ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บอดี้สแลม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Nonlattawit (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 309: บรรทัด 309:
|bgcolor="#fffacd" |<font color="green"> '''รางวัลเพลงยอดเยี่ยม'''</font><br>จากงาน[[คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 3]]
|bgcolor="#fffacd" |<font color="green"> '''รางวัลเพลงยอดเยี่ยม'''</font><br>จากงาน[[คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 3]]
| เพลง "[[ความเชื่อ (เพลงบอดี้สแลม)|ความเชื่อ]]"
| เพลง "[[ความเชื่อ (เพลงบอดี้สแลม)|ความเชื่อ]]"
|-
| [[พ.ศ. 2549]]
|bgcolor="#fffacd" |<font color="blue"> '''รางวัลศิลปินยอดนิยมประเทศไทย'''</font><br>จากงาน[[เอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส]]
| ได้เข้าชิง 1 ใน 5 ของงาน[[เอ็มทีวีเอเชีย|เอ็มทีวี เอเชีย]]
|-
|-
| [[พ.ศ. 2549]]
| [[พ.ศ. 2549]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:22, 19 พฤษภาคม 2562

บอดี้สแลม
บอดี้สแลมที่งานสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ในปี พ.ศ. 2551
บอดี้สแลมที่งานสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ในปี พ.ศ. 2551
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2545–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงมิวสิค บั๊กส์ (พ.ศ. 2545–2547)
จีนี่เรคอร์ดส (พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน)
สมาชิกอาทิวราห์ คงมาลัย
ธนดล ช้างเสวก
สุชัฒติ จั่นอี๊ด
ธนชัย ตันตระกูล
โอม เปล่งขำ
อดีตสมาชิกรัฐพล พรรณเชษฐ์
เว็บไซต์bodyslamband.com facebook.com/bodyslamband

บอดี้สแลม (อังกฤษ: Bodyslam) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทยจากกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 เป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย สมาชิกวงที่เป็นที่รู้จักกันดีจากวงนี้คือ นักร้องนำของวง อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) โดยเพลงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากดนตรีร็อกจากฝั่งสหรัฐอเมริกาในยุคต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ผสมผสานกับดนตรีแนวโพรเกรสซิฟร็อก[1] บอดี้สแลมประสบความสำเร็จกับอัลบั้มชุดแรกของวง ซึ่งมีชื่ออัลบั้มเป็นชื่อเดียวกันกับวง หลังจากนั้นก็ได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดต่อมา ไดรฟ์ ในปี พ.ศ. 2546 และตามด้วยการออกงานแสดงคอนเสิร์ต

หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากับจีนี่เรคคอร์ดส บอดี้สแลมก็ได้ออกอัลบั้ม บีลีฟ เซฟมายไลฟ์ และอัลบั้ม คราม ตามลำดับ โดยจากผลสำรวจของเอแบคโพล บอดี้สแลมเป็นวงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดอันดับ 1 ทั้งในปี พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555 และอัลบั้มชุดที่ 6 มีชื่อว่า ดัม-มะ-ชา-ติ ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2557 จากนั้นก็ได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ทั่วประเทศไทยชื่อว่า ปรากฏการณ์ดัมมะชาติ

ประวัติ

อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) นักร้องนำและนักแต่งเพลงของวงบอดี้สแลม

ช่วงแรกของวง (พ.ศ. 2539–2541)

บอดี้สแลมเริ่มต้นด้วยวง ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2539 วงได้ชนะการประกวดวงดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ และได้ออกจำหน่ายอัลบั้มกับค่ายมิวสิก บั๊กส์ ในชื่อ ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2540 ด้วยแนวเพลงป็อปร็อก เพลงหนึ่งในอัลบั้ม "ได้หรือเปล่า" เป็นเพลงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของวง ต่อมา ตูนกับเภาออกจากวงไป และได้ปั้น (Basher) มาร้องนำ ได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง เทพนิยายนายเสนาะ ในปี พ.ศ. 2541 แต่หลังจากนั้นวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ[2]

อัลบั้ม บอดี้สแลม และ ไดรฟ์ (พ.ศ. 2545–2547)

วงกลับมาอีกครั้งประมาณปี พ.ศ. 2545 ด้วยชื่อใหม่ บอดี้สแลม ซึ่งมีเปลี่ยนแนวเพลงไปเป็นร็อกที่หนักหน่วงมากขึ้น ด้วยสมาชิกเพียงสามคนที่เหลืออยู่ ได้แก่ อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) นักร้องนำ, ธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) มือเบส และรัฐพล พรรณเชษฐ์ (เภา) มือกีตาร์ วงอธิบายว่า ที่มาของชื่อนี้มาจากชื่อท่าหนึ่งของมวยปล้ำ แต่ถ้าแปลความหมายตรงตัว "บอดี้" แปลว่า "ร่างกาย" ส่วน "สแลม" แปลว่า "การทุ่ม" เมื่อนำมารวมกันเป็น "บอดี้สแลม" ก็จะมีนิยามที่ว่า "การทุ่มสุดตัว" คือการทำงานเพลงกันเต็มที่แบบทุ่มสุดตัว วงได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกของวงชื่อว่า บอดี้สแลม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 และได้ประสบความสำเร็จ โดยมีเพลงฮิตอย่าง "งมงาย", "ย้ำ" และ "สักวันฉันจะดีพอ"[3]

ต่อมาได้ออกวางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่สอง ไดรฟ์ (Drive) ในปี พ.ศ. 2546 เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จเท่ากันกับอัลบั้มชุดแรก โดยมีเพลงฮิตอย่าง "ปลายทาง" "ความซื่อสัตย์" "ชีวิตที่ฉันเหลืออยู่" และ "หวั่นไหว" และได้ชนะรางวัลมิวสิกวิดีโอในสาขา "กลุ่มศิลปินที่เป็นที่ชื่นชอบ" ในมิวสิกวิดีโอของเพลง "ปลายทาง"[4] ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ต HOTWAVE LIVE: BODYSLAM MAXIMUM LIVE จัด ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่ทาง 91.5 ฮอตเวฟ จัดให้โดยเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของวง โดยมีศิลปินรับเชิญคือ ปู แบล็คเฮด, อ๊อฟ บิ๊กแอส และป๊อด โมเดิร์นด็อก

อัลบั้ม บีลีฟ (พ.ศ. 2548–2549)

หลังจากอัลบั้มที่สอง บอดี้สแลมได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย วงได้ออกจากค่ายมิวสิก บั๊กส์และได้เซ็นสัญญากับจีนี่เรคคอร์ดสในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ค่ายเพลงใหญ่ของประเทศไทย ต่อมามือกีตาร์ของวง รัฐพล พรรณเชษฐ์ (เภา) ได้ออกจากวงบอดี้สแลม และออกอัลบั้มเดี่ยวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ในอัลบั้มชื่อ Present Perfect สังกัดค่ายสนามหลวง ทำให้บอดี้สแลมเหลือสมาชิกวงอยู่ 2 คน จึงได้หามือกีตาร์คนใหม่ คือ ธนชัย ตันตระกูล (ยอด) และให้ สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) มือกลองแบ็คอัพมาเป็นสมาชิกวงเต็มตัว ออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของวง บีลีฟ (Believe) ในปี พ.ศ. 2548 โดยทางวงประสบความสำเร็จอย่างสูง มีเพลงฮิตอย่าง "ขอบฟ้า" "ห้ามใจ" "ความรักทำให้คนตาบอด" "พูดในใจ" "รักก็เป็นอย่างนี้" "ชีวิตเป็นของเรา" "คนที่ถูกรัก" และ "ความเชื่อ" ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้กลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ประจำวงบอดี้แสลมในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ตวันคุ้มครองโลกในชื่อ บอดี้สแลมบิลีฟคอนเสิร์ต ที่ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี โดยมีแขกรับเชิญ 2 คน คือ บอย พีซเมกเกอร์ และรัฐพล พรรณเชษฐ์ อดีตมือกีตาร์ของวง ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้ออกคอนเสิร์ตบิ๊กบอดี้ (Big Body) ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี โดยจัดร่วมกับวงบิ๊กแอส และได้แสดงร่วมกับวงบิ๊กแอสอีกครั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 ในคอนเสิร์ตเอ็มร้อยห้าสิบ สุดชีวิตคนไทย ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี และยังได้แสดงร่วมกับโปเตโต้, เสก โลโซ, ลานนา คัมมินส์ และไมค์ ภิรมย์พร

อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ (พ.ศ. 2550–2551)

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ เซฟมายไลฟ์ (Save My life) มีเพลงฮิตอย่าง "แค่หลับตา" "นาฬิกาตาย" "อกหัก" "เสี้ยววินาที" "คนมีตังค์" และ "ยาพิษ" ทางวงเองได้ออกคอนเสิร์ตใหญ่ในกรุงเทพในต้นเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ในวันที่ 20–21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ตบอดี้สแลมเซฟมายไลฟ์ ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก โดยมีแขกรับเชิญ ได้แก่ โก้ มิสเตอร์ แซกแมน (Koh Mr.Saxman) ร่วมแสดงในเพลง "นาฬิกาตาย", ปู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ร่วมแสดงในเพลง "ความเชื่อ" "แม่", ปนัดดา เรืองวุฒิ ร่วมแสดงในเพลง "แค่หลับตา", แอ๊ด คาราบาว ร่วมแสดงในเพลง "ความเชื่อ" "รักต้องสู้", และทีมเชียร์ลีดเดอร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมแสดงในเพลง "ท่านผู้ชม"

ความสำเร็จจากอัลบั้มใหม่ทำให้วงมีแฟนคลับขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ ได้ชนะในสีสันอะวอร์ด ครั้งที่ 20 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สาขาศิลปินกลุ่มร็อกยอดเยี่ยม อัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และเพลงร็อกยอดเยี่ยม สำหรับเพลง "ยาพิษ"[5] และได้ออกคอนเสิร์ตในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในชื่อคอนเสิร์ต EVERY BODYSLAM CONCERT ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี[6] โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ฟักแฟง โน มอร์ เทียร์-ไปรยา มลาศรี ในเพลง "แค่หลับตา" และบุดด้าเบลส

อัลบั้ม คราม (พ.ศ. 2552–2555)

ซิงเกิล "คราม" ออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พร้อมกับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้าของวง คราม ออกจำหน่ายในกลางปี พ.ศ. 2553 (หลังจากเลื่อนไปเป็นมิถุนายน พ.ศ. 2553 จากการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553) อัลบั้มนี้มีเพลงฮิตอย่าง "คราม" "คิดฮอด"[7] "โทน" "แสงสุดท้าย" "ทางกลับบ้าน" "ความรัก" "สติ๊กเกอร์" "เงา" "ปล่อย" และ "เปราะบาง" วงได้ออกแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ที่เรียกว่า บอดี้สแลมไลฟ์อินคราม ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ด้วยผู้ชมมากกว่า 65,000 คน[8] โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ศิริพร อำไพพงษ์ ในเพลง "คิดฮอด", อุ๋ย บุดด้าเบลส และฟักกลิ้ง ฮีโร่ ในเพลง "สติ๊กเกอร์", และวงบิ๊กแอส[9] และได้สำเร็จทัวร์ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยคอนเสิร์ต บอดี้สแลมไลฟ์อินลาว : เวิลด์ทัวร์ ที่สนามกีฬาแห่งชาติลาว และในปี พ.ศ. 2555 ได้จัดคอนเสิร์ต บอดี้สแลมนั่งเล่น ที่อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 1 (Impact Exhibition Hall 1) ในวันที่ 10–12 กุมภาพันธ์[10][11]

อัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ (พ.ศ. 2556–2560)

สตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวง ดัม-มะ-ชา-ติ (Dharmajāti) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง "ธรรมชาติ" โดยอัลบั้มนี้จะเน้นไปทางเกี่ยวกับชีวิตและมีแนวเพลงไปทางโพรเกรสซิฟร็อก ออกจำหน่ายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557[12] มีเพลงดังอย่าง "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง" "ปลิดปลิว" "ดัม-มะ-ชา-ติ" "รักอยู่ข้างเธอ" "ชีวิตยังคงสวยงาม" "ความฝันกับจักรวาล" และ "คิดถึง" และมีกำหนดการออกคอนเสิร์ตบอดี้สแลม ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ โดยเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งแรกของวง เพื่อสนับสนุนอัลบั้ม โดยเริ่มแสดงตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[13] และเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ยุทธนา บุญอ้อม ได้ประกาศยกเลิกทัวร์ บอดี้สแลม ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ ที่เหลือทั้งหมด โดยจัดที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดสุดท้าย ในการจบการแสดงคอนเสิร์ต [14]

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 วงบอดี้แสลมจัดคอนเสิร์ต คอนเสิร์ตบอดี้สแลมสิบสาม เพื่อครบรอบ 13 ปีของทางวง ที่ริมทะเลสาบเมืองทองธานี โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ อัญชลี จงคดีกิจ[15] ร่วมแสดงในเพลง "รักอยู่ข้างเธอ" และ "แค่หลับตา", วงโมเดิร์นด็อก[16] ร่วมแสดงในเพลง "ปล่อย" "คนที่ถูกรัก" และ "ตาสว่าง", วงลาบานูน [17] ร่วมแสดงในเพลง "ตาสว่าง" "ยาม" และ "ปลิดปลิว", อ๊อฟ-กบ-หมู จากวงบิ๊กแอส[18][19] ร่วมแสดงในเพลง "งมงาย" "ความรักทำให้คนตาบอด" "ย้ำ" และ "อย่างน้อย", ศิริพร อำไพพงษ์ ร่วมแสดงในเพลง "คิดฮอด", รัฐพล พรรณเชษฐ์ ร่วมแสดงในเพลง "สักวันฉันจะดีพอ" และเพลง "บอดี้สแลม", กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ และอุ๋ย บุดด้า เบลส ร่วมแสดงในเพลง "สติ๊กเตอร์"[20]

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทางวงได้เผยแพร่เพลงใหม่ "เวลาเท่านั้น"[21][22]

อัลบั้ม วิชาตัวเบา (พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน)

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลง"ใครคือเรา" เพลงแรกจากอัลบั้มชุดที่ 7 วิชาตัวเบา โดยแสดงสดครั้งแรกที่ลานอัฒจันทร์สยามสแควร์วัน กรุงเทพมหานคร เวลา 18.00 นาฬิกา พร้อมเผยแพร่มิวสิควิดีโอในเวลาเดียวกัน[23]

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สอง "วิชาตัวเบา" เป็นเพลงต่อมา ในเวอร์ชัน 360 VR [24][25]

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สาม "แสงสวรรค์" และได้ถูกนำไปประกอบในหนัง "2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว"

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 บอดี้สแลมได้เผยแพร่เพลงที่สี่ "ครึ่ง ๆ กลาง ๆ" และได้ถูกนำไปประกอบในหนังสั้น ครึ่ง ๆ กลาง ๆ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร [26]

วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 บอดี้สแลมได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ บอดี้สแลม เฟส วิชาตัวเบา ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ด้วยจำนวนผู้ชมที่มากถึง 130,000 คน จากการจัดแสดงทั้ง 2 รอบ [27]

สมาชิกของวง

สมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
  • รัฐพล พรรณเชษฐ์ (เภา) – กีตาร์, ร้องประสาน (พ.ศ. 2545–2548)
หมายเหตุ
  • อัลบั้มที่ 2 ชัชเป็นมือกลองแบกอัพ และตั้งแต่อัลบั้มที่ 3 จนถึงปัจจุบัน ได้ร่วมเป็นสมาชิกของวง
  • ในอัลบั้ม 4, 5 โอมร่วมงานเป็นแบกอัพเป็นมือคีย์บอร์ด จนปลายอัลบั้มที่ 5 ได้ร่วมเป็นสมาชิกของวง
เส้นเวลา

ผลงาน

ผลงานเพลงของบอดี้สแลม
สตูดิโออัลบั้ม7

สตูดิโออัลบั้ม

หมายเหตุ: สมาชิกของวงที่มีชื่อเล่นเป็น ตัวเอน คือ สมาชิกแบกอัปในอัลบั้มนั้น ๆ ของวง

ชื่ออัลบั้ม ปีที่วางแผง รายชื่อเพลง สมาชิกในอัลบั้ม
Bodyslam
บอดี้สแลม
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545

สังกัด: มิวสิค บั๊กส์

  1. "ทางของฉัน ฝันของเธอ"
  2. "อากาศ"
  3. "เผื่อไว้"
  4. "ยกโทษ"
  5. "ย้ำ" (ร่วมกับ ตรัย ภูมิรัตน)
  6. "นาทีสุดท้าย"
  7. "ผมไม่สู้"
  8. "งมงาย"
  9. "สักวันฉันจะดีพอ"
  10. "มือใหม่"
  11. "Away"
  12. "ป่านนี้"

ตูน, เภา, ปิ๊ด, โจอี้ วง Peak (แบกอัพ)

Drive
ไดรฟ์
9 กันยายน พ.ศ. 2546

สังกัด: มิวสิค บั๊กส์

  1. "ให้รักคุ้มครอง"
  2. "ความซื่อสัตย์"
  3. "ชีวิตที่ฉันเหลืออยู่"
  4. "หวั่นไหว"
  5. "Bodyslam"
  6. "ปลายทาง"
  7. "หลังฝน"
  8. "มีแค่เธอก็เกินพอ"
  9. "จันทร์ยังเต็มดวง"
  10. "ภาพลวงตา"

ตูน, เภา, ปิ๊ด, ชัช (แบกอัพ)

Believe
บีลีฟ
22 เมษายน พ.ศ. 2548

สังกัด: จีนี่เรคคอร์ดส

  1. "ชีวิตเป็นของเรา"
  2. "ขอบฟ้า"
  3. "คนที่ถูกรัก"
  4. "ความรักทำให้คนตาบอด"
  5. "ความเชื่อ" (ร่วมกับ ยืนยง โอภากุล)
  6. "พูดในใจ"
  7. "รักก็เป็นอย่างนี้"
  8. "ห้ามใจ"
  9. "ไม่รู้เมื่อไหร่"
  10. "เจ็บจนวันนี้"

ตูน, ยอด, ปิ๊ด, ชัช

Save my Life
เซฟมายไลฟ์
18 กันยายน พ.ศ. 2550
  1. "ยาพิษ"
  2. "อกหัก"
  3. "ท่านผู้ชม"
  4. "ยิ่งรู้ยิ่งไม่เข้าใจ"
  5. "แค่หลับตา" (ร่วมกับ ปนัดดา เรืองวุฒิ)
  6. "เสี้ยววินาที"
  7. "คนมีตังค์"
  8. "แสงแรก"
  9. "นาฬิกาตาย" (ร่วมกับ เศกพล อุ่นสำราญ)
  10. "ขอบคุณน้ำตา"

ตูน, ยอด, ปิ๊ด, ชัช, โอม (แบกอัพ)

คราม 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553
  1. "คราม"
  2. "ความรัก"
  3. "Sticker"
  4. "คิดฮอด" (ร่วมกับ ศิริพร อำไพพงษ์)
  5. "ทางกลับบ้าน"
  6. "แสงสุดท้าย"
  7. "ปล่อย" (ร่วมกับ ธนชัย อุชชิน)
  8. "เปราะบาง"
  9. "โทน"
  10. "เงา"

ตูน, ยอด, ปิ๊ด, ชัช, โอม (แบกอัพ)

Dharmajāti
ดัม-มะ-ชา-ติ
25 กันยายน พ.ศ. 2557
  1. "เตรียมตัวตาย"
  2. "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง"
  3. "ชีวิตยังคงสวยงาม"
  4. "ปลิดปลิว" (ร่วมกับ เมธี อรุณ)
  5. "dharmajāti (ดัม-มะ-ชา-ติ)"
  6. "ครึ่งหลับครึ่งตื่น"
  7. "คิดถึง"
  8. "รักอยู่ข้างเธอ" (ร่วมกับ อัญชลี จงคดีกิจ)
  9. "ความฝันกับจักรวาล"
  10. "ช่างมันเถอะเหงา"

ตูน, ยอด, ปิ๊ด, ชัช, โอม

วิชาตัวเบา 31 มกราคม พ.ศ. 2562
  1. "ใคร คือ เรา"
  2. "149.6"
  3. "วิชาตัวเบา"
  4. "ทฤษฎีวัคซีน"
  5. "นิรันดร์" (ร่วมกับ ปาล์มมี่)
  6. "ไม่แก่ตาย" (ร่วมกับ โจอี้ บอย)
  7. "ครึ่ง ๆ กลาง ๆ"
  8. "แสงสวรรค์"
  9. "เช้าที่ดวงตะวันไม่เคยส่องแสง"
  10. "ผักบุ้งลอยฟ้า" (ร่วมกับ กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่)
  11. "ความหมาย"
ตูน, ยอด, ปิ๊ด, ชัช, โอม

เพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา

  • Walk Out Your Step (โฆษณา M-150)

โฆษณา

เกียรติประวัติ

รางวัล

ปี ประเภทรางวัล หมายเหตุ
พ.ศ. 2548 รางวัลศิลปินสุดฮิตแห่งปี
จากงาน Hitz 40 Awards 2005[28]
พ.ศ. 2548 รางวัลเพลงฮิตแห่งปี
จากงาน Hitz 40 Awards 2005[28]
เพลง "ขอบฟ้า"
พ.ศ. 2548 รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จากงานคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 3
เพลง "ความเชื่อ"
พ.ศ. 2549 รางวัล Song of the Year
จากงาน FAT AWARDS ครั้งที่ 4 ณ ลานกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[29]
เพลง "ความเชื่อ"
พ.ศ. 2549 รางวัลอัลบั้มยอดนิยม
จากงาน FAT AWARDS ครั้งที่ 4 ณ ลานกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[29]
อัลบั้ม "บีลีฟ"
พ.ศ. 2549 รางวัลศิลปินร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 1 ประจำปี 2005
พ.ศ. 2549 รางวัลเพลงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 1 ประจำปี 2005
เพลง "ความเชื่อ"
พ.ศ. 2550 รางวัลศิลปินกลุ่มร็อกยอดเยี่ยม
จากงานสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 20
พ.ศ. 2550 รางวัลอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม
จากงานสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 20
อัลบั้ม "เซฟมายไลฟ์"
พ.ศ. 2550 รางวัลเพลงร็อกยอดเยี่ยม
จากงานสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 20
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2550 จากงานศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
จากงานสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2007 ครั้งที่ 6
อัลบั้ม "เซฟมายไลฟ์"
พ.ศ. 2550 รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 5 ประเภทเพลงไทยสากล
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2551 รางวัล Record of The Year
จากงาน FAT AWARDS ครั้งที่ 6[30]
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2551 รางวัลวงดนตรียอดนิยม
จากงาน Music Express Awards 2007
พ.ศ. 2551 รางวัลมิวสิกวิดีโอยอดนิยม
จากงาน Music Express Awards 2007
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2551 รางวัลศิลปินร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 3
พ.ศ. 2551 รางวัลอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 3
อัลบั้ม "เซฟมายไลฟ์"
พ.ศ. 2551 รางวัลนักร้องสุดปลื้ม
จากงาน 94 EFM festival ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2553 รางวัลศิลปินร็อกยอดนิยมสุดซี๊ดประจำปี
จากงาน SEED AWARDS ครั้งที่ 5
พ.ศ. 2553 รางวัลสาขาศิลปินยอดนิยม
จาก Young & Smart Vote 2010[31]
พ.ศ. 2553 รางวัลศิลปินที่สุดแห่งปี 2010
จาก Channel [V] Thailand รายการ I am Siam กับที่สุดแห่งปี 2010[32]
พ.ศ. 2554 รางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ประเภทเพลงไทยสากล[33]
พ.ศ. 2554 รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ประเภทเพลงไทยสากล[33]
เพลง "คิดฮอด"
พ.ศ. 2554 รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ประเภทเพลงไทยสากล[33]
อัลบั้ม "คราม"
พ.ศ. 2554 รางวัลศิลปินร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6[34]
พ.ศ. 2554 รางวัลอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6[34]
อัลบั้ม "คราม"
พ.ศ. 2554 รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6[34]
อัลบั้ม "คราม"
พ.ศ. 2554 รางวัลเพลงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6[34]
เพลง "คิดฮอด"
พ.ศ. 2554 รางวัลเพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม
จากงานรางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 23[35]
เพลง "คิดฮอด"
พ.ศ. 2554 รางวัลเพลงร็อกยอดเยี่ยม
จากงานรางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 23[35]

[36]

เพลง "คราม"
พ.ศ. 2554 รางวัลศิลปินกลุ่มโดนใจ
จากงาน PlayPark FanFest 2011
พ.ศ. 2554 รางวัลศิลปินไทยกลุ่มยอดนิยม
จากงาน Channel [V] Thailand Music Video Awards ครั้งที่ 7[37]
พ.ศ. 2555 รางวัลศิลปิน Popular Vote
จากงาน The Guitar 1st Decade Anniversary Awards 2011[38]
พ.ศ. 2555 รางวัลศิลปินโชว์ยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 7[39]
พ.ศ. 2555 รางวัลศิลปินกลุ่ม มณีเมขลา ดีเด่นยอดนิยม
จากงานรางวัลมณีเมขลา ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2555[40]
พ.ศ. 2555 รางวัลศิลปินร็อกยอดนิยม
จากงาน Kazz Award 2012
พ.ศ. 2555 รางวัลศิลปินรุ่นเดอะ ผู้สร้างแรงบันดาลใจในรอบ 12 ปี
จากงาน Fat award 2012
พ.ศ. 2557 รางวัลสุดยอดเพลงแห่งปี
จากงาน แบง มิวสิก อวอร์ดส์ 2014
เพลง "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง"
พ.ศ. 2557 รางวัลสุดยอดมิวสิกวิดีโอแห่งปี
จากงาน แบง มิวสิก อวอร์ดส์ 2014[41]
เพลง "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง"
พ.ศ. 2558 รางวัลเบสต์แบนด์ออฟเดอะเยียร์
จากงาน The Guitar Mag Awards 2015 "Real Awards for Real Artists" ณ เอเชียทีค[42]
พ.ศ. 2558 รางวัลเบสต์อัลบัมออฟเดอะเยียร์
จากงาน The Guitar Mag Awards 2015 "Real Awards for Real Artists" ณ เอเชียทีค[42]
อัลบั้ม "ดัม-มะ-ชา-ติ"
พ.ศ. 2558 รางวัลอัลบั้มร็อคยอดเยี่ยม
จากงานรางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 26[43]
อัลบั้ม "ดัม-มะ-ชา-ติ"
พ.ศ. 2558 รางวัลเพลงบันทึกเสียงยอดเยี่ยม
จากงานรางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 26[43]
เพลง "ชีวิตยังคงสวยงาม"
พ.ศ. 2558 รางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 10[44]
  • ตัวหนังสือสี น้ำเงิน เป็นรางวัลที่ได้รับเกี่ยวกับศิลปิน
  • ตัวหนังสือสี เขียว เป็นรางวัลที่ได้รับเกี่ยวกับผลงาน

ผลสำรวจ

ปี ประเภทผลสำรวจ หมายเหตุ
พ.ศ. 2552 วงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
จากผลสำรวจที่สุดแห่งปี 2552
สำรวจโดยเอแบคโพลล์[45]
อันดับที่ 1 ร้อยละ 18.6
พ.ศ. 2553 วงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
จากผลสำรวจที่สุดแห่งปี 2553
สำรวจโดยเอแบคโพลล์[46]
อันดับที่ 1 ร้อยละ 29.2
พ.ศ. 2554 นักร้องฝ่ายชาย ขวัญใจประชาชน
จากผลสำรวจดารานักร้อง นักแสดง ขวัญใจประชาชนที่สุดแห่งปี 2554
สำรวจโดยเอแบคโพลล์[47]
อันดับที่ 3 ร้อยละ 8.7
พ.ศ. 2555 วงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
จากผลสำรวจที่สุดแห่งปี 2555
สำรวจโดยเอแบคโพลล์[48]
อันดับที่ 1 ร้อยละ 25.1

คอนเสิร์ต

ชื่อคอนเสิร์ต วันที่ สถานที่
HOTWAVE LIVE : BODYSLAM MAXIMUM LIVE 17 เมษายน พ.ศ. 2547 หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
Bodyslam Believe Concert 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ธันเดอร์โดม, เมืองทองธานี
Big Body Concert 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 อิมแพ็ค อารีน่า, เมืองทองธานี
Bodyslam Save My Life Concert 20-21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
Every Bodyslam Concert 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 อิมแพ็ค อารีน่า, เมืองทองธานี
บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ราชมังคลากีฬาสถาน
บอดี้สแลม นั่งเล่น 10-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 IMPACT EXHIBITION HALL 1, เมืองทองธานี[49]
ปรากฏการณ์ดัมมะชาติ ตุลาคม พ.ศ. 2557 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2557[50] ทั่วประเทศ [51][52]
คอนเสิร์ต บอดี้สแลมสิบสาม[53][54] 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี
The Grandslam Live Bodyslam With The Orchestra[55][56] 1, 2, 7, 8 และ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์
BODYSLAM FEST วิชาตัวเบา LIVE IN ราชมังคลากีฬาสถาน[57] 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ราชมังคลากีฬาสถาน [58]

อ้างอิง

  1. ประวัติวงดนตรี BODYSLAM (บอดี้สแลม)
  2. ย้อนตำนาน “พี่ตูน” ก่อน Bodyslam เคยอยู่วง “ละอ่อน” มาฟังกันว่าเพราะมั๊ย ... ใน ไอจีดารา
  3. ก่อนจะมาเป็น " Bodyslam" วงร็อคอันดับ 1 ของไทย
  4. Channel V Thailand Music Video Awards No. 3 results
  5. Season Awards No. 20 Results, Siam Zone
  6. EVERY BODYSLAM CONCERT
  7. ตูน ปลื้ม ร่วมงาน ศิริพร ส่วนผสมกลมกลืน ในเพลง คิดฮอด
  8. Band History (in English)
  9. บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม" จบยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี
  10. "" คอนเสิร์ต บอดี้แสลมนั่งเล่น "". Official Bodyslam Website. 2011-08-15. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
  11. ตูน เอาอยู่ ชวนคนดูเย้ว ถึงจะชื่อ BODYSLAM นั่งเล่น แต่เต้นกระจาย
  12. dharmajāti อัลบั้มใหม่ bodyslam วางแผงแล้ววันนี้
  13. bodyslam ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ คอนเสิร์ตใหญ่เต็มรูปแบบทั่วประเทศครั้งแรก!! เว็บไซต์ยูทูเพลย์
  14. Facebook Yuthana Boonorm
  15. http://www.youtube.com/watch?v=VM63KmcDRj8
  16. http://www.youtube.com/watch?v=daLAITuRu3k
  17. http://www.youtube.com/watch?v=VcyWU7dGmKU
  18. http://www.youtube.com/watch?v=VjdH2RCw6kQ
  19. http://www.youtube.com/watch?v=uMgd3qytasc
  20. มันส์มาราธอนฉลองยิ่งใหญ่ BODYSLAM13
  21. เวลาเท่านั้น ≠ bodyslam「Official MV」
  22. MV เพลง เวลาเท่านั้น ซิงเกิลล่าสุดจาก Bodyslam
  23. ""บอดี้สแลม" ปล่อยซิงเกิ้ลใหม่ "ใครคือเรา" สุดยิ่งใหญ่ แฟนรอดูแน่นสยาม แถมโชว์สุดมันส์". ข่าวสด. 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2018-05-01.
  24. https://www.youtube.com/watch?v=FNq-8bWfAwQ
  25. ‘วิชาตัวเบา’ ครั้งแรกของ MV เพลงไทยที่ทำออกมาในรูปแบบ VDO 360 องศาเต็มรูปแบบ
  26. ครึ่งๆ กลางๆ เพลงใหม่ Bodyslam ฟังก็เศร้า ดู MV นี่ร้องไห้เลย! ข่าวสด วันที่ 30 ตุลาคม 2561 - 20:13 น. สืบค้นเมื่อ 4-11-2018
  27. Bodyslam Fest วิชาตัวเบา’ บทพิสูจน์ฝีมือวงร็อคคุณภาพที่ทำให้ราชมังคลาฯสั่นสะเทือน
  28. 28.0 28.1 Hitz 40 Awards 2005
  29. 29.0 29.1 ""FAT AWARDS ครั้งที่ 4"". Siamzone. 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  30. ""FAT AWARDS ครั้งที่ 6"". You2Play. 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  31. Young & Smart Vote 2010
  32. I am Siam กับที่สุดแห่งปี 2010
  33. 33.0 33.1 33.2 ""คม ชัด ลึก อวอร์ด 2553"". คม ชัด ลึก. 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 ""Bodyslam แรง! กวาด 4 รางวัล Seed Awards 6"". จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  35. 35.0 35.1 ""รางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 23"". จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  36. ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 23 ประจำปี 2553 ใน สยามโซน
  37. ประมวลผลรางวัล Channel [V] Thailand Music Video Awards #7ใน Mthai 6 ก.ย. 2011 สืบค้นเมื่อ 2-2-2018
  38. The Guitar 1st Decade Anniversary Awards 2011
  39. ""ประมวลภาพ สรุปผลรางวัลงาน 'Seed Awards ครั้งที่ 7' โดย Seed 97.5 FM"". pingbook. 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  40. ""ประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24"". sanook. 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-03-10.
  41. http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObGJuUXhNakkyTURVMU53PT0=
  42. 42.0 42.1 ภาพงานประกาศผลรางวัล The Guitar Mag Awards 2015 "Real Awards for Real Artists" ณ เอเชียทีค
  43. 43.0 43.1 http://www.facebook.com/bodyslamband/photos/pb.133294784852.-2207520000.1436365866./10153262297469853/?type=3&theater
  44. Bodyslam 🏆 คว้ารางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
  45. บทความ เอแบคโพลล์ เผยที่สุดแห่งปี 2552
  46. เอแบคโพลล์: ที่สุดแห่งปี 2553 ด้านบันเทิง
  47. เอแบคโพลล์: ดารานักร้อง นักแสดง ขวัญใจประชาชนที่สุดแห่งปี 2554
  48. “สุดยอดของความบันเทิง แห่งปี 2555
  49. Boxset DVD Concert Bodyslam นั่งเล่น
  50. ช็อก!ยกเลิกคอนเสิร์ต "บอดี้สแลม" เหตุขาดทุน 20 ล้าน
  51. คอนเสริ์ตบอดี้แสลม
  52. ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ
  53. คอนเสิร์ต บอดี้สแลมสิบสาม #bodyslam13
  54. 100 พลัส PRESENTS คอนเสิร์ตบอดี้สแลมสิบสาม
  55. CHANG MUSIC CONNECTION PRESENTS THE GRANDSLAM LIVE BODYSLAM WITH THE ORCHESTRA
  56. จัดเต็มคอนเสิร์ตสุดมัน The Grandslam Live Bodyslam With The Orchestra ใน กระปุกดอตคอม 6 ต.ค. 59
  57. M-150 presents BODYSLAM FEST วิชาตัวเบา LIVE IN ราชมังคลากีฬาสถาน
  58. คอนเฟิร์มแล้ว! "Bodyslam" ประกาศคอนเสิร์ตใหญ่ที่ราชมังฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019

แหล่งข้อมูลอื่น