ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จักรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 130: บรรทัด 130:
| bgcolor="#E9E9E9"| '''รัชกาลที่ 9''' || [[ไฟล์:Aankomst Koning Bhumibol en Koningin Sirikit te Den Haag, koningin Sirikit, Bestanddeelnr 911-6994.jpg|120px]] || '''[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]'''<br>(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ) || [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2493]] || [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2493]] || [[13 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2559]]<br>(พระสวามีสวรรคต)
| bgcolor="#E9E9E9"| '''รัชกาลที่ 9''' || [[ไฟล์:Aankomst Koning Bhumibol en Koningin Sirikit te Den Haag, koningin Sirikit, Bestanddeelnr 911-6994.jpg|120px]] || '''[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]'''<br>(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ) || [[28 เมษายน]] [[พ.ศ. 2493]] || [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2493]] || [[13 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2559]]<br>(พระสวามีสวรรคต)
|-
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''รัชกาลที่ 10''' || [[ไฟล์:พระราชินี.jpg|thumb]] || '''[[สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี]]''' || 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 || 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 || ยังอยู่ในพระอิสริยยศ
| bgcolor="#E9E9E9"| '''รัชกาลที่ 10''' || [[ไฟล์:พระราชินี.jpg|120px]] || '''[[สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี]]''' || 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 || 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 || ยังอยู่ในพระอิสริยยศ
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:47, 25 พฤษภาคม 2562

ราชวงศ์จักรี
ตราประจำราชวงศ์จักรี
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2399)
พระมหากษัตริย์สยาม
(พ.ศ. 2399 - พ.ศ. 2492)
พระมหากษัตริย์ไทย
(พ.ศ. 2492- ปัจจุบัน)
ปกครองราชอาณาจักรไทย
เชื้อชาติดั้งเดิม ไทย, จีน และมอญ
ภายหลังเพิ่มเปอร์เซีย
สาขา84 ราชสกุล
42 บวรราชสกุล
จำนวนพระมหากษัตริย์10 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ช่วงระยะเวลาพ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน
สถาปนาพ.ศ. 2325
ราชวงศ์ก่อนหน้าราชวงศ์ธนบุรี
(กรุงธนบุรี)

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"

ที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์

ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระวิษณุ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

พระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก "จะกล่าวถึงเจ้านายจำพวกซึ่งเป็นปฐมเป็นต้นแซ่ต้นสกุลเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์แลเจ้าราชินิกุลที่เรียกนามว่า คุณ ว่า หม่อม มีบรรดาศักดิ์เนื่องในพระบรมราชวงศ์นี้ ซึ่งบัดนี้เป็นจำพวกต่างๆอยู่ จะให้รู้แจ้งว่าเนื่องมาแต่ท่านผู้ใด พระองค์ใด เป็นเดิมแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยานี้มา พึงรู้โดยสังเขปว่าบุรุษนารีมีบรรดาศักดิ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นจำพวกเจ้า คือเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ทั้งปวงนั้น ล้วนปฏิพัทธ์พัวพันสืบต่อลงมาแต่องค์สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี คือ องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระเจ้าหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุถชามหาจักรีบรมนาถ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปฐมบรมอัครมหาราชาธิราชในพระบรมมหาราชวัง"

จึงนับได้ว่า สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี หรือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีพระองค์แรกอย่างแท้จริง โดย พระมหาสังข์เดิม ซึ่งเป็นพระมหาสังข์ที่ใช้บรรจุพระบรมอัฐของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งปัจจุบันใช้รดน้ำในพระราชพิธีมงคลให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น

พระบรมวงศานุวงศ์

ไฟล์:พระบรมวงศานุวงศ์.jpg
พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2549

พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นราชสกุลมหิดล[1] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระอนุชาคือพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช) จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน และภายหลังได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน

รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์

เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์

รายพระนาม

พระมหากษัตริย์ไทย

ลำดับ รูป พระนาม ขึ้นครองราชย์ สิ้นสุดการครองราชย์
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 6 เมษายน พ.ศ. 2325 7 กันยายน พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 7 กันยายน พ.ศ. 2352 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 2 เมษายน พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 6 เมษายน พ.ศ. 2394 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)
(สละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9 ไฟล์:Bhumibol adulyadej.jpg พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
รัชกาลที่ 10 ไฟล์:พระเจ้าอยู่หัว.jpg พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ยังอยู่ในราชสมบัติ

พระบรมราชินี

ลำดับ รูป พระนาม เสกสมรส ดำรงตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง
รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ประมาณปี พ.ศ. 2303 6 เมษายน พ.ศ. 2325 7 กันยายน พ.ศ. 2352
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 2 สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประมาณปี พ.ศ. 2344 7 กันยายน พ.ศ. 2352 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 4 สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี 1 เมษายน พ.ศ. 2394 ประมาณ พ.ศ. 2396 9 กันยายน พ.ศ. 2404
(เสด็จสวรรคต)
รัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
พ.ศ. 2421 พ.ศ. 2440 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี
(พระวรราชชายา)
พ.ศ. 2464 พ.ศ. 2465 15 กันยายน พ.ศ. 2468
(ลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา)[3]
รัชกาลที่ 7 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี สิงหาคม พ.ศ. 2461 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 2 มีนาคม พ.ศ. 2478
(พระสวามีสละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
28 เมษายน พ.ศ. 2493 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 10 ไฟล์:พระราชินี.jpg สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ยังอยู่ในพระอิสริยยศ

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

รูป พระนาม โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พ.ศ. 2325
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พ.ศ. 2349
7 กันยายน พ.ศ. 2352
สืบราชสมบัติพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พ.ศ. 2352
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พ.ศ. 2367
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394
7 มกราคม พ.ศ. 2408
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พ.ศ. 2411
28 สิงหาคม พ.ศ. 2428
ทิวงคตก่อนได้รับราชสมบัติ

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

รูป พระนามเมื่อสถาปนา โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข

พ.ศ. 2328
20 ธันวาคม พ.ศ. 2349
ทิวงคตก่อนได้รับราชสมบัติ

สยามมกุฎราชกุมาร

รูป พระนามเมื่อสถาปนา โปรดเกล้าฯ สถาปนา สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
14 มกราคม พ.ศ. 2429
4 มกราคม พ.ศ. 2437
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
20 มกราคม พ.ศ. 2437
23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
สืบราชสมบัติพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
1 ธันวาคม พ.ศ. 2559
สืบราชสมบัติพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

แผนผัง

 
 
 
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
(ทองดี)
 
 
 
พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
Monarch(1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
(2279-2325-2352)
 
กรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีสุราลัย
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(2310-2352-2367)
 
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2330-2367-2394)
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2347-2394-2411)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2351-2394-2408)
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2396-2411-2453)
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2424-2453-2468)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2436-2468-2478-2484)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(2468-2478-2489)
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
(2470-2489-2559)
 
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 
 
 
 
 
 
Monarch(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2495-2559–)

การเงิน

ในปี 2560 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ราชวงศ์จักรีเป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมีทรัพย์สินที่ประเมินไว้ระหว่าง 30,000–60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวรอยเตอส์ประเมินว่าเฉพาะหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถืออยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รวมกันมีมูลค่า 3.06 แสนล้านบาท[4]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕, เล่ม ๔๖, ตอน ๐ ก, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์, เล่ม ๘๙, ตอน ๑๑๒ ก ฉบับพิเศษ, ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕, หน้า ๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ว่าด้วยการที่จะออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๑๕๙
  4. โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับใหม่

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ราชวงศ์จักรี ถัดไป
ราชวงศ์ธนบุรี
(ปกครองกรุงธนบุรี)

ราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทย
(พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)