ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
| color = {{แถบสี|#6f4288}} สีดอกอัญชัน<ref>สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560</ref>
| color = {{แถบสี|#6f4288}} สีดอกอัญชัน<ref>สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560</ref>
| symbol = [[พระพิฆเนศ|พระคเณศ]]
| symbol = [[พระพิฆเนศ|พระคเณศ]]
| address = '''คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร''' เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 <br />
| address = '''คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร''' เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 <br />

'''ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร''' เลขที่ 8 ซอยเส้นทางลัดสาย 2 ถนนพัฒนาการ แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
'''ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร''' เลขที่ 8 ซอยเส้นทางลัดสาย 2 ถนนพัฒนาการ แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
| magazine = วารสารดำรงวิชาการ
| magazine = วารสารดำรงวิชาการ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:12, 6 พฤษภาคม 2562

คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Archaeology, Silpakorn University
ไฟล์:Faculty of Archaeology, Silpakorn University Logo.jpg
สถาปนา12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว
ที่อยู่
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 8 ซอยเส้นทางลัดสาย 2 ถนนพัฒนาการ แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
วารสารวารสารดำรงวิชาการ
สี██ สีดอกอัญชัน[1]
มาสคอต
พระคเณศ
เว็บไซต์www.archae.su.ac.th

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Archaeology, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 3 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498

ประวัติ

"คณะโบราณคดี" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครู อาจารย์ และนักโบราณคดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดีของ กรมศิลปากร หรืองานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี หลักสูตรและการเรียนการสอนในคณะโบราณคดีระยะแรกนั้นเป็นหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปี โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นด้านการผลิตนักวิชาการสาขาโบราณคดีเท่านั้น

ในแรกเริ่ม คณะโบราณคดีมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อสนับสนุนให้ผู้สนใจ และมีสติปัญญาก้าวหน้าขึ้นไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี รวมทั้งการผลิตบัณฑิตเพื่อเข้ารับราชการในกองโบราณคดี กรมศิลปากร นักโบราณคดีและครูอาจารย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดี เนื่องจากเล็งเห็นว่าในประเทศไทยเป็นประเทศที่มีโบราณวัตถุสถานอยู่เป็นจำนวนมาก โบราณวัตถุสถานเหล่านี้ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาติ เป็นเครื่องผูกพันและช่วยกระตุ้นเตือนให้คนในชาติรู้สึกภาคภูมิใจ รักชาติมุ่งมานะที่จะรักษาเอกราชของชาติให้ดำรงคงอยู่ตลอดกาล การศึกษาโบราณคดี เท่ากับเป็นการช่วยรักษาวัฒนธรรมอันสูงส่งของชาติไว้มิให้สูญหาย จึงควรมีบุคลากรที่สามารถศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจและรักษาโบราณวัตถุโบราณสถานของชาติไว้ หลักสูตรและการเรียนการสอนในคณะโบราณคดีระยะแรก ๆ จึงเป็นการเน้นผลิตนักวิชาการสาขาโบราณคดีเท่านั้น

พ.ศ. 2496 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดเตรียมคณะโบราณคดีขึ้นอีกแผนกหนึ่ง ในโรงเรียนศิลปศึกษา (เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) ปัจจุบันคือ วิทยาลัยช่างศิลป ในครั้งนั้นโรงเรียนศิลปศึกษา แบ่งเป็น 3 แผนกคือ จิตรกรรม โบราณคดี และช่างสิบหมู่ เตรียมคณะโบราณคดีมีหลักสูตร 3 ปี ผู้ที่เรียนจบชั้นปีที่ 2 ถ้าสอบได้คะแนนถึงตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ก็จะมีสิทธิที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศิลปากร สำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนไม่ถึงหรือต้องการประกอบอาชีพ ไม่ต้องการที่จะเรียนต่อ ในมหาวิทยาลัยก็เรียนต่อจนจบชั้นปีที่ 3 ก็จะได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่าชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบัน (ม.8 เดิม)

สถานที่เรียนเมื่อครั้งเป็นโรงเรียนศิลปศึกษานั้น ใช้อาคารเก่าของ กระทรวงคมนาคม ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่ โรงละครแห่งชาติ ปัจจุบัน นักเรียนเตรียมโบราณคดีรุ่นแรกมีทั้งหมด 4 คน หญิง 1 คน ชาย 3 คน มีอาจารย์ที่สอนคือ ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ อาจารย์ จิรา จงกล ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล รายพระนามและรายนามอาจารย์ที่กล่าวมานี้คงเป็นที่รู้จักของนักศึกษาโบราณคดีเป็นอย่างดี สำหรับวิชาสามัญต่าง ๆ ได้แก่ภาษาอังกฤษ ฯลฯ เรียนรวมกันทั้ง 3 แผนก คือ จิตรกรรม โบราณคดี และช่างสิบหมู่

พ.ศ. 2498 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เปิดคณะโบราณคดี ขึ้นเป็นคณะวิชาที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถานที่เรียนของคณะโบราณคดีในขณะนั้นยังอยู่ที่โรงเรียนศิลปศึกษา บางครั้งได้อาศัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นที่ทำการชั่วคราวด้วย เมื่อตั้งคณะโบราณคดีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 นั้น คณะโบราณคดียังไม่มีอาจารย์ประจำ อาจารย์ที่สอนส่วนใหญ่เป็นข้าราชการจากกรมศิลปากร นอกจากนี้ยังมีอาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์จากคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

พ.ศ. 2503 คณะโบราณคดีได้ย้ายมาอยู่บริเวณเดียวกับมหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน

พ.ศ. 2507 ย้ายมาอยู่ตำหนักพรรณราย บริเวณ วังท่าพระ ซึ่งปัจจุบันเป็นหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พ.ศ. 2521 ย้ายมาอยู่ที่อาคารคณะโบราณคดีได้ในปัจจุบัน และใน พ.ศ. 2520 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ดำเนินการสอนโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปีการศึกษา 2520 และทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2521

อาคารเรียน

ไฟล์:Archaeobuilding.jpg
อาคารคณะโบราณคดี

นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ตลอดหลักสูตรทั้ง 4 ปี โดยมีอาคารที่มักใช้เรียนทั้งหมด 3 อาคารเรียน ส่วนการขุดค้นหรือการศึกษานอกสถานที่จะเป็นกรณีพิเศษของนักศึกษาในวิชาเอกโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และมานุษยวิทยา โดย 3 อาคารเรียนที่ใช้มีดังนี้

  1. อาคารคณะโบราณคดี วังท่าพระ – เป็นอาคารเรียนหลักของคณะโบราณคดี โครงสร้างอาคารเป็นอาคารเรียนสูง 5 ชั้น โดยนักศึกษาทุกวิชาเอกจะทำการศึกษาที่อาคารนี้ หน้าอาคารจะมีสนามบาสเกตบอล ใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การชนช้าง หรือการเชียร์โต้ของแต่ละคณะในวังท่าพระ รวมถึงใช้เป็นที่จอดรถในกรณีที่ที่จอดรถไม่เพียงพอ
  2. หอประชุมและศูนย์เรียนรวม วังท่าพระ – ในส่วนของหอประชุมใช้เพื่อสำหรับการเรียนการสอนในวิชาศึกษาทั่วไปหรือวิชาที่มีนักศึกษาลงเป็นจำนวนมาก รองรับนักศึกษาได้ราว ๆ 300 คน และอาคารศูนย์รวมนั้นแท้จริงเป็นอาคารของ คณะมัณฑนศิลป์ แต่ได้มีการแบ่งชั้นใต้ดิน ชั้น 1 และชั้น 2 เพื่อเป็นศูนย์เรียนรวมของนักศึกษา เพื่อรองรับความแออัด
  3. ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร – ตั้งอยู่ที่คลองทวีวัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานเสริมแก่คณะโบราณคดี ภาควิชาภาษาตะวันออก ในด้านการให้ความรู้ทางด้านวิชาการ โดยนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย จะได้ทำการศึกษาที่ศูนย์สันสกฤตศึกษาเป็นครั้งคราว

นอกจาก 3 อาคารนี้แล้ว คณะโบราณคดี ยังมีอาคารคณะอีกแห่งอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เนื่องจากในตอนนั้นทางมหาวิทยาลัยมีความเห็นให้ย้ายคณะโบราณคดีมาศึกษาที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบจากอาจารย์คณะโบราณคดีรวมถึงนักศึกษาส่วนใหญ่ ทำให้ล้มเลิกไป จึงมีการใช้อาคารคณะโบราณคดีที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีในโอกาสต่าง ๆ แทน ส่วนคณะโบราณคดีก็ให้ทำการเรียนการสอนที่วังท่าพระตามเดิม

เพลงประจำคณะ

เพลงของคณะโบราณคดีนั้นถูกแต่งไว้มากกว่า 20 เพลง เพื่อใช้ในกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ เช่น การชนช้างหรือการเข้าค่ายคณะ เป็นต้น แต่เพลงที่ได้รับการยอมรับและถือเป็นเพลงประจำคณะคือเพลง "แววมยุรา" ซึ่งถูกแต่งโดย พิเศษ สังข์สุวรรณ ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี เพลงแววมยุราถูกแต่งขึ้นในช่วงที่เรียกว่าเป็นช่วงวิกฤตของคณะก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วง พ.ศ. 2513 มีแนวโน้มจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าต้องการให้คณะโบราณคดีถูกยุบไปรวมกับ คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งก็ถูกหลายฝ่ายค้านไว้ โดยเฉพาะนักศึกษาคณะโบราณคดีที่ได้ออกมาคัดค้านอย่างชัดเจน จึงเป็นที่มาของเพลงแววมยุราที่ในเพลงมีการแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่คณะโบราณคดีถูกมองข้ามและไม่ได้รับการเหลียวแลหรือเห็นค่าพิเศษ สังข์สุวรรณยังได้เปรียบเปรยดอกแววมยุราซึ่งเป็นดอกของผักตบชวา ที่แม้ผักตบชวาจะล่องลอยไปตามน้ำอย่างไร้ค่าแต่เมื่อผลิดอกสีม่วงและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทุกคนก็จะเห็นค่าของมัน เฉกเช่นเดียวกับชาวคณะโบราณคดีที่ในตอนนั้นไม่ได้รับความเห็นค่า แต่หากสามัคคีและช่วยกันผ่านวิกฤตไปด้วยกันก็จะเป็นดอกแววมยุราที่งดงาม และดอกแววมยุรายังมีสีม่วงเฉกเช่นเดียวกับสีคณะโบราณคดีอีกด้วย

นอกจากนี้เพลง "สวัสดีศิลปากร" ยังเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกแต่งโดยคณะโบราณคดี ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2538 จึงได้มีการแต่งเพลงนี้เพื่อใช้ในการหาเงินบริจาคให้ผู้ประสบภัย ภายหลังก็ได้มีการใช้เพลงนี้ในทุกกิจกรรมและใช้ร้องกันในทุกคณะของมหาวิทยาลัยศิลปากร

หน่วยงาน

  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชาโบราณคดี
  • ภาควิชาภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • ภาควิชามานุษยวิทยา
  • หมวดวิชาประวัติศาสตร์
  • ศูนย์สันสกฤตศึกษา
  • ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี

หลักสูตร

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาโบราณคดี
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • สาขาวิชามานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาโบราณคดี
  • สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • สาขาวิชาสันสกฤตศึกษา
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาโบราณคดี
  • สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • สาขาวิชาสันสกฤตศึกษา
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ

ทำเนียบคณบดี

รายพระนามและรายนามคณบดีคณะโบราณคดี
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2504
2
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล รักษาราชการแทนคณบดี 1 กันยายน พ.ศ. 2504 – 1 เมษายน พ.ศ. 2508[2]
2 เมษายน พ.ศ. 2508 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2516[3]
19 มีนาคม พ.ศ. 2516 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (ลาออก)[4]
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก เสนีย์ วิลาวรรณ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2518 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2521[5]
4
รองศาสตราจารย์ ไขศรี ศรีอรุณ 4 มีนาคม พ.ศ. 2521 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2525[6]
5
อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ 4 มีนาคม พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (ลาออก)[7]
17 ตุลาคม พ.ศ. 2529 – 30 กันยายน พ.ศ. 2533[8]
6
อาจารย์ จำลอง สารพัดนึก 1 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2529[9]
7
อาจารย์ วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2535 (ลาออก)[10]
8
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาติชาย ร่มสนธิ์ รักษาราชการแทนคณบดี 1 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2535[11]
9
อาจารย์ ผาสุข อินทราวุธ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539[12]
7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547[13]
10
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิบูล ศุภกิจวิเลขการ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543[14]
11
รองศาสตราจารย์ สุรพล นาถะพินธุ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551[15]
รักษาการคณบดี 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551[16]
12
รองศาสตราจารย์ สายันต์ ไพรชาญจิตร์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553[17]
รักษาราชการแทน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[18]
13
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพ็ญพรรณ เจริญพร 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 30 เมษายน พ.ศ. 2556[19]
14
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว รักษาราชการแทน 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[20]
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน[21]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

เกร็ด

  • คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะโบราณคดีแห่งเดียวในประเทศไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ไม่ได้สอนภาษาโบราณหรือโบราณคดีภาคภาษาต่างประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นการสอนให้ใช้ภาษาได้อย่างเชี่ยวชาญเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับคณะมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ หรือคณะอักษรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่นทุกประการ

อ้างอิง

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 เมษายน 2508
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 80/2516 ลงวันที่ 5 เมษายน 2516
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 207/2518 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2518
  6. คำสั่ง มศก.ที่ 126/2521 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2521
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 141/2525 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2525
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 766/2529 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2529
  9. คำสั่ง มศก.ที่ 701/2527 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2527
  10. คำสั่ง มศก.ที่ 767/2533 ลงวันที่ 5 กันยายน 2533
  11. คำสั่ง มศก.ที่ 906/2535 ลงวันที่ 28 กันยายน 2535
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 941/2535 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2535
  13. คำสั่ง มศก. ที่ 891/2543 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 949/2539 ลงวันที่ 6 กันยายน 2539
  15. คำสั่ง มศก.ที่ 937/2547 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547
  16. คำสั่ง มศก.ที่ 1635/2551 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2551
  17. คำสั่ง มศก.ที่ 1635/2551 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2551
  18. คำสั่ง มศก. ที่ 1333/2553 ลงวันที่ 20 กันยายน 2553
  19. คำสั่ง มศก. ที่ 239/2554 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554
  20. คำสั่ง มศก. ที่ 619/2556 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2556
  21. คำสั่ง มศก. ที่ 1882/2556 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น