ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pattara2001 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 61: บรรทัด 61:


== หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ==
== หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ==
โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เป็นการเฉพาะกับนักเรียนของโรงเรียน มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 3 ปี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตร โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนรอบด้าน ทั้งพุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา รายวิชาพื้นฐานครอบคลุมหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมให้หลากหลาย สอดคล้องกับศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อมุ่งสร้างความเป็นพหุปัญญา สร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลของนักเรียน และ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม{{ต้องการอ้างอิง}}
โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เป็นการเฉพาะกับนักเรียนของโรงเรียนมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 3 ปี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตร โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียน รอบด้าน ทั้งพุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา รายวิชาพื้นฐานครอบคลุมหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการนอกจากนี้ยังจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมให้หลากหลาย สอดคล้องกับ ศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของนักเรียนเป็นรายบุคคลมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียน เพื่อมุ่งสร้างความเป็นพหุปัญญาสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลของ นักเรียน และ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม<ref>[https://www.mwit.ac.th/content.php?content_title=CUR_TITLE&content=CUR_CONTENT หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์]</ref>{{ต้องการอ้างอิง}}


ปัจจุบันโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 3 โดยปรับปรุงหลักสูตรให้มีความใกล้เคียงเนื้อหาของ [[สอวน.]] โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เพิ่มรายวิชาทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในหอพักและทำให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคลากรที่มีความสามารถและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และเพิ่มรายวิชาสัมมนาวิทยาศาสตร์ รายวิชาธรรมชาติและการสืบเสาะอย่างวิทยาศาสตร์ (Nature of Science and Scientific Inquiry)<ref>{{cite web|url = http://www.mwit.ac.th/~usa_jeen/|title = SINOS| accessdate = 11 January 2012}}</ref>และรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และกระบวนการสืบเสาะค้นหาองค์ความรู้ หาคำตอบของข้อสงสัย ของปัญหาที่อยากรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Methods) เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักประดิษฐ์คิดค้นใช้ในกระบวนการทำงานของตนเอง รวมถึงการพัฒนาทักษะในการทำวิจัย (โครงงาน) อย่างครบวงจร และปลูกฝังจิตวิญญาณและความรู้ความสามารถในการเป็นนักคิดค้น นักวิจัยในภายภาคหน้า โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Dr. David Workman จาก [[:en:Illinois Mathematics and Science Academy|Illinois Mathematics and Science Academy]] หลักสูตรนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ คือภาษาอังกฤษ โดยมีการสอนแบบแบ่งกลุ่มนักเรียนตามคะแนนสอบและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ รวมถึงเปิดการสอนภาษาอื่นๆอีกอย่างน้อย 4 ภาษา คือ [[ภาษาจีน]] [[ภาษาญี่ปุ่น]] [[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษาเยอรมัน]] โดยในบางครั้งหากมีบุคลากรที่เหมาะสมจะเปิดการเรียนการสอนภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ในอดีตเคยมีการเปิดสอน[[ภาษาเกาหลี]] และ[[ภาษารัสเซีย]] การสอนภาษาต่างประเทศนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นสากลให้เกิดขึ้นในบุคลากรของชาติในอนาคตและเพื่อยกระดับความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก (World Class){{ต้องการอ้างอิง}}
ปัจจุบันโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2562 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 6 โดยปรับปรุงหลักสูตรให้มีความใกล้เคียงเนื้อหาของ [[สอวน.]] โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เพิ่มรายวิชาทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในหอพักและทำให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคลากรที่มีความสามารถและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และเพิ่มรายวิชาสัมมนาวิทยาศาสตร์ รายวิชาธรรมชาติและการสืบเสาะอย่างวิทยาศาสตร์ (Nature of Science and Scientific Inquiry)<ref>{{cite web|url = http://www.mwit.ac.th/~usa_jeen/|title = SINOS| accessdate = 11 January 2012}}</ref>และรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และกระบวนการสืบเสาะค้นหาองค์ความรู้ หาคำตอบของข้อสงสัย ของปัญหาที่อยากรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Methods) เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักประดิษฐ์คิดค้นใช้ในกระบวนการทำงานของตนเอง รวมถึงการพัฒนาทักษะในการทำวิจัย (โครงงาน) อย่างครบวงจร และปลูกฝังจิตวิญญาณและความรู้ความสามารถในการเป็นนักคิดค้น นักวิจัยในภายภาคหน้า โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Dr. David Workman จาก [[:en:Illinois Mathematics and Science Academy|Illinois Mathematics and Science Academy]] หลักสูตรนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ คือภาษาอังกฤษ โดยมีการสอนแบบแบ่งกลุ่มนักเรียนตามคะแนนสอบและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ รวมถึงเปิดการสอนภาษาอื่นๆอีกอย่างน้อย 4 ภาษา คือ [[ภาษาจีน]] [[ภาษาญี่ปุ่น]] [[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษาเยอรมัน]] โดยในบางครั้งหากมีบุคลากรที่เหมาะสมจะเปิดการเรียนการสอนภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ในอดีตเคยมีการเปิดสอน[[ภาษาเกาหลี]] และ[[ภาษารัสเซีย]] การสอนภาษาต่างประเทศนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นสากลให้เกิดขึ้นในบุคลากรของชาติในอนาคตและเพื่อยกระดับความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก (World Class){{ต้องการอ้างอิง}}


== ระบบคัดเลือกนักเรียน ==
== ระบบคัดเลือกนักเรียน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:44, 27 พฤษภาคม 2562

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
Mahidol Wittayanusorn School
ไฟล์:LogoMWITS.png
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°48′2″N 100°19′8″E / 13.80056°N 100.31889°E / 13.80056; 100.31889
ข้อมูล
ชื่ออื่นมวส. / MWIT
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำขวัญปญฺญาย ปริสุชฺฌติ
(คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา)
สถาปนา8 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (สังกัดกรมสามัญศึกษา) (32 ปี 347 วัน) 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (องค์การมหาชน) (23 ปี 238 วัน)
รหัส1573072001
ผู้อำนวยการรองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญากุล
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอน ไทย ภาษาไทย
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
เยอรมนี ภาษาเยอรมัน
ประเทศเกาหลี ภาษาเกาหลี
สี   สีน้ำเงิน-สีเหลือง
เพลงมาร์ชมหิดลวิทยานุสรณ์
ต้นไม้ต้นศรีตรัง
เว็บไซต์www.mwit.ac.th

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 และเปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์การมหาชนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543[1] เคยตั้งอยู่ที่วัดไร่ขิง ในปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และเป็นโรงเรียนที่มีเครือข่ายกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำในประเทศอื่น ๆ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีการใช้ระบบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนเอง โดยปรกติมีอัตราการรับเข้าประมาณ 1.5% (240 คนจากนักเรียนที่สมัครแต่ละปีประมาณ 20,000 คน)[2] โดยนักเรียนทุกคนได้รับทุนการศึกษาเต็มตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ในโรงเรียน

ประวัติ

ป้ายทางเข้าโรงเรียน

แนวคิดริเริ่ม

มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีความคิดที่จะผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญในทางสาขาวิชานี้ เพื่อป้อนให้กับประเทศ ทั้งนี้บุคลากรเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับพื้นฐานที่ดีก่อนที่จะมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในการนี้ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อันเป็นวิชาพื้นฐานสำคัญดีอยู่แล้ว จึงได้ร่วมมือกับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษา และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ รูปแบบดังกล่าวนี้ หากขยายนำไปใช้ได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะผลิตกำลังคนได้สอดคล้อง กับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนในช่วงแรก

ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้พื้นที่ 35 ไร่ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ให้กรมสามัญศึกษาใช้เป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียน โดยทางมหาวิทยาลัยจะให้ความร่วมมือสนับสนุนทางด้านวิชาการ รูปแบบการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นไปในรูปแบบใดเพื่อให้เหมาะสมในการพัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้ และพฤติกรรมของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคต

โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระธรรมมหาธีรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงให้ใช้บริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรมของทางวัดเป็นสถานที่เรียนชั่วคราวไปจนกว่าอาคารเรียนของทางโรงเรียนในบริเวณของมหาวิทยาลัยจะเสร็จเรียบร้อย ในช่วงนั้นทางวัดไร่ขิงได้ให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนใช้บริเวณวัดทำการเรียนการสอน บริการเรื่องสาธารณูปโภค โดยไม่คิดมูลค่า ให้ใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์ของทางวัดทำการเรียนการสอน อนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ของวัดมาสอนวิชาพระพุทธศาสนา ทั้งยังมอบเงินทุนส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุกๆ ปีและยังได้รับความอุปการะจากนายแพทย์บุญ วนาสิน ในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนเรื่อยมาได้จ้างครูต่างชาติมาสอนวิชาภาษาอังกฤษปีละ 2 คนทุกปี จัดสร้างหอพักนักเรียนชายและหญิง ณ บริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ศาลายา

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการลงนามร่วมกันอีกครั้งหนึ่งโดย นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาและ ศ.นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงมาให้ใช้พื้นที่ 25 ไร่ จำนวนระยะเวลา 30 ปี และตกลงให้ความร่วมมือสนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสมปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มายังที่ตั้งของโรงเรียน ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนในสถานภาพองค์การมหาชน

ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ในสถานะองค์การมหาชน

ปีพ.ศ. 2542 รัฐบาลในสมัยนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยขณะนั้นมีนโยบายจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พัฒนาโครงการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีลักษณะพิเศษต่างจากโรงเรียนทั่วไป ต่อมาจึงมีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543 ให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จุดมุ่งหมายของโรงเรียนตามที่กล่าวไว้ตามพระราชกฤษฎีกาเป็นดังนี้

ให้โรงเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กที่มีศักยภาพสูงทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ต่อมาในปีพ.ศ. 2544 ได้มีแต่งตั้งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน คือ ดร. ธงชัย ชิวปรีชา อดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานในระบบองค์การมหาชนนี้ โรงเรียนได้รับการบริหารที่ยืดหยุ่นกว่าในระบบเดิมและได้รับงบประมาณที่มากขึ้น จึงสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว

ความคาดหวังให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนนำร่อง[3] ได้ส่งผลให้ในปีพ.ศ. 2551 มีการขยายห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไปสู่กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่งและจัดตั้งโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) อีก 5 แห่งโดยใช้หลักสูตรอ้างอิงจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะนำหลักสูตรไปดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของมหาวิทยาลัย และยังมีแผนจะจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อีกจำนวน 207 โรงเรียน

จากการประเมินองค์การมหาชนของสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อปี พ.ศ. 2558 พบว่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับการประเมินในระดับดีเด่น เป็นต้นแบบทางด้านวิธีการทำงาน กลไกการทำงาน หลักการดำเนินกิจการเพื่อประสบความสำเร็จ[4]

ผลงานและเกียรติประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ก่อตั้ง International Student Science Fair (ในอดีตเรียกว่า Thailand International Science Fair) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนชั้นนำทางวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งนักเรียนในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สืบเนื่องจากความสำเร็จในการจัดครั้งแรกจึงได้รับการสานต่อโดยโรงเรียนต่าง ๆ และในปีพ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ได้เวียนมาจัดที่โรงเรียนมหิดลวิทยานสุรณ์อีกครั้งหนึ่ง รายชื่อโรงเรียนที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ได้แก่ Ritsumeikan High School Korea Science Academy City Montessori School National Junior College และ Australian Science and Mathematics School[5] นอกจากงานนี้แล้ว โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนต่าง ๆ จากทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ เยอรมัน อิสราเอล เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น[6]

ทางด้านผลงานของนักเรียนและศิษย์เก่า นักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศและระดับนานาชาติ การแข่งขันประลองความรู้ในหลากหลายสาขาวิชาเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า World Scholar's Cup[7] ทางโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของโลก ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้รับทุนการศึกษาทั้งจากการสมัครสอบผ่านทางสำนักงานข้าราชการพลเรือน และมีอีกจำนวนมากได้สมัครเข้าเรียนโดยตรงผ่านทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งที่มีความร่วมมือโดยตรงกับโรงเรียน เช่น KSA of KAIST และที่ไม่ได้มีความร่วมมือโดยตรงกับโรงเรียน เช่น Stanford University Purdue University และ University of Illinois at Urbana-Champaign เป็นต้น[8]

หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เป็นการเฉพาะกับนักเรียนของโรงเรียนมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 3 ปี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตร โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียน รอบด้าน ทั้งพุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา รายวิชาพื้นฐานครอบคลุมหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการนอกจากนี้ยังจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมให้หลากหลาย สอดคล้องกับ ศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของนักเรียนเป็นรายบุคคลมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียน เพื่อมุ่งสร้างความเป็นพหุปัญญาสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลของ นักเรียน และ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม[9]

ปัจจุบันโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2562 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 6 โดยปรับปรุงหลักสูตรให้มีความใกล้เคียงเนื้อหาของ สอวน. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เพิ่มรายวิชาทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในหอพักและทำให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคลากรที่มีความสามารถและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และเพิ่มรายวิชาสัมมนาวิทยาศาสตร์ รายวิชาธรรมชาติและการสืบเสาะอย่างวิทยาศาสตร์ (Nature of Science and Scientific Inquiry)[10]และรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และกระบวนการสืบเสาะค้นหาองค์ความรู้ หาคำตอบของข้อสงสัย ของปัญหาที่อยากรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Methods) เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักประดิษฐ์คิดค้นใช้ในกระบวนการทำงานของตนเอง รวมถึงการพัฒนาทักษะในการทำวิจัย (โครงงาน) อย่างครบวงจร และปลูกฝังจิตวิญญาณและความรู้ความสามารถในการเป็นนักคิดค้น นักวิจัยในภายภาคหน้า โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Dr. David Workman จาก Illinois Mathematics and Science Academy หลักสูตรนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ คือภาษาอังกฤษ โดยมีการสอนแบบแบ่งกลุ่มนักเรียนตามคะแนนสอบและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ รวมถึงเปิดการสอนภาษาอื่นๆอีกอย่างน้อย 4 ภาษา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน โดยในบางครั้งหากมีบุคลากรที่เหมาะสมจะเปิดการเรียนการสอนภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ในอดีตเคยมีการเปิดสอนภาษาเกาหลี และภาษารัสเซีย การสอนภาษาต่างประเทศนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นสากลให้เกิดขึ้นในบุคลากรของชาติในอนาคตและเพื่อยกระดับความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก (World Class)

ระบบคัดเลือกนักเรียน

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีระบบการคัดเลือกนักเรียน ที่ดำเนินการโดยบุคลากรของโรงเรียนเอง เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเป้าหมายของโรงเรียน ในอดีต การสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโรงเรียนทำควบคู่ไปกับการคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ พสวท. จนถึงรุ่นที่ 16 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษาพ.ศ. 2549 โดยมีการสอบแบ่งเป็น 2 รอบ โดยในรอบแรกเป็นข้อสอบประเภทข้อเขียน ซึ่งมีทั้งข้อสอบประเภทปรนัยและอัตนัย ส่วนในรอบที่สองนั้น จนถึงรุ่น 17 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษาพ.ศ. 2550 เป็นการสอบพร้อมกับการเข้าค่ายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยมีทั้งการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย และการฟังบรรยายแล้วสอบจากเรื่องที่บรรยาย รวมถึงมีการให้นักเรียนได้เข้าใช้ห้องปฏิบัติการของทั้งสาขาวิชาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ ทั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนหอพัก เพื่อช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงเป็นการวัดความสามารถในการเรียนรู้ ที่ไม่สามารถเตรียมมาล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม จากรุ่น 18 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษาพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป เนื่องจากได้ปรับเปลี่ยนระบบการคัดเลือกนักเรียน ให้สามารถใช้ร่วมกับการคัดเลือกนักเรียนเข้าโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง จึงมีการปรับใช้การอ่านบทความแทนการฟังบรรยาย และเปลี่ยนให้การเข้าร่วมค่ายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นไปตามความสมัครใจแทน

การคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ถือว่ามีความเข้มข้นสูงมาก โดยปกติแล้วตั้งแต่รุ่น 17 เป็นต้นมา มีนักเรียนมาสมัครเข้ารับการคัดเลือกประมาณ 20,000 คน สถิตินักเรียนสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์สำหรับรุ่นที่เข้าปีการศึกษาพ.ศ. 2555 มีจำนวน 19,993 คน[2]โดยโรงเรียนจะทำการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนเป็นจำนวน 240 คน โดยนักเรียนที่ได้คะแนนเท่ากันเป็นอันดับสุดท้าย ทางโรงเรียนจะรับเข้าศึกษาด้วย

อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บนพื้นที่ 25 ไร่ของมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ภายในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ยังมีศูนย์วิทยบริการที่ทันสมัยมาก ศูนย์กีฬามาตรฐาน 4 ชั้น และห้องฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์เสมือนจริง 3 มิติ ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวในประเทศไทยที่มีห้องฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์เสมือนจริง 3 มิติ[11]

ไฟล์:อาคารเรียน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.jpg
อาคารเรียน

ศูนย์วิทยบริการและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เป็นแหล่งวิทยาการที่มีสื่อความรู้หลากหลายรูปแบบครบถ้วนทุกสาขาวิชา จัดบริการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย จนถึงเวลา 22.00 น. ทุกวันในช่วงเปิดภาคเรียน ภายในมีให้บริหารหนังสือและคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้โรงเรียนได้เดินสายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงทุกอาคารภายในโรงเรียน มีจุดเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มากกว่า 400 จุด นอกจากนั้นยังได้ติดตั้งระบบสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (wireless) ทั่วบริเวณโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นักเรียนและครูอาจารย์สามารถใช้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนติดต่อสื่อสาร และสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีให้บริการในศูนย์วิทยบริการ ห้องเรียน และห้องทำงาน หรือสามารถเข้าถึงได้จากหอพัก ห้องอาหาร สนามกีฬา หรือที่อื่น ๆ ที่สัญญาณเครือข่ายกระจายไปถึง

ศูนย์วิทยบริการ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ห้องฉายภาพเสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ

จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ The Centre for Astrophysics & Supercomputing, Swinburne University of Technology, Australia เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนดาราศาสตร์ที่จะช่วยจุดประกายเด็กและเยาวชน ให้เกิดความรักและสนใจในดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ช่วยในการเสริมสร้างจินตนาการให้สนใจศึกษาและค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 3 มิตินี้โรงเรียนอนุญาตให้ชุมชนภายนอกสามารถเข้ามาใช้ได้ โดยต้องนัดหมายล่วงหน้า หรือใช้บริการในวัน MWIT Science Fair ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีความยาวตั้งแต่ 9-19 นาที

หอพักสำหรับนักเรียนและบุคลากร

เนื่องจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนประจำ จึงจำเป็นต้องมีหอพักไว้สำหรับนักเรียน โดยจะแยกเป็นหอพักชาย 9 ชั้น 1 แห่ง (หอ 9) และหอพักหญิง 2 แห่ง (หอ 7 และ หอ 8) นอกจากนั้นยังมีหอพักสำหรับครูและบุคลากรเพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมหลังจากเลิกเรียนได้ ในทุกวันหอพักนักเรียนจะเปิดตั้งแต่เวลา 05.00 ถึง 22.00 และจะทำการตัดไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าตั้งแต่เวลา 24.00 ยกเว้นเครื่องปรับอากาศ

ห้องปฏิบัติการ

โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การค้นคว้า ทดลอง และฝึกปฏิบัติต่าง ๆ อันได้แก่ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเขียนแบบ ห้องปฏิบัติการช่างกลโรงงาน ห้องปฏิบัติการเครื่องปั้นดินเผา และห้องปฏิบัติการทัศนศิลป์ เป็นต้น ในส่วนของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์นั้นได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา นักเรียนที่ต้องการใช้บริการสามารถขอใช้บริการทั้งในและนอกเวลาได้ที่อาจารย์ของแต่ละสาขาวิชา

ศูนย์กีฬาและสนามกีฬากลางแจ้ง

โรงเรียนมีสถานที่สำหรับเล่นกีฬาและออกกำลังกายหลากหลายประเภท ได้แก่ ฟุตบอล แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส สควอช บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เซปัคตะกร้อ ว่ายน้ำ ลีลาศ แอโรบิค ศิลปะการป้องกันตัว หรือฟิตเนส ศูนย์กีฬาและสนามกีฬากลางแจ้งเปิดให้บริการ ถึงเวลา 20.00 น. ทุกวัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา

กิจกรรมเสริมหลักสูตร

กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • กิจกรรมฝึกงานในศูนย์วิจัยในช่วงปิดภาคเรียน: ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกงานและเรียนรู้กับนักวิจัยในสถานที่จริง
  • กิจกรรม MWIT Science Fair: นิทรรศการทางวิทยาศาสตร์และเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ได้มีโอกาสนำเสนอโครงงานที่ตนเองทำต่อสาธารณชน
  • กิจกรรมคลินิกวิชาการ: จัดทุกวันจันทร์ถึงพฤหัสบดีที่ศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสซักถามอาจารย์นอกเวลาเรียน

กิจกรรมวิชาการอื่น ๆ

  • กิจกรรมค่ายวิชาการ: ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนโดยจัดบูรณาการระหว่างสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มีการทำโครงงานขนาดเล็กที่เรียกกันว่า Miniproject และพักอาศัยในค่ายพักแรมตามธรรมชาติ
  • กิจกรรมบรรยายพิเศษ: โรงเรียนได้เชิญบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านต่างๆมาบรรยายเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อเติมองค์ความรู้ใหม่ๆให้นักเรียนและให้ได้แนวคิดใหม่ๆในการทำโครงงานหรืองานวิจัยในอนาคต
  • กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่: ให้นักเรียนได้ศึกษาดูงานตามสถานที่และศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม

กิจกรรมทางนันทนาการและสังคม

  • กิจกรรม MWIT Sports Day: ทุกวันอังคาร โรงเรียนจะสนับสนุนให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย รวมทั้งยังมีการตรวจสุขภาพประจำปี การทดสอบสมรรถภาพ และโครงการ MWIT วัยใส ใส่ใจสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับทราบถึงสุขภาพของตนเองและพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
  • กิจกรรมค่ายบำเพ็ญประโยชน์: ส่งเสริมให้นักเรียนได้ช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดโอกาสเพื่อปลูกฝังจิตวิญญาณในการพัฒนาประเทศ
  • กิจกรรมค่ายปฏิบัติธรรม: ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในจิตใจของนักเรียน ให้นักเรียนได้ดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาและเป็นบุคลากรที่มีคุณธรรม นั่นคือนอกจากเก่งแล้วต้องดีด้วย
  • กิจกรรมค่าย Pre-MWIT: ค่ายสำหรับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์รอบแรก มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเข้าเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และให้นักเรียนได้มาพบประสบการณ์จริงในโรงเรียน
  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนกับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์และโรงเรียนเครือข่ายในต่างประเทศ: สร้างประสบการณ์ในการใช้ภาษาต่างประเทศและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเรียนรู้การใช้ชีวิตในต่างแดน

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน (ยุคองค์การมหาชน)

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)
ลำดับ รูป ผู้อำนวยการ ประสบการณ์บริหารทางด้านวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดดำรงตำแหน่ง
1. ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 19 ก.พ. 2544 16 มี.ค. 2552
2. ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 17 มี.ค. 2552 16 มี.ค. 2560
3. รศ.ดร.วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญากุล รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล และที่ปรึกษาสำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 17 มี.ค. 2560 30 พ.ย. 2561

รายชื่อสาขาวิชาและฝ่าย

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดระบบการบริหารโดยหลัก ๆ เป็น 2 ส่วนคือ บุคลากรกลุ่มครูสังกัดสาขาวิชา และบุคลากรกลุ่มปฏิบัติการสังกัดฝ่าย ดังต่อไปนี้[12]

สาขาวิชา

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • สาขาวิชาศิลปศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ

ฝ่าย

  • ฝ่ายวิชาการ
  • ฝ่ายวิทยบริการ
  • ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
  • ฝ่ายกิจการหอพัก
  • ฝ่ายอำนวยการ
  • ฝ่ายคลังและพัสดุ
  • ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ
  • โครงการบริการวิชาการ

เหตุการณ์สำคัญ

  • วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติธรรมของวัดไร่ขิง
  • วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังแรก บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • พ.ศ. 2538 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในสถานที่แห่งใหม่บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนกระทั่งปัจจุบัน
  • วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  • วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารหอพัก และทรงเปิดอาคารเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 3
  • วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศูนย์วิทยบริการ ห้องฉายภาพยนตร์เสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ และอาคารศูนย์กีฬา
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานทรงเปิดงานการจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติในประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Thailand International Science Fair) ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับฟังการบรรยาย และเสด็จทอดพระเนตรการเสนอโครงงานในรูปแบบโปสเตอร์ของนักเรียน พระองค์ได้ทรงซักถามนักเรียนทุกโครงงานด้วยความสนพระทัย ยังความปลื้มปีติให้แก่นักเรียน ครู ผู้จัดงาน และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาททั้งชาวไทยและต่างประเทศโดยถ้วนหน้า เป็นกำลังใจให้นักเรียน ครู และผู้จัดงาน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะรังสรรค์ผลงานของโรงเรียนให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
  • วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอประชุมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ห้องประชุมศาสตราจารย์ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ห้องประชุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ห้องประชุมดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ซึ่งห้องประชุมเหล่านี้ได้ตั้งชื่อตามผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนเพื่อเป็นต้นแบบให้นักเรียนในการแสดงออกถึงการตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ และทรงร่วมกิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง"การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์"
  • วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ในช่วงเวลาเช้ามืด ได้เกิดเหตุวางเพลิงอาคาร ๒ ของโรงเรียน ห้องสมุดชั้น 1-2 เสียหายทั้งหมด ในส่วนชั้น 3 และอาคารใกล้เคียงเสียหายบางส่วน [13] โรงเรียนได้ประกาศปิดการเรียนการสอนเป็นเวลา 7 วัน โดยมีกำหนดเปิดเรียนใหม่อีกครั้งในวันที่ 14 มิถุนายน[14]
  • วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553 นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เดินทางเข้าหอพักเพื่อเตรียมพร้อมเปิดเรียนในวันที่ 14 มิถุนายน ในค่ำวันนั้นนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ, หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม, ศ.ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เดินทางไปให้กำลังใจคณะครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อรักษามาตรฐานของโรงเรียนและร่วมมือกันปฏิบัติตามอุดมการณ์ที่โรงเรียนได้ปลูกฝังเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป ภายในเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงเรียนได้ปรับสภาพห้องต่างๆภายในโรงเรียนให้เป็นห้องเรียนชั่วคราว ปรับห้องประชุมดร.โกวิท วรพิพัฒน์ให้เป็นห้องสมุดชั่วคราว ได้รับบริจาคหนังสือและโต๊ะเรียนจากหลายองค์กร อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งได้สั่งซื้อหนังสือใหม่จากศูนย์หนังสือจุฬา ได้รับพระราชทานหนังสือหลักสูตรสอวน.และหนังสือวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ได้รับงบฉุกเฉินจากทางกระทรวงศึกษาธิการและได้รับเงินบริจาคจากสมาคมผู้ปกครองและศิษย์เก่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การดำเนินการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครูอาจารย์เจ้าหน้าที่ และศิษย์เก่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เพื่อให้โรงเรียนกลับมาอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
  • วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 หรือ The 7th International Student Science Fair 2011 (ISSF) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยโรงเรียนวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงานรวม 47 โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนจากต่างประเทศ 29 แห่ง ในประเทศ 18 แห่ง มีการนำเสนอโครงงานภาคโปสเตอร์ 158 โครงงาน ภาคบรรยาย 101 โครงงาน ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบไปด้วย กิจกรรม Science Show, Science Labs, Science and Mathematics Rally, Robotic Show, Astronomy night รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติของนักเรียนที่เข้าร่วมงานจากแต่ละประเทศ การศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเยี่ยมชมโบราณสถานซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมไทย [15]

ภาพ

อ้างอิง

  1. "ประวัติโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์".
  2. 2.0 2.1 "จำนวนผู้สมัครสอบคัดเลือกทั้งหมด เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา (จำแนกตามโรงเรียนที่ผู้สมัครเลือกสอบเข้าเรียน)". สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ abhisit
  4. เปิดผลประเมิน 35 องค์การมหาชน
  5. "About ISSF: History".
  6. "MWITS Partner Schools".
  7. "World Scholar's Cup Success". สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
  8. "Mahidol Wittayanusorn School Newsletter, July 2010" (PDF). สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
  9. หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  10. "SINOS". สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
  11. http://www.mwit.ac.th/~astronomy/ MWIT astronomy
  12. https://person.mwit.ac.th/02-Mandatory/M550718-AllocationResponsibilities&Duties(Parcel4).pdf
  13. ไฟไหม้หอสมุดรร.มหิดล วิทยานุสรณ์เผาวอด2ชั้น
  14. อึ้ง! จับแล้วเด็กม.5 เผาหอสมุด รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
  15. "The 7th International Student Science Fair 2011". สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น