ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1,367: บรรทัด 1,367:
|align=left colspan=7|ที่มา: [https://vote62.com Vote 62]
|align=left colspan=7|ที่มา: [https://vote62.com Vote 62]
|}
|}

=== การเลือกตั้งซ่อม ===
* 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562|เขต 8 เชียงใหม่]]


==ผลสืบเนื่อง==
==ผลสืบเนื่อง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:27, 26 พฤษภาคม 2562

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2557 (โมฆะ) 24 มีนาคม 2562

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน51,239,638
ผู้ใช้สิทธิ74.69% ลดลง
  First party Second party Third party
  ไฟล์:Prayut Chan-o-cha (cropped) 2016.jpg ไฟล์:Thanatorn cropped 2018.jpg
ผู้สมัคร คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (อิสระ) ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรค เพื่อไทย พลังประชารัฐ อนาคตใหม่
เลือกตั้งล่าสุด 265 ที่นั่ง; 48.41% ชนะเลือกตั้ง พรรคใหม่ พรรคใหม่
ที่นั่งที่ชนะ 136 115 80
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง129
คะแนนเสียง 7,868,465 8,433,137 6,265,950

  Fourth party Fifth party
 
ผู้สมัคร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อนุทิน ชาญวีรกูล
พรรค ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย
เลือกตั้งล่าสุด 159 ที่นั่ง; 35.15% 29 ที่นั่ง; 3.94%
ที่นั่งที่ชนะ 52 51
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง107 เพิ่มขึ้น24
คะแนนเสียง 3,947,726 3,732,883

แผนที่พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต (อย่างไม่เป็นทางการ)

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ยังไม่ประกาศ

ปฏิทินการจัดเลือกตั้ง
23 ม.ค.ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งฯ
24 ม.ค.กกต. ประกาศรายละเอียดการเลือกตั้ง
28 ม.ค. – 19 ก.พ.วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าและเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
4 – 8 ก.พ.วันรับสมัคร ส.ส. พร้อมแจ้งชื่อผู้สมัครนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง
15 ก.พ.กกต. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
4 – 16 มี.ค.วันลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
17 มี.ค.วันเลือกตั้งล่วงหน้า
24 มี.ค.วันเลือกตั้งทั่วไป
9 พ.ค.วันหมดเขตประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 28 กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสม โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คนมาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด 350 เขต เขตละคน และอีก 150 คนมาจากที่นั่งปรับระดับ (leveling seat) ผู้ที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้ หลายพรรคเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง กลับมาดำรงตำแหน่ง จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองออกเป็นสามฝ่ายหลัก คือ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ฝ่ายหนึ่งคัดค้าน และอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ประกาศตัวชัดเจน[1]

คืนวันเลือกตั้ง หลังการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้วเสร็จร้อยละ 93 พบว่าพรรคเพื่อไทยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตมากที่สุด วันที่ 25 มีนาคม 2562 มีการประกาศผลผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการทั้ง 350 เขต พรรคเพื่อไทยและพรรคพันธมิตรรวม 6 พรรคประกาศตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กกต. จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ต่อมา กกต. สั่งนับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง 2 หน่วย และจัดการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง 6 หน่วย มีกำหนดวันที่ 21 เมษายน วันที่ 7 พฤษภาคม กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง 349 เขต ยกเว้นเขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ ที่สั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 8 พฤษภาคม ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเปิดช่องให้ใช้สูตรคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้พรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งน้อยกว่า ส.ส. พึงมี กกต. รับรองชื่อ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 149 คน

เบื้องหลัง

รัฐประหารปี 2557 และรัฐบาลประยุทธ์

ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ในเดือนมีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะการเลือกตั้งไม่เกิดในวันเดียวกันทั่วประเทศ[2] หลังข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม[2]

ต่อมา เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังดำเนินการปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

การเลือกตั้งครั้งนี้จะจัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีทหารหนุนหลัง และจะนำไปสู่การสิ้นสุดลงของช่วงเวลาเผด็จการทหารที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย[3]

ไม่นานหลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์กล่าวว่าการเลือกตั้งน่าจะจัด "ภายในสิ้นปี 2558" ทว่า เมื่อสิ้นปี 2557 เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคนกล่าวต่อสาธารณะว่า จะไม่จัดการเลือกตั้งจนถึงประมาณกลางปี 2559[4] ในเดือนพฤษภาคม 2558 รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม กล่าวว่า บัดนี้จะจัดการเลือกตั้ง "ประมาณเดือนสิงหาคมหรือในเดือนกันยายน" 2559 หลังรัฐบาลประกาศเจตนาว่าจะจัดการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะจัดในช่วงต้นปี 2559[5] ในเดือนมิถุนายน 2558 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า เขาเต็มใจรั้งตำแหน่งอีกสองปีหาก "ประชาชนต้องการ" หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติผลักดันเพื่อจัดการลงคะแนนว่าการปฏิรูปของรัฐบาลควรเสร็จสิ้นก่อนจัดการเลือกตั้งหรือไม่ หมายความว่า การเลือกตั้งทั่วไปอาจไม่จัดจนกว่าต้นปี 2561 แต่ไม่กี่วันต่อมา เขาวางตัวห่างจากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติหลังเผชิญปฏิกิริยาสะท้อนสำหรับความเห็นของเขา[6] ทว่า การนี้เปิดประตูไว้ให้ "การสำเร็จการปฏิรูป" ภายใต้รัฐบาลใหม่ซึ่งจะเลื่อนการเลือกตั้งไปอีก หากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติสำเร็จ

ในเดือนตุลาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561 ทว่า การเลือกวันเลือกตั้งทำให้เกิดข่าวลือว่าเขาพยายามรั้งอำนาจหลังการเลือกตั้งครั้งถัดไปผ่านพรรคการเมืองที่กองทัพหนุนหลัง ในเดือนมกราคม 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเลื่อนการใช้บังคับกฎหมายการเลือกตั้งใหม่อีก 90 วัน ซึ่งยิ่งเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก ในเวลานั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การตัดสินใจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอาจเลื่อนการเลือกตั้งไปจนเดือนกุมภาพันธ์ 2562[7]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ตัวแทนกลุ่มการเมืองเข้าร่วมประชุมกับ กกต. เพื่อรับทราบข้อมูลในการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[8]

ภายหลังจากการประชุมหารือ 4 ฝ่ายประกอบไปด้วย ครม. กรธ. กกต. และพรรคการเมืองที่สโมสรทหารบกเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก โดยมีตัวเลือกได้แก่ 24 กุมภาพันธ์, 31 มีนาคม, 28 เมษายน หรือ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 วิษณุแจ้งกับพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุมว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดวันเลือกตั้ง[9]

ระบบเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงวิธีการออกเสียงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเดิมจะมีบัตรเลือกตั้งสองบัตร บัตรหนึ่งเลือกสมาชิกฯ แบบแบ่งเขต และอีกบัตรหนึ่งเลือกสมาชิกฯ แบบบัญชีรายชื่อ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะลดบัตรเลือกตั้งเหลือบัตรเดียว โดยเลือกทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ[10]

โดยรัฐธรรมนูญกำหนดระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System: MMA) โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 350 คน ซึ่งมาจากผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้น ๆ และมากกว่าคะแนนไม่ประสงค์ลงคะแนน ส่วนถ้าคะแนนเท่ากันให้จับสลากต่อหน้า กกต. ฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมาจากคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ได้รับทั้งประเทศหารด้วย 150 ได้เป็นจำนวน สส. ที่พึงมีของพรรคการเมืองนั้น ๆ แล้วนำจำนวนดังกล่าวมาเพิ่มให้ สส. เขตที่พรรคการเมืองดังกล่าวได้อยู่ก่อนแล้ว[11] ซึ่งการคำนวณ สส. แบบดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้น้อยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวจะครองเสียงข้างมากในสภาเกินกึ่งหนึ่ง พรรคเพื่อไทยใช้วิธีการตั้งพรรคพี่-พรรคน้อง ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กพยายามดึงตัว สส. และ "ผู้สมัครสอบตก" เข้าร่วมพรรค ด้านบีบีซีไทยคำนวณว่าหากใช้ระบบดังกล่าวไปคิดในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 พรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่งน้อยลง 61 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งน้อยลง 14 ที่นั่ง ส่วนพรรคภูมิใจไทยจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 16 ที่นั่ง และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 11 ที่นั่ง[12]

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน ซึ่งมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงต้องการคะแนนเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันตั้งแต่ 376 คนขึ้นไป ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวมีวาระ 5 ปี นักวิจารณ์กล่าวว่าวุฒิสภาชุดนี้ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปแม้พรรคที่นิยมประยุทธ์จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า ทั้งนี้ หากสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คนสนับสนุนประยุทธ์ ทำให้พรรคการเมืองที่นิยมประยุทธ์ต้องการอีกเพียง 126 ที่นั่งก็สามารถเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้[13] อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์ทำนายว่าพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองอื่นที่นิยมทหารอาจได้ที่นั่งรวมกันไม่ถึง 126 ที่นั่ง และจะต้องการการสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ 350 เขต ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่กำหนดไว้ 400 เขต[14] ในปี 2561 กกต. มีหน้าที่วาดเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนมีการประกาศ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเลื่อนการประกาศเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต. ยังได้รับยกเว้นจากกฎหมายเขตเลือกตั้งเดิม ทำให้ กกต. สามารถวาดเขตเลือกตั้งใหม่อย่างไรก็ได้ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยแสดงการคัดค้านรุนแรง[15] ซึ่งแย้งว่าการเลื่อนเวลาจะทำให้ กกต. วาดแผนที่ให้เอื้อต่อพรรคพลังประชารัฐ นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์เปรียบเทียบการณ์นี้ว่าเหมือนกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในสหรัฐ บางคนออกความเห็นว่า คสช. ชนะการเลือกตั้งแล้ว[16][13][17] วันที่ 29 พฤศจิกายน กกต. วาดเขตเลือกตั้งใหม่แล้วเสร็จและประกาศ[18] ซึ่งพรรคการเมืองหลายพรรคและองค์การควบคุมดูแลพบว่ามีการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบซึ่งพรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์หลายกรณี[19][20]

เขตเลือกตั้ง 350 เขต แบ่งจำนวนเขตเลือกตั้งตามจังหวัดดังต่อไปนี้ [21]

พื้นที่ จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร 30
นครราชสีมา 14
ขอนแก่น และอุบลราชธานี 10
เชียงใหม่ 9
ชลบุรี, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี 8
เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ 7
ชัยภูมิ, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี 6
กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, นครปฐม, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม และราชบุรี 5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง และสุพรรณบุรี 4
จันทบุรี, ชุมพร, ตรัง, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, ยโสธร, ยะลา, เลย, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย และหนองบัวลำภู 3
กระบี่, ชัยนาท, บึงกาฬ, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ 2
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สิงห์บุรี สมุทรสงคราม และอ่างทอง 1

พรรคการเมืองและชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพรวม

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ กกต. สรุปยอดผู้สมัคร ส.ส. พบมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตจำนวน 11,128 คน จากพรรคการเมือง 80 พรรค และแบบบัญชีรายชื่อ 2,718 คนจาก 72 พรรค รวม 13,846 คน เทียบกับผู้สมัครในปี 2554 จำนวน 3,832 คน[22]

ที่ผ่านมานับแต่ปี 2544 พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้ง (ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย) ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ครบทุกเขตทั่วประเทศ[23] ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร กติกาการเลือกตั้งใหม่ทำให้นักวิเคราะห์เห็นพ้องกันว่าจะเกิดพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ รศ. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำนายว่าพรรคที่จะได้ที่นั่งเกิน 25 ที่นั่งน่าจะมีไม่เกิน 5 พรรค[24]

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งออกประกาศ กกต. เรื่อง การแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยพรรคการเมืองที่เสนอรายชื่อ จำนวน 44 พรรคการเมือง รวม 68 รายชื่อ

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งกฎหมายเปิดให้บุคคลที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคการเมืองหลายพรรคเตรียมเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองต่าง ๆ ออกเป็นสามฝ่ายใหญ่ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังชล เป็นต้น ฝ่ายหนึ่งคัดค้านพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น และอีกฝ่ายหนึ่งที่มีจุดยืนไม่ชัดเจน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น[25] วันที่ 10 มีนาคม 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ[26]

ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมือง ชื่อ ประสบการณ์
พรรคกรีน พงศา ชูแนม อดีตหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ อำเภอพะโต๊ะ
พรรคกลาง ชุมพล ครุฑแก้ว อดีตหัวหน้าห้องปฏิบัติการพัฒนามาตรฐานและการทดสอบ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
พรรคกสิกรไทย ทรรศชล พงษ์ภควัต ผู้จัดการ บริษัท WAY Nature & Herb จำกัด
พรรคคนงานไทย ธีระ เจียบุญหยก ประธานสภาพลเมืองปัตตานี
พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย ธนพร ศรียากูล อดีตนายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ปรีดา บุญเพลิง อดีตเลขาธิการคุรุสภา
พรรคคลองไทย สายัณห์ อินทรภักดิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
พรรคความหวังใหม่ ชิงชัย มงคลธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคชาติไทยพัฒนา กัญจนา ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคชาติพัฒนา สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เทวัญ ลิปตพัลลภ อดีต ส.ส.
พรรคชาติพันธุ์ไทย พันตำรวจเอก โกวิทย์ จิรชนานนท์ กรรมการโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
พลศุภรักษ์ ศิริจันทรานนท์ นายกเทศมนตรีตำบลเวียงยอง
ภราดล พรอำนวย
พรรคฐานรากไทย บวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน
ว่าที่ร้อยตรี ญาณวุฒิ พรหมเดชากุล ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน
พรรคทางเลือกใหม่ ราเชน ตระกูลเวียง แกนนำกปปส. จังหวัดนนทบุรี
พรรคไทยธรรม อโณทัย ดวงดารา
ภูษิต ภูปภัสศิริ อาจารย์พิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นายแพทย์ กิติกร วิชัยเรืองธรรม
พรรคไทยศรีวิไลย์ มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ
ณัชพล สุพัฒนะ กรรมการบริษัท บริษัท พิตบูล จำกัด
ภคอร จันทรคณา กรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ
พรรคประชากรไทย สุมิตร สุนทรเวช อดีต ส.ส.
คณิศร สมมะลวน อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาชาติ วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการ ศอ.บต.
ณหทัย ทิวไผ่งาม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธรรมไทย พิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวุฑ ตรึกตรอง อดีตผู้บริหารสถาบันรัชต์ภาคย์
พรรคประชาธิปไตยใหม่ สุรทิน พิจารณ์ อดีตหัวหน้าพรรครักษ์แผ่นดินไทย
พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
พรรคประชานิยม พันตำรวจเอก รวมนคร ทับทิมธงไชย ซีอีโอ บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด
พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ ผู้บัญชาการ สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ปฐมฤกษ์ มณีเนตร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เขต 1
พรรคประชาภิวัฒน์ สมเกียรติ ศรลัมพ์ อดีต ส.ว.
นันทนา สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.
ศาสตราจารย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พรรคแผ่นดินธรรม ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ ศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์และคณะกรรมการรณรงค์พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
พรรคพลเมืองไทย เอกพร รักความสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
พรรคพลังชาติไทย พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พรรคพลังท้องถิ่นไท ชัชวาลย์ คงอุดม อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์ โกวิทย์ พวงงาม กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พรรคพลังไทยดี สาธุ อนุโมทามิ
พรรคพลังไทยรักไทย พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล
พรรคพลังประชาธิปไตย พูนพิพัฒน์ นิลรังษี นักธุรกิจเจ้าของโรงงาน
พรรคพลังประชารัฐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
พรรคพลังสังคม วิฑูรย์ ชลายนนาวิน อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้
พรรคพัฒนาประเทศไทย กัปตัน ศิลปิน หาญผดุงธรรมะ กัปตันเครื่องบินแบบ B747-400 การบินไทย
พรรคเพื่อคนไทย วิทยา อินาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมกาเคม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
พรรคเพื่อชีวิตใหม่ กฤติวัฒน์ กลางชัย นายกสมาคมสมาพันธ์ข่าวอาสาแห่งประเทศไทย
พรรคเพื่อไทย คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พรรคเพื่อธรรม นลินี ทวีสิน อดีตผู้แทนการค้าไทย
พรรคภราดรภาพ หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล อดีต ส.ส.
พรรคภาคีเครือข่ายไทย กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ นายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์พลังเครือข่ายประชาชน
พรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พรรคมหาชน อภิรัต ศิรินาวิน อดีต ส.ส.
พาลินี งามพริ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัทผลิตชุดกีฬา คูลสปอร์ต​
สุปกิจ คชเสนี เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา
พรรคเศรษฐกิจใหม่ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
พรรคสยามพัฒนา เอนก พันธุรัตน์ อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนครราชสีมา
พรรคเสรีรวมไทย พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีต ผบ.ตร.
พรรคอนาคตใหม่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท

กรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้ดำเนินรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ช่องนาว 26 กล่าวว่า "8 กุมภา จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองระดับแผ่นดินไหว" และอีกตอนหนึ่งว่า "เปิด[ชื่อ]ออกมาเมื่อไร แผ่นดินไหวทางการเมืองทันที... ไม่ใช่คนตระกูลชินวัตร หรือวงศ์สวัสดิ์ จะเป็นชื่อที่อึกทึกครึกโครมทั้งแผ่นดิน"[27] ด้านหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลงข่าวพาดหัวว่า "ประยุทธ์ยอมรับ เผื่อใจแล้ว! ไม่ได้เป็นนายกฯ"[28]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พรรคไทยรักษาชาติยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงชื่อเดียว ด้านปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติให้สัมภาษณ์ว่า "พระองค์ท่านเองทรงมีพระเมตตาตอบรับและให้พรรคไทยรักษาชาติเสนอพระนามในบัญชีนายกฯ ของพรรค"[29][30] วันเดียวกัน ไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. ขอให้พิจารณาการเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ว่าเข้าข่ายขัดระเบียบ กกต. เรื่องลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง[31][32]

ต่อมา เมื่อเวลา 22.40 น. โดยประมาณ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยประกาศพระราชโองการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง[33]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 กกต. ประกาศรับรองบัญชีรายชื่อทั้ง 45 พรรค 69 รายชื่อ โดยไม่ปรากฏชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เพราะยังถือว่าเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ต้องอยู่เหนือการเมือง นอกจากนี้ กกต. จะหารือต่อไปว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายต้องยุบพรรคหรือไม่[34]

เหตุการณ์ก่อนเลือกตั้ง

คดีความและการยื่นยุบพรรคการเมือง

หลังพรรคไทยรักษาชาติยื่นเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเป็นนายกรัฐมนตรี และมีพระราชโองการซึ่งมีใจความสำคัญว่าห้ามพระบรมวงศานุวงศ์เกี่ยวข้องกับการเมืองเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 กรรมการการเลือกตั้งมีมติยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติเนื่องจาก "กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณายุบพรรคไทยรักษาชาติ[35] และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักษาชาติ พร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี[36] ส่วนผู้ที่ลงคะแนนเลือกพรรคไทยรักษาชาติไปแล้วถือว่าเป็นบัตรเสียทั้งหมด

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ ยื่นคำร้องต่อกรรมการการเลือกตั้งให้ไต่สวนยุบพรรคพลังประชารัฐ และคัดค้านการเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้าม[37] ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปัตย์ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ[38] วันที่ 12 มีนาคม 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค[39] ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจากประเทศไอซ์แลนด์ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ[40] วันที่ 14 มีนาคม 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง[41]

วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กวิจารณ์การดูดผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาเขาถูกฟ้องว่านำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ล่าสุดอัยการสั่งเลื่อนคำสั่งคดีเป็นวันที่ 26 มีนาคมซึ่งเป็นวันหลังเลือกตั้ง[42] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ทีมงานประชาชนและปกป้องรัฐธรรมนูญยื่นหนังสือถึงกรรมการการเลือกตั้งให้พิจารณาส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากมีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยยกว่ามีความพยายามเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และคำประกาศที่ว่าจะสานต่อภารกิจของคณะราษฎร[43] วันที่ 14 มีนาคม กกต. ยกคำร้องกรณีประวัติลงประวัติธนาธรผิดว่าเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[44] วันที่ 15 มีนาคม พรรคอนาคตใหม่ถูกยื่นยุบพรรคหลังมีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติหาเสียงให้ โดยถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายถูกผู้อื่นครอบงำพรรค[45]

การอภิปรายทางโทรทัศน์

วันที่ 1 มีนาคม 2562 อรวรรณ ชูดี (กริ่มวิรัตน์กุล) พิธีกรทางช่องเอ็มคอตเอชดี โพสต์ทางเฟซบุ๊กว่า ได้รับคำสั่งจากผู้บริหารให้ยุติการดำเนินพิธีกรรายการ ทั้งนี้ เธอเป็นพิธีกรรายการ "ศึกเลือกตั้ง 62" เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอภิปรายเป็นเยาวชนที่ตอบคำถาม 4 ข้อ เช่น "เห็นด้วยหรือไม่ ที่รธน.60 ในบทเฉพาะกาล 5 ปีแรกให้ ส.ว. 250 คนร่วมโหวตเลือกนายกฯ" กรรมการบริหาร อสมท ปฏิเสธว่าไม่ได้ปลด ด้านสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยออกแถลงการณ์ว่าคำสั่งนี้เป็นการแทรกแซงเสรีภาพสื่อ และคุกคามสื่อมวลชน[46]

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

วันที่ 9 มีนาคม 2562 มีการโพสต์ทางสื่อสังคมว่า มีคนไทยในประเทศจีนกว่า 500 คนไม่ได้บัตรเลือกตั้งในการเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร[47] วันเดียวกัน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมาเลเซียกว่า 4,000 คน ต้องรอใช้สิทธินาน 3–4 ชั่วโมง จนต้องเปิดให้เลือกตั้งเพิ่มในวันที่ 10 มีนาคม[48] ด้านพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โพสต์แสดงความผิดพลาดในการพิมพ์เอกสารของ กกต. ซึ่งชื่อผู้สมัครกับพรรคการเมืองอยู่แยกกันคนละหน้า[49]

การอนุมัติงบประมาณช่วงก่อนเลือกตั้ง

วันที่ 20 มีนาคม 2562 คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 37,900 ล้านบาทเข้ากองทุนประชารัฐ และกระทรวงการคลังจ่ายเงินค่าป่วยการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1 ล้านคน เป็นเงิน 1.8 พันล้านบาท และจ่ายเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา วงเงิน 2,922 ล้านบาท รวมตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2561 เป็นต้นมา รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดกว่า 80,000 ล้านบาท[50]

ประกาศสำนักพระราชวัง

คืนวันที่ 23 มีนาคม 2562 มีการเผยแพร่ประกาศสำนักพระราชวัง ความโดยสรุปว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบรมราชชนกที่ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้[51] แฮชแท็ก "โตแล้วเลือกเองได้" ติดกระแสอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ในคืนนั้นเอง[52] มีการแพร่สัญญาณประกาศดังกล่าวอีกครั้งก่อนเริ่มเวลาเลือกตั้งเล็กน้อย และประธานกรรมการการเลือกตั้งให้สัมภาษณ์สื่อกระตุ้นให้คนไทยเลือกโดยคำนึงถึงประกาศสำนักพระราชวังด้วย[53]

การรณรงค์เลือกตั้ง

พรรคเพื่อไทยชูแนวนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมธุรกิจเอกชน กระตุ้นการท่องเที่ยว ขยายสาธารณสุขภาครัฐ เลิกการเกณฑ์ทหาร และลดรายจ่ายกลาโหม[54] การเสนอตัดงบประมาณกลาโหมดังกล่าวทำให้พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก แนะให้ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยไปฟังเพลง "หนักแผ่นดิน" และสั่งให้กองทัพบกเปิดเพลงดังกล่าวทางสถานีวิทยุกองทัพบก แม้ต่อมาจะมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว[55] พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ[54] พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายนิยมตลาดเสรี นิยมเจ้า ประกันราคาพืชผลเกษตร บริการฉุกเฉินโรงพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายและประกันรายได้ขั้นต่ำภาครัฐ[54] พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีนโยบายเสรีนิยมที่เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสิทธิกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ลดรายจ่ายกลาโหมนำมาขยายสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข[54] พรรครวมพลังประชาชาติไทยเน้นการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการเทิดทูนพระมหากษัตริย์[54] พรรคประชาชนปฏิรูป "น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ"[54] พรรคภูมิใจไทยมีนโยบายกัญชาถูกกฎหมาย เวลาทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ การตั้งสถานที่ทำงานร่วมกัน (co-working space)[54] พรรคชาติพัฒนามีนโยบายสร้างสนามกีฬา แหล่งพลังงานทางเลือก กำจัดหมอกควันและช่วยเหลือผู้พิการ[54] พรรคชาติไทยพัฒนามีนโยบายกระจายอำนาจ และการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการศึกษา[54] พรรคเพื่อชาติมีนโยบายปรับปรุงสาธารณสุขต่างจังหวัด การขนส่งในเมือง และลดภาษีการขนส่งการเกษตร[54] พรรคประชาชาติมีแนวนโยบายการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา การหาทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ และปราบปรามยาเสพติด[54] พรรคเสรีรวมไทยมีนโยบายลดขนาดกองทัพและย้ายหน่วยงานทหารออกนอกกรุงเทพมหานคร ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจต่างจังหวัด[54] พรรคพลังท้องถิ่นไทมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด พัฒนาการศึกษาด้านภาษาและการเพิ่มราคายางพารา[54]

หลังพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบในเดือนมีนาคม 2562 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักษาชาติหลายคนกลับไปเข้ากับพรรคเพื่อไทย รวมทั้งมีความพยายามถ่ายคะแนนไปยังพรรคเสรีรวมไทยและพรรคประชาชาติ[56] อดีตสมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติไปเข้ากับพรรคเพื่อชาติ มีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คนไปเข้ากับพรรคภูมิใจไทย[56] และยังมียุทธวิธีการรณรงค์ไม่ประสงค์ลงคะแนน แต่กรรมการการเลือกตั้งมองว่าเป็นลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพราะ "มีวัตถุประสงค์ให้มีคะแนนโหวตโนมากกว่าคะแนนผู้สมัคร ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง"[56] อย่างไรก็ตาม พรรคอนาคตใหม่ไม่ใช่เป้าหมายเทคะแนนของอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ[56] แม้มีข่าวฐิติมา ฉายแสง อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง เชิญชวนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตนเลือกผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่แทน[57] ด้านธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจปฏิเสธว่าโทรศัพท์คุยกับอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติเพื่อขอคะแนนเสียง[58]

ในเดือนมีนาคม 2562 พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทผ่านนโยบาบประกันราบได้ ส่วนพรรคพลังประชารัฐเสนอเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน[59]

ผลสำรวจ

ผลสำรวจพรรคการเมืองที่ต้องการ

ระยะเวลาการสำรวจ องค์การที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ อนาคตใหม่ อื่น ๆ คะแนนนำ
4–6 มีนาคม 2562 กรุงเทพโพลล์ 1,735 21.7% 15.5% 19% 12% 0.9% 8.9%
1–28 กุมภาพันธ์ 2562 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1,431 19% 24% 12% 27% 18% 3%
15 กุมภาพันธ์ 2562 FT Confidential Research[60] 1,000 24% 14% 9% 11% 42% 10%
11 กุมภาพันธ์ 2562 มหาวิทยาลัยรังสิต[61] 8,000 16.90% 18.30% 21.50% 7.40% 35.9% 3.20%
4–7 กุมภาพันธ์ 2562 นิด้า 2,091 36.49% 15.21% 22.57% 8.18% 17.55% 13.92%
2–15 มกราคม 2562 นิด้า 2,500 32.72% 14.92% 24.16% 11.00% 17.20% 8.56%
24 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[62] 8,000 25.38% 22.62% 26.03% 9.80% 16.17% 0.65%
10–22 ธันวาคม 2562 ซุปเปอรฺ์โพล / YouGov[63] 1,094 38.30% 22.80% 4.70% 24.40% 9.80% 13.90%
24 พฤศจิกายน 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[64] 8,000 23.64% 19.01% 26.61% 8.84% 21.90% 2.97%
20–22 พฤศจิกายน 2561 นิด้า 1,260 31.75% 16.98% 19.92% 15.63% 15.72% 11.83%
17–18 กันยายน 2561 นิด้า 1,251 28.78% 19.58% 20.62% 15.51% 15.51% 8.16%
17–19 กรกฎาคม 2561 นิด้า 1,257 31.19% 16.47% 21.88% 9.63% 20.83% 9.31%
8–9 พฤษภาคม 2561 นิด้า 1,250 32.16% 19.20% 25.12% 11.60% 11.92% 7.04%
3 กรกฎาคม 2554 การเลือกตั้ง 2554 32,525,504 48.41% 35.15% - - 16.44% 13.26%

หมายเหตุ: ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยรังสิตถูกกล่าวหาว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเนื่องจากเชื่อว่ามีความลำเอียงต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพลังประชารัฐ สังศิต พิริยะรังสรรค์ หัวหน้าผู้จัดทำการสำรวจ เป็นผู้สนับสนุนประยุทธ์อย่างเปิดเผย และผู้กังขากล่าวหาว่ามีการตกแต่งจำนวนผู้ตอบผลสำรวจของประยุทธ์และพรรคพลังประชารัฐให้มากขึ้น[65]

ต่อมา มีการประกาศว่าจะยุติการสำรวจโดยใช้ชื่อมหาวิทยาลัยเป็นผู้สำรวจเพื่อไม่ให้ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเสียหาย[66] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์สังศิตและมหาวิทยาลัยรังสิตยังออกผลสำรวจมาอีกครั้งหนึ่ง[61]

ผลสำรวจบุคคลเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องการ

ตามหลักปฏิบัติทั่วไป ผู้ที่จะเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นหัวหน้าของพรรคนั้น อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ หลายภาคส่วนได้สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ[67] พลเอกประยุทธ์ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ แต่คณะรัฐมนตรีหรือที่ปรึกษาของพลเอกประยุทธ์ ได้เป็นหนึ่งในผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐ อย่างไรก็ดี พรรคพลังประชารัฐได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นเพียงแค่เครื่องมือของพลเอกประยุทธ์เพื่อจะกลับมาดำรงตำแหน่งต่อในระบอบประชาธิปไตย[68]

ระยะเวลาการสำรวจ องค์การที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ประยุทธ์ สุดารัตน์ อภิสิทธิ์ ธนาธร อื่น ๆ คะแนนนำ
1-28 กุมภาพันธ์ 2562 ม.อ. โพล 1,431 10.30% 8.00% 12.00% 16.10% 53.60% 37.50%
4-7 กุมภาพันธ์ 2562 นิด้า 2,091 26.06% 24.01% 11.43% 5.98% 32.52% 6.46%
2-15 มกราคม 2562 นิด้า 2,500 26.20% 22.40% 11.56% 9.60% 30.24% 4.04%
24 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[62] 8,000 26.04% 25.28% 22.68% 9.90% 16.10% 0.76%
24 พฤศจิกายน 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[64] 8,000 27.06% 18.16% 15.55% 9.68% 29.55% 2.49%
20-22 พฤศจิกายน 2561 นิด้า 1,260 24.05% 25.16% 11.67% 14.52% 24.60% 1.11%
17-18 กันยายน 2561 นิด้า 1,251 29.66% 17.51% 10.71% 13.83% 28.29% 1.37%
17-19 มิถุนายน 2561 นิด้า 1,257 31.26% 14.96% 10.50% 7.48% 35.80% 4.54%
8-9 พฤษภาคม 2561 นิด้า 1,250 32.24% 17.44% 14.24% 10.08% 18.08% 14.80%

การเลือกตั้ง

หน่วยเลือกตั้งบนเกาะสมุย

การเลือกตั้งล่วงหน้า

กกต. เปิดเผยว่ามีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต 2.63 ล้านคน และเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร 119,000 คน[69] มีผู้ออกมาใช้สิทธิในวันที่ 17 มีนาคม 2562 คิดเป็นร้อยละ 86.98 พบการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย 3 กรณี คือ 1. พบบุคคลนำบัตรเลือกตั้งทั้งเล่มไปทำเครื่องหมายให้ผู้สมัครพรรคการเมืองพรรคเดียวในจังหวัดสมุทรปราการ 2. มีการนำบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นไปใช้สิทธิแทนในจังหวัดอุทัยธานี และ 3. มีการทำเอกสารปลอมแจ้งว่า กกต. ไม่รับรองผู้สมัครคนหนึ่งที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีบางกรณีที่ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าไม่พบข้อมูลที่หน่วยเลือกตั้ง จนเมื่อตรวจสอบแล้วจึงให้ใช้สิทธิ[70] ด้านผู้ใช้สื่อสังคมแสดงความคิดเห็นว่ามีหลายกรณีที่แจกบัตรเลือกตั้งผิดเขตแล้วกรรมการไม่ยอมเปลี่ยนบัตรให้ ไม่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือทำให้เกรงว่าอาจมีการสับเปลี่ยนบัตรเลือกตั้ง[71]

การเลือกตั้งทั่วไป

มีผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งต่างประเทศ 11 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ 1 องค์การ[72] ด้านสหภาพยุโรปชี้แจงว่าไม่สามารถส่งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งได้เพราะไม่ได้รับเชิญจากประเทศเจ้าภาพตามกำหนดทำให้ไม่มีเวลาเตรียมการ[73]

มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) องค์การสังเกตการณ์การเลือกตั้งวิจารณ์กรรมการการเลือกตั้งว่าจัดการเลือกตั้งมีปัญหา เจ้าหน้าที่ประจำเขตเลือกตั้งหย่อนยานการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ปล่อยให้มีเจ้าหน้าที่รัฐไปควบคุมการลงคะแนนของผู้มาใช้สิทธิ และไม่ป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังวิจารณ์การใช้อิทธิพลของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ การทุ่มเงินซื้อเสียงทั้งในช่วงการปราศรัยหาเสียงและในช่วงคืนก่อนใกล้เลือกตั้งในหลายพื้นที่[74] มีบัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากประเทศนิวซีแลนด์ส่งมาไม่ทันหย่อนลงบัตรเลือกตั้งเวลา 17.00 น. จำนวน 1,500 บัตร ด้านเลขาธิการ กกต. แถลงว่า จะมีสอบสวนว่าบัตรเหล่านี้จะกลายเป็นบัตรเสียหรือไม่ รวมทั้งถามหาผู้รับผิดชอบ[75] ต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าบัตรดังกล่าวล้วนเป็นบัตรเสีย โดยอ้างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 114 ("กรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า [...] การออกเสียงคะแนนนอกราชอาณาจักรที่ใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม...")[76]

ทักษิณ ชินวัตรเขียนลงหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์วิจารณ์กรรมการการเลือกตั้งที่เปิดเผยผลการเลือกตั้งเบื้องต้นอย่างเป็นทางการล่าช้า ซึ่งแสดงว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกลัว ทักษิณชี้ว่าในบางพื้นที่มีคะแนนที่ผู้สมัครได้รับเกินผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งที่ กกต. กลางออกไม่ตรงกับคะแนนที่สถานีเลือกตั้ง มีรายงานว่าบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนเสียงไม่ถูกต้องแต่เลือกพรรคพลังประชารัฐกลับถูกนับเป็นบัตรดี และมีบัตรเลือกตั้งถูกนับเป็นบัตรเสียมากจนน่ากังขา[77]

ผลการเลือกตั้ง

คืนวันเลือกตั้ง หลังการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการแล้วเสร็จไปร้อยละ 93 พบว่าพรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด (7.59 ล้านคะแนน) รองลงมาสี่อันดับได้แก่ พรรคเพื่อไทย (7.12 ล้านคะแนน) พรรคอนาคตใหม่ (5.23 ล้านคะแนน) พรรคประชาธิปัตย์ (3.23 ล้านคะแนน) และพรรคภูมิใจไทย (3.20 ล้านคะแนน) พรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีจำนวนไล่เลี่ยกัน แต่พรรคเพื่อไทยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตมากกว่า[78] กรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยว่า มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 65.96 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด 51.2 ล้านคน เป็นบัตรเสียร้อยละ 5.6 และไม่ประสงค์ลงคะแนนร้อยละ 1.5[79] อย่างไรก็ดี กรรมการการเลือกตั้งกลับตัดสินใจเลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้งในคืนวันเลือกตั้งโดยอ้างว่า "ไม่มีเครื่องคิดเลข"[80] การเลื่อนการประกาศผลทำให้มีความกังวลว่าอาจมีการโกงการเลือกตั้ง[81] วันรุ่งขึ้น กรรมการการเลือกตั้งประกาศผู้ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการทั้ง 350 เขต[82] กรรมการการเลือกตั้งกล่าวโทษสื่อต่าง ๆ ว่ามีข้อผิดพลาดของมนุษย์ทำให้ตัวเลขที่ได้ไม่ตรงกัน[83] และให้ประชาชนรอคะแนนของทั้ง 350 เขตในภายหลัง ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 29 มีนาคม 2562[84] ทั้งนี้ กกต. จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 เพราะต้องไต่สวนสำนวนที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งก่อน[83] มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 186 เรื่อง[85] ผลการเลือกตั้งปัจจุบันทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่นั่งส่วนเกิน (overhang) ซึ่งพรรคเพื่อไทยชนะได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมากกว่า ส.ส. พึงมี ทำให้เหลือที่นั่งสำหรับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 150 ที่นั่ง ในกรณีนี้เคยมีการอภิปรายแล้วว่าจะ "ต้องปรับสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อให้เท่ากับ 150 คน ด้วยการใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์"[86] มีการเปิดเผยว่าสูตรการคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแบ่งได้ 3 สูตร ซึ่งอาจทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีที่นั่งเปลี่ยนแปลงถึง 7 ที่นั่ง[87]

วันที่ 4 เมษายน กกต. สั่งนับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้ง 2 หน่วย และจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 6 หน่วยมีกำหนดในวันที่ 21 เมษายน 2562 กกต. แถลงว่าให้นับคะแนนใหม่เพราะผลการนับคะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิและจำนวนบัตรเลือกตั้ง ส่วนหน่วยที่มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่นั้นเนื่องจากผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้ง[88] โดยหน่วยเลือกตั้งที่มีคำสั่งให้นับคะแนนใหม่ ได้แก่ หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ[88] ส่วนหน่วยเลือกตั้งที่มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ มีจำนวน 6 หน่วย โดยเป็นหน่วยที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ 4 หน่วย และหน่วยที่ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐชนะ 2 หน่วย[88]

วันที่ 5 เมษายน 2562 กกต. เปิดเผยสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจากการมีที่นั่งเกินทำให้มีการจัดสรรที่นั่งให้แก่พรรคการเมืองขนาดเล็กเพิ่มรวม 25 พรรค ทั้งนี้ กกต. แถลงว่าจำนวนดังกล่าวยึดตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันที่ 28 มีนาคม[89] วันที่ 11 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความการใช้สูตรเพื่อจัดสรร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้แก่พรรคการเมืองที่มี ส.ส. พึงมีน้อยกว่า 1 คนชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่[90] ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับเรื่องดังกล่าวเพราะ กกต. ไม่มีอำนาจ[91] วันที่ 26 เมษายน 2562 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย[92]

วันที่ 21 เมษายน 2562 มีการเลือกตั้งซ่อมใน 254 หน่วยเลือกตั้งหลังพบว่ามี "บัตรเขย่ง" อย่างไรก็ตาม ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ยกเว้นในจังหวัดนครปฐม โดยจะมีการประกาศผลนับคะแนนใหม่ในวันที่ 28 เมษายน[93]

วันที่ 23 เมษายน 2562 กกต. มีมติเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เพราะ "สัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด" และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ โดยพรรคเพื่อไทยจะเสียคะแนนเดิมในเขตนี้[93] วันเดียวกัน กกต. มีมติแจ้งข้อหาต่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจกรณีถือครองหุ้นในบริษัทสื่อเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง[93]

วันที่ 29 เมษายน 2562 ในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 1 นครปฐม พบว่า กกต. จังหวัดกับเลขา กกต. รายงานผลไม่ตรงกัน โดย กกต. จังหวัดรายงานว่าผู้สมัครพรรรคอนาคตใหม่ชนะ ส่วนเลขา กกต. รายงานว่าผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ชนะ[94]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง 349 เขต ยกเว้นเขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะ โดย กกต. สั่งตัดสิทธิผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ทว่า กกต. ยังไม่ประกาศคะแนนมหาชนของแต่ละพรรคการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงตามผู้สมัครเขตต่าง ๆ ที่ถูกตัดสิทธิ[95] วันต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยด้วยมติเอกฉันท์ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 91[96] และ กกต. ประกาศรับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 149 คน ซึ่งรวมพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งมากกว่า ส.ส. พึงมีรวม 7 พรรคด้วย[97]

บทวิเคราะห์

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของสหราชอาณาจักรรายงานว่า พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมเกินคาด และการเมืองไทยน่าจะแบ่งขั้วรุนแรงยิ่งกว่าเก่า ด้านแชนแนลนิวส์เอเชียและหนังสือพิมพ์เดอะสเตรตส์ไทมส์ของสิงคโปร์ระบุว่าแม้พรรคพลังประชารัฐได้จัดตั้งรัฐบาล แต่ก็จะเป็นรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพและไม่สามารถผ่านกฎหมายได้[98] สื่อวิเคราะห์สาเหตุที่พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมไปต่าง ๆ นานา สำนักข่าวรอยเตอส์รายงานว่า น่าจะมีอิทธิพลของสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องด้วยไม่มากก็น้อย ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานว่า ทักษิณ ชินวัตรใช้ความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากเกินไปทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง สำนักข่าวเดอะการ์เดียนมองว่า คนไทยอาจต้องการเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมมากกว่าสนใจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ[98] คาร์โล โบนูรา อาจารย์จากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา ระบุว่า "ฝ่ายผู้นำทหารสามารถดึงตัวนักการเมืองที่มีประสบการณ์มาร่วมพรรคที่สนับสนุนทหารได้ และการเลือกตั้งในไทยมีการยึดต่อตัวบุคคลสูงมาก"[99] นอกจากนี้ พรรคอนาคตใหม่ที่ได้คะแนนมากเป็นอันดับสามจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยในการเมืองไทย[98] ทีมข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มองว่าในสภาวะที่ "ฝ่ายพรรคการเมือง" และ "ฝ่ายรัฐประหาร" ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ได้ รัฐบาลประยุทธ์จะได้เป็นรัฐบาลต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งในสภาวะทางตันเช่นนี้ อาจต้องอาศัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 5)[100] เควิน เฮวีสัน ศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ระบุว่า กกต. อาจตัดสิทธิผู้ชนะการเลือกตั้งบางคนจนถึงขั้นยุบพรรคการเมืองบางพรรค ซึ่งอาจทำให้เกิดการประท้วงตามท้องถนนอีก หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจมีรัฐประหารอีกครั้ง[101]

เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการชาวอเมริกัน ระบุว่า ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการเลือกตั้งที่เป็นผลดีต่อทหาร[102] ด้าน รศ. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ กล่าวว่า "นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง มันคือการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยภายใต้การดูแลทหาร"[102] นักวิเคราะห์ยังมองว่า ประเด็นเรื่องทักษิณ ชินวัตรจะมีความสำคัญน้อยลงในการเมืองไทย แต่จะเปลี่ยนไปเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการมากขึ้น[101]

สรุป (ผลอย่างไม่เป็นทางการ)

116
53
51
63
81
136
พลังประชารัฐ
ประชาธิปัตย์
ภูมิใจไทย
อื่น ๆ
อนาคตใหม่
เพื่อไทย
e • d  ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562
พรรค
คะแนนเสียง
%
ที่นั่ง
แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
รวม
เพื่อไทย 7,881,006 22.16
136 0
136 / 500
พลังประชารัฐ 8,441,274 23.74
97 19
116 / 500
อนาคตใหม่ 6,330,617 17.80
31 50
81 / 500
ประชาธิปัตย์ 3,959,358 11.13
33 20
53 / 500
ภูมิใจไทย 3,734,459 10.50
39 12
51 / 500
เสรีรวมไทย 824,284 2.32
0 10
10 / 500
ชาติไทยพัฒนา 783,689 2.20
6 4
10 / 500
ประชาชาติ 481,490 1.35
6 1
7 / 500
เศรษฐกิจใหม่ 486,273 1.37
0 6
6 / 500
เพื่อชาติ 421,412 1.19
0 5
5 / 500
รวมพลังประชาชาติไทย 415,585 1.17
1 4
5 / 500
ชาติพัฒนา 244,770 0.69
1 2
3 / 500
พลังท้องถิ่นไท 214,189 0.60
0 3
3 / 500
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 134,816 0.38
0 2
2 / 500
พลังปวงชนไทย 80,186 0.23
0 1
1 / 500
พลังชาติไทย 73,421 0.21
0 1
1 / 500
ประชาภิวัฒน์ 69,431 0.20
0 1
1 / 500
พลังไทยรักไทย 60,434 0.17
0 1
1 / 500
ไทยศรีวิไลย์ 60,354 0.17
0 1
1 / 500
ครูไทยเพื่อประชาชน 56,633 0.16
0 1
1 / 500
ประชานิยม 56,264 0.16
0 1
1 / 500
ประชาธรรมไทย 48,037 0.14
0 1
1 / 500
ประชาชนปฏิรูป 45,420 0.13
0 1
1 / 500
พลเมืองไทย 44,961 0.13
0 1
1 / 500
ประชาธิปไตยใหม่ 39,260 0.11
0 1
1 / 500
พลังธรรมใหม่ 35,099 0.10
0 1
1 / 500
อื่น ๆ 57,344 0.16
0 0
0 / 500
คะแนนสมบูรณ์ 35,561,556 100 350 150 500
คะแนนเสีย 2,130,327 5.57
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 605,392 1.58
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 38,268,366 74.69
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 51,239,638
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง คะแนนเสียง ส.ส. แบบแบ่งเขต, ผล ส.ส. แบบแบ่งเขต, ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ


สัดส่วนคะแนนมหาชน
พลังประชารัฐ
  
23.73%
เพื่อไทย
  
22.29%
อนาคตใหม่
  
17.63%
ประชาธิปัตย์
  
11.11%
ภูมิใจไทย
  
10.51%
เสรีรวมไทย
  
2.33%
ชาติไทยพัฒนา
  
2.20%
อื่นๆ
  
10.20%
สัดส่วนคะแนนมหาชนของกลุ่มการเมืองแบ่งตามจุดยืน
คัดค้านประยุทธ์
  
45.02%
สนับสนุนประยุทธ์
  
24.90%
ไม่ประกาศจุดยืน
  
30.08%
หมายเหตุ: นับพรรคเศรษฐกิจใหม่อยู่ใน "ไม่ประกาศจุดยืน"

คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศคะแนนมหาชนของแต่ละพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ ยังประกาศว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 38.26 ล้านคน (ร้อยละ 74.69) โดยอ้างว่าตัวเลขผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเดิมคิดโดยยึดฐานข้อมูลขณะประกาศผลร้อยละ 93[103] ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งและร้อยละของผู้มาใช้สิทธิที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแถลงไว้เมื่อวันที่ 24 กับ 28 มีนาคม 2562 ไม่ตรงกัน[104] คณะกรรมการการเลือกตั้งลบผลคะแนนมหาชนในวันที่ 28 พฤษภาคมหลังพบว่าตัวเลขไม่ตรงกัน กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งระบุว่าสาเหตุที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งไม่ตรงกันนั้นเป็นเพราะมีผู้มาใช้สิทธิบางส่วนมาลงทะเบียนแล้วแต่ไม่ได้ออกเสียงลงคะแนน[85]

e • d ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562
นับคะแนนแล้ว 94% (25 มีนาคม 2562)
พรรค คะแนนเสียง สัดส่วน
เพื่อไทย 7,423,361 22.26
พลังประชารัฐ 7,939,937 23.81
อนาคตใหม่ 5,871,137 17.60
ประชาธิปัตย์ 3,704,654 11.11
ภูมิใจไทย 3,512,466 10.53
เสรีรวมไทย 771,534 2.31
ชาติไทยพัฒนา 736,948 2.21
ประชาชาติ 457,482 1.37
เศรษฐกิจใหม่ 457,432 1.37
เพื่อชาติ 393,909 1.18
รวมพลังประชาชาติไทย 391,728 1.17
ชาติพัฒนา 237,287 0.71
พลังท้องถิ่นไท 200,097 0.60
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 122,494 0.37
พลังปวงชนไทย 77,350 0.23
พลังชาติไทย 69,840 0.21
อื่น ๆ 1,056,003 3.17
คะแนนสมบูรณ์ 33,353,799
คะแนนเสีย 1,987,962 5.96
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 524,722 1.57
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 35,866,483 65.96
ที่มา: Vote 62

การเลือกตั้งซ่อม

ผลสืบเนื่อง

การจัดตั้งรัฐบาล

แถลงการณ์ลงนามหยุดการสืบทอดอำนาจของ คสช. ที่พรรคเพื่อไทยและพันธมิตรลงนามเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562

วันที่ 25 มีนาคม 2562 พรรคเพื่อไทยเชื่อมั่นว่าตนได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตมากที่สุด จึงขอตั้งรัฐบาล[105] ด้านพรรคพลังประชารัฐซึ่งแถลงว่าพรรคได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากที่สุดระบุว่าพร้อมจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน[106] พรรคอนาคตใหม่แถลงไม่เสนอชื่อธนาธรเป็นนายกรัฐมนตรี แต่จะให้พรรคที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันดับหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอเงื่อนไขร่วมรัฐบาล คือ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและให้พลเรือนควบคุมกองทัพ[107] สำหรับพรรคภูมิใจไทยกำหนดเงื่อนไขร่วมรัฐบาลว่าต้องมีนโยบายกัญชาเสรี[108] มีข่าวลือว่าพรรคภูมิใจไทยเจรจากับพรรคพลังประชารัฐเพื่อจัดตั้งรัฐบาล โดยขอตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังเตรียมเจรจาตำแหน่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย[109]

วันที่ 27 มีนาคม 2562 พรรคเพื่อไทยนำพรรคพันธมิตรทางการเมืองรวม 6 พรรค ได้แก่ พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติและพรรคพลังปวงชนไทยประกาศตั้งรัฐบาล โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมืองดังกล่าวยกเว้นพรรคเศรษฐกิจใหม่เข้าร่วมลงนามสัตยาบันคัดค้านการสืบทอดอำนาจ คสช. ด้านมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ชี้แจงว่าแม้ตนไม่ได้เข้าร่วม แต่ส่งสารมาสนับสนุน[110]

ในช่วงเดือนเมษายน 2562 มีข่าวที่มีบุคคลเสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และให้มีนายกรัฐมนตรีนอกเหนือจากบัญชีรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาการเมืองไม่มีทางออก ซึ่งรัฐธรรมนูญก็เปิดช่องไว้[111]

วันที่ 25 เมษายน 2562 หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ลงข่าวว่า พรรคพลังประชารัฐสามารถรวบรวมเสียง ส.ส. ได้ถึง 270 ที่นั่ง ประกอบด้วยพรรคภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา รวมพลังประชาชาติไทย เศรษฐกิจใหม่ พลังท้องถิ่นไท และ ส.ส. พรรคอื่นที่จะขัดมติพรรคอีก 40 คน[112]

ช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 หลัง กกต. ประกาศรายชื่อ ส.ส. มีข่าวว่าพรรคพลังประชารัฐรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล แต่พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยพัฒนาไม่พอใจกับโควตารัฐมนตรีที่ได้รับ และว่าพรรคพลังประชารัฐยึดกระทรวงเศรษฐกิจไว้เองทั้งหมด นอกจากนี้ยังอึดอัดใจที่จะสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี และการมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และบุคคลจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติร่วมรัฐบาล[113] ด้านธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้สัมภาษณ์ว่ากำลังรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งมี ส.ส. รวม 378 ที่นั่ง แต่ไม่ตอบว่าจะสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจากพรรคประชาธิปัตย์ หรืออนุทิน ชาญวีรกุลจากพรรคภูมิใจไทย เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่[114]

การเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรค

คืนวันเลือกตั้ง หลังนับคะแนนไปได้ประมาณร้อยละ 90 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคหลังพรรคมีโอกาสสูงที่จะได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า 100 ที่นั่ง ซึ่งเป็นไปตามที่นายอภิสิทธ์ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าจะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคหากได้ที่นั่งต่ำกว่าร้อย ทำให้พรรคประชาธิปัตย์อาจมีโอกาสไปตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ[115]

คดีความและการพิจารณาเพิกถอนสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 ทางการไทยแจ้งข้อหาต่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ รศ. ปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำพรรคอนาคตใหม่[116] วันที่ 18 เมษายน 2562 ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ยื่น กกต. ขอให้ยุบพรรคตนเองเพราะชื่อว่ามีคนนอกครอบงำพรรค รวมทั้งขอให้ กกต. ไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง[117] วันที่ 26 เมษายน 2562 ผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตพรรคพลังประชารัฐคนหนึ่งถูกยื่นสอบคุณสมบัติผู้สมัครเพราะถือหุ้นสื่อ[118]

ปฏิกิริยา

แกนนำพรรคเพื่อไทยแถลงในคืนวันเลือกตั้งว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีความไม่ชอบมาพากล มีการใช้เงินมากในบางพื้นที่ และมีการส่งบุคลากรมาพบสมาชิกพรรคเพื่อไทยในช่วง 2 วันก่อนการเลือกตั้ง[119] ด้านสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปเรียกร้องให้ทางการสอบสวนความไม่ชอบมาพากลในการเลือกตั้ง ฝ่ายสหรัฐเรียกร้องให้กรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยเร็ว[120] คณะกรรมการการเลือกตั้งยืนยันว่าไม่มีบัตรปลอมและบัตรเกิน พร้อมขู่ว่าหากแบ่งปันข่าวปลอมดังกล่าวจะมีความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[121]

พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า มีการเตรียมกำลังและที่คุมขังพร้อมรับการชุมนุมคัดค้านผลการเลือกตั้ง[122] วันที่ 28 มีนาคม 2562 ผู้บัญชาการห้าเหล่าทัพแถลงจุดยืนร่วมกันว่าการดำเนินการตามพระบรมราโชวาทให้คนดีปกครองบ้านเมือง และให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง[123]

สภาพไม่แน่นอนหลังการเลือกตั้งทำให้ต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทย โดยตั้งแต่ต้นปี 2562 ไฟแนนเชียลไทมส์ คำนวณว่าต่างชาติถอนเงินจากตลาดหุ้นและพันธบัตร 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[124]

วันที่ 2 เมษายน 2562 พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก แถลงให้ประชาชนทุกฝ่ายสามัคคีกันและเคารพกติกา สาธยายพฤติกรรมของนักการเมืองในอดีต พร้อมทั้งกล่าวหาผู้ไปศึกษาต่อต่างประเทศบางคนว่ามีพฤติการณ์พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[125]

ความพยายามถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง

วันที่ 27 มีนาคม 2562 สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยเตรียมรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คนเพื่อยื่นถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งหลังมีมติให้บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากประเทศนิวซีแลนด์เป็นโมฆะ[76] มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งในพื้นที่ 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ[126] แต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ให้จัดกิจกรรมดังกล่าว จึงย้ายไปอยู่หน้าประตูทางเข้าแทน[127] มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบไปสังเกตการจัดกิจกรรมดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยระบุว่าไปดูว่าทำผิดกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะหรือไม่[128] ในวันที่ 31 มีนาคม 2562 มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อบริเวณแยกราชประสงค์[129] และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[130]

บนเว็ปไซต์ change.org มีการร่วมลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ภายในวันที่ 5 เมษายน และมีกำหนดยื่นรายชื่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในวันที่ 9 เมษายน ซึ่งในวันที่ 30 มีนาคม สามารถรวบรวมรายชื่อได้ถึง 800,000 รายชื่อแล้ว[131]

อ้างอิง

  1. "Thai king urges support for 'good people' hours before polls open". Strait Times. 24 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  2. 2.0 2.1 Thailand to hold fresh election on 20 July BBC News, 30 April 2014
  3. Nguyen, Anuchit; Thanthong-Knight, Randy (2019-01-23). "Thailand to Hold First General Election Since Coup in 2014". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  4. Yueh, Linda (26 November 2014). "Thailand's elections could be delayed until 2016". BBC World News. BBC. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
  5. Peel, Michael (19 May 2015). "Generals postpone Thailand elections for at least six more months". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subscription= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-access=) (help)
  6. "PM backpedals on staying on". The Nation. Nation Multimedia Group. 9 June 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
  7. Peel, Michael (30 January 2018). "Thailand's PM Prayut Chan-o-cha says he needs more time in office to prepare for election". Straits Times. สืบค้นเมื่อ 30 January 2018.
  8. "มีอะไรน่าสนใจ เมื่อ กกต. เปิดจดทะเบียนพรรคใหม่ 2 มี.ค." 1 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "การเมือง'วิษณุ' วางไทม์ไลน์เลือกตั้งช้าสุด 5 พ.ค. 62". Workpoint. 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 September 2018.
  10. Limited, Bangkok Post Public Company. "Young voters find voice". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  11. สงสกุล, พลวุฒิ (03.10.2018). "ทำความเข้าใจก่อนไปเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บัตรใบเดียว เลือกได้เพียงหนึ่ง 'คนที่รัก' หรือ 'พรรคที่ใช่'". The Standard. สืบค้นเมื่อ 2562-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  12. "เลือกตั้ง 2562: พลิกสูตรคำนวณยอด ส.ส. กับยุทธศาสตร์ "แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย"". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  13. 13.0 13.1 "Election has already been won, so what now? - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  14. "EC completes redrawing of constituencies - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  15. Limited, Bangkok Post Public Company. "Watchdog demands govt stop meddling with EC". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  16. "EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  17. Limited, Bangkok Post Public Company. "New EC boundary ruling under fire". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  18. "EC completes redrawing of constituencies". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  19. "Parties accuse EC of bias in constituency mapping". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  20. Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2018-11-30). "Parties Fume Over New 'Gerrymandered' Electoral Map". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เล่ม ๑๓๕, ตอน ๑๐๑ ก, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑,
  22. "เลือกตั้ง 2562 ผู้สมัครส.ส.ทะลุหมื่นคน มากกว่าปี 2554 กว่า 3 เท่า". ไทยรัฐ. 8 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2562-02-08. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  23. "เลือกตั้ง 2562 : เพื่อไทย ส่งผู้สมัคร ไม่ครบทั่วประเทศ ครั้งแรกในรอบ 17 ปี". บีบีซีไทย. 4 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-02.
  24. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (21 มกราคม 2019). "เลือกตั้ง 2562 : ที่สุดที่คุณอาจยังไม่รู้ก่อนเข้าคูหา". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-08-02.
  25. "เลือกตั้ง 62 l เปิดคำพูด แถลงการณ์ ส่องจุดยืนแต่ละพรรคการเมือง "เลือกไหมนายกฯ ชื่อประยุทธ์?"". Workpoint News. 12 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  26. "โพสต์หมดเวลาเกรงใจแล้ว มาร์คยัน ไม่สนับสนุน "บิ๊กตู่" (คลิป)". ไทยรัฐ. 11 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  27. ดนัย เอกมหาสวัสดิ์, อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์” (2019-02-06). เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand (Full) | 6 ก.พ. 62 | เจาะลึกทั่วไทย (YouTube). กรุงเทพมหานคร: SpringNews. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 8:00. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  28. "เลือกตั้ง 2562 : 8 ก.พ. ไทยรักษาชาติ กับ จุดเปลี่ยนการเมือง "ระดับแผ่นดินไหว" ?". บีบีซีไทย. 7 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  29. "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  30. "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-09. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  31. "เลือกตั้ง 2562 : ไพบูลย์ ยื่น กกต. ระงับ ทษช. หยุดเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ". บีบีซีไทย. 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  32. ""ไพบูลย์" ขอ กกต.ระงับแคนดิเดตนายกฯ ทษช". กรุงเทพมหานคร: ไทยพีบีเอส. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-09. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  33. "Thailand's king condemns bid by sister to become PM". BBC. กรุงเทพมหานคร. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  34. "กกต.ประกาศชื่อแคนดิเดตนายกฯพรรคการเมืองแล้ว 45 พรรค ไม่มีชื่อพรรคไทยรักษาชาติ". มติชนออนไลน์. 11 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 11-02-2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  35. "เลือกตั้ง 2562 : ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องพิจารณายุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามที่ กกต. ยื่น". บีบีซีไทย. 14 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  36. "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  37. "ร้อง กกต.ยุบพลังประชารัฐคัดค้าน "ตู่" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี". ไทยรัฐ. 16 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  38. ""ประยุทธ์"รอด!ผู้ตรวจฯชี้ ไม่มีสถานะ"จนท.อื่นของรัฐ"". เดลินิวส์. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  39. "เลือกตั้ง 2562 : "พลังประชารัฐ" รอดยุบพรรค ระดมทุนโต๊ะจีนไร้เงินต่างชาติ". ไทยพีบีเอส. 12 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
  40. "'สำนักข่าวอิศรา' แกะรอยทุนไอซ์แลนด์ถือหุ้นบริษัทบริจาคโต๊ะจีน พปชร. พบใช้ที่อยู่เดียวกับนิติบุคคลในเอกสาร Offshore Leaks". ประชาไท. 2019-03-16. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  41. "เพื่อไทยยื่นเอาผิด พลังประชารัฐ ปราศรัยหาเสียงสัญญาว่าจะให้ "บัตรคนจน"". ไทยรัฐ. 14 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  42. "ภาพชุด 'ธนาธร' รอดคุก! อัยการนัดพบอีกที 26 มีนาคม หลังเลือกตั้ง!". ข่าวสด. 27 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  43. "โดนอีก! ยื่น กกต.ยุบพรรคอนาคตใหม่ ชี้มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง". ประชาชาติธุรกิจ. 28 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-28.
  44. "พ่อของฟ้าเฮ 'ธนาธร' รอดแล้ว กกต.ยกคำร้อง ยุบอนาคตใหม่ ปม ลงประวัติผิด!". ข่าวสด. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  45. ""ศรีสุวรรณ" ชงกกต.ยุบ"อนาคตใหม่"". โพสต์ทูเดย์. 15 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  46. "อสมท : ปลดพิธีกรหญิงช่อง 9 ใครเป็นใครใน "แดนสนธยา"". บีบีซีไทย. 3 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  47. "แชร์ว่อน! เลือกตั้งไทยล่วงหน้า ที่จีนป่วน บัตรหาย500ใบ!! ท้วงไป โดนแย้งแบบนี้?". ข่าวสด. 10 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  48. "เลือกตั้ง 2562 : กกต.แจงปมรอ 4 ชั่วโมง ไม่ได้กาบัตร! เลือกตั้งต่างแดนในมาเลเซีย". ไทยพีบีเอส. 10 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  49. "เลือกตั้ง2562: "ไอติม" ห่วง "กาผิดเบอร์" เอกสารตปท.ไม่เคลียร์". ไทยพีบีเอส. 11 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
  50. "เลือกตั้ง 2562 : ครม. ไฟเขียวงบเติมกองทุน "ประชารัฐ" ส่วนคลังเร่งจ่ายเงิน อสม. 1 ล้านคน". บีบีซีไทย. 20 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  51. "'ในหลวง' โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระบรมราโชวาท ร.9". กรุงเทพธุรกิจ. 23 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  52. "#โตแล้วเลือกเองได้ ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ในทวิตเตอร์คืนก่อนวันเลือกตั้ง". ประชาไท. 23 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  53. "พลังประชาชนกำหนดอนาคตประเทศไทย 24 มี.ค." บีบีซีไทย. 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24. 8:05 อัญเชิญพระบรมราโชวาท ร.9 "ส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมือง" มาเผยแพร่ซ้ำทาง ทรท. ฯลฯ / 10:37 ปธ.กกต. ขอคนไทยใช้สิทธิ “โดยคำนึงถึงประกาศสำนักพระราชวัง” ฯลฯ
  54. 54.00 54.01 54.02 54.03 54.04 54.05 54.06 54.07 54.08 54.09 54.10 54.11 54.12 Asaree Thaitrakulpanich (February 27, 2019). "Thai Election for Dummies: Guide to the Parties". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 3-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  55. Teeranai Charuvastra (February 18, 2019). "Army Revokes Order to Broadcast 'Red Scare' Song". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 3-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  56. 56.0 56.1 56.2 56.3 หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (15 มีนาคม 2019). "เลือกตั้ง 2562 : เปิดสูตรคำนวณ ส.ส. ในกระแส "โหวตโน-เทคะแนน"". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  57. "น้องสาวจาตุรนต์ โพสต์ชวนชาวแปดริ้ว กา 'อนาคตใหม่' หลัง 'ทษช.' ถูกยุบ". ข่าวสด. 11 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 13-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  58. ""ธนาธร" ปัดแกนนำ "อนาคตใหม่" ยกหูคุย "ไทยรักษาชาติ" ช่วยเทคะแนนหนุน". ไทยรัฐ. 9 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 13-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  59. "รุมถล่มยับค่าจ้าง 425 บาท พรรคพลังประชารัฐฟุ้ง เป็นรัฐบาลทำได้จริง". ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  60. "Political risk soars ahead of Thailand's election". Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-02-16.
  61. 61.0 61.1 "'รังสิตโพล' ชี้คนเลือก 'พลังประชารัฐ' มากที่สุด หลังเคยประกาศยุติทำโพลมาแล้ว | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-19.
  62. 62.0 62.1 isranews (2018-12-29). "รังสิตโพลล์ เผยคะแนนนิยมเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง 'พล.อ.ประยุทธ์' อันดับ 1". สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
  63. "ซูเปอร์โพลเผยผลวิจัย ถ้าเลือกตั้งวันนี้ 'พท.'ที่1 ทิ้งห่าง'พปชร.' ด้าน'อนค.'คะแนนนิยมกทม.พุ่ง". 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  64. 64.0 64.1 "สังศิตโพล ครั้งที่ 4 ให้ 'พลังประชารัฐ' คะแนนนิยมแซง 'เพื่อไทย' แล้ว | ประชาไท". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  65. News, Workpoint. ""สังศิต" ประกาศยุติทำรังสิตโพลล์ หลังผล "ประยุทธ์" นำถูกหาว่าไม่เป็นกลาง". Workpoint News. สืบค้นเมื่อ 2019-02-19. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  66. "รังสิตโพลพ่นพิษ!'สังศิต'ประกาศไม่ทำแล้วหลังเผยคะแนนนิยม'บิ๊กตู่'นำตลอด". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-08.
  67. "Dozens of New Parties Register For Next Election". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-03-02. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  68. Limited, Bangkok Post Public Company. "PM allows ministers to back parties". https://www.bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-08. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  69. "เลือกตั้ง 2562 : 17 มีนา เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต ต่างอย่างไรกับใช้สิทธิวันจริง". ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  70. "เลือกตั้งล่วงหน้าจับโกงได้ 3 จังหวัด". คมชัดลึก. 18 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 24-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  71. "เลือกตั้งล่วงหน้า : แจกบัตรผิดเขต ไม่มีข้อมูลผู้สมัคร รอคิวสะสม ปัญหาเลือกตั้งล่วงหน้าของ กกต". บีบีซีไทย. 17 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  72. "กกต. แจงผู้แทน 11 ประเทศ-องค์การระหว่างประเทศ สังเกตการณ์เลือกตั้ง ยัน ประชาธิปไตย ไม่มีพิมพ์เขียว". มติชน. 23 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 28-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  73. "สหภาพยุโรปไม่ส่งคณะสังเกตการณ์สำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทย". ประชาไท. 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ 28-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  74. "เลือกตั้ง2562: ฟังชัดๆ "พีเน็ต" ฟันธงเลือกตั้งส่อล้มเหลว". ไทยพีบีเอส. 24 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 25-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  75. "กกต.รับบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าจาก"นิวซีแลนด์"มาไม่ทันนับคะแนน". โพสต์ทูเดย์. 24 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 25-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  76. 76.0 76.1 "'ศรีสุวรรณ' เตรียมล่า 2 หมื่นชื่อถอดถอน กกต. หลังวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรเสีย". มติชน. 27 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  77. Thaksin Shinawatra (March 25, 2019). "Thaksin Shinawatra: The Election in Thailand Was Rigged". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  78. "อัปเดต! ผลการเลือกตั้ง ไม่เป็นทางการ เพื่อไทยยังนำ ส.ส.เขต". ข่าวสด. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  79. "เลือกตั้ง2562 : กกต.ชี้ ปชช.ใช้สิทธิ 65.96% บัตรเสีย 5.6%". ไทยพีบีเอส. 24 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  80. Helen Regan; Kocha Olarn (March 25, 2019). "Confusion mounts as Thailand's election results delayed". CNN. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  81. "Thailand election results delayed as allegations of cheating grow". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 25 March 2019. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
  82. "เปิดรายชื่อ ส.ส.เขต 350 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้ง2562... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/politics/700546". เดลินิวส์. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25. {{cite news}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  83. 83.0 83.1 "กกต. โบ้ยสื่อรับผิดชอบรายงานผลเลือกตั้ง 4 โมงเย็นรู้ผล 95% แต่อุบคะแนนรวม". ข่าวสด. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  84. "กกต.ประกาศชื่อ ส.ส.เขต 350 คนอย่างไม่เป็นทางการ". เวิร์คพอยต์นิวส์. 25 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  85. 85.0 85.1 Teeranai Charuvastra (Mar 28, 2019). "Election Results Removed After Media Spot Discrepancies". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  86. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (29 มีนาคม 2019). "ผลเลือกตั้ง 2562 : เปิดพจนานุกรมเลือกตั้งฉบับ กกต". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  87. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (2 เมษายน 2019). "ผลการเลือกตั้ง 2562 : เช็คเสียง 2 ขั้วการเมืองใน 3 สูตร "คณิตศาสตร์การเมืองไทย"". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
  88. 88.0 88.1 88.2 "ผลการเลือกตั้ง 2562 : มติ กกต. กำหนดจัดการเลือกตั้งใหม่ 6 หน่วยใน 5 จังหวัด 21 เม.ย. นี้". บีบีซีไทย. 5 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  89. "กกต.ร่อนเอกสาร แจง ผลคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ ยึดสูตร 25พรรคได้ส.ส. มีพรรคเล็กได้ที่นั่งเพียบ". มติชน. 5 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  90. "ผลการเลือกตั้ง 2562 : กกต. มีมติยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ". บีบีซี. 11 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-04-12.
  91. "ด่วน! ศาล รธน.มติไม่รับคำร้อง กกต.ยื่นตีความสูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์". มติชน. 24 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
  92. "เลือกตั้ง 2562 : มติเอกฉันท์ผู้ตรวจฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความสูตรคำนวณ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์". บีบีซีไทย. 26 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  93. 93.0 93.1 93.2 "เลือกตั้ง 2562 : หนึ่งเดือนหลังเข้าคูหา คนไทยรู้อะไรแล้วบ้าง". บีบีซี. 24 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
  94. "สรุปยังไงแน่ ส.ส. เขต 1 นครปฐม นับคะแนนกี่ครั้งก็ดูมีปัญหา". ไทยรัฐ. 29 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
  95. "เลือกตั้ง 2562 : กกต. ประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ส.ส. 349 เขต". บีบีซีไทย. 7 พฤๅภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  96. "เลือกตั้ง 2562 : มติเอกฉันท์ ศาลรัฐธรรมนูญชี้ พ.ร.ป. ส.ส. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ". บีบีซีไทย. 8 พฤๅภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-08. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  97. "ผลเลือกตั้ง 2562 : กกต. ประกาศรับรอง 149 ส.ส. บัญชีรายชื่อ". บีบีซีไทย. 8 พฤๅภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-08. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  98. 98.0 98.1 98.2 "เลือกตั้ง 2562 : สื่อต่างประเทศตีข่าวผลเลือกตั้งดับฝันนำไทยสู่ความเปลี่ยนแปลง". บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  99. "ลุ้นพรรคไหนจัดตั้งรัฐบาลได้ก่อน". บีบีซีไทย. 24 มี.ค. 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30. 10:49 25 มี.ค. / นักวิเคราะห์ชี้ “การดูด” พาพลังประชารัฐชนะ
  100. "เดินหน้าประเทศไทย : ผ่าทางตันการเมืองหลังเลือกตั้ง". ไทยรัฐ. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  101. 101.0 101.1 "Analysis: Thai Election Shows Divisions and Instability Remain". Khaosod English. April 2, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
  102. 102.0 102.1 "ลุ้นพรรคไหนจัดตั้งรัฐบาลได้ก่อน". บีบีซีไทย. 24 มี.ค. 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  103. "เลือกตั้งล่วงหน้า : แจกบัตรผิดเขต ไม่มีข้อมูลผู้สมัคร รอคิวสะสม ปัญหาเลือกตั้งล่วงหน้าของ กกต". บีบีซีไทย. 17 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  104. "'คุณหญิงหน่อย' ตั้งข้อสังเกต บัตรเกิดใหม่ในหีบ "แบบนี้ก็ได้เหรอคะ"". วอยซ์ทีวี. Mar 28, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  105. "เลือกตั้ง 2562 เพื่อไทยแถลงชิงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล". บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  106. "เลือกตั้ง 2562 : พปชร. ประกาศจัดรัฐบาลแข่ง อ้างเสียงประชาชนหนุน ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ต่อ". บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  107. "เลือกตั้ง 2562 : อนาคตใหม่ ไม่เสนอชื่อ ธนาธร เป็นนายกฯ". บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  108. "เลือกตั้ง2562 : "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา". บีบีซีไทย. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  109. "สะพัด! ภูมิใจไทย ขอเก้าอี้ 'คมนาคม-มหาดไทย' ส่ง 'บิ๊กตร.' นั่ง-เสนอ ก.เกษตรฯให้ ปชป". มติชน. 28 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  110. "ผลการเลือกตั้ง 2562 : เพื่อไทยนำตั้งรัฐบาลผสม 255 เสียง". บีบีซีไทย. 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  111. "รัฐบาลแห่งชาติ-นายกฯพิเศษ รัฐธรรมนูญเปิดช่อง ส.ส.+ส.ว แก้ล็อกการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ. 21 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.
  112. "รัฐบาลสะเด็ดน้ำ 270 เสียง พลังประชารัฐ-พรรคพันธมิตร "บิ๊กตู่" + 40 งูเห่าพ่นพิษ!". ประชาชาติธุรกิจ. 25 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  113. "วุ่นหนัก! ตั้งรัฐบาลบิ๊กตู่ ระส่ำ พรรคร่วมฯ จ่อสละเรือ ถ้ายังมี 'บิ๊กป้อม-บิ๊กป๊อก'". ข่าวสด. 10 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.
  114. ""ธนาธร"เดินเกมเจรจาขั้วที่3 ตั้งรัฐบาลลุยรวม 378 เสียง ปิดสวิชต์ส.ว." โพสต์ทูเดย์. 11 พ.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.
  115. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (24 มีนาคม 2562). "เลือกตั้ง 2562 : อนาคต อภิสิทธิ์ ในวันที่ประชาธิปัตย์ตกที่นั่ง "พรรคต่ำร้อย"". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  116. "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ : ประมวลสัปดาห์ "ศึกหนัก" แกนนำพรรคอนาคตใหม่". บีบีซีไทย. 6 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-04-18.
  117. "ลูกพรรค "ลุงมิ่ง" ยื่นกกต. ขอให้ยุบพรรคเศรษฐกิจใหม่". ไทยรัฐออนไลน์. 18 เม.ย. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-18.
  118. "เพื่อไทย ยื่น กกต. สอบว่าที่ส.ส. พลังประชารัฐ ถือหุ้นสื่อกว่า 250 ล้านหุ้น!". ข่าวสด. 26 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  119. "เลือกตั้ง 2562 : "ภูมิธรรม" พบความไม่ปกติในการเลือกตั้ง". ไทยพีบีเอส. 24 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
  120. Teeranai Charuvastra (March 26, 2019). "EU, UK Urge Thailand to Resolve 'Election Irregularities'". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  121. "เลือกตั้ง 2562 : สหรัฐฯ-มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้อง กกต. โปร่งใส-เป็นธรรม". บีบีซีไทย. 26 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  122. "ศรีวราห์ ฮึ่ม! ห้ามชุมนุมค้านผลเลือกตั้ง เตรียมที่ขัง รับคนได้พันคน จับตาโซเชียล!". ข่าวสด. 24 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  123. "ผลเลือกตั้ง 2562 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขอให้ประชาชน "เชื่อใจ" กกต". บีบีซีไทย. 28 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  124. "ผลการเลือกตั้ง 2562 : นักวิเคราะห์ชี้ต่างชาติชะลอการลงทุน ผลเลือกตั้งล่าช้า ได้รัฐบาลผสม เสถียรภาพน้อย". บีบีซีไทย. 27 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  125. "ผบ.ทบ. จวก "นักวิชาการจบนอก" คิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง". บีบีซีไทย. 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
  126. "เลือกตั้ง2562 : นศ. 9 มหาวิทยาลัย ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดถอน กกต". ไทยพีบีเอส. 28 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  127. "ม.เกษตรฯ เบรกล่าชื่อถอด กกต. อ้างมหาลัยไม่ยุ่งการเมือง นิสิตต้องย้ายไปข้างถนน". ประชาไท. 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  128. ""ไปดูว่าผิดพ.ร.บ.ชุมนุมหรือไม่" ผกก.บางเขน แจง ทำตามกม.ไปดู-ถ่ายรูป นิสิต ตั้งโต๊ะล่าชื่อถอดกกต.จริง". ประชาชาติ. 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  129. "ถอน กกต. ราชประสงค์ยุติ ก่อนไปต่อ สน.ลุมพินี เสียค่าปรับปม "เครื่องเสียง"". ประชาชาติ. 31 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  130. "'จ่านิว-โบว์' นำทีมชุมนุม ตั้งโต๊ะอนุสาวรีย์ชัย ล่ารายชื่อถอด กกต". ไทยโพสต์. 31 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  131. "ใกล้ครบล้าน คนไทยล่าชื่อถอดถอนกกต.แตะ 8 แสนคน". ไทยรัฐ. 30 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น