ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอบ่อเกลือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tankura (คุย | ส่วนร่วม)
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
|- style=
|- style=
! ที่ !! ชื่อตำบล !! [[อักษรธรรมล้านนา|ตัวเมือง]] !! อักษรโรมัน !! จำนวนหมู่บ้าน !! จำนวนครัวเรือน!!จำนวนประชากร<ref> จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย</ref>
! ที่ !! ชื่อตำบล !! [[อักษรธรรมล้านนา|ตัวเมือง]] !! อักษรโรมัน !! จำนวนหมู่บ้าน !! จำนวนครัวเรือน!!จำนวนประชากร<ref> จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย</ref>
|-style="background: #ffffff;"
|-
||1.||[[ตำบลบ่อเกลือเหนือ|บ่อเกลือเหนือ]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Bo Kluea Nuea.png|53px]]||Bo Kluea Nuea||11||1,099||3,212
||1.||[[ตำบลบ่อเกลือเหนือ|บ่อเกลือเหนือ]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Bo Kluea Nuea.png|53px]]||Bo Kluea Nuea||11||1,099||3,212
|-style="background: #ffffff;"
|-
||2.||[[ตำบลบ่อเกลือใต้|บ่อเกลือใต้]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Bo Kluea Tai.png|53px]]||Bo Kluea Tai||15||1,536||5,065
||2.||[[ตำบลบ่อเกลือใต้|บ่อเกลือใต้]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Bo Kluea Tai.png|53px]]||Bo Kluea Tai||15||1,536||5,065
|-style="background: #ffffff;"
|-
||3.||[[ตำบลภูฟ้า|ภูฟ้า]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Phu Fa.png|23px]]||Phu Fa||6||1,026||3,219
||3.||[[ตำบลภูฟ้า|ภูฟ้า]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Phu Fa.png|23px]]||Phu Fa||6||1,026||3,219
|-style="background: #ffffff;"
|-
||4.||[[ตำบลดงพญา|ดงพญา]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Dong Phaya.png|23px]]||Dong Phaya||7||882||3,411
||4.||[[ตำบลดงพญา|ดงพญา]]||[[ไฟล์:LN-Tambon-Dong Phaya.png|23px]]||Dong Phaya||7||882||3,411
|}
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:23, 6 พฤษภาคม 2562

อำเภอบ่อเกลือ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bo Kluea
คำขวัญ: 
ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน เด่นตระการด้วยขุนเขา
เกลือสินเธาว์ลือชื่อ งานฝีมือเครื่องจักสาน
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอบ่อเกลือ
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอบ่อเกลือ
พิกัด: 19°8′56″N 101°9′27″E / 19.14889°N 101.15750°E / 19.14889; 101.15750
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด848.341 ตร.กม. (327.546 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด15,111 คน
 • ความหนาแน่น17.81 คน/ตร.กม. (46.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55220
รหัสภูมิศาสตร์5512
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ่อเกลือ ถนนบ่อหลวง-ยอดดอยฯ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 55000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ่อเกลือ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบ่อเกลือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ประมาณพิกัดเส้นรุ้งที่ 19 องศา 8 ลิปดา 30 พิลิปดาตะวันออกและเส้นแวงที่ 101 องศา 10 ลิปดา 0 พิลิปดาเหนือ มีเนื้อที่ปกครองประมาณ 523,781.25 ไร่ หรือประมาณ 838.05 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ร้อยละ 7.40 ของเนื้อที่จังหวัดน่านทั้งหมด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

สภาพภูมิศาสตร์

พื้นที่อำเภอบ่อเกลือส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 40 บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ่อเกลือสูงประมาณ 730 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง จุดสูงสุด 1,648.066 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ราบลุ่มตามลำน้ำและหุบเขาแคบ ๆ เพียงร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ทั้งหมด

ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาภูคา ภูแว ภูฟ้า ภูผีปันน้ำ ลำน้ำที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำมาง ลำน้ำว้า และลำน้ำน่าน มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณดอยภูคาและบริเวณพรมแดนไทย-ลาว ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้นานาชนิด และยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่านอีกด้วย

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจะเย็นสบายตลอดทั้งปี เนื่องจากมีลมภูเขาและลมหุบเขา แต่เมื่อถึงฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัดมากโดยเฉพาะเวลากลางคืนในบางปี อุณหภูมิหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะกลางคืนจะลดลงถึง 0 องศาเซลเซียส พอสิ้นหนาวผ่านเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียวก็ย่างเข้าสู่ฤดูฝน ฝนจะตกชุกไปถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ น้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี เป็นอิทธิพลจากลมมรสุมในอ่าวตังเกี๋ยซึ่งพัดผ่านประเทศเวียดนามและประเทศลาว อำเภอบ่อเกลือจึงเป็นเมืองในหุบเขาสองฤดู

ประวัติ

อำเภอบ่อเกลือเดิมเรียกว่า เมืองบ่อ ซึ่งคงจะหมายถึงบ่อน้ำเกลือสินเธาว์ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 9 บ่อ เมืองบ่อเดิมทีเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีตกาล ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามพงศาวดารเมืองน่านซึ่งพระเจ้าสุริยพงษผริตเดชได้แต่งรวบรวมขึ้นไว้ มีข้อความกล่าวถึงแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญที่เป็นสาเหตุให้พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ยกทัพมายึดเมืองน่าน เมื่อปี พ.ศ. 1993 ว่า

"เดิมทีเขตอำเภอบ่อเกลือเป็นป่าดงพงไพร ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ มีหนองน้ำ ซึ่งพวกสัตว์ต่าง ๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้เป็นประจำ และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมักจะกินน้ำที่นี่เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่ามีรสเค็ม ข่าวได้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าหลวงภูคาและเจ้าหลวงบ่อ จึงได้มาดูบ่อน้ำเกลือ และต่างก็ต้องการครอบครอง จึงคิดหาวิธีการโดยทั้งสองพระองค์ขึ้นไปอยู่ที่ยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเน้า (หอก) แสดงการครอบครองบ่อน้ำเกลือ เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของลำน้ำมาง ตรงที่ตั้งหอนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อพุ่งหอกไปตกทางตะวันออกของลำน้ำมาง ตรงที่ตั้งหอเจ้าพ่อบ่อหลวงในปัจจุบัน ผู้คนที่พากันมาดูการแข่งขันพุ่งหอก ได้นำเอาก้อนหินมาก่อไว้เป็นที่สังเกต แล้วตั้งเป็นโรงหอทำพิธีระลึกตอบแทนเจ้าหลวงทั้งสององค์ทุกปี ภายหลังทั้งสองพระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้ว เจ้าหลวงภูคาจึงไปทูลขอประชาชนที่อยู่เมืองเชียงแสนจากเจ้าเมืองเชียงรายมาหักร้างถางพงทำเกลืออยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงในปัจจุบันนั่นเอง ดังนั้นชุมชนบริเวณนี้จึงได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ (ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมทีนั้นบรรพบุรุษอยู่ที่ประเทศมองโกเลียและประเทศจีน หนี้ลี้ภัยมาทางแม่น้ำเหลืองเข้าสู่ประเทศลาว ทางประเทศลาวไม่อนุญาตให้อาศัยอยู่ได้ จึงพากันข้ามแม่น้ำโขงมาอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงแสน)"

ต่อมาเมื่อการปกครองของรัฐ เมืองบ่อจึงได้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปัว โดยแยกเป็น 2 ตำบล คือตำบลบ่อเกลือเหนือและตำบลบ่อเกลือใต้ ซึ่งในระยะหลังมีราษฎรจากพื้นราบมาทำการค้าขายและตั้งรกรากอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับราษฎรในพื้นที่ห่างไกล จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งเขตการปกครองท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยแยกตำบลบ่อเกลือเหนือและตำบลบ่อเกลือใต้เป็น กิ่งอำเภอบ่อเกลือ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531[1] และได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอบ่อเกลือ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2538[2]

การต้มเกลือแบบโบราณ

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบ่อเกลือแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 39 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[3]
1. บ่อเกลือเหนือ Bo Kluea Nuea 11 1,099 3,212
2. บ่อเกลือใต้ Bo Kluea Tai 15 1,536 5,065
3. ภูฟ้า Phu Fa 6 1,026 3,219
4. ดงพญา Dong Phaya 7 882 3,411

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบ่อเกลือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเกลือใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเกลือเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเกลือเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงพญาทั้งตำบล

การคมนาคม

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1081 (ปัว-บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ)

สถานที่ท่องเที่ยว

น้ำตกสะปัน
  • อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
  • บ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลก
  • ล่องแก่งลำน้ำว้าตอนบน
  • น้ำตกสะปัน
  • น้ำตกบ้านเด่น
  • น้ำตกห้วยห้า
  • น้ำตกห้วยตี๋
  • น้ำตกห้วยหินฝน
  • น้ำตกรางจาล
  • น้ำตกห้วยปึง
  • น้ำตกห้วยพิว
  • น้ำตกบวกครก
  • น้ำตกตาดขวาง
  • น้ำตกตาดคำ
  • นั่งเรือชมลำน้ำมาง
  • ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน
  • ถ้ำผาเก้า
  • โครงการหลวงภูฟ้า (โครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ)
  • พระตำหนักภูฟ้า
  • ป่าชุมชนบ้านดงผาปูน
  • ชมปลาวังควาย
  • หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน่าน หน่วยย่อยที่ 1
  • หน่วยจัดการต้นน้ำขุนว้า
  • พิชิตยอดภูเข้-ภูโล
  • จุดชมทะเลหมอกดอยพับผ้า

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ่อเกลือ
  2. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘
  3. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย