอะไรก็ตามเมื่อแบ่งส่วนแล้วด้านบนของแต่ละส่วนควรแสดงว่าผู้ใดเป็นผู้พูดคุยดังกล่าว ส่วนวิกิเท็กซ์ที่มีอยู่เดิมสำหรับผู้ใช้ที่ประสงค์ใช้รูปแบบเดิมก็สามารถให้แสดงผลเช่นเดิมได้ คล้ายกับตัวเลือก Visual editing กับ Source editing ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบของแต่ละผู้ใช้ที่จะเลือกให้แสดงผลในการดำเนินการ จึงเห็นว่ายิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--[[User:Tris T7|<span style="color:aqua">Tris </font><font color="#FFB300">T7</font></b>]] <sup>[[User talk:Tris T7|<i style="color:blue">TT me</i>]]</sup>
* สนับสนุนและเห็นด้วยครับ หากมีลูกเล่นใหม่ๆ ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น และหากง่ายต่อการทำความความเข้าใจยิ่งดีครับ [[ผู้ใช้:PEAK99|PEAK99]] ([[คุยกับผู้ใช้:PEAK99|คุย]]) 11:54, 10 มิถุนายน 2562 (+07)


== ทำเครื่องหมายการสนทนาแยกต่างหาก ==
== ทำเครื่องหมายการสนทนาแยกต่างหาก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:54, 10 มิถุนายน 2562

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

ːการปรึกษาหารือเกี่ยวกับหน้าพูดคุย พ.ศ. 2562 เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการใช้งานเกี่ยวกับหน้าพูดคุยให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ทุกราย ในระยะที่ 1 ได้มีผู้ใช้ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้กว่า 300 รายทั่วโลก และในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งรายงานสรุปข้อเสนอแนะในระยะที่ 1 พร้อมและได้ทำการเผยแพร่แล้ว โปรดดูที่ a report

ในระยะแรกวิกิพีเดียรุ่นภาษาอังกฤษได้รับการลงทะเบียนเป็น "กลุ่มผู้เข้าร่วม" เดียวที่มีผู้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด สิ่งนี้จะเหมือนกันในระยะที่ 2 มีผู้เข้าร่วมการอภิปรายท้องถิ่นรุ่นภาษาอังกฤษประมาณ 100 รายและมีผู้ร่วมแก้ไขมากกว่า 300 รายจากที่อื่น ๆ ในทุกโครงการและรุ่นภาษา อาทิ คอมมอนส์ วิกิ, วิกิสนเทศ, ในขั้นตอนนี้จะต้องมีตัวเลือกในการให้ข้อเสนอแนะผ่านแบบสำรวจ Qualtrics (ซึ่งยังไม่ได้เปิด) เช่นเดียวกับในระยะที่ 1 ข้อเสนอแนะสามารถให้ได้ใน mediawiki.org และในการอภิปรายในกลุ่มอื่น ๆ ที่ลงชื่อเข้าร่วม สำหรับผู้ใช้ที่มีบัญชีโกลบอลและต้องการมีส่วนร่วมในรุ่นภาษาอื่น สามารถดำเนินการได้ตามความประสงค์ตามกลุ่มที่ได้ลงชื่อไว้ ซึ่งในระยะที่ 1 มีจำนวน 18 กลุ่ม โปรดดูที่ Participants group for Phase 1

ซึ่งการโพสต์สรุปเช่นเดียวกับในระยะที่ 1 เมื่อสิ้นสุดการอภิปรายปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ก็จะมีการโพสต์สรุปไปยัง mediawiki.org ของทุกรุ่นภาษาเป็นภาษาอังกฤษ

ผลตอบรับจากระยะที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และ สิ้นสุดเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้รับการประเมินและกลายเป็นรายงาน และสืบเนื่องจากการสนทนาในระยะที่ 1 ก่อให้เกิดคำถามหลัก 6 คำถามในระยะที่ 2 (คำถาม, ส่วนหัวของพวกเขาและข้อมูลบริบทที่มีการอ้างคำต่อคำในส่วนย่อยดังต่อไปภายใต้คำถามหลัก§ .) ทุกคนยังอาจจะเริ่มต้นการสนทนาใหม่ของทางเลือกของพวกเขาภายใต้§อภิปรายอื่น ๆ

ในระยะที่สองของวิกิพีเดียรุ่นภาษาไทยของการปรึกษาหารือเกี่ยวกับหน้าพูดคุย 2019 talk pages consultation จะเน้นไปที่การสนทนารอบการแลกเปลี่ยน โดยเปิดรับข้อเสนอแนะและความคิดเห็น ระหว่าง วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และสิ้นสุดการเสนอแนะของชุมชนท้องถิ่นสำหรับระยะที่ 2 ภายในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งผู้เข้าร่วมในแต่ละกลุ่มสามารถแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคำถามด้านล่างนี้

ผู้เข้าร่วมทุกท่านเปิดให้โอกาสผู้ใช้ทุกรายในการแสดงความคิดเห็นนี้: เรากำลังรวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นนี่ไม่ใช่การลงคะแนนหรือกระบวนการตัดสินใจ ในตอนท้ายความคิดเห็นทั้งหมดจะได้รับการบันทึกไว้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการสื่อสารถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการแบ่งปันความรู้เพื่อรุ่นต่อไป...* ความเห็นของผมคือ จะดีมากเพราะเชื่อว่าการแยกส่วนแต่ละส่วนในการสนทนาของผู้ใช้แต่ละราย ซึ่งปัจจุบันต้องใช้โคลอนในการแยก แต่หากมีการสนทนาที่ค่อนข้างยาวและหลายคนเข้าร่วมก็จะกลายเป็นความสับสนอย่างมากว่าใครคุยกับใคร ถึงใคร และตอบในสิ่งใด ในคำถามใด จึงเห็นว่ายิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--Tris T7 TT me 04:27, 22 พฤษภาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

คุณคิดอย่างไรกับทิศทางของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ?

บริบท: มูลนิธิวิกิมีเดียเสนอให้ทำการสร้างใหม่, รูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นบนหน้าวิกิเท็กซ์ที่มีอยู่เดิม มันจะเพิ่มเครื่องมือการตอบกลับที่ง่ายขึ้น รวมถึงการย่อหน้าและลงชื่อ คุณยังคงสามารถใช้วิกิเท็กซ์บนหน้าพูดคุยได้ หากคุณประสงค์เช่นนั้น และมันควรที่จะมีส่วนร่วมในการสนทนาโดยไม่ต้องใช้วิกิเท็กซ์
คำถาม: คุณคิดเช่นไรกับผลิตภัณฑ์แบบนี้?
โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
  • ความเห็นของผมคือ สนับสนุนเต็มที่ และประสงค์ให้การสร้างใหม่ให้มีรูปแบบที่ดูทันสมัยยิ่งขึ้น มีลูกเล่นในการสนทนาที่มีการใช้สติ๊กเกอร์แทนความรู้สึกหรือภาพในคอมมอนส์แทนความรู้สึกคงทำให้มีผู้สนใจใช้งานวิกิส์มากขึ้น และการตอบกลับที่ง่ายขึ้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีในการสื่อสารอย่างแน่นอน รวมไปถึงการย่อหน้า การแยกส่วนการพูดคุย อีกทั้งการลงชื่ออัตโนมัติให้จะดีมากเพราะสุดท้ายผู้ใช้ต้องทำการล็อคอินก่อนใช้งาน และการพูดคุยอะไรก็ตามเมื่อแบ่งส่วนแล้วด้านบนของแต่ละส่วนควรแสดงว่าผู้ใดเป็นผู้พูดคุยดังกล่าว ส่วนวิกิเท็กซ์ที่มีอยู่เดิมสำหรับผู้ใช้ที่ประสงค์ใช้รูปแบบเดิมก็สามารถให้แสดงผลเช่นเดิมได้ คล้ายกับตัวเลือก Visual editing กับ Source editing ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบของแต่ละผู้ใช้ที่จะเลือกให้แสดงผลในการดำเนินการ จึงเห็นว่ายิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--Tris T7 TT me
  • สนับสนุนและเห็นด้วยครับ หากมีลูกเล่นใหม่ๆ ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น และหากง่ายต่อการทำความความเข้าใจยิ่งดีครับ PEAK99 (คุย) 11:54, 10 มิถุนายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ทำเครื่องหมายการสนทนาแยกต่างหาก

บริบท: ผู้คนมีความต้องการที่จะเห็นการแยกส่วนเป็นสัดส่วนในหน้าพูดคุย เขาต้องการการแจ้งเตือนที่ดีกว่าเดิม, การจัดเก็บ, และการทำการสืบค้น ในการทำสิ่งเหล่านี้, เราอาจจะจำเป็นที่จะต้องสร้างการนิยามว่าสิ่งใดนับเป็นยอดหนึ่งการสนทนา นี่อาจจะหมายถึงการคิดค้นนวัตกรรมในการทำการเปลี่ยนวิกิเท็กซ์บนหน้าพูดคุย ตัวอย่างเช่น เราอาจจะสร้างวิธีใหม่ฝยการสร้างหัวข้อการสนทนาในวิกิเท็กซ์ หรือลิงก์ใหม่เพื่อให้คุณใช้ในการทำการสร้าง เปลี่ยนชื่อ หรือแยกส่วนการพูดคุย
คำถาม: อะไรคือข้อดีและข้อเสียของวิธีการดังกล่าว?
โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
  • ความเห็นของผมคือ จะดีมากเพราะเชื่อว่าการแยกส่วนแต่ละส่วนในการสนทนาของผู้ใช้แต่ละราย ซึ่งปัจจุบันต้องใช้โคลอนในการแยก แต่หากมีการสนทนาที่ค่อนข้างยาวและหลายคนเข้าร่วมก็จะกลายเป็นความสับสนอย่างมากว่าใครคุยกับใคร ถึงใคร และตอบในสิ่งใด ในคำถามใด จึงเห็นว่ายิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--Tris T7 TT me
  • เห็นด้วยบางส่วน ปัจจุบันเนื้อหาการพูดคุยค่อนข้างยากในการเพิ่มเติมแก้ไข แต่ในขณะเดียวกันก็ง่ายในการค้นหาหรือมองในภาพรวม ผมเสนอว่าควรทำส่วนติดต่อผู้ใช้ให้ง่ายในการตอบกลับหรือสร้างใหม่ เช่นการมีปุ่มเพิ่มความเห็นท้ายความเห็นเดิม, ทำปุ่มเพิ่ม/ยุบความเห็น เป็นต้น itpcc 13:40, 28 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ช่วยผู้มาใหม่ค้นหาหน้าพูดคุย

บริบท: ผู้มาใหม่มีปัญหาในการค้นหาหน้าพูดคุย ในระหว่างการทดสอบผู้ใช้มีเพียงหนึ่งในสิบคนเท่านั้นที่พบแท็บ อภิปราย ผู้ทดสอบส่วนใหญ่มองหาแท็บ อภิปราย ที่ฝั่งตรงข้ามของหน้าซึ่งมีแท็บและลิงก์อื่น ๆ ทั้งหมดอยู่ หลายคนคาดหวังว่าจะเห็นลิงก์ไปยังการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อเฉพาะในบทความ เราอาจต้องการย้ายลิงค์ไปยังหน้าพูดคุยไปทางด้านตรงข้ามของหน้าบทความ เราอาจเพิ่มฟังก์ชั่นการสนทนาที่เชื่อมต่อกับแต่ละส่วน
คำถาม: อะไรคือข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมต่อระหว่างเนื้อหาบทความและการอภิปรายที่มองเห็นได้ง่ายขึ้น?
โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
  • ความเห็นของผมคือ ปัจจุบันการแสดงผลหน้าพูดคุย สำหรับผู้ใช้ที่เลือกการแสดงผลเป็นภาษาอังกฤษ จะแสดง Talk อยู่ด้านบนติดกับ Sandbox ซึ่งการที่จะพูดคุยผู้ใช้ใหม่ต้องมีความรู้ในการแก้ไขรหัส แสดงผลตามที่ประสงค์จะพูดคุย อีกทั้งส่วนใหญ่จะไม่ทราบถึงการลงชื่อท้ายการพูดคุย ซึ่งหากมีการแนะนำวิธีการใช้งานเป็นวีดีโอในรุ่นภาษาไทยหรือสามารถติดต่อผู้ประสานงานในรุ่นภาษานั้น ๆ ทางโซเชียลมีเดียก็อาจจะเป็นการง่ายกว่า เพราะเชื่อว่าหากทราบวิธีการใช้งานแล้วเพียงครั้งเดียว ก็จะทำให้ไม่มีปัญหาในการใช้งานอีก จึงเห็นว่าควรมีการแนะนำการใช้งานและ ยิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--Tris T7 TT me

จะแสดงเครื่องมือการสนทนาไว้ที่ใด

บริบท: ปัจจุบันวิกิจำนวนมากมีพื้นที่การอภิปรายชุมชนในเนมสเปซโครงการ (Project หรือ Wikipedia:) แทนที่จะอยู่ในเนมสเปซพูดคุย (Project talk หรือ Wikipedia talk:) โครงการเนมสเปซมักจะใช้สำหรับปั๊มหมู่บ้าน/คาเฟ่, ป้ายประกาศและเวิร์กโฟลว์บางอย่าง เช่น บทความสำหรับการลบระบบจะต้องรู้ว่าการสนทนาเกิดขึ้นที่ใดเพื่อให้สามารถแสดงเครื่องมือใหม่ในการสนทนาเหล่านั้นและไม่แสดงในหน้าอื่น ๆ มีหลายวิธีที่เป็นไปได้ในการทำเช่นนี้ หนึ่งในนั้นคือการย้ายการอภิปรายทั้งหมดไปยังพื้นที่พูดคุย
คำถาม: อะไรคือข้อดีและข้อเสียของการทำเช่นนั้น?
โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
  • ความเห็นของผมคือ ปัจจุบันการอภิปรายชุมชนในรุ่นภาษาไทยเกิดขึ้นใน วิกิพีเดีย:สภากาแฟ ซึ่งแม้จะเป็นการอภิปรายระดับชุมชน แต่ยังได้รับการมีส่วนร่วมที่น้อยเพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาตรวจสอบหน้าสภากาแฟบ่อยครั้ง และไม่มีการแจ้งเตือนในการพูดคุยในเรื่องที่สำคัญ หรืออาจติดแบนเนอร์เพื่อขอความคิดเห็นในการปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการวิกิส์ ที่ดียิ่งขึ้น การแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้เปิดรับทุกความคิดเห็น โดยไม่มีกฏเกณฑ์ใด ๆ และไม่มีข้อห้ามใด ๆ ในการแสดงความคิดเห็น แต่ยังต้องคงไว้ในหลักของความสุภาพ และให้เกียรติและไม่กล่าวหาผู้ใช้รายหนึ่งรายใดให้ได้รับความเสียหาย ขัดแย้งในชุมชน จึงเป็นช่องทางการแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้ทุกรายที่มีส่วนร่วมน่าจะพิจารณาเข้าร่วมพูดคุย ปรึกษาหารือในการพูดคุยเพื่อใช้พัฒนาการสื่อสารถึงกันและกันในครั้งนี้ เพราะมีการเปิดรับทุกข้อเสนอแนะโดยไม่มีการระงับสิทธิ์หรือบล็อคการใช้งานหรือจำกัดการใช้งาน จึงเห็นว่าหากได้รับการแสดงความคิดเห็นยิ่งมาก ยิ่งเป็นการแสดงถึงความเหมาะสมของการพิจารณาสาขาของมูลนิธิวิกิมีเดียในประเทศไทยได้ไม่มากก็น้อย แต่หากมีเพียงจำนวนน้อย อาจส่งผลต่อการไม่ยอมรับของชุมชนอื่นในอนาคตสำหรับการพิจารณาการมีส่วนร่วมในโครงการใดโครงการหนึ่ง ซึ่งจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งการพูดคุยอาจแยกเป็นการพูดคุยระหว่างผู้ใช้กับผู้ใช้หนึ่งรายหรือมากกว่าหนึ่งราย และการพูดคุยระหว่างผู้ใช้กับผู้ใช้ในระดับชุมชน และการพูดคุยระหว่างผู้ใช้กับผู้ใช้ในชุมชนสากลทั่วโลก และสุดท้ายคือการพูดคุยระหว่างผู้ใช้กับผู้ดูแลระบบ, สจ๊วต, กรรมาธิการ ไปจนถึงผู้ก่อตั้ง ทั้งนี้การพัฒนาหน้าพูดคุยยิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด ก็จะเริ่มมีการเสนอแนะในรุ่นพัฒนา ในความบกพร่องของรุ่นทดลอง ซึ่งเมื่อรุ่นสมบูรณ์เสร็จสิ้นก็จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--Tris T7 TT me

ประวัติของการแลกเปลี่ยน

บริบท : บางครั้งคุณต้องดูประวัติของทั้งหน้า บางครั้งมันจะมีประโยชน์มากขึ้นในการดูประวัติของเธรดการสนทนาเดียวเท่านั้น มันจะเหมาะถ้าเราให้ทั้งสองอย่าง แต่เราไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร
คำถาม: : ข้อดีและข้อเสียของการมีประวัติหน้าเว็บที่สมบูรณ์หรือประวัติเธรดที่ระบุมีอะไรบ้าง
โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้
  • ความเห็นของผมคือ ปัจจุบันการพูดคุยในหนึ่งของโครงการวิกิมีเดีย คือในหน้าพูดคุยของ Talk:Phabricator จะมีส่วน Browse topics มีส่วน Start a new topic โดยแบ่งเป็น board ในหัวข้อการพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ อาทิ เช่น Talk:Phabricator/Help, Talk:Phabricator/Plan, Talk:Phabricator/Project Management, ซึ่งยังมีแยกย่อยเป็น Talk:Phabricator/Project Management/Tracking Tasks ของหัวเรื่องต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นการพัฒนาในอนาคตอันใกล้อาจมีหัวข้อเมนูให้เลือกในการเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ซึ่งทุกการพูดคุยได้ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบ เช่นนั้น การกลับมาดูประวัติจะเป็นไปได้เสมอ อันเป็นข้อดีในการตรวจสอบย้อนหลังปูมประวัติของผู้ใช้รายใดรายหนึ่งในการมีส่วนร่วม ทั้งดีและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และไม่พึงประสงค์ของผู้ใช้รายอื่น นั่นรวมไปถึงความขัดแย้งที่เกิดภายในโครงการต่าง ๆ การมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นเพราะมีโครงการของวิกิมีเดียอีกจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งผู้ใช้รายใหม่อาจต้องทำความเข้าใจว่าวิกิพีเดียรุ่นภาษาไทยเป็นเพียงหนึ่งในโครงการที่อยู่ในโครงการใหญ่ของวิกิพีเดียซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมบริหารจัดการโดยมูลนิธิวิกิมีเดียในอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย วิกิพีเดีย, วิกิคอมมอนส์, วิกิคำคม, วิกิสปีชีส์, วิกิสนเทศ, วิกิท่องเที่ยว (บางรุ่นภาษา), วิกิข่าว (บางรุ่นภาษา), เมทาวิกิ, มีเดียวิกิ, ฟราบริเคเตอร์, และยังมีพันธมิตรแยกเป็นเว็บไซต์อื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งทุกโครงการล้วนแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนนั้น ๆ ทั้งสิ้นในการมีส่วนร่วม ซึ่งทุกโครงการล้วนต้องใช้งานหน้าพูดคุยเพื่อสื่อสารถึงกันในการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นนั้นวิกิมีเดียจึงให้ความสำคัญกับการปรับปรุง สร้างใหม่ เพื่อวิวัฒน์ ให้มีประสิทธิภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้การสื่อสารถึงกันระหว่างผู้ใช้ต่อผู้ใช้รายอื่น และผู้ใช้ต่อบรรณาธิการหรือผู้ได้รับสิทธิ์สถานะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี Talk:Phabricator/Permissions, Talk:Phabricator/Creating And Renaming Projects, และอีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้สนใจศึกษาสิ่งใหม่และหาความรู้เพื่อตนเองและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน และประเทศชาติ หรืออาจใหญ่ถึงระดับโลกจนเกินคาดคิดหรือคาดหมาย ซึ่งทุกการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งใหม่ที่คุณได้เรียนรู้สิ่งที่คุณไม่คุ้นเคย และอาจสะดวกสบายยิ่งขึ้นในการใช้งานกว่าสิ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่คิดว่าดีอยู่แล้ว สำหรับบางราย จึงเห็นว่ายิ่งพร้อมเร็วและให้ใช้งานได้เร็วเท่าใด จะสนับสนุนทุกโครงการของวิกิมีเดียให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ..--Tris T7 TT me

ที่ตั้งของเมตาดาต้า

บริบท: บางวิกิวางแม่แบบไว้ที่ด้านบนหน้าพูดคุยของบทความ สิ่งเหล่านี้อาจแสดงคำแนะนำ คำเตือน หรือ คำถามที่พบบ่อย พวกเขาอาจเก็บข้อมูลคุณภาพของหน้าลิงค์ไปยัง WikiProjects ที่เกี่ยวข้องหรือระบุกิจกรรมที่ผ่านมา ผู้ใช้ใหม่หลายคนสับสนโดยการค้นหาเนื้อหาที่ไม่ใช่การสนทนาที่ด้านบนของหน้าพูดคุยเรื่องบทความ การย้ายเนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมดไปไว้ที่อื่นบนเพจนั้นจะเป็นประโยชน์หรือไม่ก็ภายใต้แท็บอื่น
คำถาม: อะไรคือข้อดีและข้อเสียของวิธีการดังกล่าว? แม่แบบใดที่มีความสำคัญต่อการใช้หน้าอภิปรายอย่างเหมาะสมและสามารถย้ายไปที่อื่นที่ใดก็ได้
โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้

ข้อเสนอแนะนอกเหนือจากคำถามข้างต้น

โปรดแสดงความเห็นของท่านใต้บรรทัดด้านล่างนี้ หากท่านประสงค์ที่จะเสนอแนะในการพัฒนา หรือวิธีการในการสื่อสารที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง