ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
55
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 171.4.47.47 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Geonuch
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
| รัฐมนตรี7_ชื่อ =
| รัฐมนตรี7_ชื่อ =
| รัฐมนตรี7_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี7_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[whoami]]
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[อิทธิพร บุญประคอง]]
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ประธานกรรมการ
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ประธานกรรมการ
| หัวหน้า2_ชื่อ = [[สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์]]
| หัวหน้า2_ชื่อ = [[สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:17, 26 เมษายน 2562

คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ไฟล์:ตราสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.png
ตรา
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง9 มิถุนายน พ.ศ. 2540
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ไทย
120 หมู่ 3 ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์ECT.go.th
เชิงอรรถ
คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (อังกฤษ: Election Commission of Thailand) หรือย่อว่า กกต. (ECT) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่หลักเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งในปี

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นสำนักงานเลขานุการ

ประวัติและโครงสร้างองค์กร

นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กระทั่งได้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป 19 ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476
  • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480
  • ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481
  • ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489
  • ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491
  • ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495
  • ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500
  • ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500
  • ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512
  • ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518
  • ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519
  • ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522
  • ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526
  • ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529
  • ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531
  • ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535
  • ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535
  • ครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538
  • ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539

การเลือกตั้งทั้ง 19 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 64 ปี ได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการตราขึ้นมาบังคับใช้ในแต่ละห้วงเวลาแต่ละสมัย โดยฉบับสุดท้ายคือ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ ล้วนบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติมีอำนาจในการออกกฎกระทรวงและระเบียบให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายส่งผลให้กระทรวงมหาดไทย เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมาโดยตลอด

จนกระทั่งการเลือกตั้งครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ประสงค์ที่จะให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลกระบวนการเลือกตั้งให้เกิดความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม จึงมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 3/2535 ลงวันที่ 8 มกราคม 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและสองส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมอบหมายให้ นายเกษม สุวรรณกุล เป็นประธาน และนายโคทม อารียา เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ติดตามและสอดส่องดูแลกระบวนการของการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ให้เป็นไปโดยสุจริต ยุติธรรม และถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง "คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" หรือที่รู้จักกันในชื่อ “องค์กรกลาง” ถือเป็นองค์กรอิสระที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานอิสระไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และตรวจสอบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นผลพวงมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 อันนำไปสู่กระแสเรียกร้องต้องการให้มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างจริงจัง จนในที่สุดมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งมาตรา 211 ด้วยการเพิ่มหมวด 12 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบตามจำนวน (99 คน)

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 99 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่ละจังหวัด 76 คน และรัฐสภาคัดเลือกจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และการปกครองอีก 23 คน โดยการยกร่างรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว แล้วนำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณา ซึ่งที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7/2540 (สมัยสามัญครั้งที่สอง)

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 ก็ได้มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก็มีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือฉบับปฏิรูปการเมือง โดยเนื้อหาสาระได้มีการปรับปรุงแก้ไขออกแบบโครงสร้างระบบการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มกลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐและนักการเมืองการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การบัญญัติให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้งแทนที่กระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งอย่างยุติธรรมในประเทศไทย โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 5 คน ซึ่งเลือกสรรโดยวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งได้สมัยเดียวเป็นเวลา 7 ปี (ยกเว้นชุดแรก ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน (ที่ให้มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพียงกึ่งหนึ่งของวาระที่กำหนดไว้ ตามมาตรา 322 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 )

ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง

กรรมการการเลือกตั้งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด และไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด

หน้าที่

คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้

  1. ควบคุมดูแลและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม
  2. ออกระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนดทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติงาน ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  3. มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นในการเลือกตั้ง
  4. ดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมืองตามกฎหมาย
  5. ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  6. สืบสวนหรือไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
  7. สั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง การเลือก การออกเสียงประชามติ และสั่งให้มีการเลือกตั้ง เลือก ออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยหรือทุกหน่วยเลือกตั้งเมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง
  8. เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและดำเนินคดีอาญากับผู้สมัคร หัวคะแนน และผู้เกี่ยวข้อง (ให้ใบเหลือง หรือ ใบแดง)สั่งระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครไว้เป็นการชั่วคราวเมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าผู้นั้นกระทำหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่นที่มีลักษณะเป็นการทุจริตหรือทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
  9. การดำเนินคดีในศาลเกี่ยวกับความผิดการเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง
  10. ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
  11. มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนและให้มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล ไม่ว่าในเรื่องทางแพ่ง หรืออาญา หรือทางปกครอง แก่ผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในการเลือกตั้งใหม่แก่ผู้ถูกใบแดง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  12. ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยฺ์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
  13. การรับรองและการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการเลือกตั้ง
  14. ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบุว่าหน้าที่ของ กกต. คือการให้การศึกษาแก่ประชาชนเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
  15. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา
  16. ดำเนินการเรื่องอื่นๆตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกำหนด[3]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ม. ๒๒๔,๒๒๕,๒๒๖[4] และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ม. ๒๒-๓๘[5]

รายนามคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ชุดแรก (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544)

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง[6] โดยประกอบไปด้วย

ลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1 ธีรศักดิ์ กรรณสูต ประธานกรรมการการเลือกตั้ง 27 พฤศจิกายน 2540 - 26 พฤษภาคม 2544
2 สวัสดิ์ โชติพานิช กรรมการการเลือกตั้ง
(ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย)
27 พฤศจิกายน 2540 - 26 พฤษภาคม 2544
3 ยุวรัตน์ กมลเวชช กรรมการการเลือกตั้ง
(ฝ่ายจัดการการเลือกตั้ง)
27 พฤศจิกายน 2540 - 26 พฤษภาคม 2544
4 วิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง
(ฝ่ายกิจการพรรคการเมือง)
27 พฤศจิกายน 2540 - 4 กุมภาพันธ์​ 2543
5 โคทม อารียา กรรมการการเลือกตั้ง
(ฝ่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน)
27 พฤศจิกายน 2540 - 26 พฤษภาคม 2544

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง และเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2543 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายจิระ บุญพจนสุนทร ดำรงตำแหน่งแทน

โดยมี ร้อยตรีวิจิตร อยู่สุภาพ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และปฏิบัติหน้าที่ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546

ชุดที่สอง (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2549)

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 วาระการดำรงตำแหน่ง วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 [7]

  • พลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (วันที่ 21 ตุลาคม 2544 - 15 พฤษภาคม 2545) (พลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อ 15 พฤษภาคม 2545) และเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2545 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายกิจการพรรคการเมือง แทน พลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ และพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ ได้ยื่นหนังสือลาออก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549
  • พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายกิจการพรรคการเมือง (ภายหลังจากการแต่งตั้ง พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ แล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งได้เลือก พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2545)
  • นายจรัล บูรณพันธุ์ศรี กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย (ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548)
  • นายวีระชัย แนวบุญเนียร กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารการเลือกตั้ง

โดยมี พลตำรวจตรีเอกชัย วารุณประภา เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2547 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549

การปรับระบบการทำงาน หลังการเสียชีวิตของนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี

ภายหลังการเสียชีวิตของนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี และยังไม่มีการสรรหาบุคคลใหม่มาทดแทน กกต.ที่เหลืออยู่ 4 คน ได้แบ่งหน้าที่ใหม่ จากเดิมที่แบ่งตามลักษณะงานตามความเชี่ยวชาญของ กกต. แต่ละคน ออกเป็น 4 เขตพื้นที่ให้ กกต. แต่ละคนดูแล โดยแต่ละคนต่างก็มีอำนาจเด็ดขาดทั้งการบริหาร การเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง การสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ คือ

  • พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ ดูแลภาคกลางและกรุงเทพ
  • นายปริญญา นาคฉัตรีย์ ดูแลภาคใต้
  • นายวีระชัย แนวบุญเนียร ดูแลภาคเหนือ
  • พลเอก จารุภัทร เรืองสุวรรณ ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มบุคลากรทั้งในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนภารกิจและการทำงานของ กกต. ให้สำเร็จ

มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานการวินิจฉัยสืบสวนสอบสวน จากเดิมที่มีสองส่วน เพื่อการตรวจสอบและคานอำนาจ คือ

  • สำนักสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง
  • สำนักวินิจฉัย มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองพยานหลักฐานจากเจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนสอบสวนสืบสวนก่อนเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่ามีมูลหรือไม่ หากหลักฐานไม่เพียงพอ ก็ส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาหลักฐานเพิ่มเติม แล้วจึงส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยเป็นผู้พิจารณาก่อนส่งความเห็นในเรื่องนั้นต่อให้ กกต.กลาง วินิจฉัยชี้ขาดขั้นสุดท้าย แต่ในกรณีที่มีความเร่งด่วน ก็อาจส่งเรื่องให้ กกต.กลางวินิจฉัยได้

การจัดโครงสร้างเดิม คล้ายกับการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม ที่มีสำนักสืบสวนสอบสวนทำหน้าที่คล้ายตำรวจ สำนักวินิจฉัยทำหน้าที่คล้ายอัยการ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยทำหน้าที่คล้ายเป็นศาลชั้นต้น และ กกต.กลางทำหน้าที่คล้ายกับเป็นศาลสูงสุด

แต่หลังจากที่ กกต. ชุดที่สองเข้ามาดำเนินการไม่นาน ก็มีการปรับให้หน่วยงานทั้งสองมารวมเป็นสำนักเดียวกัน คือ สำนักสืบสวนและวินิจฉัย แต่แบ่งพื้นที่การทำงานเป็นภาค ไม่ได้แบ่งเนื้อหาสาระของการทำงาน มีลักาณะการทำงานคล้ายตำรวจภูธรภาค ไม่มีอัยการ (สำนักวินิจฉัย)

กรณีคำพิพากษาของศาล

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ศาลอาญาได้ตัดสินตามคำฟ้องของโจทย์คือ นาย ถาวร เสนเนียม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบของ กกต. โดยการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทย ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มีโทษตามมาตรา 42 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน (ไม่ได้ลงโทษตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ศาลได้มีคำตัดสินว่าให้คณะกรรมการสามคนได้แก่ พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร ต้องคำพิพากษาศาลอาญา ให้จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง กกต. เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง

ชุดที่สาม (พ.ศ. 2549 - 2556)

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ออกประกาศฉบับที่ 13 แก้ไขโดยประกาศฉบับที่ 16 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป รวมทั้งให้นายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม นายสมชัย จึงประเสริฐ และนายสุเมธ อุปนิสากร เป็นประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3 ตามความที่ประธานวุฒิสภาเคยนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลทั้งห้าเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งท้องถิ่น แม้จะยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ไปแล้ว

วาระการดำรงตำแหน่งวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 – วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 และ รักษาการจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

  • นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านบริหารกลาง
  • นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านการบริหารงานเลือกตั้ง
  • นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านการสืบสวนและสอบสวน
  • นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการพรรคการเมืองและออกเสียงประชามติ
  • นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านการมีส่วนร่วม โดยพ้นตำแหน่งด้วยเหตุอายุครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 และเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2552 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น เป็นกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านการมีส่วนร่วม แทนนายสุเมธ อุปนิสากร

โดยมี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 และลาออกจากเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 เพื่อไปดำรงตำแหน่ง กรรมการ กสทช. คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีมติแต่งตั้งให้ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555[8]

ชุดที่สี่ (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2561)

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดที่สี่ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และทำพิธีรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งและเข้าปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วาระการดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561[9]

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ห้องประชุมศาลฎีกา ได้เรียกประชุมผู้พิพากษาศาลฎีกา ทั้ง 139 คน เพื่อประชุมใหญ่ มีผู้ออกเสียงทั้งหมด พิจารณาสรรหาบุคคลที่สมควรถูกเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนที่ประชุมจะเลือกคณะกรรมการเลือกตั้งทั้งหมด 2 ตำแหน่ง ซึ่งครั้งนี้ได้เพียง 1 ตำแหน่ง โดยจะเรียกประชุมผู้พิพากษาศาลฎีกา อีกครั้ง ในวันที่ 9 ตุลาคม และอีก 3 ตำแหน่ง จะมาจากการประกาศรับสมัครจากบุคคลทั่วไป จะมีการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหากกต. 6 คน ซึงประกอบไปด้วย 1.ประธานศาลฎีกา 2.ประธานศาลปกครอง 3.ประธานสภาผู้แทนราษฎร 4.ผู้นำฝ่ายค้าน 5.ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกมา 1คน ที่ไม่ใช่ตุลาการ 6.ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกมา 1 คน โดยที่ไม่ใช่ตุลาการ

  • นาย ศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการบริหารกลาง
  • นาย บุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย
  • ว่าที่ร้อยตรี ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการการมีส่วนร่วม
  • ดร.ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ
  • รองศาสตราจารย์ สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง (13 ธันวาคม 2556 - 20 มีนาคม 2561) [10]

ผลงานสำคัญของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดนี้คือ 1. การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

2. การจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

3. การรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

4. การจัดการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2559

ชุดที่ห้า (พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน)

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ดังนี้

มาตรา 222 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา จำนวนห้าคน (๒) ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษา หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนสองคน ผู้ซึ่งจะได้รับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้งตาม (๑) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓๒(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) หรือเป็นผู้ทำงานหรือเคยทำงานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่ายี่สิบปี ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด

และมาตรา 223 กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 [11]และวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561[12]

  1. นาย อิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  2. ศาสตราจารย์ ดร. สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ กรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  3. ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย กรรมการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  4. นาย ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี กรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  5. นาย ปกรณ์ มหรรณพ กรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  6. นาย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ กรรมการการเลือกตั้ง (4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
  7. ดร. ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง (4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)

โดยมีพันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) นาย ดุษฎี พรสุขสวัสดิ์ นาย เมธา ศิลาพันธ์ นาย แสวง บุญมี นาย กฤช เอื้อวงศ์ นาย ณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล เป็นรองเลขาธิการ กกต.

การจัดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันนี้ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งบนจุดเปลี่ยนของประเทศ และปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้ง การแตกแยกเป็นสองขั้วการเมืองจนในที่สุดรัฐบาลได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 แม้คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง แต่ กกต.ชุดนี้ก็ถูกคาดหวังจากคนทั้งประเทศ ที่จะเป็นกลไกที่ช่วยคลี่คลายความขัดแย้งผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม

แม้ กกต. จะมีความตั้งใจแน่วแน่ ปรารถนาให้การเลือกตั้งเป็นทางออกในการคลี่คลายปัญหา แต่การทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนดบนพื้นฐานความเข้าใจและเป้าหมายที่แตกต่างกันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและอาจนำมาสู่ความขัดแย้งรุนแรงได้ทุกขณะ กกต. ได้ส่งสัญญาณให้รัฐบาลรับรู้หลายครั้ง ขอให้เลื่อนการเลือกตั้ง ส.ส. ออกไปจนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาล คู่ขัดแย้ง และทุกภาคส่วนในสังคม แต่ไม่เป็นผล ทำให้ กกต. ต้องทำหน้าที่เดินหน้าจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นช่วงที่ยากลำบาก เนื่องจาก กกต. และ สนง.กกต.จว. หลายจังหวัดได้รับการขัดขวางเข้าสถานที่ทำงานไม่ได้ การปิดล้อมสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้ง ปิดล้อมสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งและในวันเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่สามารถเปิดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งได้ทุกหน่วยเลือกตั้ง และได้กำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 มีนาคม 2557 เพื่อจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้สำเร็จตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้

ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยการเลือกตั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 108 วรรคสอง คณะรัฐบาล กกต. และผู้ขัดแย้งได้มีการประชุมเพื่อหารือในประเด็นการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ ในขณะนั้นความขัดแย้งก็มีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศกฎอัยการศึก ด้วยการอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 และจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย และได้เชิญตัวแทนจาก 7 ฝ่าย เข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 โดยผลการประชุมในวันนั้น แต่ละฝ่ายไม่สามารถหาทางออกที่ดีที่สุดของประเทศได้

ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้มีการประชุมอีกครั้ง โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศยึดอำนาจ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย

หลังจากนั้นได้มีประกาศให้สมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง และให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้สถานการณ์ของประเทศ ณ ขณะนั้นได้บรรเทาความร้อนแรงและการปะทะที่จะให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนคนไทยแล้วเดินหน้าเข้าสู่การปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ต่อมามีคำสั่งคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่22/2559 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น โดยให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่มีการยุบสภาท้องถิ่น[13]มีนายกองเอกกฤษฎา บุญราชเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการสรรหา

การจัดการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันนี้ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หลังจากการเผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้วันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันเลือกตั้ง โดยมีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม 2562[14] ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่หลังจากมีการเปรียบเทียบจำนวนผู้มีสิทธิ์กับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ พบว่ามีจำนวนบัตรเลือกตั้งมากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิ์ในบางพื้นที่[15] โดย กกต. มีกำหนดการณ์จะแถลงผลเลือกตั้ง ส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ในวันที่ 25 มีนาคม เวลา 14.00 น. จากกำหนดการณ์เดิมที่จะแถลงในเวลา 10.00 น.[16]

การดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใต้การปฏิรูปประเทศ

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายภารกิจให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการของคณะกรรมการสรรหา สปช. และ กกต. เดินหน้าเต็มที่เพื่อทำภารกิจดังกล่าวให้สำเร็จ

โดย กกต. ชุดปัจจุบัน ได้กำหนดวันรับสมัครระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม – 2 กันยายน 2557 ในการรับสมัครดังกล่าวได้รับความสนใจจากบุคคลทุกภาคส่วนที่ต้องการเข้ามามีส่วนปฏิรูปประเทศ และกำหนดทิศทางของประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองฉากใหม่ที่ประชาชนทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือและสนับสนุนเมื่อปิดการรับสมัครมีผู้สมัครจำนวนทั้งสิ้น 7,120 คน และสามารถเสนอชื่อให้ คสช. เพื่อพิจารณาและเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 250 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้ นับได้ว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีส่วนสำคัญในสนับสนุนการปฏิรูป

กกต. ชุดปัจจุบันได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน (Road Map) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ก่อนมีรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งสร้างความภาคภูมิใจในสถาบันพระมหากษัตริย์และความเป็นไทย ปลูกฝังหน้าที่พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยให้กับเยาวชน และประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งพัฒนาระบบงานสืบสวนสอบสวนให้มีมาตรฐาน และจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวน การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรของ กกต. เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการจัดการเลือกตั้งที่จะเป็นจุดเปลี่ยน ของประเทศอีกครั้งหนึ่ง

ระยะที่ 2 เมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ จะเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน

ระยะที่ 3 เมื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง จะเดินหน้าปฏิบัติงานเต็มที่ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ และยุติธรรม ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

โดย กกต. และพนักงาน กกต. ทุกคน จะทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ยืนหยัดอยู่บนหลักความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

อ้างอิง

  1. จ.เพชรบูรณ์จัดงานวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ประจำปี 2553
  2. คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๒๙/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  3. อำนาจหน้าที่ของกกต.ตามรัฐธรรมนูญ
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
  5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐
  6. ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง หน้า ๓-๔ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/114/1.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/028/11.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/196/T1.PDFai
  10. "คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2561" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สลค. 135 (64 ง). 2561-03-20. สืบค้นเมื่อ 2561-03-20. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/196/T1.PDF พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง]
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/310/T_0001.PDF
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/102/13.PDF
  14. เลือกตั้งล่วงหน้า 17 มีนา 62 คึกคักคิวยาวทุกพื้นที่
  15. 'เพื่อไทย'ข้องใจบัตรเลือกตั้งเกินเพียบจี้กกต.เร่งตรวจสอบ
  16. มึน กกต. เลื่อนแถลงผลเลือกตั้งอีก จาก 10 โมง เป็น บ่าย 2 พรุ่งนี้!

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น