ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขี้เมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Asneponrajan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 90: บรรทัด 90:
| writer10 = [[ยืนยง โอภากุล]], [[กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร]]
| writer10 = [[ยืนยง โอภากุล]], [[กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร]]
| length10 = 4.59
| length10 = 4.59
|total_length=42:05}}
}}


==นักดนตรีในอัลบั้ม==
==นักดนตรีในอัลบั้ม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:44, 26 พฤษภาคม 2562

ขี้เมา
ปกแผ่นเสียงอัลบั้ม ขี้เมา
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดพฤศจิกายน พ.ศ. 2524
บันทึกเสียงไพบูลย์ สติวดิโอ
แนวเพลงโฟล์ค
ความยาว42.05
ค่ายเพลงพีค็อก สเตอริโอ (พ.ศ. 2524)
วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2546)
โปรดิวเซอร์คาราบาว
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
ขี้เมา
(2524)
แป๊ะขายขวด
(2525)แป๊ะขายขวด2525
ปกอัลบั้มเวอร์ชันแรก
ปกเทปคาสเซ็ทเวอร์ชันแรก
ปกเทปคาสเซ็ทเวอร์ชันแรก

ขี้เมา เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของวงคาราบาว ออกวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2524 ภายใต้สังกัดพีค็อก สเตอริโอ ในรูปแบบแผ่นเสียงและตลับเทป มีเพลงที่ใช้โปรโมตอัลบั้มคือเพลง ลุงขี้เมา และเพลง หนุ่มสุพรรณ นอกจากนี้ยังมีการนำเพลง Wrot A Song For Every One ของวงซี.ซี.อาร์ มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย ในชื่อเพลงว่า เวร

โดยอัลบั้มชุดนี้ มีการนำเพลงถึกควายทุย ที่ยืนยง โอภากุล เคยแต่งให้กับวงแฮมเมอร์เพื่อนำไปบันทึกเสียง กลับมาเล่นในแบบฉบับของทางวง และเพลงนี้ถือเป็นภาคแรก จากทั้งหมด 10 ภาค ที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ผลงานชุดนี้ได้ถูกนำกลับมาผลิตในรูปแบบแผ่นซีดีเป็นครั้งแรกโดยบริษัทกระบือ แอนด์ โค จำกัด โดยในปัจจุบันลิขสิทธิ์เป็นของวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

ประวัติ

หลังจากยืนยง โอภากุล แต่งเพลง ถึกควายทุย โดยได้รับอิทธิพลมาจากเพลงของวง ครอสบี, สติลส์, แนช แอนด์ ยัง ให้กับวงแฮมเมอร์ นำไปบันทึกเสียงลงอัลบั้ม ปักษ์ใต้บ้านเรา ในปี พ.ศ. 2523 จนประสบความสำเร็จแล้ว ยืนยง โอภากุล ก็อยากให้วงคาราบาวมีอัลบั้มเป็นของตัวเองบ้าง จึงได้แต่งเพลงต่อมาคือเพลงลุงขี้เมา เพื่อเตรียมใช้ในอัลบั้มของตน

การเริ่มต้นทำงานเพลงชุดแรกกับคาราบาว ยืนยง โอภากุล ไม่ค่อยมีความมั่นใจมากนัก งานในชุดนี้จึงเป็นเพลงโฟล์คที่ได้รับอิทธิพล มาจากเพลงสากลของต่างประเทศหลายเพลง ซึ่งยืนยง ก็ได้กล่าวยอมรับอยู่เสมอเวลาเล่นบนเวที โดยเพลง ลุงขี้เมา ใช้ทำนองเพลง อานัก อันโด่งดัง ของ Freddie Aguilar [1]

ส่วนเพลงอื่นๆในอัลบั้มเช่นเพลง หนุ่มลำมูล และเพลง ปลาใหญ่ปลาน้อย เป็นเพลงที่แต่งโดย คมสัน ดวงสูงเนิน หรือ สีสัน ควงตะคองหลง เพื่อนร่วมงานของยืนยง โอภากุลที่การเคหะแห่งชาติ ส่วนเพลง มนต์เพลงคาราบาว ได้รับอิทธิพลมาจากเพลง Hotel Califonia ของวง ดิ อีเกิลส์

นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างความแปลกใหม่โดยการนำเพลง Wrote A Song For Every One ของวงซี.ซี.อาร์ มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย ในเพลง เวร อีกด้วย

เมื่อมีเพลงครบพอจะออกอัลบั้มได้แล้ว กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร หรือ เขียว คาราบาว สมาชิกอีกหนึ่งคนที่เหลืออยู่จึงรับหน้าที่เล่นกีตาร์เบส และ ได้มีการติดต่อสุเทพวงโฮปให้มาช่วยบันทึกเสียง ให้กับทางวง โดยใช้เวลาบันทึกเสียงทั้งหมดหนึ่งอาทิตย์ที่ ไพบูลย์ สติวดิโอ ห้องอัดเสียงของครูไพบูลย์ ศุภวารี นายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ในขณะนั้น[2]

แรกเริ่มเดิมทีอัลบั้มชุดนี้ใช้ชื่อชุดว่า "คาราบาว vol.1" มิได้ใช้ชื่อว่าขี้เมา ตามที่แฟนเพลงรู้จักกัน โดยปกอัลบั้มเวอร์ชันแรกเป็นรูปกะโหลกควาย แต่พอวางแผงในช่วงแรก ก็เกิดปัญหาขึ้นเพราะเพลงที่อยู่ในเทปคาสเซ็ท ไม่ตรงกับรายชื่อเพลงบนปก และทางค่ายเพลงลืมพิมพ์ number ที่ตัวตลับเทปด้านใน ประกอบกับทางพีค็อกต้นสังกัดกำลังเปลี่ยนโลโก้ใหม่ และปกเทปยังเป็นโลโก้แบบเก่าอยู่ แต่ตัวเทปคาสเซ็ทเป็นโลโก้ใหม่แล้วจึงเกิดความไม่สัมพันธ์กัน อีกทั้งทางวงยังไม่ชอบใจสัญลักษณ์รูปหัวควายที่ออกแบบมาในตอนแรก อัลบั้มนี้วางจำหน่ายได้1 สัปดาห์จึงเรียกเก็บคืนทั้งหมด

หลังจากเก็บคืนออกจากแผงได้ระยะหนึ่งจึงได้เปลี่ยนปกอัลบั้มเป็นภาพวาดรูปเมือง แบบที่ใช้ในปัจจุบัน และนำสัญลักษณ์รูปหัวควายที่ทางวงไม่ชอบออกไป พร้อมพิมพ์โลโก้ใหม่ของพีค็อกไว้ และตั้งชื่ออัลบั้มในปกนี้ว่า "ขี้เมา"

เมื่ออัลบั้มชุดนี้กลับมาออกวางจำหน่ายแล้ว เพลงลุงขี้เมา และ เพลง หนุ่มสุพรรณ เป็นเพลงที่ถูกใช้ออกอากาศทางวิทยุ และในเวลาต่อมาไม่นาน ก็ถูกแบน จากสถานี ปตอ.โดยนายทหารคุมสถานี แต่ก็ยังได้รับการติดต่อขอสัมภาษณ์ออกอากาศทางช่อง 9 ในรายการ นางฟ้า โดยวิศิษฐ์ วงศ์นาค ถึง 2 ครั้ง แต่โดยรวมแล้วยอดขายของอัลบั้มนี้ถือว่าน้อยมาก เนื่องจากกระแสดนตรีของวัยรุ่นในสมัยนั้นมักจะเป็นเพลงลูกกรุงหรือเพลงสติงคอมโบเสียส่วนใหญ่

ตอนออกอัลบั้มชุดนี้ คาราบาว และวงโฮป เล่น ประจำที่ ดิกเก็นผับ โรงแรมเพรสซิเดนท์ โดยทางโรงแรมไม่อนุญาตให้ทางวงเล่นเพลงไทย เมื่อคาราบาวเล่นเพลงลุงขี้เมา ตามคำขอของปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์ของวงเพรสซิเดนท์ ซึ่งเป็นเพื่อนที่อุเทนถวายของ ยืนยง โอภากุล จึงทำให้ทางวงถูกไล่ออกในเวลาต่อมาและเป็นสาเหตุทำให้วง โฮป พลอยถูกไล่ออกไปด้วย

ปี พ.ศ. 2546 อัลบั้มนี้ถูกนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้งและมีการปรับปรุงคุณภาพเสียงด้วยระบบดิจิตอลโดยวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

ภาพปกซีดี อัลบั้ม ขี้เมา

รายชื่อเพลง

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ลุงขี้เมา"ยืนยง โอภากุล, Freddie Aguilar (ทำนองเพลง Anak ของ Freddie Aguilar)6.01
2."หนุ่มลำมูล"คมสันต์ ดวงสูงเนิน,สุเทพ ถวัลย์วิวัฒนกุล4.25
3."หนุ่มสุพรรณ"ยืนยง โอภากุล3.34
4."หนอยแน่ะ"ยืนยง โอภากุล2.32
5."ถึกควายทุย"ยืนยง โอภากุล3.54
6."เวร"ยืนยง โอภากุล, John Fogerty (ทำนองเพลง Wrote a song for everyone ของวงซี.ซี.อาร์)4.37
7."ดอกเบี้ย"ยืนยง โอภากุล3.57
8."ปลาใหญ่ปลาน้อย"คมสันต์ ดวงสูงเนิน4.24
9."ลอยลมรัก"ยืนยง โอภากุล3.42
10."มนต์เพลงคาราบาว"ยืนยง โอภากุล, กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร4.59
ความยาวทั้งหมด:42:05

นักดนตรีในอัลบั้ม

คาราบาว
โฮป (แบ็คอัพ)

การจัดจำหน่าย

ปี ค่าย รูปแบบ
พ.ศ. 2524 พีค็อก สเตอริโอ แผ่นเสียง
เทปคาสเซตต์
(ปกเวอร์ชันแรก ผลิต 2,000 ตลับ และถูกเรียกคืนจากท้องตลาด)
เทปคาสเซตต์
(เปลี่ยนปกใหม่)
พ.ศ. 2540 กระบือ แอนด์ โค แผ่นซีดี
เทปคาสเซตต์
พ.ศ. 2546 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ แผ่นซีดี
(ปกครบรอบ 20 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2554 แผ่นซีดี
(ปกครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2555 แผ่นเสียง
(Remaster ปกเดิม)
พ.ศ. 2556 แผ่นซีดี
(ปกหน้า รูปเดียวกับแผ่นเสียง)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • หนังสือก้าวแรกของชีวิต ก้าวที่สองคนดนตรี แอ๊ด คาราบาว
  1. http://www.oknation.net/blog/psitirat/2008/01/08/entry-1
  2. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=537576