ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพฤหัสบดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
}}
}}


'''พระพฤหัสบดี''' ([[อักษรเทวนาครี|เทวนาครี]]: बृहस्पति ''พฤหสฺปติ'') เป็น[[เทวดานพเคราะห์]]องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจาก[[พระศิวะ]]ทรงนำฤๅษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้า[[สีเหลือง]]ส้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีพระวรกายสีส้มทอง ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงมฤค ([[กวาง]]) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ป ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของ[[เทวดา]]ทั้งหลาย (เทวคุรุ,เทวาจารย์) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูใน[[วันพฤหัสบดี]] ในไตรภูมิพระร่วง พระพฤหัสบดีมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศเหนือ วิมานใหญ่ ๑๗ โยชน์ รัศมีขาวเหลืองดังมุก
'''พระพฤหัสบดี''' ([[อักษรเทวนาครี|เทวนาครี]]: बृहस्पति ''พฤหสฺปติ'') เป็น[[เทวดานพเคราะห์]]องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจาก[[พระศิวะ]]ทรงนำฤๅษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้า[[สีเหลือง]]ส้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีพระวรกายสีส้มทอง ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงมฤค ([[กวาง]]) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ป ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของ[[เทวดา]]ทั้งหลาย (เทวคุรุ,เทวาจารย์) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูใน[[วันพฤหัสบดี]] ในไตรภูมิพระร่วง พระพฤหัสบดีมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศตะวันตก วิมานใหญ่ ๑๗ โยชน์ รัศมีขาวเหลืองดังมุก


ในคติฮินดู พระพฤหัสบดี เป็นบุตรของฤๅษีอังคิรส กับนางสมฤติ [[พระพรหม]]ทรงแต่งตั้งให้เป็นคุรุแห่งเหล่าเทวดา ทรงเป็นทั้งเทวฤๅษี เทวคุรุ และเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวพฤหัสบดี เป็นเทพแห่งสติปัญญา ความรู้ พลังญาณ การศึกษาเล่าเรียน เป็นเทพประจำเหล่าครูบาอาจารย์และฤๅษีมุนี พระพฤหัสบดี มีพี่ชาย ๒ องค์ คือ ฤๅษีอุตัถยะ และ ฤๅษีสังวรรตนะ พระพฤหัสบดีและนางมัมตา ชายาของฤๅษีอุตัถยะ ลักลอบเป็นชู้กัน เมื่อฤๅษีอุตัถยะรู้ จึงสาปให้บุตรในท้องของนางมัมตากลายเป็นคนตาบอด และสาปพระพฤหัสบดีว่า ในอนาคตชายาของพระพฤหัสบดีก็จะเป็นชู้กับผู้อื่น บุตรที่ตาบอดนั้น ชื่อว่า ฤๅษีทีรฆตมัส ส่วนบุตรอีกคนของนางมัมตากับพระพฤหัสบดี คือ ฤๅษีภรัทวาช และพระพฤหัสบดีก็ทรงอวตารลงมาเกิดเป็นบุตรของบุตรของตนเอง คือ [[โทรณาจารย์]] อาจารย์ประจำราชสำนักกรุง[[หัสตินาปุระ]]
ในคติฮินดู พระพฤหัสบดี เป็นบุตรของฤๅษีอังคิรส กับนางสมฤติ [[พระพรหม]]ทรงแต่งตั้งให้เป็นคุรุแห่งเหล่าเทวดา ทรงเป็นทั้งเทวฤๅษี เทวคุรุ และเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวพฤหัสบดี เป็นเทพแห่งสติปัญญา ความรู้ พลังญาณ การศึกษาเล่าเรียน เป็นเทพประจำเหล่าครูบาอาจารย์และฤๅษีมุนี พระพฤหัสบดี มีพี่ชาย ๒ องค์ คือ ฤๅษีอุตัถยะ และ ฤๅษีสังวรรตนะ พระพฤหัสบดีและนางมัมตา ชายาของฤๅษีอุตัถยะ ลักลอบเป็นชู้กัน เมื่อฤๅษีอุตัถยะรู้ จึงสาปให้บุตรในท้องของนางมัมตากลายเป็นคนตาบอด และสาปพระพฤหัสบดีว่า ในอนาคตชายาของพระพฤหัสบดีก็จะเป็นชู้กับผู้อื่น บุตรที่ตาบอดนั้น ชื่อว่า ฤๅษีทีรฆตมัส ส่วนบุตรอีกคนของนางมัมตากับพระพฤหัสบดี คือ ฤๅษีภรัทวาช และพระพฤหัสบดีก็ทรงอวตารลงมาเกิดเป็นบุตรของบุตรของตนเอง คือ [[โทรณาจารย์]] อาจารย์ประจำราชสำนักกรุง[[หัสตินาปุระ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:00, 5 พฤษภาคม 2562

พระพฤหัสบดี
เทวนาครี: बृहस्पति
พระพฤหัสบดีอย่างอินเดีย
จำพวกเทวดานพเคราะห์ และเทวคุรุ
อาวุธกระดานชนวน,ลูกประคำ,หม้อน้ำ,คัมภีร์,ไม้เท้า,หอก,ธนู,ศร,จักร,สังข์,คทา,ดอกบัว,ดาบ ฯลฯ
สัตว์พาหนะช้าง,กวาง,โค,ราชรถสีทองชื่อ นีติโฆษะ เทียมม้าสีเทา 8 ตัว
บิดาฤๅษีอังคิรส
มารดานางสมฤติ
คู่ครองพระนางตารา,พระนางมัมตา(ชู้)
บุตรพระกัจมุนี,ฤๅษีทีรฆตมัส,ฤๅษีภรัทวาช,ตาระ (วานรในรามายณะ),มาลุนทเกสร (วานรสิบแปดมงกุฎในรามเกียรติ์)
ดาวพระเคราะห์พฤหัสปติโลก (ดาวพฤหัสบดี)

พระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति พฤหสฺปติ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากพระศิวะทรงนำฤๅษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีพระวรกายสีส้มทอง ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ป ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย (เทวคุรุ,เทวาจารย์) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี ในไตรภูมิพระร่วง พระพฤหัสบดีมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศตะวันตก วิมานใหญ่ ๑๗ โยชน์ รัศมีขาวเหลืองดังมุก

ในคติฮินดู พระพฤหัสบดี เป็นบุตรของฤๅษีอังคิรส กับนางสมฤติ พระพรหมทรงแต่งตั้งให้เป็นคุรุแห่งเหล่าเทวดา ทรงเป็นทั้งเทวฤๅษี เทวคุรุ และเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวพฤหัสบดี เป็นเทพแห่งสติปัญญา ความรู้ พลังญาณ การศึกษาเล่าเรียน เป็นเทพประจำเหล่าครูบาอาจารย์และฤๅษีมุนี พระพฤหัสบดี มีพี่ชาย ๒ องค์ คือ ฤๅษีอุตัถยะ และ ฤๅษีสังวรรตนะ พระพฤหัสบดีและนางมัมตา ชายาของฤๅษีอุตัถยะ ลักลอบเป็นชู้กัน เมื่อฤๅษีอุตัถยะรู้ จึงสาปให้บุตรในท้องของนางมัมตากลายเป็นคนตาบอด และสาปพระพฤหัสบดีว่า ในอนาคตชายาของพระพฤหัสบดีก็จะเป็นชู้กับผู้อื่น บุตรที่ตาบอดนั้น ชื่อว่า ฤๅษีทีรฆตมัส ส่วนบุตรอีกคนของนางมัมตากับพระพฤหัสบดี คือ ฤๅษีภรัทวาช และพระพฤหัสบดีก็ทรงอวตารลงมาเกิดเป็นบุตรของบุตรของตนเอง คือ โทรณาจารย์ อาจารย์ประจำราชสำนักกรุงหัสตินาปุระ

ลักษณะของพระพฤหัสบดี ในคติไทย เป็นเทพบุรุษมีกายสีส้มทอง มี ๒ กร ทรงลูกประคำและกระดานชนวน บ้างก็ทรงหอกเป็นอาวุธ สวมชฎายอดฤๅษี ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงกวางเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทวฤๅษีมีกายสีทอง มี ๔ กร ทรงลูกประคำ คัมภีร์ หม้อน้ำ ไม้เท้า ฯลฯ มุ่นมวยผมอย่างฤๅษี สวมลูกประคำ สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงช้างเป็นพาหนะ พระพฤหัสบดี ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระเทวคุรุ,พระเทวาจารย์,พระเทวฤๅษี,พระพรหมนัสบดี,พระคีษปติ,พระชีวะ,พระคุรุ,พระคุณากร,พระอางคิรสะ,พระวาจัสปติ,พระวริษฐ์,พระสุราจารย์,พระคิรีศะ,พระเทวปูชิตะ,พระสวรรณกาย ฯลฯ

พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤๅษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เมตตาปรานีต่อผู้อื่น พระพฤหัสบดีเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ เนื่องจากถูกพระจันทร์แย่งชิงชายา คือ นางตาราไปครองเป็นชายาของตัวเอง แต่ท้ายสุดพระพฤหัสบดีก็ได้นางตารากลับไป

ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ (เลขห้าไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤๅษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือ ปางสมาธิ

เมื่อเทียบกับความเชื่อของชาวกรีกและโรมันแล้ว พระพฤหัสบดี คือ ซุส หรือ จูปิเตอร์

อ้างอิง

  • อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ.พรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
  • เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
  • กิเลน ประลองเชิง, ตำนานจันทร์เจ้า. "ชักธงรบ". หน้า 3 ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21346: วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก