ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูล
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัย มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ ชั้น 7 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ และชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน ต่อมาใน พ.ศ. 2556 ได้ขยายพื้นที่ทำการเพื่อบริการคณาจารย์และนักศึกษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารหอประชุม และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี เพชรบุรี
ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัย มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ ชั้น 7 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ และชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน ต่อมาใน พ.ศ. 2556 ได้ขยายพื้นที่ทำการเพื่อบริการคณาจารย์และนักศึกษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารหอประชุม และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี เพชรบุรี


== หน่วยงาน ==
== หน่วยงานภายในของสำนักงานคณบดี ==


* งานบริหารและธุรการ
* สำนักงานคณบดี
** งานบริหารและธุรการ
* งานคลังและพัสดุ
** งานคลังและพัสดุ
* งานบริการการศึกษา
* งานแผนและพัฒนาระบบ
** งานบริหารการศึกษา
** งานแผนและพัฒนาระบบ
* งานส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ
** งานส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ


== หลักสูตร ==
== หลักสูตร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:20, 8 พฤษภาคม 2562

บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Graduate School, Silpakorn University
สถาปนา28 กันยายน พ.ศ. 2515 (51 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร. จุไรรัตน์ นันทานิช
ที่อยู่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน เลขที่ 22 ถนนบรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
วารสารวารสาร Viridian E–Journal
สี██ สีเขียวตั้งแช[1]
มาสคอต
พระคเณศ
เว็บไซต์www.graduate.su.ac.th

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Graduate School, Silpakorn University) มีฐานะเป็นคณะวิชาของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2515 ทำหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีของทุกคณะวิชาในมหาวิทยาลัย

ประวัติ

"บัณฑิตวิทยาลัย" ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2515 โดยมีกำเนิดมาจากโครงการจัดตั้งสถาบันโบราณคดี และโครงการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งได้แสดงเหตุผลความจำเป็นว่าให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 7/2512 ที่เสนอแนะ คณะโบราณคดี ทำการสอนในขั้นบัณฑิตศึกษา และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้นได้กำหนดว่า มหาวิทยาลัย อาจจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยได้ในเมื่อมีการเปิดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานกลางที่จะรับผิดชอบดำเนินงานการศึกษาระดับนี้ โดยเฉพาะจะทำหน้าที่บริหาร วางแผน วางนโยบาย จัดการศึกษา ควบคุมมาตรฐานการศึกษาและการวิจัย ทำการประสานงานและสนับสนุนให้ความสะดวกในการจัดการศึกษา การวิจัย แก่คณะที่เปิดทำการสอน อีกทั้งยังจะทำหน้าที่ประเมินและสรุปผลการศึกษาวิจัยอีกด้วย ซึ่งจะเป็นการแบ่งเบาภาระงานของคณะที่จะทำการสอน อันจะทำให้งานสอนมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานเท่าเทียมกันทุกสาขาวิชาที่เปิดทำการสอน

ต่อมาใน พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยได้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการจัดระบบบริหารงานในบัณฑิตวิทยาลัยและการจัดให้มีคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2537 เพื่อกำหนดหน้าที่และระบบบริหารงานในบัณฑิตวิทยาลัย โดยได้กำหนดหน้าที่ของบัณฑิตวิทยาลัย ดังนี้ ให้บัณฑิตวิทยาลัยมีหน้าที่บริการการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย จัดวางแผน กำหนดควบคุมมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร ประเมินผลการศึกษา ประสานงานและดำเนินการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบัณฑิตศึกษาร่วมกับคณะวิชาหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชาที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2516 โดยเปิดรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย และระดับปริญญาโท 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาโบราณคดี และสาขาวิชาจารึกภาษาโบราณ (ปัจจุบันคือสาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก) มีนักศึกษาทั้งสิ้น 18 คน

ต่อมาที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีข้อเสนอแนะในการนำเสนอหลักสูตรเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาว่า "เนื่องจากการเปิดหลักสูตรใหม่มีผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ดังนั้น ภายใต้สภาวะของข้อจำกัดในเรื่องทรัพยากร ทั้งเรื่องสถานที่ งบประมาณ บุคลากร และสภาวะการแข่งขันของสถาบันการศึกษา จึงควรจัดทำหลักสูตรในลักษณะหลักสูตรบูรณาการ โดยการนำศักยภาพของแต่ละคณะวิชามาเป็นจุดแข็งในการสร้างหลักสูตรที่สนองความต้องการของสังคมแทนการเปิดหลักสูตรในลักษณะเดี่ยว ๆ ที่สามารถหาได้ทั่วไปในมหาวิทยาลัยอื่น หรือการจัดทำหลักสูตรที่สนองกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการเฉพาะ"

บัณฑิตวิทยาลัยในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา โดยประสานความร่วมมือทางวิชาการจากคณะวิชาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดหลักสูตรใหม่ที่มีความสร้างสรรค์ และมีลักษณะพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) คือ หลักสูตรที่นำเอาความรู้หลายศาสตร์หรือหลายอนุศาสตร์ที่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และวิจัย จนกระทั่งผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้ องค์ความรู้ เป็นศาสตร์ใหม่ขึ้นหรือเกิดอนุศาสตร์ใหม่ขึ้น

ดังนั้น ใน พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรพหุวิทยาการของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขึ้น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของสังคม โดยความร่วมมือระหว่างบัณฑิตวิทยาลัยกับคณะวิชาต่าง ๆ และได้รับการอนุมัติหลักสูตรแรก คือ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา (Master of Arts Program in Educational Informatics) ให้เปิดสอนครั้งแรกได้ในปีการศึกษา 2555 โดยความร่วมมือระหว่างบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ คณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และ คณะวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานอยู่ภายใต้การดูแลของบัณฑิตวิทยาลัย การดำเนินการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวไม่มีอาจารย์ประจำ ผู้สอนเป็นอาจารย์ประจำมาจากคณะวิชาต่าง ๆ และต่อมาในปีการศึกษา 2557 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรพหุวิทยาการเพิ่มอีก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรพหุวิทยาการ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557)

ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัย มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ ชั้น 7 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ และชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน ต่อมาใน พ.ศ. 2556 ได้ขยายพื้นที่ทำการเพื่อบริการคณาจารย์และนักศึกษาเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารหอประชุม และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี เพชรบุรี

หน่วยงานภายในของสำนักงานคณบดี

  • งานบริหารและธุรการ
  • งานคลังและพัสดุ
  • งานบริการการศึกษา
  • งานแผนและพัฒนาระบบ
  • งานส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ

หลักสูตร

บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับคณะวิชาต่าง ๆ

ปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
  • สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
  • สาขาวิชาอนุรักษ์ศิลปกรรม (หลักสูตรพหุวิทยาการ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการออกแบบและศิลปะเสียง (หลักสูตรพหุวิทยาการ)

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)

  • สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบและการจัดการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ (หลักสูตรพหุวิทยาการ)

ทำเนียบคณบดี

รายพระนามและรายนามคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
รองศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2518[2]
2
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 – 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
3
รองศาสตราจารย์ ไขศรี ศรีอรุณ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2529[3]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2532[4]
5
อาจารย์ ดร. สมเจตน์ ไวยาการณ์ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2532 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2536[5]
5 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541[6]
6
ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม 7 มิถุนายน พ.ศ. 2536 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2537
7
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิราวรรณ คงคล้าย 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545[7]
5 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2549[8]
8
รองศาสตราจารย์ ดร. วิสาข์ จัติวัตร์ รักษาราชการแทนคณบดี 9 มีนาคม พ.ศ. 2549 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[9]
9
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริชัย ชินะตังกูร 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[10]
10
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปานใจ ธารทัศนวงศ์ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[11]
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561[12]
11
รองศาสตราจารย์ ดร. จุไรรัตน์ นันทานิช 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อ้างอิง

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 80/2516 ลงวันที่ 5 เมษายน 2516
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 22/2526 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 687/2529 ลงวันที่ 14 กันยายน 2529
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 528/2532 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2532
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1038/2537 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2537
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 740/2541 ลงวันที่ 16 กันยายน 2541
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 1006/2545 ลงวันที่ 4 กันยายน 2545
  9. คำสั่ง มศก. ที่ 407/2549 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2549
  10. คำสั่ง มศก. ที่ 1099/2549 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2549
  11. คำสั่ง มศก. ที่ 516/2553 ลงวันที่ 22 เมษายน 2553
  12. คำสั่ง มศก. ที่ 886/2557 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2557

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น