ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 151: บรรทัด 151:


==== 5 พฤษภาคม ====
==== 5 พฤษภาคม ====
[[ไฟล์:The Coronation of King Rama X B.E. 2562 (A.D. 2019).JPG|thumb|250px|กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร]]

* เวลา 9:00 น. พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นเป็น [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] รวมทั้งเฉลิมพระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ เลี้ยงพระ เทศน์ ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]]
* เวลา 9:00 น. พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นเป็น [[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] รวมทั้งเฉลิมพระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ เลี้ยงพระ เทศน์ ณ [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]]
* เวลา 16:30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดย[[กระบวนพยุหยาตราสถลมารค]] จาก[[พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท]] ไปยัง[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] [[วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม]] และ[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม]] ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ โดยเสด็จในกระบวน ในฐานะรองผู้บัญชาการ และนายทหารพิเศษประจำ[[หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์]] ตามลำดับ<ref>{{Cite web|url=https://th.hellomagazine.com/royalty/queen-suthida-princess-patcharakitiyapha/|title=สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี – เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ สองหญิงกล้าแห่งรัชกาลที่ 10|author=HELLO! Thailand|date=6 พฤษภาคม 2562|website=th.hellomagazine.com|accessdate=7 พฤษภาคม 2562}}</ref>
* เวลา 16:30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดย[[กระบวนพยุหยาตราสถลมารค]] จาก[[พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท]] ไปยัง[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] [[วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม]] และ[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม]] ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ โดยเสด็จในกระบวน ในฐานะรองผู้บัญชาการ และนายทหารพิเศษประจำ[[หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์]] ตามลำดับ<ref>{{Cite web|url=https://th.hellomagazine.com/royalty/queen-suthida-princess-patcharakitiyapha/|title=สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี – เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ สองหญิงกล้าแห่งรัชกาลที่ 10|author=HELLO! Thailand|date=6 พฤษภาคม 2562|website=th.hellomagazine.com|accessdate=7 พฤษภาคม 2562}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:07, 7 พฤษภาคม 2562

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พุทธศักราช 2562
วันที่4 - 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562
ที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°45′01″N 100°29′32″E / 13.750146°N 100.492090°E / 13.750146; 100.492090
ผู้รายงานคนแรกสำนักพระราชวัง
ผู้เข้าร่วมพระบรมวงศานุวงศ์, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รัฐบาลไทย และประชาชนทั่วไป

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และนับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[1]

การเตรียมการ

การเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุมและดำรงตำแหน่งองค์ประธานที่ปรึกษา[2][3], พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน ชีพ จุลมนต์ ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย และ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการ

กรรมการ อาทิ บุษยา มาทแล็ง อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ดอน ปรมัตถ์วินัย วีระ โรจน์พจนรัตน์ อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ การุณ สกุลประดิษฐ์ กุลิศ สมบัติศิริ อนันต์ สุวรรณรัตน์ กิตติพันธ์ พานสุวรรณ อนันต์ ชูโชติ โชติ ตราชู บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร

พลเอก วิลาศ อรุณศรี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ นายกองเอก ฉัตรชัย พรหมเลิศ นายกองเอก จรินทร์ จักกะพาก พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ นายแพทย์ สุขุม กาญจนพิมาย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ดร. พสุ โลหารชุน ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ดร. ประสงค์ พูนธเนศ ดร. [4] กฤษศญพงษ์ ศิริ

พัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ[5]นพพร บุญแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

มีการตั้งคณะกรรมการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยในฝ่ายประชาสัมพันธ์ มี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็น เลขานุการ

ฝ่ายจัดพิธีการ มี ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และนาง พัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ

ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการจราจร มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และพลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นเลขานุการ พลตำรวจเอก ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย ประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการการรักษาความปลอดภัยและการจราจร เป็น พลตำรวจโท สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข และ พลโท ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ เป็น รองประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการการรักษาความปลอดภัยและการจราจร[6]

ฝ่ายจัดทำน้ำอภิเษก มี นาย ฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะอนุกรรมการ[7]

ฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณ มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และ นาง ประภาศรี บุญวิเศษ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ

ฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ มี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ เช่น บุษยา มาทแล็ง พรพิพัฒน์ เบญญศรี อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ลือชัย รุดดิษฐ์ พสุ โลหารชุน ณัฐ อินทรเจริญ จักรทิพย์ ชัยจินดา ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย

ฝ่ายจัดการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร มี พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นที่ปรึกษาและอนุกรรมการ และ นาง ศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการ นาง สุมิตรา อติศัพท์ ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็น ประธานคณะทำงานจัดทำเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

ริ้วขบวน

ในพระราชพิธีอย่างเป็นทางการจะมี 3 ริ้วขบวน ดังนี้

การฝึกซ้อม

  • 20 กุมภาพันธ์ - กรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกพื้นฐานลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในริ้วขบวนทั้ง 3 ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน[8]
  • 26 กุมภาพันธ์ - พล.ท.ศักดา ศิริรัตน์ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ทำพิธีบวงสรวงกลองมโหระทึกที่จะใช้ในงานพระราชพิธี[9]
  • 12 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 เสมือนจริงเป็นกรณีพิเศษ เน้นกำลังพลของหน่วยทหารและข้าราชบริพารที่ต้องรับผิดชอบ[10]
  • 19 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 แบบรวมการทุกเหล่าเป็นครั้งแรก[11]
  • 26 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 1 และ 2 บนพื้นที่จำลอง ในพื้นที่กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 เป็นครั้งแรก[12]
  • 28 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 บนพื้นที่จำลองครั้งสุดท้าย โดยมีพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ร่วมลงฝึกซ้อม[13]
  • 17 เมษายน - ฝึกซ้อมริ้วขบวนทั้ง 3 ริ้วขบวนบนพื้นที่จริงครั้งแรก[14]
  • 21 เมษายน - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 บนพื้นที่จริงครั้งที่ 2 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าร่วมการฝึกซ้อมเป็นครั้งแรก[15]
  • 22 เมษายน - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 1 และ 2 บนพื้นที่จริงครั้งที่ 2[16]
  • 28 เมษายน - ฝึกซ้อมใหญ่ริ้วขบวนที่ 1 และ 3 บนพื้นที่จริง เป็นการฝึกซ้อมครั้งสุดท้ายก่อนเริ่มพระราชพิธีจริง[17]
  • 29 เมษายน - ฝึกซ้อมใหญ่ริ้วขบวนที่ 2 บนพื้นที่จริง[17]

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธี

ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานในครั้งนี้ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒" ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำเข็มที่ระลึกขึ้นเพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยต่อไป[18]

การเตรียมสถานที่และปรับปรุงภูมิทัศน์

  • วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 กิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม ถนนอัษฎางค์ และถนนบำรุงเมือง มีหน่วยพระราชทานจิตอาสา ประชาชนจิตอาสา เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ กรมราชทัณฑ์ สมาคมรุกขกรรมไทย และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกว่า 400 คน ระดมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไปตัดแต่งกิ่งก้าน และฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ ให้มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดกิ่งก้านต้นไม้ตามหลักรุกขกรรม เพื่อให้ต้นไม้ริมคลองคูเมืองเดิมทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปถึงสะพานช้างโรงสี[19]

หมายกำหนดการ[20]

พิธีการจัดทำน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พิธีพลีกรรมตักน้ำ

พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนนทบุรี

พิธีพลีกรรมตักน้ำเกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีพิธีการในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 25621

พิธีทำน้ำอภิเษกในแต่ละจังหวัด

พิธีทำน้ำอภิเษกในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีพิธีการในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

  • เวลา 15:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ พระอารามหลวงประจำจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจุดธูปเทียนที่หน้าเครื่องสังเวยบูชาฤกษ์
  • เวลา 17:00 น. ประธานสงฆ์ประกาศชุมนุมเทวดาในการพิธีทำน้ำอภิเษก ประธานสงฆ์เจิมเทียนชัย เทียนมงคลและ เทียนพุทธาภิเษก ประธานในพิธีถวายเทียนชนวนแด่ประธานสงฆ์
  • เวลา 17:10 - 22:00 น. ประธานสงฆ์จุดเทียนชัยและเทียนพุทธาภิเษก พระสงฆ์ 30 รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย โดยก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทไตรสรณคมน์ (พุทธัง) เจ้าหน้าที่จะเชิญประธานพิธีจุดเทียนมงคล เทียนหน้าพระ และเทียนนวหรคุณ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ได้นิมนต์พระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่นิมนต์พระสงฆ์เถราจารย์ และพระสวดภาณวารขึ้นอาสน์สงฆ์ ประธานพิธีจุดเทียนทอง เทียนเงิน และธูปเทียนหน้าเตียงพระสวดภาณวาร เจ้าหน้าที่อาราธนาพระสงฆ์สวดภารวาร พระสงฆ์เถราจารย์ และพระสงฆ์สวดภารวาร จะได้ผลัดเปลี่ยนกันนั่งเจริญจิตภาวนาอธิษฐานจิต และสวดภาวนาต่อไปจนถึงเวลาอันสมควร

พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัด

พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีพิธีการในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

  • เวลา 09:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  • เวลา 10:00 น. พระสงฆ์เถราจารย์ประธานสงฆ์ดับเทียนชัย พระสงฆ์ 30 รูป เจิญพระพุทธมนต์คาถาดับเทียนชัย เจ้าหน้าที่ประโคมฆ้องชัย ดุริยางค์บรรเลงเพลง ประธานสงฆ์เจือน้ำพระพุทธมนต์ในน้ำอภิเษก และมอบให้ประธานพิธี ประธานพิธีตักน้ำอภิเษกใส่คนโท เพื่อเตรียมเชิญไปกระทรวงมหาดไทย
  • เวลา 12:00 น. ตั้งพิธีบายศรีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก บัณฑิตหรือโหรทำพีธีบายศรี และแว่นเวียนเทียน แว่นที่ 1 และส่งให้ประธานพิธี ประธานพิธีรับแว่นเวียนเทียนจากบัณฑิตหรือโหรแล้ววักแว่นที่จุดเทียนแล้วเข้าหาตัว 3 ครั้ง แล้วใช้มือขวาโบกควันออก แล้วส่งต่อให้คนที่อยู่ซ้ายมือ เวียนไปจนครบ 3 ครบ เมื่อครบแล้วคนสุดท้ายส่งให้บัณฑิตหรือโหร ผู้ทำหน้าที่เบิกแว่นเทียน เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีเชิญน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดมารวมที่กระทรวงมหาดไทย

พิธีเชิญน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดมารวมเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย มีพิธีการในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

  • เวลา 07:30 น. นาย ฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเปิดกรวยกระทงดอกไม้ เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในสถานที่เก็บรักษาคนโทน้ำอภิเษก ณ ห้องดอกแก้ว ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • เวลา 07:50 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ เชิญน้ำอภิเษกทยอยเดินทางมาถึงกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่เชิญคนโทลงจากรถ โดยมีผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย นำโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยตั้งแถวรอรับขบวน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่เชิญคนโทน้ำอภิเษกขึ้นไปยังห้องดอกแก้ว ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นเจ้าหน้าที่เชิญคนโทส่งต่อให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อวางลงในจุด ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์ และเดินทางกลับ

12 เมษายน

พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง

  • เวลา 12:50 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์โดยรอบพระราชฐานชั้นใน พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นประธานในพิธีอธิษฐานจิตพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบาตรน้ำมนต์ภายในหอศาสตราคม บรรจุในคนโท จากนั้นเชิญคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคมขึ้นรถยนต์ประจำตำแหน่ง นำไปวางบนแท่นที่จัดไว้สำหรับกรุงเทพมหานครที่กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับคนโทน้ำอภิเษกจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ และน้ำสรงพระมุรธาภิเษกอีก 9 ใบ รวมเป็น 86 ใบ

18 เมษายน

  • เวลา 07:00 น. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น เคลื่อนขบวนจากกระทรวงมหาดไทยไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อเชิญคนโทน้ำอภิเษกเข้าไปในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นระยะทาง 740 เมตร และเคลื่อนขบวนกลับกระทรวงมหาดไทย[22]
    ริ้วขบวนอันเชิญคนโทน้ำอภิเษกไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562
  • เวลา 15:00 น. กระทรวงมหาดไทยมีการจัดริ้วขบวนเชิญคนโทน้ำอภิเษกจากกระทรวงมหาดไทยไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม และ มีการประกอบพิธีเสกน้ำอภิเษกรวม ณ วิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
  • เวลา 17:19 - 21:30 น. พิธีเสกน้ำอภิเษก ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม 1
    • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงจุดเทียนชัย นายกรัฐมนตรีจุดเทียนวิปัสสี เทียนมหามงคล และเทียนมหาหรคุณ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณจุดธูปเทียนบูชาเทพยดา อ่านประกาศชุมนุมเทวดา พระสงฆ์ 68 รูป เจริญพระพุทธมนต์ นายกรัฐมนตรีจุดเทียนที่ครอบสัมฤทธิ์ถวายสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ และภายในราชวัติ ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่คนโทน้ำพระพุทธมนต์ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายคันประทีป สั่นกระดิ่ง และโปรยข้าวตอก ดอกไม้ที่คนโทน้ำพระพุทธมนต์ จากนั้นนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานศาลฎีกา ร่วมกันถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และย่ามปักตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก นายกรัฐมนตรีกรวดน้ำ พระสงฆ์อนุโมทนา ถวายอดิเรก นายกรัฐมนตรีไปยังหน้าพระสวดภาณวาร จุดเทียนทอง-เงิน และเครื่องบูชากระบะมุก จุดเทียนพุทธาภิเษกข้างตู้เทียนชัยแล้วเดินทางกลับ จากนั้นในเวลา 20:10 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เดินทางถึงพระวิหารหลวง แล้วเดินไปยังตู้เทียนชัย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถวายใบพลูแด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ และในเวลา 20:19 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์บริกรรมคาถาและดับเทียนชัย[22]

19 เมษายน

  • เวลา 6:45 น. เชิญคนโทน้ำอภิเษกออกจากพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม และเคลื่อนริ้วขบวนเข้าสู่ประตูสวัสดิโสภา หน้าพระบรมมหาราชวัง เมื่อถึงประตูสวัสดิโสภา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เชิญพานพุ่มทอง-พานพุ่มเงิน ถวายราชสักการะหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบริเวณกำแพงพระบรมมหาราชวัง จากนั้น คณะผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยวางพานกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพและเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพตามลำดับ แล้วเชิญคนโทน้ำอภิเษกไปวางในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเคลื่อนขบวนกลับกระทรวงมหาดไทย[22]

22 เมษายน

  • เวลา 15:50 น. พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ผู้แทนพระองค์ เสด็จโดยรถยนต์พระประเทียบมายังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นเสด็จเข้าพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงกราบ จากนั้นถวายความเคารพพระราชอาสน์ ประทับพระเก้าอี้ ทรงศีล เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อถึงบทเสกน้ำพระพุทธมนต์ ผู้แทนพระองค์ทรงจุดเทียนที่ฝาครอบพระกริ่ง จากนั้น เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญครอบพระกริ่งไปตั้งที่หน้าประธานสงฆ์ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนครอบพระกริ่งแด่ประธานสงฆ์ ประทับพระเก้าอี้ ณ ที่เดิม พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนผ้าไตรแด่พระสงฆ์ 10 รูป ประทับพระเก้าอี้ที่เดิม ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วออกจากพระอุโบสถ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงกราบเครื่องนมัสการ ถวายความเคารพพระราชอาสน์แล้วเสด็จกลับ[23]

23 เมษายน

  • เวลา 8:19 - 11:35 น. จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์โดยรถยนต์พระประเทียบมายังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ผู้แทนพระองค์ถวายความเคารพพระราชอาสน์ ประทับพระเก้าอี้ โหรหลวงผู้จารึกดวงพระบรมราชสมภพ, ช่างศิลป์ประจำพระองค์ผู้แกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล พร้อมเจ้าพนักงานอาลักษณ์ผู้จารึกพระสุพรรณบัฏ เข้าไปกราบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วหันหน้าสู่พระราชอาสน์ ถวายบังคม คำนับผู้แทนพระองค์ แล้วไปนั่งประจำโต๊ะตามหน้าที่ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนาศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล จบแล้วผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงจุดเทียนบนโต๊ะทำพิธี เจ้าพนักงานอาลักษณ์นำสายสิญจน์คล้องคอ
    • เวลา 09.49 น. พนักงานอาลักษณ์เริ่มจารึกพระสุพรรณบัฏ โหรหลวงเริ่มจารึกดวงพระบรมราชสมภพ และช่างศิลป์ประจำพระองค์เริ่มแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ขณะนั้นพระสงฆ์ 10 รูปเจริญชัยมงคลคาถา โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนำสายสิญจน์คล้องคอออก พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายน้ำเทพมนตร์ เจิมดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลและพระสุพรรณบัฏ เสร็จแล้วโหรหลวงพับแผ่นดวงพระราชสมภพ พันด้วยไหมเบญจพรรณ และเจ้าพนักงานอาลักษณ์เชิญพระสุพรรณบัฏห่อผ้าแพรแดง ช่างศิลป์ประจำพระองค์บรรจุพระราชลัญจกรประจำรัชกาลลงในถุงแพรแดง แล้วเชิญดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล และพานพระสุพรรณบัฏไปวางไว้ที่เหนือธรรมาสน์ศิลา แล้วเข้าไปกราบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ถวายบังคมพระราชอาสน์ คำนับผู้แทนพระองค์ แล้วไปนั่งเก้าอี้ พระสงฆ์ 10 รูปถวายพรพระ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนสำรับภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ประทับพระเก้าอี้ ณ ที่เดิม ทรงกรวดน้ำ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ เจ้าพนักงานตั้งบายศรี พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช ข้าราชการรับแว่นเวียนเทียนสมโภชดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล และพระสุพรรณบัฏ 3 รอบ จากนั้นพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณเจิมดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลและพระสุพรรณบัฏ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงกราบเครื่องนมัสการ ถวายความเคารพพระราชอาสน์แล้วเสด็จกลับ[24]

2 พฤษภาคม

3 พฤษภาคม


หมายเหตุ 1: หมายกำหนดการพระราชพิธีหรือพิธีที่เป็นตัวหนา มีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[25]

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ

พระราชพิธีทั้งหมดดังต่อไปนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยทั้งหมด[25] ยกเว้นหมายกำหนดการพระราชหรือพิธีที่เป็นตัวเอน

4 พฤษภาคม

  • เวลา 9:20 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีล จบแล้วเสด็จเข้าในหอพระสุราลัยพิมาน ทรงเศวตพัสตร์ ทรงสะพักขาวขลิบทอง พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณกราบบังคมทูลเชิญเสด็จไปสู่มณฑปพระกระยาสนาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และเสด็จจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณไปยังชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทรงจุดธูปเงินเทียนทอง สังเวยเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์ แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก
  • เวลา 10:09 - 12:00 น. เลขาธิการพระราชวัง เปิดพระครอบพระมุรธาภิเษก รัชกาลที่ 1 ถวายแล้ว ทรงวักน้ำขึ้นมาสรงพระนลาฏ เลขาธิการพระราชวัง ไขสหัสธารา เมื่อสรงสหัสธาราแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระอนุวงศ์ และพราหมณ์ ถวายน้ำพระพุทธมนต์ และน้ำเทพมนตร์ ตามลำดับ เสร็จแล้ว มหาดเล็กสอดฉลองพระบาทถวาย และถวายฉลองพระองค์คลุม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นหอพระสุราลัยพิมาน จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่บูรพาทิศเป็นทิศแรก พันโท สมชาย กาญจนมณี ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ 1 สำหรับทรงรับน้ำอภิเษกประจำทิศโดยเวียนไปทางขวามือ และมีข้าราชการประจำทิศกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษก แล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบเฟือง (สัมฤทธิ์) เสร็จแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ประจำทิศที่พระหัตถ์ทุกทิศ หลังถวายน้ำอภิเษก แล้วเมื่อประทับทิศบูรพาแทนทิศกลาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษก แล้วพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณน้อมเกล้าฯ ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงรับและพระราชทานผู้เชิญรับเชิญไว้ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณกล่าวเวทสรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาส จบแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ มีพระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว" ตามด้วยเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสงราชศัตราวุธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับแล้วทรงสวมและทรงวางบางองค์ไว้บนโต๊ะ 2 ข้างพระที่นั่งภัทรบิฐ เมื่อถวายพระธำมรงค์วิเชียรจินดาแล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณสอดฉลองพระบาทเชิงงอนถวาย เจ้าพนักงานเชิญเครื่องขัตติยราชูปโภคมาทอดถวาย เสร็จแล้วพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายอนุษฏุภศิวมนตร์ และถวายพระพรชัยมงคล จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปฐมบรมราชโองการและทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐานในอันที่จะปฏิบัติตามพระปฐมบรมราชโองการ ต่อจากนั้นมีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จากนั้นทรงเลี้ยงพระ และสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ดับเทียนชัย
  • เวลา 14:00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ มีมหาดเล็กเชิญราชกกุธภัณฑ์อย่ด้านหลัง โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี กราบบังคมทูลในนามพระบรมวงศานุวงศ์, พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลในนามของประชาชน ทหาร และข้าราชการฝ่ายบริหาร, ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กราบบังคมทูลในนามของรัฐสภา และชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา กราบบังคมทูลในนามของข้าราชการตุลาการ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบ
  • เวลา 16:00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยริ้วขบวนราบใหญ่ไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ปราสาทพระเทพบิดร ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สดับปกรณ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
  • เวลา 18:00 น. เจ้าพนักงานเวียนเทียนสมโภชหมู่พระมหามณเฑียร
  • เวลา 18:19 - 20:30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเฉลิมพระราชมณเฑียรและเถลิงพระแท่นบรรจถรณ์ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

5 พฤษภาคม

กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

6 พฤษภาคม

พระราชพิธีเบื้องปลาย

  • ปลายเดือนตุลาคม เวลา 16:00 น. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน

การเผยแพร่ต่อสาธารณชน

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กรมประชาสัมพันธ์ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับแนวทางการออกอากาศในช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยแบ่งแนวปฏิบัติการออกอากาศเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงการเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  2. ช่วงการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 2 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  3. ช่วงเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และให้งดเว้นการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดในช่วงการพระราชพิธี โดยให้ขึ้นข้อความหรือคำถวายพระพรและแสดงความจงรักภักดีแทน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำข่าวยาวเป็นกรณีพิเศษเพื่อนำเสนอพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ออกอากาศในช่วงเวลาข่าวในพระราชสำนัก พร้อมทั้งจัดทำสารคดีเฉลิมพระเกียรติหรือรายการพิเศษเฉลิมพระเกียรติเพื่อเผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย[27]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 สถานีโทรทัศน์ทุกช่องทยอยนำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ขื้นแสดงตรงมุมซ้ายบนของหน้าจอ ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ฯ จะแสดงในทุกช่วงข่าวและรายการไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ยกเว้นในรายการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาบางประเภท เช่น มวย (สำหรับบางกรณี เช่น รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ หรือ รายการจากต่างประเทศที่มีการขึ้นกราฟิกหน้าจอที่ด้านซ้ายบนของจอ มีการนำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีไว้ที่บริเวณมุมบนขวามือ) การถ่ายทอดสดงานสำคัญ และรายการแนะนำสินค้า (รวมถึงช่องโทรทัศน์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่รายการแนะนำสินค้าโดยเฉพาะ) [28]

กิจกรรมในช่วงพระราชพิธี

ก่อนและระหว่างพระราชพิธี

  • การรับสมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในระหว่างวันที่ 8 - 9 เมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ประชาชนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนจิตอาสาได้มีส่วนร่วมในพระราชพิธีฯ โดยกลุ่มงานจิตอาสาเฉพาะกิจ ที่เข้าร่วมปฏิบัติในพิธีการต่างๆ ทั้งก่อนระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจังหวัดแบ่งเป็น 7 กลุ่มงาน ประกอบด้วยกลุ่มงานรักษาความปลอดภัยและการจราจรกลุ่มงานแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มงานการขนส่งกลุ่มงานบริการและส่งกำลังบำรุงกลุ่มงานนิทรรศการ และพิธีการกลุ่มงานโยธาและกลุ่มงานโครงการ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ที่มีกลุ่มย่อยอีก 7 กลุ่ม[29] [30][31]
  • โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จัดปฏิบัติธรรม ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 7 วัน หรือตามความเหมาะสม
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 6,810 รูป ระหว่างวันที่ 2 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 15 วัน โดยนายกรัฐมนตรี ให้ข้าราชการลาบรรพชาอุปสมบท โดยไม่ถือเป็นวันลา[32]
  • พิธีทำบุญตักบาตร วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 07.00 น.
  • ให้วัดทุกวัดทั่วประเทศ เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในเวลาเดียวกันกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยดูการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
  • ตั้งโต๊ะหมู่พระฉายาลักษณ์ พร้อมประดับธงชาติ ธงธรรมจักร ธงพระปรมาภิไธย ตามความเหมาะสม
  • ห้ามขายสุราในระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  • การแสดงโดรนแปรอักษรเฉลิมพระเกียรติจำนวน 300 ลำ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง[33]

หลังพระราชพิธี

  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ ฯ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ ตามบทสวดมนต์ที่กำหนด ส่วนกลาง จัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาค จัดพิธี ณ วัดที่จังหวัดกำหนด[34]
  • การแสดงมหรสพสมโภช เฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[35]

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติภาคเอกชน

  • เครือซิเมนต์ไทยจัดทำโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562[36]

อ้างอิง

  1. "คอมเมนต์จากโพสต์ใน Facebook". www.facebook.com. 12 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการ
  3. กรมประชาสัมพันธ์ (26 มกราคม 2562). "สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ประวัติปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562
  6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
  7. ประธานคณะอนุกรรมการ
  8. 8.0 8.1 คมชัดลึก (20 กุมภาพันธ์ 2562). "กรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกกำลังพลในริ้วขบวน"บรมราชาภิเษก"". www.komchadluek.net. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. บวงสรวงกลองมโหระทึก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  10. ไทยรัฐ (13 มีนาคม 2562). "ซ้อมเสมือนจริงขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. มติชน (19 มีนาคม 2562). "ซ้อมรวมครั้งแรก ริ้วขบวนที่ 3 พยุหยาตราสถลมารค". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "กำลังพลฝึกซ้อมริ้วขบวนพิธีแห่พระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกร".
  13. ทีเอ็นเอ็น24 (28 มีนาคม 2562). "ผบ.ทบ.ร่วมซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ". tnnthailand.com. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. สปริงนิวส์ (17 เมษายน 2562). "ประมวลภาพ "ซ้อมเสมือนจริง ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" (คลิป)". www.springnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. มติชน (21 เมษายน 2562). "นายกฯ ซ้อมริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค คนไทย-ชาวต่างชาติร่วมชม (ภาพชุด)". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. เดลินิวส์ (21 เมษายน 2562). "ซักซ้อมใหญ่ริ้วขบวน พระบรมราชอิสริยยศฯครั้งที่2". www.dailynews.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. 17.0 17.1 ไทยรัฐ (29 เมษายน 2562). "ซ้อมริ้วขบวน เสมือนจริง งดงามสง่ายิ่ง มีทั้งชาวบ้าน นักท่องเที่ยว แห่ไปเฝ้าชม". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. กรมประชาสัมพันธ์ (11 มีนาคม 2562). "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ช่อง 7 สี (13 มีนาคม 2562). "รุกขกร-หน่วยพระราชทานจิตอาสา ปรับภูมิทัศน์รับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". ch7.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. กรมประชาสัมพันธ์. "หมายกำหนดการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. มติชน (6 เมษายน 2562). "ทั่วปท.-นนทบุรีร่วมพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จัดทำน้ำอภิเษกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก(ชมคลิป)". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. 22.0 22.1 22.2 กระทรวงมหาดไทย (19 เมษายน 2562). "การจัดทำ "น้ำอภิเษก" ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. มติชน (22 เมษายน 2562). "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯผู้แทนพระองค์ เจริญพระพุทธมนต์ ก่อนพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. ผู้จัดการออนไลน์ (23 เมษายน 2562). "9.49 น. เวลาพระฤกษ์ จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. 25.0 25.1 กรมประชาสัมพันธ์ (6 เมษายน 2562). "หมายกำหนดการถ่ายทอดสดพิธีบรมราชาภิเษก จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. HELLO! Thailand (6 พฤษภาคม 2562). "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี – เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ สองหญิงกล้าแห่งรัชกาลที่ 10". th.hellomagazine.com. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. กสทช. (4 มีนาคม 2562). "กสทช. กำหนดแนวทางออกอากาศวิทยุ-ทีวี ช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.prachachat.net. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. ยามเฝ้าจอ (31 มีนาคม 2562). "ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2562) เป็นต้นไป สถานีโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องขึ้นตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ไว้ที่มุมบนซ้ายของหน้าจอ และขึ้นยาวไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. สยามรัฐ (9 เมษายน 2562). "จัดพิธีพลีกรรมสมพระเกียรติ ทรงชื่นชมทุกจังหวัด". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. กระทรวงมหาดไทย (7 เมษายน 2562). "สมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. กรมประชาสัมพันธ์ (7 เมษายน 2562). "ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร. กำหนดให้มีการลงทะเบียนรับจิตอาสาใหม่ สมัครด้วยตนเอง ณ วัดที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษก (๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ) ในวันที่ ๘ - ๙ เมษายน ๒๕๖๒". www.phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. รัฐบาลไทย (26 มีนาคม 2562). "นายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ข้าราชการลาบรรพชาอุปสมบท โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยไม่ถือเป็นวันลา". www.thaigov.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. โพสต์ทูเดย์ (30 เมษายน 2562). "อลังการ! ชวนชมโดรนแปรอักษรเฉลิมพระเกียรติที่สนามหลวง วันที่ 5 และ6 พ.ค.นี้". www.posttoday.com. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (10 มกราคม 2562). "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 1/2562 เรื่องโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" (PDF). mahathera.onab.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ (30 เมษายน 2562). "จัดยิ่งใหญ่ มหรสพสมโภช เฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ (4 เมษายน 2562). "เอสซีจีจัดโครงการ "เฉลิมราชย์ราชา" ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น