ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพฤหัสบดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| ภาษาแม่ = เทวนาครี
| ภาษาแม่ = เทวนาครี
| ชื่อในภาษาแม่ = बृहस्पति
| ชื่อในภาษาแม่ = बृहस्पति
| god_of = เทวคุรุ เทพแห่งดาวพฤหัสบดี การศึกษาเล่าเรียน ความรู้ ครูบาอาจารย์ ฤๅษีมุนี
| god_of = เทวคุรุ เทพแห่งดาวพฤหัสบดี การศึกษาเล่าเรียน ความรู้ ปรัชญา ธรรมะ ครูบาอาจารย์ ฤๅษีมุนี
| จำพวก = เทวดานพเคราะห์ และฤๅษี
| จำพวก = เทวดานพเคราะห์ และฤๅษี
| เทวฉายา = ดาวพฤหัสบดี และ ครุศาสตร์
| เทวฉายา = ดาวพฤหัสบดี และ ครุศาสตร์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:46, 9 พฤษภาคม 2562

พระพฤหัสบดี
เทวนาครี: बृहस्पति
พระพฤหัสบดี ในคติอินเดีย ทรงประคำ,ช้อนตักน้ำมัน,ถ้วย ประทับบนดอกบัว
ตำแหน่งเทวคุรุ เทพแห่งดาวพฤหัสบดี การศึกษาเล่าเรียน ความรู้ ปรัชญา ธรรมะ ครูบาอาจารย์ ฤๅษีมุนี
จำพวกเทวดานพเคราะห์ และฤๅษี
อาวุธกระดานชนวน,ลูกประคำ,หม้อน้ำ,คัมภีร์,ไม้เท้า,หอก,ธนู,ศร,จักร,สังข์,คทา,ดอกบัว,ดาบ ฯลฯ
สัตว์พาหนะช้าง,กวาง,โควิศวรูป,ราชรถสีทองชื่อ นีติโฆษะ เทียมม้าสีเทา 8 ตัว
บิดาฤๅษีอังคิรส
มารดาพระนางสมฤติ
คู่ครองพระนางตารา,พระนางมัมตา(ชู้)
บุตรพระกัจมุนี,ฤๅษีทีรฆตมัส,ฤๅษีภรัทวาช,ตาระ (วานรในรามายณะ),มาลุนทเกสร (วานรสิบแปดมงกุฎในรามเกียรติ์)
ดาวพระเคราะห์พฤหัสปติโลก (ดาวพฤหัสบดี)

พระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति พฤหสฺปติ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากพระศิวะทรงนำฤๅษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีพระวรกายสีส้มทอง ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม) เรียกว่า มุสิกนาม พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย (เทวคุรุ,เทวาจารย์) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี ในไตรภูมิพระร่วง พระพฤหัสบดีมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศตะวันตก วิมานใหญ่ ๑๗ โยชน์ รัศมีขาวเหลืองดังมุก

ในคติฮินดู พระพฤหัสบดี เป็นบุตรของฤๅษีอังคิรส กับพระนางสมฤติ พระศิวะทรงแต่งตั้งให้เป็นคุรุแห่งเหล่าเทวดา ทรงเป็นทั้งเทวฤๅษี เทวคุรุ และเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวพฤหัสบดี เป็นเทพแห่งสติปัญญา ความรู้ พลังญาณ การศึกษาเล่าเรียน เป็นเทพประจำเหล่าครูบาอาจารย์และฤๅษีมุนี พระพฤหัสบดี มีพี่ชาย ๒ องค์ คือ ฤๅษีอุตัถยะ และ ฤๅษีสังวรรตนะ พระพฤหัสบดีและนางมัมตา ชายาของฤๅษีอุตัถยะ ลักลอบเป็นชู้กัน เมื่อฤๅษีอุตัถยะรู้ จึงสาปให้บุตรในท้องของนางมัมตากลายเป็นคนตาบอด และสาปพระพฤหัสบดีว่า ในอนาคตชายาของพระพฤหัสบดีก็จะเป็นชู้กับผู้อื่น บุตรที่ตาบอดนั้น ชื่อว่า ฤๅษีทีรฆตมัส ส่วนบุตรอีกคนของนางมัมตากับพระพฤหัสบดี คือ ฤๅษีภรัทวาช และพระพฤหัสบดีก็ทรงอวตารลงมาเกิดเป็นบุตรของบุตรของตนเอง คือ โทรณาจารย์ อาจารย์ประจำราชสำนักกรุงหัสตินาปุระ

ลักษณะของพระพฤหัสบดี ในคติไทย เป็นเทพบุรุษมีกายสีส้มทอง มี ๒ กร ทรงลูกประคำและกระดานชนวน บ้างก็ทรงหอกเป็นอาวุธ สวมชฎายอดฤๅษี ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงกวางเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทวฤๅษีมีกายสีทอง รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา มี ๔ กร ทรงลูกประคำ คัมภีร์ หม้อน้ำ ไม้เท้า ฯลฯ รัศมีสีทอง มุ่นมวยผมอย่างฤๅษี สวมลูกประคำ สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงช้างเป็นพาหนะ พระพฤหัสบดี ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระเทวคุรุ,พระเทวาจารย์,พระเทวฤๅษี,พระพรหมนัสบดี,พระคีษปติ,พระชีวะ,พระคุรุ,พระคุณากร,พระอางคิรสะ,พระวาจัสปติ,พระวริษฐ์,พระสุราจารย์,พระคิรีศะ,พระเทวปูชิตะ,พระสวรรณกาย ฯลฯ

พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤๅษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เมตตาปรานีต่อผู้อื่น พระพฤหัสบดีเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ เนื่องจากถูกพระจันทร์แย่งชิงชายา คือ นางตาราไปครองเป็นชายาของตัวเอง แต่ท้ายสุดพระพฤหัสบดีก็ได้นางตารากลับไป ในนิทานชาติเวรเล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระพฤหัสบดีเกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ พระอาทิตย์เกิดเป็นมานพหนุ่ม พระจันทร์เกิดเป็นบุตรีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ พระอังคารเกิดเป็นวิทยาธร มานพหนุ่มได้มาเล่าเรียนวิชากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ จนสำเร็จวิชา อาจารย์จึงยกบุตรีให้ และให้ใส่นางไว้ในผอบทองเพื่อจะได้ปลอดภัย วันหนึ่งมานพไปหาผลไม้ในป่า วิทยาธรได้ลักลอบมาเป็นชู้กับบุตรีอาจารย์ อาจารย์เข้าฌานและได้เห็นความประพฤติชั่วของบุตรี จึงคิดอุบายขึ้นมา วันหนึ่งมานพกลับมาเยี่ยมอาจารย์ อาจารย์ได้หยิบเซี่ยนหมากออกมารับรองไว้สองเซี่ยน มานพเห็นผิดธรรมเนียมจึงไต่ถาม อาจารย์จึงให้รีบกลับไปที่เรือนและเปิดผอบดูเถิด เมื่อมานพหนุ่มกลับมา เปิดผอบพบนางผู้เป็นภรรยาเป็นชู้กับวิทยาธร วิทยาธรเห็นดังนั้นก็ตกใจ หยิบพระขรรค์ฟันศีรษะมานพหนุ่ม ส่วนมานพขว้างจักรเพชรไป ถูกขาวิทยาธรขาด ตั้งแต่นั้น พระพฤหัสบดีจึงเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ ส่วนพระจันทร์เป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี และพระอาทิตย์เป็นศัตรูกับพระอังคาร จากตำนานนี้ผู้ใดที่เกิดวันพฤหัสบดีแล้วพระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะมีคนมาขอความช่วยเหลือ มีเรื่องวุ่นวายใจ หากพระจันทร์โคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะเกิดการทะเลาะวิวาทกับผู้น้อย จะมีเรื่องต้องเสียทรัพย์

ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ (เลขห้าไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤๅษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือ ปางสมาธิ

เมื่อเทียบกับความเชื่อของชาวกรีกและโรมันแล้ว พระพฤหัสบดี คือ ซุส หรือ จูปิเตอร์

อ้างอิง

  • อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ.พรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
  • เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
  • กิเลน ประลองเชิง, ตำนานจันทร์เจ้า. "ชักธงรบ". หน้า 3 ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21346: วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก