ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชลัญจกรประจำรัชกาล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
ไฟล์:Privy Seal of King Rama VIII (Ananda Mahidol).svg|<center>พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล</center>
ไฟล์:Privy Seal of King Rama VIII (Ananda Mahidol).svg|<center>พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล</center>
ไฟล์:Privy Seal of King Rama IX (Bhumibol Adulyadej).svg|<center>พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช</center>
ไฟล์:Privy Seal of King Rama IX (Bhumibol Adulyadej).svg|<center>พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช</center>
ไฟล์:ตราพระราชลัญจกร ร.๑๐ มีพื้น.jpg|<center>พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว</center>
ไฟล์:https://scontent.xx.fbcdn.net/v/t1.15752-0/p280x280/59301103_2183477481688843_8746038013051535360_n.png?_nc_cat=111&_nc_oc=AQnZM6yTiAeQDYLocIM4l7u0p6M0jACHS5XOBgaf-_i0cZYZLJ_0eCiWF-S6KAwl4Qlv3u5IqWQTjh7cmO23Qma8&_nc_ad=z-m&_nc_cid=0&_nc_zor=9&_nc_ht=scontent.xx&oh=0ab4379e30cf68f88452b06fd5097066&oe=5D6F0D2F|<center>พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว</center>
</gallery>
</gallery>
</center>
</center>


* '''พระราชลัญจกรประจำ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นเทพอาวุธของ[[พระพรหม]] [[พระอิศวร]] และ[[พระนารายณ์]]ตามลำดับ เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรา[[ราชวงศ์จักรี|มหาจักรีบรมราชวงศ์]]ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้ง[[บังแทรก]] สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นเทพอาวุธของ[[พระพรหม]] [[พระอิศวร]] และ[[พระนารายณ์]]ตามลำดับ เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรา[[ราชวงศ์จักรี|มหาจักรีบรมราชวงศ์]]ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้ง[[บังแทรก]] สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:08, 4 พฤษภาคม 2562

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรนับเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงอิสริยยศและพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์

ประวัติ

ปรากฏหลักฐานว่าพระราชลัญจกรประจำรัชกาลมีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วในเอกสารต่างประเทศ โดยมีการพิมพ์ภาพจำลองพระราชลัญจกรรูปเทวดา 4 กร ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระราชลัญจกรพระนารายณ์ทรงครุฑ ประจำพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเขียนโดย ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ แต่เนื่องจากเอกสารสมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่สูญหายไปกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ทำให้ไม่อาจสืบทราบได้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาลใช้ตราอะไรเป็นพระราชลัญจกรประจำรัชกาล

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏหลักฐานรอยประทับพระราชลัญจกรประจำรัชกาลเพียงพระราชลัญจกรที่เชื่อว่าเป็นพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 2 เท่านั้น คือ พระราชลัญจกรไตรสารเศวต อย่างไรก็ตาม ก็มีการใช้สัญลักษณ์ประจำรัชกาลต่างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยปรากฏหลักฐานอยู่ในเงินพดด้วงสมัยดังกล่าวอยู่แล้ว

ธรรมเนียมการใช้พระราชลัญจกรประจำรัชกาลปรากฏหลักฐานชัดเจนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประทับพระราชลัญจกรพระมหามงกุฎและพระราชลัญจกรพระจุฑามณี ในเอกสารส่วนพระองค์ เช่น พระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวตามลำดับ

เมื่อมีงานรัตนโกสินทรสมโภชครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 เพื่ออุทิศถวายพระมหากษัตริย์ทั้งสามรัชกาลข้างต้น หลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มาก็ทรงสร้างพระราชลัญจกรประจำรัชกาลของพระองค์ใช้มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ราชวงศ์จักรี

  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต (สังข์เวียนขวา) อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2328
  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" ตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ พญาครุฑซึ่งในเทพนิยายเทวกำเนิด เป็นเทพองค์หนึ่งที่ทรงมหิทธานุภาพยิ่ง แต่ยอมเป็นเทพพาหนะสำหรับพระนารายณ์ ปกติอยู่ที่วิมานฉิมพลี ดังนั้นทรงพระกรุณาให้ใช้รูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย
  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปปราสาท เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ทับ" หมายความว่า ที่อยู่ หรือเรือน ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้สร้างรูปปราสาท เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย

พระราชลัญจกรทั้ง 3 องค์นี้เดิมเป็นเพียงพระราชสัญลักษณ์ที่ปรากฏในที่ต่างๆ เช่น เงินพดด้วง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชลัญจกรเหล่านี้ขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2425 ตราทั้งหมดเป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร

  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระราชลัญจกรพระมหามงกุฎ ลักษณะเป็นรูปกลมรี ลายกลางเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" ซึ่งเป็นศิราภรณ์สำคัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้างที่ริมขอบทั้งสองข้าง มีพานทองสองชั้นวางพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหนึ่ง สมุดตำราข้างหนึ่ง รูปพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรนี้มาจากฉายาเมื่อผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากเหตุที่ได้ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระราชลัญจกรพระจุฑามณี ลักษณะเป็นรูปกลม ลายกลางเป็นรูปพระจุฑามณี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า มีตั่งรองรับอีกชั้น อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "จุฑามณี" ซึ่งหมายถึงปิ่นปักผม มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้างที่ริมขอบทั้งสองข้าง มีลายพฤกษาล้อมรอบ
  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระราชลัญจกรพระเกี้ยวยอด ลักษณะเป็นรูปพระจุลมงกุฎ (หรือพระเกี้ยว) เปล่งรัศมีประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้า เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลความหมายว่าเป็นศิราภรณ์ชนิดหนึ่งอย่างมงกุฎ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้าง ที่ริมขอบทั้งสองข้างมีพานแว่นฟ้าและพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรและสมุดตำรานั้น เป็นการเจริญรอยจำลองพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระราชลัญจกรพระวชิระ เป็นรูปวชิราวุธ เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้าตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตราของพระอินทร์ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร

อ้างอิง

ดูเพิ่ม