ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอังคาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| ดาวพระเคราะห์ = มังคลโลก ([[ดาวอังคาร]]) [[ภาพ:Mangal symbol.png|15px|]]
| ดาวพระเคราะห์ = มังคลโลก ([[ดาวอังคาร]]) [[ภาพ:Mangal symbol.png|15px|]]
| อาวุธ = หอก,ตรีศูล,คทา,ดาบ,โล่,ดอกบัว,ขวาน,ธนู,ศร ฯลฯ
| อาวุธ = หอก,ตรีศูล,คทา,ดาบ,โล่,ดอกบัว,ขวาน,ธนู,ศร ฯลฯ
|บิดา=[[พระศิวะ]]|มารดา=[[พระภูเทวี]]|consort=พระนางชวาลินี
|บิดา=[[พระศิวะ]]|มารดา=[[พระภูเทวี]]|consort=พระนางชวาลินี|child=วิสันตราวี ([[วานรสิบแปดมงกุฎ]]ในรามเกียติ์)
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:05, 4 พฤษภาคม 2562

พระอังคาร
เทวนาครี: मंगल หรือ मङ्गल
พระอังคารอย่างอินเดีย ทรงแพะเป็นพาหนะ
จำพวกเทวดานพเคราะห์
อาวุธหอก,ตรีศูล,คทา,ดาบ,โล่,ดอกบัว,ขวาน,ธนู,ศร ฯลฯ
สัตว์พาหนะแพะ,แกะ,โค,กระบือ,หงส์,เสือ,ราชรถสีแดงเทียมม้าสีแดง 10 ตัว
บิดาพระศิวะ
มารดาพระภูเทวี
คู่ครองพระนางชวาลินี
บุตรวิสันตราวี (วานรสิบแปดมงกุฎในรามเกียติ์)
ดาวพระเคราะห์มังคลโลก (ดาวอังคาร)

พระอังคาร (เทวนาครี: मंगल มํคล หรือ मङ्गल มงฺคล) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจากพระศิวะทรงนำมหิงสา (ควาย) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีชมพูเข้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีพระวรกายสีชมพู ทรงเครื่องประดับด้วยทองแดงและแก้วโกเมน ทรงมหิงสา (กระบือ) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ)

ในคติฮินดู พระอังคาร มีนามว่า พระมังคละ หรือ พระมงคล ถือกำเนิดจากเหงื่อหรือเลือดของพระศิวะที่ทรงหยดลงในขณะทรงพระพิโรธกับการต่อสู้กับอันธกาสูร และพระแม่ธรณีได้รองรับไว้ กำเนิดเป็นกุมารกายสีแดงโลหิต มี ๔ กร บ้างก็ว่าเป็นบุตรของพระแม่ธรณีกับพระวิษณุในร่างพระวราหาวตาร เดิมมีนามว่า พระเภามะ พระเภามะได้เริ่มการบูชาพระศิวะ จนพระศิวะพอพระทัย และแต่งตั้งให้เป็นเทวดานพเคราะห์ อีกตำนานเล่าว่า พระมังคละ มีนามว่า พระโลหิตางค์ เกิดจากเหงื่อของพระศิวะในขณะที่ทรงสอนการร่ายรำตาณฑวะแก่นาฏยาจารย์ พระแม่ธรณีได้รองรับไว้ และยกกุมารนี้ให้อันธกาสูร พระโลหิตางค์ ได้ร่ำเรียนวิชากับนาฏยาจารย์ ต่อมาอันธกาสูรถูกพระศิวะสังหาร นางวฤษภานุ มเหสีของอันธกาสูรได้ยุยงให้พระโลหิตางค์ รบกับพระศิวะ พระโลหิตางค์ประชันดนตรีกับพระศิวะ และพ่ายแพ้ไป พระโลหิตางค์ได้สำนึกผิดและขอขมา พระศิวะทรงให้พรและแต่งตั้งให้เป็นเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวอังคาร ซึ่งอยู่ใกล้กับโลก เป็นเทพแห่งสงคราม การสู้รบ เป็นเทพผู้มอบพรแก่เหล่ากษัตริย์และนักรบ

ลักษณะของพระอังคาร ในคติไทย เป็นเทพบุรุษมีกายสีชมพู มี ๔ กร ทรงหอก,ตรีศูล,กระบองและศรเป็นอาวุธ สวมมงกุฎน้ำเต้า สวมอาภรณ์สีแดงและสีม่วง ทรงเครื่องประดับด้วยทองแดงและแก้วโกเมน ทรงกระบือเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพบุรุษมีกายสีแดงดังโลหิต มี ๔ กร ทรงหอก ตรีศูล คทา ดอกบัว ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ สวมอาภรณ์สีแดง ทรงเครื่องประดับด้วยทองแดงและแก้วโกเมน ทรงแพะเป็นพาหนะ พระอังคาร ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระมังคละ,พระเภามะ,พระโลหิตางค์,พระอังคารกะ,พระรักตวรรณ,พระกุชะ,พระภูมิบุตร,พระภูมิสุตะ,พระมหาวีระ,พระมหาศูระ,พระมหาเราทระ,พระมหาภัทระ ฯลฯ

พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์มักโกรธ มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ขยัน อดทน ไม่ยอมคน ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์

ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ ปางไสยาสน์ และภายหลังมี ปางลีลา เพิ่มอีกหนึ่งปาง

เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอังคารเทียบได้กับแอรีสของเทพปกรณัมกรีก และมาร์สของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกัน

อ้างอิง

  • อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ.พรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
  • เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.