ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การล้อมอยุธยา (พ.ศ. 2309–2310)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 203.131.208.122 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย ไทๆ
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
การวางแนวปะทะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพพม่าซึ่งล้อมกรุงมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือนนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ไม่สามารถแม้แต่จะบุกเข้าใกล้ตัวกำแพงพระนคร หรือตั้งป้อมประชิดกำแพงเพื่อใช้ปืนใหญ่ระดมยิง เหมือนกับที่เคยเคยทำได้ในศึกอลองพญา พม่าทำได้อย่างมากก็แต่เพียงตั้งค่ายล้อมพระนครอยู่ไกล ๆ เช่น ทางทิศตะวันตกเข้ามาได้ไม่เกิน[[วัดท่าการ้อง]]<ref>การศาสนา,กรม. '''ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔.''' กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๒๘. หน้า ๗</ref> ขณะที่กำลังส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กลางทุ่งประเชต และทุ่ง[[วัดภูเขาทอง]] ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาได้ไม่ถึง[[วัดไชยวัฒนาราม]] เพราะทางอยุธยาตั้งค่ายใหญ่กันไว้ ทางด้านตะวันออกเข้าได้ ไม่ถึง[[วัดพิชัย]] และเป็นไปได้ว่าตลอดลำคูขื่อหน้าจากหัวรอถึงปากน้ำแม่เบี้ย และคลองสวนพลูยังเป็นเขตปลอดจากการยึดครองของพม่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้จากคลองสวนพลู [[วัดโปรตุเกส]] ตลอดไปจนถึง[[วัดพุทไธศวรรย์]] และ[[วัดเซนต์โยเซฟ]]ยังตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอยุธยา ส่วนทางทิศเหนือพม่าเข้าได้ไม่ไกลไปกว่าโพธิ์สามต้นและปากน้ำประสบ<ref>กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๑๑) หน้า ๖๐๓-๖๐๔</ref><ref>ภัทรธาดา. '''เอกสารบรรยายพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี''' (ชลบุรี:พฤษภาคม ๒๕๒๔) หน้า ๙-๑๐.</ref>
การวางแนวปะทะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพพม่าซึ่งล้อมกรุงมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือนนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ไม่สามารถแม้แต่จะบุกเข้าใกล้ตัวกำแพงพระนคร หรือตั้งป้อมประชิดกำแพงเพื่อใช้ปืนใหญ่ระดมยิง เหมือนกับที่เคยเคยทำได้ในศึกอลองพญา พม่าทำได้อย่างมากก็แต่เพียงตั้งค่ายล้อมพระนครอยู่ไกล ๆ เช่น ทางทิศตะวันตกเข้ามาได้ไม่เกิน[[วัดท่าการ้อง]]<ref>การศาสนา,กรม. '''ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔.''' กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๒๘. หน้า ๗</ref> ขณะที่กำลังส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กลางทุ่งประเชต และทุ่ง[[วัดภูเขาทอง]] ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาได้ไม่ถึง[[วัดไชยวัฒนาราม]] เพราะทางอยุธยาตั้งค่ายใหญ่กันไว้ ทางด้านตะวันออกเข้าได้ ไม่ถึง[[วัดพิชัย]] และเป็นไปได้ว่าตลอดลำคูขื่อหน้าจากหัวรอถึงปากน้ำแม่เบี้ย และคลองสวนพลูยังเป็นเขตปลอดจากการยึดครองของพม่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้จากคลองสวนพลู [[วัดโปรตุเกส]] ตลอดไปจนถึง[[วัดพุทไธศวรรย์]] และ[[วัดเซนต์โยเซฟ]]ยังตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอยุธยา ส่วนทางทิศเหนือพม่าเข้าได้ไม่ไกลไปกว่าโพธิ์สามต้นและปากน้ำประสบ<ref>กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๑๑) หน้า ๖๐๓-๖๐๔</ref><ref>ภัทรธาดา. '''เอกสารบรรยายพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี''' (ชลบุรี:พฤษภาคม ๒๕๒๔) หน้า ๙-๑๐.</ref>


=== การรบทางเรือ ===
บาทหลวงชาวฝรั่งเศสสรุปความสามารถของทหารอยุธยาที่ป้องกันพระนครว่า

<blockquote>"… เมื่อไทยออกต่อสู้พม่าคราวใด ก็สำหรับส่งอาวุธให้ข้าศึกเท่านั้น …"<ref>'''นิธิ เอียวศรีวงศ์'''. '''หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีสหวัฏ (อุดม) ปัญญาสุข'''. 21 พฤษภาคม 2540 หน้า140</ref></blockquote>

พวกแม่ทัพนายกองของพม่าร้องทุกข์ต่อมังมหานรธาให้เลิกทัพกลับไปก่อน เพราะฝนตกชุกเดี๋ยวน้ำเหนือก็จะหลากมา แต่มังมหานรธาไม่เห็นด้วย และว่ากรุงศรีอยุธยาขัดสนเสบียงอาหาร และกระสุนดินดำจนอ่อนกำลังจวนจะตีได้อยู่แล้ว ฝ่ายกองทัพพม่าก็ได้ตระเตรียมทำไร่ทำนาหาอัตคัตสิ่งใดไม่ ถ้าเลิกทัพกลับไป อยุธยาจะได้ช่องทางหากำลังมาเพิ่มเติม เตรียมรักษาบ้านเมืองกวดขันกว่าแต่ก่อน ถึงยกมาตีอีกที่ไหนจะตีง่ายเหมือนครั้งนี้ มังมหานรธาจึงไม่ยอมให้ทัพกลับ ให้เที่ยวตรวจหาที่ดอนตามโคกตามวัดอันมีอยู่รอบพระนคร แล้วแบ่งหน้าที่กันให้กองทัพแยกออกไปตั้งค่ายสำหรับที่จะอยู่เมื่อถึงฤดูน้ำ และให้ผ่อนช้างม้าพาหนะไปเลี้ยงตามที่ดอนในหัวเมืองใกล้เคียง แล้วให้เที่ยวรวบรวมเรือใหญ่น้อยมาไว้ใช้ในกองทัพ เป็นจำนวนมาก<ref>คุรุสภา. '''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๖'''. พระนคร : คุรุสภา ๒๕๑๖, หน้า ๑๘๘.</ref>

หลังจากที่หมดฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาก็ล้มป่วยลงและถึงแก่กรรมที่ค่ายบ้านสีกุก แต่สาเหตุที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมกลับโทษฝ่ายอยุธยา ด้วยแต่ก่อนมากองทัพพม่าฝ่ายเหนือ กับกองทัพพม่าฝ่ายใต้มักแก่งแย่งกัน ด้วยต่างฝ่ายต่างก็เป็นอิสระมิได้ขึ้นแก่กัน ครั้นมังมหานรธาถึงแก่กรรมลง<ref>คุรุสภา. '''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๖'''. พระนคร : คุรุสภา ๒๕๑๖, หน้า ๑๘๘-๑๘๙.</ref>

หลังจากที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมแล้ว เนเมียวสีหบดีก็ได้เป็นแม่ทัพใหญ่ขึ้นบังคับบัญชากองทัพทั้งหมดเพียงผู้เดียว ส่งผลให้กองทัพทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้สมทบกันเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ตัวเนเมียวสีหบดีได้ย้ายจากค่ายปากน้ำประสบมาอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น<ref>'''๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ'''. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓. หน้า ๒๕๒. (ISBN 9742777519) </ref>

=== การตั้งค่ายของอยุธยา ===

ต่อมาฝ่ายไทยได้มีคำสั่งให้ข้ามออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครไว้ทุกด้าน ดังนี้

: '''ทิศเหนือ''' ตั้งค่ายที่วัดพระเมรุแห่งหนึ่ง ตั้งที่เพนียดแห่งหนึ่ง

: '''ทิศใต้''' ตั้งค่ายที่บ้านสวนพลูแห่งหนึ่ง ให้หลวงอภัยพิพัฒน์ ขุนนางจีนคุมชาวจีนบ้านนายค่าย (บางฉบับเรียกนายก่าย) 2,000 คน ให้พวกคริสตังตั้งค่ายที่[[วัดพุทไธสวรรย์]]แห่งหนึ่ง

: '''ทิศตะวันออก''' ตั้งค่ายที่วัดเกาะแก้วแห่งหนึ่ง ตั้งที่วัดมณฑปแห่งหนึ่ง ตั้งที่วัดพิชัยแห่งหนึ่งในบังคับของ[[พระยาวชิรปราการ]] (สิน)

: '''ทิศตะวันตก''' ให้กรมอาสาหกเหล่า ตั้งค่ายที่[[วัดไชยวัฒนาราม]]แห่งหนึ่ง

กองทัพอยุธยาที่รักษาพระนครนั้นเริ่มระส่ำระสายด้วยรู้กันว่าหมดช่องทางที่จะเอาชนะพม่าได้ พวกจีนในกองทัพที่ไปตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสวนพลู คิดจะเอาตัวรอดก่อนคบคิดกันประมาณ 300 คน พากันไปยัง[[พระพุทธบาท]]ไปลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย และแผ่นเงินที่ดาดพื้นพระมณฑปใหญ่มาแบ่งปันกันเป็น อาณาประโยชน์ แล้วเอาไฟเผา[[พระมณฑป]]พระพุทธบาท<ref>รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์, พลโท. '''สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยอดนาวิกโยธินไทย''' ในผ่านศึกฉบับพิเศษ : วันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์ 2537 หน้า 17</ref>ต่อมาค่ายจีนที่บ้านสวนพลูก็เสียแก่พม่า

ต่อมาพม่ายกเข้าตีค่ายที่เพนียดได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าก็เข้ามาตั้งอยู่ที่เพนียด แล้วให้กองทัพพม่าเข้าตีค่าย ทหารอยุธยาที่ออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครข้างด้านเหนือ ถูกตีแตกกลับเข้ามาในกรุงหมดทุกค่าย พม่าเข้ามาตั้งค่ายประชิดพระนคร ด้านเหนือ ที่[[วัดกุฎีดาว]] [[วัดสามพิหาร]] [[วัดศรีโพธิ์]] [[วัดนางชี]] [[วัดแม่นางปลื้ม]] [[วัดมณฑป]] แล้วให้ปลูกหอรบ เอาปืนขึ้นจังก้ายิงเข้าไปในพระนครทุกวันมิได้ขาด<ref>รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์, พลโท. '''สงครามประวัติศาสตร์'''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2541 หน้า 17-18 ISBN 9743213074</ref>

ส่วนแม่ทัพข้างใต้ก็ยกเข้ามาตีไทยที่วัดพุทไธสวรรย์ แล้วไปตีค่ายที่วัดชัยวัฒนาราม รบกันอยู่ได้ 8-9 วันก็เสียค่ายแก่พม่า<ref>รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์, พลโท. '''สงครามประวัติศาสตร์'''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2541 หน้า 18 ISBN 9743213074</ref> แต่ที่ค่ายของพระยาตากสินที่วัดพิชัยนั้น พระยาตากทิ้งค่ายไปเสียก่อนที่พม่าจะยกเข้ามาตี

=== การขุดอุโมงค์ (อยุธยา หัวรอ พ.ศ. 2309) ===
หลังจากนายทัพพม่ารู้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทัพของทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนกำลังลงมาก และประชาชนในเมืองก็อยู่ในสภาพอดยาก จึงตกลงใจเริ่มขุดอุโมงค์ลอดตัวกำแพงอยุธยาทางด้านหัวรอ ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของคูเมือง อุโมงค์ที่ขุดมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 อุโมงค์ ในจำนวนนั้น 2 อุโมงค์เป็นอุโมงค์ที่ขุดมาหยุดลงตรงใต้ฐานกำแพง จากนั้นก็ขยายแนวขุดไปตามแนวกำแพงทั้งสองด้านเป็นขนาดความยาวประมาณ 350 หลา ด้านใต้อุโมงค์ใช้ไม้ทำขื่อรับฐานกำแพงไว้อีกชั้นหนึ่ง<ref>มูลนิธิกตเวทินในพระบรมราชูปถัมป์. '''ประวัติศาสตร์ชาติไทย''', กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547 หน้า 79-80 ISBN 974-92746-2-8</ref>

ส่วนอุโมงค์ที่เหลืออีก 3 อุโมงค์นั้นขุดลอดฐานกำแพงเข้าไปในตัวพระนคร แต่ยังคงเหลือชั้นดินปิดไว้ประมาณ 2 ฟุต การปฏิบัติการขุดอุโมงค์ดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะปกติทางฝ่ายอยุธยาบนเชิงเทินใช้ปืนยิงกลุ่มพม่า ที่เข้ามาใกล้แนวกำแพงอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้พม่าต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนคือ การสร้างสะพานในชั้นต้นทำสะพานข้ามคูก่อน จากนั้นจึงสร้างค่ายใหม่ขึ้นอีก 3 ค่ายประชิดแนวคูเมืองด้านทิศเหนือเสร็จแล้วจึงเริ่มขุดอุโมงค์<ref>ศิลปากร,กรม. '''พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา, ๒๕๑๖.</ref> ในขณะที่ฝ่ายอยุธยาไม่ได้เพิกเฉยต่อการปฏิบัติการดังกล่าว ในครั้งนี้พระมหามนตรี ได้อาสาออกไปตีค่ายพม่าที่เข้ามาตั้งประชิดทั้ง 3 ค่าย พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้จัดพลออกไป 50,000 คน ช้าง 500 เชือก ปรากฏว่าในครั้งนี้พระมหามนตรีได้ทำการรบอย่างอาจหาญ สามารถยึดค่ายพม่าได้ทั้ง 3 ค่าย แต่ภายหลังพม่าได้ส่งกำลังหนุนออกมาโอบล้อมทัพไทย จนเป็นเหตุให้พระมหามนตรีต้องนำกำลังถอนกลับเข้าเมือง<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, '''ไทยรบกับพม่าฉบับรวมเล่ม''' (พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๒๔) หน้า ๓๑๐</ref>

ต่อมาพม่ายกเข้ามาเผาพระที่นั่งเพนียด แล้วตั้งค่าย ณ [[เพนียดคล้องช้าง]]และ[[วัดสามวิหาร]] [[วัดมณฑป]] จากนั้นก็ทำสะพานข้ามทำนบ รอเข้ามาขุดอุโมงค์ที่เชิงกำแพงและตั้งป้อมศาลาดิน ตั้งค่าย[[วัดแม่นางปลื้ม]] ต่อป้อมสูงเอาปืนใหญ่ขึ้นยิง แล้วจึงตั้งค่ายเพิ่มขึ้นอีกค่ายหนึ่งที่[[วัดศรีโพธิ์]]<ref>มูลนิธิกตเวทินในพระบรมราชูปถัมป์. '''ประวัติศาสตร์ชาติไทย''', กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547 หน้า 83. ISBN 974-92746-2-8</ref>

=== กลยุทธ์การเข้าตีพระนครของฝ่ายพม่า ===
กลยุทธ์ที่พม่านำมาใช้ในการรบคราวนี้ก็คือ ปิดล้อมกรุงไว้ แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ถอย จัดการดำเนินการ<ref>กรมศิลปากร. '''จดหมายเหตุและบาดหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น''', 2511 หน้า 85</ref>
กลยุทธ์ที่พม่านำมาใช้ในการรบคราวนี้ก็คือ ปิดล้อมกรุงไว้ แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ถอย จัดการดำเนินการ<ref>กรมศิลปากร. '''จดหมายเหตุและบาดหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น''', 2511 หน้า 85</ref>
# ยึดและรวบรวมเสบียงเท่าที่จะหาได้รอบ ๆ บริเวณนั้นไว้สำรอง
# ยึดและรวบรวมเสบียงเท่าที่จะหาได้รอบ ๆ บริเวณนั้นไว้สำรอง
บรรทัด 73: บรรทัด 110:
ในวันที่กรุงแตกนั้น เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริม[[ป้อมมหาชัย]] และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.</ref>
ในวันที่กรุงแตกนั้น เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริม[[ป้อมมหาชัย]] และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.</ref>


== ผลที่ตามมา ==
[[ไฟล์:Ayutthaya Tourism.JPG|thumb|สถานที่ภายในพระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ]]
[[ไฟล์:Ayutthaya Tourism.JPG|thumb|สถานที่ภายในพระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ]]
[[ไฟล์:Tri Muk Pavilion.jpg|thumb|300px|พระที่นั่งตรีมุข]]
[[ไฟล์:Tri Muk Pavilion.jpg|thumb|300px|พระที่นั่งตรีมุข]]
[[ไฟล์:WatChaiwatthanaram.jpg|thumb|สภาพ[[วัดไชยวัฒนาราม]]ในปัจจุบัน]]
[[ไฟล์:WatChaiwatthanaram.jpg|thumb|สภาพ[[วัดไชยวัฒนาราม]]ในปัจจุบัน]]


หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกพม่าได้บุกเข้ามายังตัวพระนครในตอนกลางคืน แล้วจุดไฟเผาบ้านเรือนของชาวบ้าน ตลอดจนปราสาทราชมณเทียร ทำให้ไฟไหม้ลุกลามแสงเพลิงสว่างดังกลางวัน เมื่อพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใครมาขัดขวางแล้ว ก็เที่ยวฉกชิงและเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร แต่ด้วยเป็นเวลากลางคืน ชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้ประมาณ 30,000 คน พร้อมทั้งเจ้านายทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระภิกษุสามเณรทั้งหลายที่หนีไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่[[ค่ายโพธิ์สามต้น]] ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ก็แจกจ่ายกันไปคุมไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกอง<ref>พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. '''สามกรุง'''. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๑๑ หน้า ๑๒๑-๑๒๒</ref>
<br />

หลังจากที่กองทัพพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาสำเร็จแล้ว จึงพักอยู่ประมาณ 10 วัน พม่าใช้เวลาจุดไฟเผาบ้านเมืองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติเสร็จแล้วจึงยกทัพกลับไป โดยกวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า และนำ[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]ไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้[[สุกี้พระนายกอง|สุกี้]]เป็นนายทัพให้มองญาพม่าเป็นปลัดทัพคุมพลรวม 3,000 คนตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สิ่งของส่งตามไป แล้วตั้งนายทองอินให้เป็นเจ้าเมือง[[ธนบุรี]] แล้วแบ่งแยกกองทัพออกเป็น 3 กองทัพ กองทัพทางเหนือ มีเนเมียวสีหบดีแม่ทัพคุม เจ้านายและข้าราชการที่เป็นเชลยกับทรัพย์สิ่งของที่ดีมีราคามากมาย ยกกลับไปทางด่านแม่ละเมาะ กองทัพทางใต้ให้เจ้าเมือง[[พุกาม]]เป็นนายทัพคุมพวกเรือบรรทุก บรรดาทรัพย์สิ่งของอันเป็นของใหญ่หนัก ๆ ไปทางเมืองธนบุรีและท่าจีน แม่กลองกองหนึ่ง อีกกองหนึ่งยกเป็นกองทัพบกไปเมือง[[สุพรรณบุรี]]ไปสมทบกับกองเรือที่เมือง [[กาญจนบุรี]] รวมกันยกกลับไปทางด่านพระ[[เจดีย์สามองค์]] ในครั้งนั้นพม่าได้ปืนใหญ่ 1,200 กระบอก ปืนเล็กหลายหมื่นกระบอก รวมทั้งได้ปืนคู่แฝดหล่อด้วยทองสำริด ขนาดยาว 12 ศอก และเรือพระที่นั่งกิ่งอีก 4 ลำด้วย<ref>อาทร จันทวิมล. '''ประวัติของแผ่นดินไทย'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2546 หน้า 230 ISBN 9749179706</ref>

สำหรับปืนพระพิรุณแสนห่านั้นมีขนาดใหญ่มาก เมื่อตอนใกล้กรุงจะแตกหมดความหวังที่จะชนะพม่าแล้ว ปืนกระบอกนี้ก็ถูกทิ้งลงในสระแก้วในพระราชวังกรุงเก่า ภายหลังพม่าทราบเรื่องเข้า จึงได้นำขึ้นมาจากสระ แล้วตัวปกันหวุ่นแม่ทัพภาคใต้ขนไปทางเรือ จุดหมายปลายทาง คือ เมืองกาญจนบุรี โดยไปบรรจบกับกองทัพบกที่นั่น ครั้นมาถึงตลาดแก้วเมือง[[นนทบุรี]] เห็นว่าปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่านี้หนักเหลือกำลังที่จะเอาไปเมือง[[อังวะ]]ได้ ปกันหวุ่นจึงให้เข็นชักขึ้นจากเรือที่วัดเขมา ให้เอาดินดำบรรจุเต็มกระบอก จุดเพลิงระเบิดเสีย และขนชิ้นส่วนที่เป็นทองสำริดกลับไปเมืองอังวะ โดยที่ทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด เมื่อวันที่ [[6 มิถุนายน]] พ.ศ. 2310 หลังจากตีกรุงได้แล้วร่วม 2 เดือน<ref>ขจร สุขพานิช. '''ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531. หน้า 270</ref>

พม่าได้เชลยไทยจำนวน 30,000 คนเศษ พม่าแยกเชลยออกเป็น 2 พวก
* '''พวกที่ 1''' สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรกับพระบรมวงศานุวงศ์และชาวเมือง เนเมียวสีหบดีให้กองทัพคุมตัวไปทางเหนือ
* '''พวกที่ 2''' ราษฎรที่เหลือและพวกมิชชันนารี ให้ปกันหวุ่นแม่ทัพทางใต้คุมไปทั้งทางบกและทางเรือ ล่องใต้ไปทางเมืองทวาย แล้วไปบรรจบกับพวกแรกที่ทางเหนือของกรุงอังวะ

ส่วนเรื่องเชลยนั้นพม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าแล้วร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวง เพื่อกวาดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ ประเทศพม่า นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า “เอ็นร้อยหวาย ” ในปัจจุบัน<ref>แปลโดย ส.ศิวรักษ์. '''History of the Kingdom of Siam''', สังคมศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 4, 2510 หน้า 58-65</ref> เชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้น ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปองเลไต๊ (ตึกปองเล) ใกล้คลองชะเวตาชอง หรือคลองทองคำ แถบระแหงโม่งตีส หรือตลาดระแหง ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประมาณ 13 กิโลเมตร มีวัดระไห่ เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีตลาดโยเดีย และมีการรำโยเดียที่มีท่ารำชั้นสูง เช่น พรหมสี่หน้าของไทย ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย<ref>ชนสวัสดิ์ ชมพูนุท, ม.ร.ว.. '''พระราชประวัติ ๙ มหาราช'''. พระนคร : พิทยาคาร ๒๕๑๔, หน้า ๒๖๖.</ref>

พระเจ้าอุทุมพรถูกพระเจ้ามังระบังคับให้ลาผนวช แล้วให้ตั้งตำหนักอยู่ที่เมืองจักกาย (สแคง) ตรงหน้าเมืองอังวะ พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการอยุธยาก็รวบรวมอยู่ที่นั่นเป็นส่วนมาก พม่าได้ซักถามเรื่องพงศาวดารและแบบแผนราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาจดลงในจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ฝ่ายไทยได้ฉบับมาแปลพิมพ์เรียกว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แต่ส่วนพวกราษฎรที่ถูกกวาดต้อนไปจำนวนมากนั้น พม่าแจกจ่ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ภายหลังหนีคืนมาบ้านเมืองได้บ้างก็มี แต่ก็สาบสูญไปในพม่าเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าอุทุมพรไม่เสด็จกลับมาอยุธยาอีก และสิ้นพระชนม์ที่เมืองจักกาย (สแคง)ในปี พ.ศ. 2329 หลักฐานสุดท้ายของเจ้านายพระองค์นี้ที่เหลืออยู่ก็คือ เจดีย์ที่เมืองจักกายเท่านั้น<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน, พลตรี. '''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310'''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2536 หน้า 185 - 186 ISBN 974-584-663-5</ref><ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. '''สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง (พ.ศ 2310) : ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง'''. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2544 หน้า 112 ISBN 974-315-313-6</ref>


=== บันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ปล้นสะดมพระนคร ===
=== บันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ปล้นสะดมพระนคร ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:02, 25 เมษายน 2562

การปิดล้อมอยุธยา (2309-2310)
ส่วนหนึ่งของ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

กองทัพพม่าจุดไฟสุมรากกำแพงกรุงศรีอยุธยาจนทรุดถล่มลงมา ในคืนซึ่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่กองทัพพม่า
วันที่กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 - 7 เมษายน พ.ศ. 2310
สถานที่
ผล

อาณาจักรพม่าได้รับชัยชนะ

  • อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย
  • กองทัพพม่าเข้าปล้นกรุงและกวาดต้อนผู้คนกลับพม่า
คู่สงคราม
อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรโกนบอง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

พระเจ้าเอกทัศ

เนเมียวสีหบดี
(แม่ทัพฝ่ายเหนือ)

มังมหานรธา
(แม่ทัพฝ่ายใต้)
กำลัง
ทหารอยุธยาและทหารอาสาชาวต่างชาติไม่ทราบจำนวน

การปิดล้อมอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2309 - พ.ศ. 2310 เป็นการปิดล้อมระยะเวลานานกว่า 14 เดือนระหว่างสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สอง ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศของอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรโกนบอง

เบื้องหลัง

เมื่อสงครามคราวเสียกรุงเริ่มขึ้น กองทัพของอาณาจักรพม่า ภายใต้การบัญชาการของเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธา ยกมาจากทางทวายและลำปาง ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 กองกำลังภายใต้แม่ทัพทั้งสองก็เข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในระยะไม่เกิน 1.25 ไมล์จากกำแพงพระนคร[1] (ในพงศาวดารไทยบันทึกไว้ว่า ตอกระออมและดงรักหนองขาว[2])

บทวิเคราะห์

ในอดีตกรุงศรีอยุธยามีการป้องกันพระนครโดยมีป้อมปราการเป็นกำแพงอิฐและสูงล้อมรอบตัวเมืองที่กว้าง ดังนั้นจึงสามารถกันมิให้ข้าศึกเข้าจู่โจมตีได้อย่างสะดวก ถึงแม้กองทัพพม่าได้รุกล้อมรอบพระนคร อย่างไรก็ตามการป้องพระนครก็กระทำกันอย่างเหนียวแน่นแข็งแรง[3] แต่ยุทธศาสตร์ที่อาศัยพระนครเป็นปราการสำหรับให้ข้าศึกเข้าล้อม รอเวลาที่ทัพจากหัวเมืองมาช่วยตีกระหนาบนั้นใช้ไม่ได้มานานแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่ในการป้องกันตนเอง อย่างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงใช้นั้นเป็นที่ยอมรับ นั่นก็คือต้องผลักดันมิให้ข้าศึกเข้ามาประชิดพระนคร[4] สงครามคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 เป็นศึกครั้งแรกและครั้งเดียว ที่ผู้นำอยุธยาสามารถรักษากรุงไว้ได้ จนถึงฤดูน้ำหลากตามแผนที่วางไว้ โดยที่ตัวพระนครไม่ต้องตกอยู่ในสภาพบอบช้ำ และราษฎรที่หลบภัยสงครามในกำแพงเมืองไม่ต้องเผชิญกับความฝืดเคืองด้านเสบียงอาหาร[5]

ลำดับเหตุการณ์

การเตรียมการต่อสู้ของอยุธยา

แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งของกองกำลังฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2309

การวางแนวปะทะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพพม่าซึ่งล้อมกรุงมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือนนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ไม่สามารถแม้แต่จะบุกเข้าใกล้ตัวกำแพงพระนคร หรือตั้งป้อมประชิดกำแพงเพื่อใช้ปืนใหญ่ระดมยิง เหมือนกับที่เคยเคยทำได้ในศึกอลองพญา พม่าทำได้อย่างมากก็แต่เพียงตั้งค่ายล้อมพระนครอยู่ไกล ๆ เช่น ทางทิศตะวันตกเข้ามาได้ไม่เกินวัดท่าการ้อง[6] ขณะที่กำลังส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กลางทุ่งประเชต และทุ่งวัดภูเขาทอง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาได้ไม่ถึงวัดไชยวัฒนาราม เพราะทางอยุธยาตั้งค่ายใหญ่กันไว้ ทางด้านตะวันออกเข้าได้ ไม่ถึงวัดพิชัย และเป็นไปได้ว่าตลอดลำคูขื่อหน้าจากหัวรอถึงปากน้ำแม่เบี้ย และคลองสวนพลูยังเป็นเขตปลอดจากการยึดครองของพม่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้จากคลองสวนพลู วัดโปรตุเกส ตลอดไปจนถึงวัดพุทไธศวรรย์ และวัดเซนต์โยเซฟยังตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอยุธยา ส่วนทางทิศเหนือพม่าเข้าได้ไม่ไกลไปกว่าโพธิ์สามต้นและปากน้ำประสบ[7][8]

การรบทางเรือ

บาทหลวงชาวฝรั่งเศสสรุปความสามารถของทหารอยุธยาที่ป้องกันพระนครว่า

"… เมื่อไทยออกต่อสู้พม่าคราวใด ก็สำหรับส่งอาวุธให้ข้าศึกเท่านั้น …"[9]

พวกแม่ทัพนายกองของพม่าร้องทุกข์ต่อมังมหานรธาให้เลิกทัพกลับไปก่อน เพราะฝนตกชุกเดี๋ยวน้ำเหนือก็จะหลากมา แต่มังมหานรธาไม่เห็นด้วย และว่ากรุงศรีอยุธยาขัดสนเสบียงอาหาร และกระสุนดินดำจนอ่อนกำลังจวนจะตีได้อยู่แล้ว ฝ่ายกองทัพพม่าก็ได้ตระเตรียมทำไร่ทำนาหาอัตคัตสิ่งใดไม่ ถ้าเลิกทัพกลับไป อยุธยาจะได้ช่องทางหากำลังมาเพิ่มเติม เตรียมรักษาบ้านเมืองกวดขันกว่าแต่ก่อน ถึงยกมาตีอีกที่ไหนจะตีง่ายเหมือนครั้งนี้ มังมหานรธาจึงไม่ยอมให้ทัพกลับ ให้เที่ยวตรวจหาที่ดอนตามโคกตามวัดอันมีอยู่รอบพระนคร แล้วแบ่งหน้าที่กันให้กองทัพแยกออกไปตั้งค่ายสำหรับที่จะอยู่เมื่อถึงฤดูน้ำ และให้ผ่อนช้างม้าพาหนะไปเลี้ยงตามที่ดอนในหัวเมืองใกล้เคียง แล้วให้เที่ยวรวบรวมเรือใหญ่น้อยมาไว้ใช้ในกองทัพ เป็นจำนวนมาก[10]

หลังจากที่หมดฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาก็ล้มป่วยลงและถึงแก่กรรมที่ค่ายบ้านสีกุก แต่สาเหตุที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมกลับโทษฝ่ายอยุธยา ด้วยแต่ก่อนมากองทัพพม่าฝ่ายเหนือ กับกองทัพพม่าฝ่ายใต้มักแก่งแย่งกัน ด้วยต่างฝ่ายต่างก็เป็นอิสระมิได้ขึ้นแก่กัน ครั้นมังมหานรธาถึงแก่กรรมลง[11]

หลังจากที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมแล้ว เนเมียวสีหบดีก็ได้เป็นแม่ทัพใหญ่ขึ้นบังคับบัญชากองทัพทั้งหมดเพียงผู้เดียว ส่งผลให้กองทัพทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้สมทบกันเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ตัวเนเมียวสีหบดีได้ย้ายจากค่ายปากน้ำประสบมาอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น[12]

การตั้งค่ายของอยุธยา

ต่อมาฝ่ายไทยได้มีคำสั่งให้ข้ามออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครไว้ทุกด้าน ดังนี้

ทิศเหนือ ตั้งค่ายที่วัดพระเมรุแห่งหนึ่ง ตั้งที่เพนียดแห่งหนึ่ง
ทิศใต้ ตั้งค่ายที่บ้านสวนพลูแห่งหนึ่ง ให้หลวงอภัยพิพัฒน์ ขุนนางจีนคุมชาวจีนบ้านนายค่าย (บางฉบับเรียกนายก่าย) 2,000 คน ให้พวกคริสตังตั้งค่ายที่วัดพุทไธสวรรย์แห่งหนึ่ง
ทิศตะวันออก ตั้งค่ายที่วัดเกาะแก้วแห่งหนึ่ง ตั้งที่วัดมณฑปแห่งหนึ่ง ตั้งที่วัดพิชัยแห่งหนึ่งในบังคับของพระยาวชิรปราการ (สิน)
ทิศตะวันตก ให้กรมอาสาหกเหล่า ตั้งค่ายที่วัดไชยวัฒนารามแห่งหนึ่ง

กองทัพอยุธยาที่รักษาพระนครนั้นเริ่มระส่ำระสายด้วยรู้กันว่าหมดช่องทางที่จะเอาชนะพม่าได้ พวกจีนในกองทัพที่ไปตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสวนพลู คิดจะเอาตัวรอดก่อนคบคิดกันประมาณ 300 คน พากันไปยังพระพุทธบาทไปลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย และแผ่นเงินที่ดาดพื้นพระมณฑปใหญ่มาแบ่งปันกันเป็น อาณาประโยชน์ แล้วเอาไฟเผาพระมณฑปพระพุทธบาท[13]ต่อมาค่ายจีนที่บ้านสวนพลูก็เสียแก่พม่า

ต่อมาพม่ายกเข้าตีค่ายที่เพนียดได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าก็เข้ามาตั้งอยู่ที่เพนียด แล้วให้กองทัพพม่าเข้าตีค่าย ทหารอยุธยาที่ออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครข้างด้านเหนือ ถูกตีแตกกลับเข้ามาในกรุงหมดทุกค่าย พม่าเข้ามาตั้งค่ายประชิดพระนคร ด้านเหนือ ที่วัดกุฎีดาว วัดสามพิหาร วัดศรีโพธิ์ วัดนางชี วัดแม่นางปลื้ม วัดมณฑป แล้วให้ปลูกหอรบ เอาปืนขึ้นจังก้ายิงเข้าไปในพระนครทุกวันมิได้ขาด[14]

ส่วนแม่ทัพข้างใต้ก็ยกเข้ามาตีไทยที่วัดพุทไธสวรรย์ แล้วไปตีค่ายที่วัดชัยวัฒนาราม รบกันอยู่ได้ 8-9 วันก็เสียค่ายแก่พม่า[15] แต่ที่ค่ายของพระยาตากสินที่วัดพิชัยนั้น พระยาตากทิ้งค่ายไปเสียก่อนที่พม่าจะยกเข้ามาตี

การขุดอุโมงค์ (อยุธยา หัวรอ พ.ศ. 2309)

หลังจากนายทัพพม่ารู้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทัพของทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนกำลังลงมาก และประชาชนในเมืองก็อยู่ในสภาพอดยาก จึงตกลงใจเริ่มขุดอุโมงค์ลอดตัวกำแพงอยุธยาทางด้านหัวรอ ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของคูเมือง อุโมงค์ที่ขุดมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 อุโมงค์ ในจำนวนนั้น 2 อุโมงค์เป็นอุโมงค์ที่ขุดมาหยุดลงตรงใต้ฐานกำแพง จากนั้นก็ขยายแนวขุดไปตามแนวกำแพงทั้งสองด้านเป็นขนาดความยาวประมาณ 350 หลา ด้านใต้อุโมงค์ใช้ไม้ทำขื่อรับฐานกำแพงไว้อีกชั้นหนึ่ง[16]

ส่วนอุโมงค์ที่เหลืออีก 3 อุโมงค์นั้นขุดลอดฐานกำแพงเข้าไปในตัวพระนคร แต่ยังคงเหลือชั้นดินปิดไว้ประมาณ 2 ฟุต การปฏิบัติการขุดอุโมงค์ดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะปกติทางฝ่ายอยุธยาบนเชิงเทินใช้ปืนยิงกลุ่มพม่า ที่เข้ามาใกล้แนวกำแพงอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้พม่าต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนคือ การสร้างสะพานในชั้นต้นทำสะพานข้ามคูก่อน จากนั้นจึงสร้างค่ายใหม่ขึ้นอีก 3 ค่ายประชิดแนวคูเมืองด้านทิศเหนือเสร็จแล้วจึงเริ่มขุดอุโมงค์[17] ในขณะที่ฝ่ายอยุธยาไม่ได้เพิกเฉยต่อการปฏิบัติการดังกล่าว ในครั้งนี้พระมหามนตรี ได้อาสาออกไปตีค่ายพม่าที่เข้ามาตั้งประชิดทั้ง 3 ค่าย พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้จัดพลออกไป 50,000 คน ช้าง 500 เชือก ปรากฏว่าในครั้งนี้พระมหามนตรีได้ทำการรบอย่างอาจหาญ สามารถยึดค่ายพม่าได้ทั้ง 3 ค่าย แต่ภายหลังพม่าได้ส่งกำลังหนุนออกมาโอบล้อมทัพไทย จนเป็นเหตุให้พระมหามนตรีต้องนำกำลังถอนกลับเข้าเมือง[18]

ต่อมาพม่ายกเข้ามาเผาพระที่นั่งเพนียด แล้วตั้งค่าย ณ เพนียดคล้องช้างและวัดสามวิหาร วัดมณฑป จากนั้นก็ทำสะพานข้ามทำนบ รอเข้ามาขุดอุโมงค์ที่เชิงกำแพงและตั้งป้อมศาลาดิน ตั้งค่ายวัดแม่นางปลื้ม ต่อป้อมสูงเอาปืนใหญ่ขึ้นยิง แล้วจึงตั้งค่ายเพิ่มขึ้นอีกค่ายหนึ่งที่วัดศรีโพธิ์[19]

กลยุทธ์การเข้าตีพระนครของฝ่ายพม่า

กลยุทธ์ที่พม่านำมาใช้ในการรบคราวนี้ก็คือ ปิดล้อมกรุงไว้ แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ถอย จัดการดำเนินการ[20]

  1. ยึดและรวบรวมเสบียงเท่าที่จะหาได้รอบ ๆ บริเวณนั้นไว้สำรอง
  2. รวบรวมวัวควายที่ยึดมาได้ ทำการเพาะปลูกในพื้นที่รอบ ๆ
  3. ผ่อนช้างม้าไปไว้ในพื้นที่ที่หญ้าอุดมสมบูรณ์
  4. ทหารที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาให้สร้างป้อมค่ายในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
  5. จัดกองระวังป้องกันระหว่างป้อมเป็นระยะๆ
  6. ถ้ามีกำลังภายนอกเข้ามาก็ช่วยสกัดกั้นไว้

กลยุทธ์ในการเข้าตีกรุงขั้นสุดท้าย พม่าเปลี่ยนจากการเอาบันไดพาดปีนข้ามกำแพง มา เป็นการขุดอุโมงค์มุดลงใต้กำแพง โดยดำเนินการเป็นขั้น ๆ ดังนี้[21]

  1. การสร้างสะพาน
  2. การสร้างป้อมค่าย
  3. การขุดอุโมงค์

การสร้างป้อมค่ายขึ้นใหม่ 3 ป้อมนี้ มีความมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ[22]

  1. เพื่อประสานงานกับฝ่ายขุดอุโมงค์ ป้องกันมิให้ทหารอยุธยาที่อยู่บนเชิงเทินยิงทำร้าย ทหารพม่าที่กำลังขุดอุโมงค์ได้ถนัด
  2. เพื่อเป็นการเพิ่มการทำลายฝ่ายอยุธยาที่อยู่ในพระนครให้มากขึ้น โดยการยิงถล่มเข้าไป
  3. เพื่อการสนับสนุนทหารที่จะบุกเข้าปีนกำแพงหรือลอดอุโมงค์เข้าไปในพระนคร

การที่กรุงศรีอยุธยามีข้าศึกเข้ามาประชิดติดพันก็นับว่าเป็นภัยร้ายแรงอยู่แล้ว ซ้ำยังมาเกิดอัคคีภัยไหม้บ้านเรือนอีก ความอัตคัดขาดแคลนที่มีอยู่เป็นทุนเดิมก็กลับโถมทับทวียิ่งขึ้น ราษฎรต่างก็ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส บ้านเรือนไหม้ไปกว่า 10,000 หลัง ทำให้ราษฎรไม่มีที่พักอาศัยหลายหมื่นคน เมื่อเห็นว่าราษฎรต้องเผชิญกับความตาย ไร้ที่อยู่ทั้งขาดแคลนอาหาร กำลังใจและกำลังกายก็ถดถอยลง สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จึงเจรจากับพม่าขอเลิกรบ ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้าอังวะ แต่แม่ทัพพม่าไม่ยอมเลิก [23]

พม่ายังดำรงความมุ่งหมายเดิมในการรบครั้งนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งน่าจะยุติการรบได้แล้ว ฝ่ายอยุธยาเห็นว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ คับขันถึงที่สุดแล้วก็ขอยอมแพ้เป็นเมืองขึ้นของพม่าอย่างที่เคยทำกันมาแต่โบราณกาล แต่พม่าปฏิเสธไม่ยอมรับ เพราะการที่อยุธยายอมแพ้นั้นมิใช่ความมุ่งหมายของฝ่ายพม่า พม่าจึงไม่สนใจเสีย[24]

กรุงแตก

ในวันที่กรุงแตกนั้น เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง[25]

ผลที่ตามมา

สถานที่ภายในพระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ
พระที่นั่งตรีมุข
สภาพวัดไชยวัฒนารามในปัจจุบัน

หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกพม่าได้บุกเข้ามายังตัวพระนครในตอนกลางคืน แล้วจุดไฟเผาบ้านเรือนของชาวบ้าน ตลอดจนปราสาทราชมณเทียร ทำให้ไฟไหม้ลุกลามแสงเพลิงสว่างดังกลางวัน เมื่อพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใครมาขัดขวางแล้ว ก็เที่ยวฉกชิงและเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร แต่ด้วยเป็นเวลากลางคืน ชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้ประมาณ 30,000 คน พร้อมทั้งเจ้านายทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระภิกษุสามเณรทั้งหลายที่หนีไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ก็แจกจ่ายกันไปคุมไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกอง[26]

หลังจากที่กองทัพพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาสำเร็จแล้ว จึงพักอยู่ประมาณ 10 วัน พม่าใช้เวลาจุดไฟเผาบ้านเมืองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติเสร็จแล้วจึงยกทัพกลับไป โดยกวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า และนำสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพให้มองญาพม่าเป็นปลัดทัพคุมพลรวม 3,000 คนตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สิ่งของส่งตามไป แล้วตั้งนายทองอินให้เป็นเจ้าเมืองธนบุรี แล้วแบ่งแยกกองทัพออกเป็น 3 กองทัพ กองทัพทางเหนือ มีเนเมียวสีหบดีแม่ทัพคุม เจ้านายและข้าราชการที่เป็นเชลยกับทรัพย์สิ่งของที่ดีมีราคามากมาย ยกกลับไปทางด่านแม่ละเมาะ กองทัพทางใต้ให้เจ้าเมืองพุกามเป็นนายทัพคุมพวกเรือบรรทุก บรรดาทรัพย์สิ่งของอันเป็นของใหญ่หนัก ๆ ไปทางเมืองธนบุรีและท่าจีน แม่กลองกองหนึ่ง อีกกองหนึ่งยกเป็นกองทัพบกไปเมืองสุพรรณบุรีไปสมทบกับกองเรือที่เมือง กาญจนบุรี รวมกันยกกลับไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ในครั้งนั้นพม่าได้ปืนใหญ่ 1,200 กระบอก ปืนเล็กหลายหมื่นกระบอก รวมทั้งได้ปืนคู่แฝดหล่อด้วยทองสำริด ขนาดยาว 12 ศอก และเรือพระที่นั่งกิ่งอีก 4 ลำด้วย[27]

สำหรับปืนพระพิรุณแสนห่านั้นมีขนาดใหญ่มาก เมื่อตอนใกล้กรุงจะแตกหมดความหวังที่จะชนะพม่าแล้ว ปืนกระบอกนี้ก็ถูกทิ้งลงในสระแก้วในพระราชวังกรุงเก่า ภายหลังพม่าทราบเรื่องเข้า จึงได้นำขึ้นมาจากสระ แล้วตัวปกันหวุ่นแม่ทัพภาคใต้ขนไปทางเรือ จุดหมายปลายทาง คือ เมืองกาญจนบุรี โดยไปบรรจบกับกองทัพบกที่นั่น ครั้นมาถึงตลาดแก้วเมืองนนทบุรี เห็นว่าปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่านี้หนักเหลือกำลังที่จะเอาไปเมืองอังวะได้ ปกันหวุ่นจึงให้เข็นชักขึ้นจากเรือที่วัดเขมา ให้เอาดินดำบรรจุเต็มกระบอก จุดเพลิงระเบิดเสีย และขนชิ้นส่วนที่เป็นทองสำริดกลับไปเมืองอังวะ โดยที่ทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากตีกรุงได้แล้วร่วม 2 เดือน[28]

พม่าได้เชลยไทยจำนวน 30,000 คนเศษ พม่าแยกเชลยออกเป็น 2 พวก

  • พวกที่ 1 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรกับพระบรมวงศานุวงศ์และชาวเมือง เนเมียวสีหบดีให้กองทัพคุมตัวไปทางเหนือ
  • พวกที่ 2 ราษฎรที่เหลือและพวกมิชชันนารี ให้ปกันหวุ่นแม่ทัพทางใต้คุมไปทั้งทางบกและทางเรือ ล่องใต้ไปทางเมืองทวาย แล้วไปบรรจบกับพวกแรกที่ทางเหนือของกรุงอังวะ

ส่วนเรื่องเชลยนั้นพม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าแล้วร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวง เพื่อกวาดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ ประเทศพม่า นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า “เอ็นร้อยหวาย ” ในปัจจุบัน[29] เชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้น ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปองเลไต๊ (ตึกปองเล) ใกล้คลองชะเวตาชอง หรือคลองทองคำ แถบระแหงโม่งตีส หรือตลาดระแหง ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประมาณ 13 กิโลเมตร มีวัดระไห่ เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีตลาดโยเดีย และมีการรำโยเดียที่มีท่ารำชั้นสูง เช่น พรหมสี่หน้าของไทย ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย[30]

พระเจ้าอุทุมพรถูกพระเจ้ามังระบังคับให้ลาผนวช แล้วให้ตั้งตำหนักอยู่ที่เมืองจักกาย (สแคง) ตรงหน้าเมืองอังวะ พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการอยุธยาก็รวบรวมอยู่ที่นั่นเป็นส่วนมาก พม่าได้ซักถามเรื่องพงศาวดารและแบบแผนราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาจดลงในจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ฝ่ายไทยได้ฉบับมาแปลพิมพ์เรียกว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แต่ส่วนพวกราษฎรที่ถูกกวาดต้อนไปจำนวนมากนั้น พม่าแจกจ่ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ภายหลังหนีคืนมาบ้านเมืองได้บ้างก็มี แต่ก็สาบสูญไปในพม่าเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าอุทุมพรไม่เสด็จกลับมาอยุธยาอีก และสิ้นพระชนม์ที่เมืองจักกาย (สแคง)ในปี พ.ศ. 2329 หลักฐานสุดท้ายของเจ้านายพระองค์นี้ที่เหลืออยู่ก็คือ เจดีย์ที่เมืองจักกายเท่านั้น[31][32]

บันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ปล้นสะดมพระนคร

แอนโทนี โกยาตัน ชาวอาร์เมเนียน อดีต Head of the Foreign Europeans ในสยามและ The Arabian Priest Seyed Ali ซึ่งแต่ก่อนได้พำนักอยู่ในกรุงสยามได้เล่าเรื่องราวให้ Shabandar [ชาแบนดาร์] พี แวนเดอร์วูร์ต ฟังดังนี้:

"... หลังจากที่คนรับใช้ของกษัตริย์ได้ออกไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2308 ไม่นานนัก พม่าก็เข้าล้อมกรุงสยามในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม พ.ศ. 2309 หลังจากที่ได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ได้แล้ว และพม่าได้วางที่ตั้งยิงปืนใหญ่ขนาดเล็กขึ้นโดยรอบกรุงเพื่อมิให้ผู้ใดเข้าหรือออกได้ สภาพเช่นนี้เป็นไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 ในเวลาที่น้ำขึ้นท่วมรอบกรุง พม่าได้เคลื่อนที่เข้าไปใกล้กรุง ในเวลากลางคืนด้วยเรือหลายลำ ใช้บันไดพาดกำแพงหลายแห่ง และโยนหม้อดินที่บรรจุดินปืนเข้าไปภายในกำแพงที่ถูกล้อม ครั้นเมื่อยึดกรุงได้แล้ว พวกพม่าได้ช่วยกันทำลายเมืองลงเป็นเถ้าถ่า หมด การปฏิบัติในครั้งนี้พวกพม่าได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมากจากพวกเพื่อนร่วมชาติของตนที่อยู่ภายในกรุง ซึ่งมีจำนวนประมาณห้าร้อยคน กับพวกพม่าที่ทำการรุกเข้าไปที่สามารถทำการติดต่อกันได้ เรื่องได้มีต่อไปว่า หลังจากที่ได้สังหารประชาชนส่วนมากผู้ซึ่งหนีความโกลาหลไปแล้ว พวกพม่าก็แบ่งคนออกเป็นพวก ๆ ตามจำนวนของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ออกเป็นหลายพวกแล้วนำพวกเหล่านี้ไป หลังจากที่ได้ทำการวางเพลิง Lodge of the Company ที่ทำการของบริษัทแล้ว ส่วนกษัตริย์หนุ่มด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เช่นเดียวกันกับ Berquelang ก็รวมอยู่ในหมู่ประชาชนที่ถูกนำไปด้วย ในระหว่างทาง กษัตริย์หนุ่มได้ประชวรสวรรคต และ Berquelang ก็ถึงแก่กรรมด้วยการวางยาพิษตนเอง ผู้ให้การได้กล่าวด้วยว่า กษัตริย์องค์ที่สูงด้วยวัยถูกลอบปลงพระชนม์ ในคืนเดียวกันโดยชาวสยามด้วยกัน..."[33]

ผู้ที่บันทึกพร้อมกับเพื่อนในคณะ ซึ่งมีจำนวนประมาณหนึ่งพันคนประกอบด้วยชาวโปรตุเกส อาร์มีเนีย มอญ สยาม และมลายู ทั้งชาย หญิง และเด็ก ได้ถูกนำตัวมุ่งหน้าไปยังพะโคภายใต้การควบคุมของชาวพม่ากลุ่มเล็ก ๆ เพียงสิบห้าคนเท่านั้น ในระหว่างครึ่งทาง พวกเขาประสบโอกาสจับพวกที่ควบคุมไว้ได้ และพากันหลบหนีมา หลังจากที่ได้บุกป่าฝ่าดงมาแล้ว พวกเขาก็กลับมาถึงแม่น้ำสยามอีกครั้งหนึ่ง

อ้างอิง

  1. สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 39-40.
  2. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39. หน้า 409-414.
  3. นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2539 หน้าที่ 136-137 ISBN 974-7120-82-8
  4. นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2539 หน้าที่ 137 ISBN 974-7120-82-8
  5. กรมศิลปากร. ประชุมพงศวดาร ภาคที่ ๓๙. หน้า ๕๘-๖๐.
  6. การศาสนา,กรม. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๒๘. หน้า ๗
  7. กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๑๑) หน้า ๖๐๓-๖๐๔
  8. ภัทรธาดา. เอกสารบรรยายพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ชลบุรี:พฤษภาคม ๒๕๒๔) หน้า ๙-๑๐.
  9. นิธิ เอียวศรีวงศ์. หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีสหวัฏ (อุดม) ปัญญาสุข. 21 พฤษภาคม 2540 หน้า140
  10. คุรุสภา. ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๖. พระนคร : คุรุสภา ๒๕๑๖, หน้า ๑๘๘.
  11. คุรุสภา. ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๖. พระนคร : คุรุสภา ๒๕๑๖, หน้า ๑๘๘-๑๘๙.
  12. ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓. หน้า ๒๕๒. (ISBN 9742777519)
  13. รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์, พลโท. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยอดนาวิกโยธินไทย ในผ่านศึกฉบับพิเศษ : วันทหารผ่านศึก 3 กุมภาพันธ์ 2537 หน้า 17
  14. รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์, พลโท. สงครามประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2541 หน้า 17-18 ISBN 9743213074
  15. รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์, พลโท. สงครามประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2541 หน้า 18 ISBN 9743213074
  16. มูลนิธิกตเวทินในพระบรมราชูปถัมป์. ประวัติศาสตร์ชาติไทย, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547 หน้า 79-80 ISBN 974-92746-2-8
  17. ศิลปากร,กรม. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
  18. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ไทยรบกับพม่าฉบับรวมเล่ม (พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๒๔) หน้า ๓๑๐
  19. มูลนิธิกตเวทินในพระบรมราชูปถัมป์. ประวัติศาสตร์ชาติไทย, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547 หน้า 83. ISBN 974-92746-2-8
  20. กรมศิลปากร. จดหมายเหตุและบาดหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น, 2511 หน้า 85
  21. กรมศิลปากร. จดหมายเหตุและบาดหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น, 2511 หน้า 86
  22. กรมศิลปากร. จดหมายเหตุและบาดหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. 2511 หน้า 87
  23. กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. (พระนคร : องค์การค้าครุสภา, 2505). 123.-127
  24. กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. (พระนคร : องค์การค้าครุสภา, 2505), 135-137
  25. จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.
  26. พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. สามกรุง. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๑๑ หน้า ๑๒๑-๑๒๒
  27. อาทร จันทวิมล. ประวัติของแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2546 หน้า 230 ISBN 9749179706
  28. ขจร สุขพานิช. ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531. หน้า 270
  29. แปลโดย ส.ศิวรักษ์. History of the Kingdom of Siam, สังคมศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 4, 2510 หน้า 58-65
  30. ชนสวัสดิ์ ชมพูนุท, ม.ร.ว.. พระราชประวัติ ๙ มหาราช. พระนคร : พิทยาคาร ๒๕๑๔, หน้า ๒๖๖.
  31. จรรยา ประชิตโรมรัน, พลตรี. การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2536 หน้า 185 - 186 ISBN 974-584-663-5
  32. สุเนตร ชุตินธรานนท์. สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง (พ.ศ 2310) : ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2544 หน้า 112 ISBN 974-315-313-6
  33. กรมศิลปากร. จดหมายเหตุและบาทหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น, 2511 หน้า 82