ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธานินทร์ กรัยวิเชียร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 87: บรรทัด 87:
{{เริ่มกล่อง}}
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
{{สืบตำแหน่ง
| สี1 = #E9E9E9
| สี1 = #E9E9E9
| สี2 =
| สี2 =
| สี3 = #E9E9E9
| สี3 = #E9E9E9
| รูปภาพ = Seal Prime Minister of Thailand.png
| รูปภาพ = Seal Prime Minister of Thailand.png
| ตำแหน่ง = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย|ครม. 39]])
| ตำแหน่ง = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] ([[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย|ครม. 39]])
| จำนวนตำแหน่ง =
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]]
| ก่อนหน้า = [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]]
| ถัดไป = [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]]
| จำนวนถัดไป =
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[8 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]][[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2520]]
| ช่วงเวลา = 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
}}
}}
{{จบกล่อง}}
{{จบกล่อง}}
บรรทัด 106: บรรทัด 106:
{{รางวัลนราธิป}}
{{รางวัลนราธิป}}


{{เกิดปี|2470}}{{alive}}
{{อายุขัย|2470|}}
<!-- ผู้พิพากษา เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน -->
<!-- ผู้พิพากษา เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน -->



รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:55, 27 พฤษภาคม 2562

ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(0 ปี 49 วัน)
ก่อนหน้าเปรม ติณสูลานนท์
ถัดไปเปรม ติณสูลานนท์
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2520 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (38 ปี 356 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(1 ปี 12 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2470 (96 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
คู่สมรสคาเรน กรัยวิเชียร
ลายมือชื่อ

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร (5 เมษายน พ.ศ. 2470) อดีตองคมนตรี อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของไทย

ประวัติ

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของแหและผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม แอนเดอเซ่น) มีบุตร 5 คน ได้แก่

  • รูบีนา สุวรรณพงษ์
  • มหินทร์ กรัยวิเชียร
  • เขมทัต กรัยวิเชียร
  • นิติกร กรัยวิเชียร
  • ทันตแพทย์หญิงรีเบ้กก้า พิทซ์

การศึกษา

ธานินทร์ กรัยวิเชียร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ อังกฤษ

ประวัติการทำงาน

บทบาททางการเมือง

ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย[3] ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สาเหตุที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจาก ขณะที่ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทรงได้ให้คำแนะนำให้ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ปรึกษา นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร [4] ผู้พิพากษาศาลฎีกา ณ ขณะนั้น

ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือการต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์ จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง[5] ผู้สั่งปิดได้แก่ นาย สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์[6] จนอาจกล่าวได้ว่าเผด็จการพลเรือนนั้นบางทีมีการจำกัดสิทธิมากกว่าเผด็จการทหารเสียอีก

อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายธานินทร์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกนายธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี[8][9]

รางวัลและเกียรติยศ

ศาสตราจารย์(พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น ศาสตราจารย์(พิเศษ) นายกองใหญ่ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อ พ.ศ. 2520[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แม่แบบ:ป.จ.[11]

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/D/131/5.PDF
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายธานินทร์ กรัยวิเชียร) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 124ก ฉบับพิเศษ วันที่ 10 ตุลาคม 2519
  4. http://www.2519.net/newsite/2016/%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%b5-6-%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%b2/
  5. http://www.isranews.org/component/content/article/59-isranews/isranews-article/34227-ratdumnern_888.html
  6. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/536138
  7. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  8. แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว
  9. “ธานินทร์ กรัยวิเชียร” นั่งประธานองคมนตรี
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/D/012/594.PDF
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล)
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/B/001/T_0005.PDF
ก่อนหน้า ธานินทร์ กรัยวิเชียร ถัดไป
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีไทย (ครม. 39)
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์