ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
* [[ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา]] [[คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา]]
* [[ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา]] [[คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา]]
* [[ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยทักษิณ]] [[โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยทักษิณ]]
* [[ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยทักษิณ]] [[โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยทักษิณ]]
*[[โรงพยาบาลจุฬาภรณ์]] [[ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์|วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์]]


==== โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์ ====
==== โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์ ====

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:04, 2 พฤษภาคม 2562

โรงพยาบาล (หรืออาจใช้ว่า สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์) เป็นสถานที่สำหรับการบริการทางด้านสุขภาพ โดยมักที่จะมุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ในประเทศไทยมีการให้บริการทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิกที่เปิดบริการโดยทั่วไป

โรงพยาบาลรัฐบาล

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข[1] โดยโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ แต่สำหรับโรงพยาบาลในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น

สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ทั้งหมด[2] เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคทรวงอก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะขึ้นตรงกับกรมสุขภาพจิต[3] เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันราชานุกูล เป็นต้น

นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ในประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น สภากาชาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร อีกด้วย โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดจะให้บริการประชาชนตามสิทธิการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ประเภทของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ แบ่งตามขีดความสามารถ และประเภทได้ดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย - วิทยาลัยแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ ดังนี้

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นสถานพยาบาลในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยต่างๆ โดยไม่ได้เป็นสถาบันหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิต และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขความขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ในการร่วมผลิตแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้ง“สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ชื่อย่อว่า “สบพช.”

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1-3) จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ (สำนักวิชาแพทยศาสตร์ / วิทยาลัยแพทยศาสตร์) ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ส่วนในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) จะอาศัย โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลทั่วไป (บางแห่ง) และโรงพยาบาลศูนย์ (บางแห่ง) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งเป็นสถาบันสมทบในการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก ปัจจุบัน ทาง สบพช. มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลอันเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก เหล่านั้น อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลนั้นๆ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั่วประเทศ มีจำนวน 41 แห่ง [4] ดังนี้

ลำดับ โรงพยาบาล จังหวัด
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
3 กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง
3 กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี
4 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย จังหวัดชลบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยมหิดล (กลุ่มนักศึกษาแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก)
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสำนักการแพทย์ โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสำนักการแพทย์ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

โรงพยาบาลส่วนกลาง

โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง จะขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ

โรงพยาบาลศูนย์

โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 34 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นโรงพยาบาลศูนย์ล่าสุด มีศักยภาพบริการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในระดับ A หรือ advance- level Hospital [5] จำแนกตามภาคดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
ภาคใต้

โรงพยาบาลทั่วไป

โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 83 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว) จำแนกตามภาค[5] ดังนี้

ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
ภาคใต้

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

ดูบทความหลักที่: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด[6]) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[7] โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520[8] ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง[9][1] ดังนี้

ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
ภาคใต้

โรงพยาบาลชุมชน

โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง[1]

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลเฉพาะทาง

โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ

สภากาชาดไทย

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย คือโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับสภากาชาดไทย (โดยไม่ได้จัดเป็นหน่วยงานรัฐบาล)) เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซึ่งบริหารโดยตรงโดย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินงานจัดหาพื้นที่และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลดอนเมืองเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กองการแพทย์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลเทศบาลนครอุดรธานี กองการแพทย์ เทศบาลนครอุดรธานี
  • โรงพยาบาลเมืองพัทยา สำนักการสาธารณสุข เมืองพัทยา
  • โรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
  • โรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

กรมแพทย์ทหารบก

กรมแพทย์ทหารเรือ

กรมแพทย์ทหารอากาศ

สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

การไฟฟ้านครหลวง

กระทรวงการคลัง

กระทรวงยุติธรรม

โรงพยาบาลเอกชน

เป็นโรงพยาบาลที่จัดตั้งโดยเอกชน มีทั้งที่เป็นบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดด้วย โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะด้าน เช่น โรงพยาบาลทางด้านโรคตา โรงพยาบาลทันตกรรม เป็นต้น บางแห่งก็มีมากกว่าหนึ่งแห่งในกลุ่มบริษัทเดียวกัน ตัวอย่างของโรงพยาบาลเอกชน มีดังนี้

อ้างอิง

ดูเพิ่ม