ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tontan12 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nonpawit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 132: บรรทัด 132:


=== โครงการสถานีกลางบางซื่อ ===
=== โครงการสถานีกลางบางซื่อ ===
ในอนาคต [[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ร่วมกับ [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]] (สนข.) จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีกรุงเทพ มาที่ ชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร<ref>เอกสารและสื่อ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น ต่อการดำเนินโครงการสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 ณ [[หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต]]</ref>
ในอนาคต [[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ร่วมกับ [[กรมการขนส่งทางราง]] จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีกรุงเทพมาที่ ชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร<ref>เอกสารและสื่อ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น ต่อการดำเนินโครงการสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 ณ [[หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต]]</ref>
พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปกรุงเทพ วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้ (เส้นทางใหม่) จากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ [[รถไฟความเร็วสูง]] ([[ไฮสปีดเทรน]]) เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง และ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ]]([[SARL]] : Suvarnabhumi Airport Rails Link)
พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปกรุงเทพ วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้ (เส้นทางใหม่) จากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ [[รถไฟความเร็วสูง]] ([[ไฮสปีดเทรน]]) เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง และ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ]]([[SARL]] : Suvarnabhumi Airport Rails Link)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:18, 27 พฤษภาคม 2562

ชุมทางบางซื่อ
Bang Sue Junction
กิโลเมตรที่ 7.47

แม่แบบ:ชุมทางขวา แม่แบบ:รถไฟทางตรง แม่แบบ:จบป้ายสถานีรถไฟ

ชุมทางบางซื่อ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สายรถไฟทางไกลและรถไฟฟ้า ของ รฟท.
ชานชาลาระดับดิน
ราง4 ชานชาลาราง (ตัวสถานี)
ประมาณ 60 ชานชาลาราง (ย่านสับเปลี่ยน)
8 ชานชาลาราง (โรงรถจักร)
การเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
(สถานีบางซื่อ)
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1007 - ไทย: บซ; อังกฤษ: BSJ

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีชุมทางรถไฟหลักของประเทศไทย ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงยังเป็น 1 ใน 2 สถานีชุมทางรถไฟที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร คือ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ และสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน และเป็น 1 ใน 15 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทย

แผนผังสถานี

ระดับถนน - ป้ายรถประจำทาง, สถานีบางซื่อ ทางออก 1-2
ชานชาลารถไฟทางไกล
สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ

สายใต้

ชานชาลาด้านข้าง, รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา

รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

ชานชาลา 1 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

ชานชาลา 1 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

ชานชาลาเกาะกลาง, รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

ชานชาลา 2 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

ชานชาลาเกาะกลาง, รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้ายและขวา
รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้ายและขวา
ชานชาลา 3 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

ชานชาลา 3 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

ชานชาลาเกาะกลาง, รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้ายและขวา
รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้ายและขวา

ชานชาลา 4 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ

- ย่านสับเปลี่ยน, โรงรถจักร, โครงการสถานีกลางบางซื่อ

ที่ทำการรับ-ส่งสินค้าพหลโยธิน

ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50 ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4 กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย อยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 1.5 กิโลเมตร

โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ

โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ เป็นโรงซ่อมบำรุงและโรงจอดรถจักรดีเซลที่ใช้ในการลากขบวนรถไฟ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟไปตามแนวเส้นทางในระยะประมาณ 1.5 กิโลเมตร นอกจากที่บางซื่อแล้ว ยังมีโรงรถจักรที่ สถานีรถไฟธนบุรี สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟนครลำปาง สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และ สถานีรถไฟชุมพร

โครงการสถานีกลางบางซื่อ และโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

โครงการสถานีกลางบางซื่อ

ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ กรมการขนส่งทางราง จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีกรุงเทพมาที่ ชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร[1] พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปกรุงเทพ วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้ (เส้นทางใหม่) จากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL : Suvarnabhumi Airport Rails Link)

โครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ตั้งอยู่ในพื้นที่สถานีรถไฟบางซื่อและสวนจตุจักรเป็นโครงการก่อสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 2000ไร่ โดยพัฒนาเป็นพื้นที่3ชั้นโดยมีทางเชื่อมกับสถานีกลางบางซื่อ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีหมอชิต และเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินที่สถานีกำแพงเพชรและสถานีจตุจักร ส่วนระดับพื้นดินจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวให้กลมกลืนกับสวนจตุจักรโดยผลการศึกษาเบื้องต้นเฟสแรกใช้งบประมาณ 65,000 ล้านบาท เฟสที่ 2 มีการเดินรถบีอาร์ที ช่วงอาคารเอ็นโก้-จตุจักร-บางซื่อ จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโดยให้เป็นผู้สร้างบริหารงาน และส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่รัฐ โดยรัฐไม่ต้องใช้งบ 65,000 ล้านบาท คาดใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

อ้างอิง

  1. เอกสารและสื่อ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น ต่อการดำเนินโครงการสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2549 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • สมุดรายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ, การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2541

แหล่งข้อมูลอื่น