ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเฮเซ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น|Tokyo Sky Tree 2012.JPG|200px}}
{{ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น|Tokyo Sky Tree 2012.JPG|200px}}


'''ยุคเฮเซ''' ({{ญี่ปุ่น|平成時代|Heisei jidai}}) เป็น[[ศักราชของญี่ปุ่น|ชื่อยุคและชื่อรัชศกในปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น]] รัชศกเฮเซเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1989 โดยเริ่มนับจากวันที่[[สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ]]ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 125 ในวันหลังวันสวรรคตของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ]]พระราชบิดา ตามธรรมเนียมของประเทศญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้รับการขนานพระนามว่า "จักรพรรดิโชวะ" เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1989
'''ยุคเฮเซ''' ({{ญี่ปุ่น|平成時代|Heisei jidai}}) เป็น[[ศักราชของญี่ปุ่น|ชื่อยุคและชื่อรัชศกของประเทศญี่ปุ่น]]ในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ]] ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1989 ถึงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นวันที่สละราชสมบัติ รัชศกเฮเซเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1989 โดยเริ่มนับจากวันที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 125 ในวันหลังวันสวรรคตของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ]]พระราชบิดา ตามธรรมเนียมของประเทศญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้รับการขนานพระนามว่า "จักรพรรดิโชวะ" เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1989


ด้วยเหตุนี้ ปี ค.ศ. 1989 จึงนับเป็น[[ยุคโชวะ|ศักราชโชวะ]]ปีที่ 64 จนถึงวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989 และเป็นศักราชเฮเซปีที่ 1 ({{ญี่ปุ่น|平成元年|Heisei gannen||''gannen'' มีความหมายว่า "ปีแรก"}}) ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมเป็นต้นไป ในการแปลงศักราชตาม[[ปฏิทินเกรโกเรียน]] (ค.ศ. 1989–2019) ให้เป็นศักราชเฮเซนั้น ต้องนำเลขปีมาลบด้วย 1989 แล้วบวกด้วย 1 (ตัวอย่างเช่น ค.ศ. {{CURRENTYEAR}} แปลงเป็นศักราชเฮเซได้เป็น: {{nowrap|1={{CURRENTYEAR}}-1989+1}}={{nowrap|1={{#expr:{{CURRENTYEAR}}-1989+1}}}} ดังนั้นปี .. {{CURRENTYEAR}}={{nowrap|1=ศักราชเฮเซปีที่ {{#expr:{{CURRENTYEAR}}-1989+1}}}})
ด้วยเหตุนี้ ปี ค.ศ. 1989 จึงนับเป็น[[ยุคโชวะ|ศักราชโชวะ]]ปีที่ 64 จนถึงวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989 และเป็นศักราชเฮเซปีที่ 1 ({{ญี่ปุ่น|平成元年|Heisei gannen||''gannen'' มีความหมายว่า "ปีแรก"}}) ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมเป็นต้นไป ยุคเฮเซสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 (ศักราชเฮเซปีที่ 31) ซึ่งเป็นวันที่มีพระราชพิธีสละ[[ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ]]ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ยุคถัดจากยุคเฮเซคือ[[ยุคเรวะ]] เริ่มต้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ในเวลาเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวันที่[[สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ]]ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ<ref name=kyodo011217>{{cite web |url=https://english.kyodonews.net/news/2017/12/5e229b7aa920-japan-holds-panel-meeting-to-weigh-emperors-abdication-date.html|title=Japan's emperor to abdicate on April 30, 2019: gov't source|author=<!--Not stated--> |date=1 December 2017|website=english.kyodonews.net |publisher=Kyodo News|access-date=1 December 2017}}</ref>

ยุคเฮเซจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 (ศักราชเฮเซปีที่ 31) ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะมีกำหนดการจะสละ[[ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ]] <ref name=kyodo011217>{{cite web |url=https://english.kyodonews.net/news/2017/12/5e229b7aa920-japan-holds-panel-meeting-to-weigh-emperors-abdication-date.html|title=Japan's emperor to abdicate on April 30, 2019: gov't source|author=<!--Not stated--> |date=1 December 2017|website=english.kyodonews.net |publisher=Kyodo News|access-date=1 December 2017}}</ref>


[[ไฟล์:Japanese-royal-2008-01.jpg|thumb|พระราชวงศ์ญี่ปุ่นปัจจุบัน (จากซ้าย) [[เจ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น]], [[เจ้าหญิงโทชิ]], [[เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น]], [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]], [[สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ]], [[เจ้าชายอะกิชิโนะ โทะชิ]], [[เจ้าชายฮิซะฮิโตะ]] และ[[เจ้าหญิงคิโกะ อะกิชิโนะ]] ส่วนสองพระองค์ที่ทรงยืนคือ [[เจ้าหญิงมะโกะ อะกิชิโนะ]] และ [[เจ้าหญิงคะโกะ อะกิชิโนะ]]]]
[[ไฟล์:Japanese-royal-2008-01.jpg|thumb|พระราชวงศ์ญี่ปุ่นปัจจุบัน (จากซ้าย) [[เจ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น]], [[เจ้าหญิงโทชิ]], [[เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น]], [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]], [[สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ]], [[เจ้าชายอะกิชิโนะ โทะชิ]], [[เจ้าชายฮิซะฮิโตะ]] และ[[เจ้าหญิงคิโกะ อะกิชิโนะ]] ส่วนสองพระองค์ที่ทรงยืนคือ [[เจ้าหญิงมะโกะ อะกิชิโนะ]] และ [[เจ้าหญิงคะโกะ อะกิชิโนะ]]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:52, 30 เมษายน 2562

ยุคเฮเซ (ญี่ปุ่น: 平成時代โรมาจิHeisei jidai) เป็นชื่อยุคและชื่อรัชศกของประเทศญี่ปุ่นในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1989 ถึงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นวันที่สละราชสมบัติ รัชศกเฮเซเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1989 โดยเริ่มนับจากวันที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 125 ในวันหลังวันสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะพระราชบิดา ตามธรรมเนียมของประเทศญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้รับการขนานพระนามว่า "จักรพรรดิโชวะ" เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1989

ด้วยเหตุนี้ ปี ค.ศ. 1989 จึงนับเป็นศักราชโชวะปีที่ 64 จนถึงวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989 และเป็นศักราชเฮเซปีที่ 1 (ญี่ปุ่น: 平成元年โรมาจิHeisei gannengannen มีความหมายว่า "ปีแรก") ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมเป็นต้นไป ยุคเฮเซสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 (ศักราชเฮเซปีที่ 31) ซึ่งเป็นวันที่มีพระราชพิธีสละราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ยุคถัดจากยุคเฮเซคือยุคเรวะ เริ่มต้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ในเวลาเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ[1]

ไฟล์:Japanese-royal-2008-01.jpg
พระราชวงศ์ญี่ปุ่นปัจจุบัน (จากซ้าย) เจ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น, เจ้าหญิงโทชิ, เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น, สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ, เจ้าชายอะกิชิโนะ โทะชิ, เจ้าชายฮิซะฮิโตะ และเจ้าหญิงคิโกะ อะกิชิโนะ ส่วนสองพระองค์ที่ทรงยืนคือ เจ้าหญิงมะโกะ อะกิชิโนะ และ เจ้าหญิงคะโกะ อะกิชิโนะ

ประวัติและความหมาย

เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989 เวลา 7.55 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น โชอิจิ ฟูจิโมริ จางวางใหญ่แห่งสำนักพระราชวังญี่ปุ่นได้ประกาศว่าสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสวรรคตเมื่อเวลา 6.33 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่นและได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพระโรคมะเร็งของพระองค์เป็นครั้งแรก ไม่นานหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิ เคโซ โอบูจิ เลขาธิการใหญ่แห่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้น (ภายหลังเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น) ได้ประกาศการสิ้นสุดของรัชศกโชวะและประกาศชื่อ "เฮเซ" เป็นชื่อรัชศกใหม่ของจักพรรดิพระองค์ใหม่

โอบูจิได้อธิบายความของชื่อ "เฮเซ" ว่ามีที่มาจากบันทึกประวัติศาสตร์และปรัชญาของจีนสองเล่ม คือฉื่อจี้ (史記 Shǐjì) และชูจิง (書経 Shūjīng) ในฉื่อจี้ มีประโยคว่า "内平外成" (nèi píng wài chéng; คัมบุง: 内平かに外成る Uchi tairaka ni soto naru) ปรากฏในส่วนที่สรรเสริญการปกครองด้วยพระอัจฉริยภาพของพระเจ้าชุ่น จักรพรรดิในตำนานของจีน ในชูจิง ปรากฏประโยคว่า "地平天成" (dì píng tiān chéng; คัมบุง: 地平かに天成る Chi tairaka ni ten naru, "สันติสุขในฟ้าดิน") ด้วยการนำความหมายของสองประโยคนี้มารวมเข้าด้วยกัน "เฮเซ" จึงมีความหมายว่า "สันติสุขทุกหนทุกแห่ง" ยุคเฮเซเริ่มต้นทันทีในวันหลังการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะทรงมีพระราชดำรัสผ่านทางโทรทัศน์ว่าพระองค์กังวลว่าพระชนมายุที่มากขึ้นของพระองค์จะส่งผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้เต็มที่ เป็นนัยว่าพระองค์มีพระราชประสงค์จะสละราชย์ [1] สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านร่างกฎหมายเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ให้สามารถสืบทอดราชบัลลังก์แก่เจ้าชายนารูฮิโตะ พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ[1] ภายหลังจากการประชุมสมาชิกสภาราชวงศ์ นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้ประกาศว่าจะกำหนดให้วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 เป็นวันสละราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ[1] รัชสมัยของเจ้าชายนารูฮิโตะจะเริ่มขึ้นในวันถัดไป [2]


ตารางเทียบศักราช

เฮเซ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ค.ศ. 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998
พ.ศ. 2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541
เฮเซ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
ค.ศ. 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008
พ.ศ. 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551
เฮเซ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ค.ศ. 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
พ.ศ. 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561
เฮเซ 31
ค.ศ. 2019
พ.ศ. 2562

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Japan's emperor to abdicate on April 30, 2019: gov't source". english.kyodonews.net. Kyodo News. 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.
  2. Kyodo, Jiji (3 December 2017). "Japan's publishers wait in suspense for next era name". The Japan Times Online. สืบค้นเมื่อ 2018-01-31.


ก่อนหน้า ยุคเฮเซ ถัดไป
โชวะ ศักราชของญี่ปุ่น
(8 มกราคม ค.ศ. 1989 – 30 เมษายน ค.ศ. 2019)
เรวะ