ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจซัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2001:44C8:424E:85E0:1:1:2A36:7CB6 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย PlyrStar93
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
* [https://jsonformatter.org รูปแบบ JSON]
* [https://jsonformatter.org รูปแบบ JSON]
* [https://codebeautify.org/jsonviewer ผู้ดู JSON]
* [https://codebeautify.org/jsonviewer ผู้ดู JSON]

== ภาษาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ ==
ในการส่งข้อมูลและบันทึกข้อมูลระหว่างระบบ มีหลากหลาย รูปแบบ รูปแบบที่เป็นที่นิยมคือ
* XML
* JSON
* BSON (http://bsonspec.org/)




[[หมวดหมู่:ภาษาจาวาสคริปต์]]

{{โครงเทคโนโลยี}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:34, 21 เมษายน 2562

เจซัน (อังกฤษ: JSON: JavaScript Object Notation เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈdʒeɪsən/ แปลว่า สัญกรณ์วัตถุจาวาสคริปต์) เป็นฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฟอร์แมต JSON นั้นอยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้

มาตรฐานของฟอร์แมต JSON คือ RFC 4627 มี Internet media type เป็น application/json และมีนามสกุลของไฟล์เป็น .json

ปัจจุบัน JSON นิยมใช้ในเว็บแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะ AJAX โดย JSON เป็นฟอร์แมตทางเลือกในการส่งข้อมูล นอกเหนือไปจาก XML ซึ่งนิยมใช้กันอยู่แต่เดิม สาเหตุที่ JSON เริ่มได้รับความนิยมเป็นเพราะกระชับและเข้าใจง่ายกว่า XML

โครงสร้างของฟอร์แมต

เจสัน เป็นรูปแบบสายอักขระ (String) ชนิดหนึ่งที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย ถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเจสันเปรียบเสมือนรูปแบบของ อาเรย์ (Array) ชนิดหนึ่งที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านอาแจ็กซ์เพราะซึ่งปกติแล้วถ้าเราต้องการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอาแจ็กซ์ต่าง ๆ นั้น จะต้องรับ-ส่งมาในรูปแบบของสายอักขระทั้งก้อน และเมื่อฝั่งอาแจ็กซ์ทำการรับค่าที่ทำการส่งค่ากลับมาจากเซิร์ฟเวอร์ ก็จะต้องนำสายอักขระ เหล่านั้นมาตัดตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเอาสายอักขระตัวที่ต้องการมาใช้ แต่สำหรับเจสันแล้ว สามารถรับส่งชุดค่าตัวแปรได้ทั้งฝั่งไคลเอนต์ (Client) และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยทั้ง 2 ฝั่งสามารถทำการเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้เจสันเอนโค้ด (Json Encode) และ เจสันดีโค้ด (Json Decode) เพื่ออ่านค่าตัวแปรเหล่านั้น และจะเรียกใช้งานมันได้อย่างไร ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของอาเรย์และสำหรับตัวแปรเจสันนั้นไม่จำกัดแค่รับส่งข้อมูลผ่านเว็บเบราว์เซอร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำเจสันไปประยุกต์กับการรับส่งข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ได้ เช่นการจับเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สายอักขระในข้อความหรือการรับส่งผ่านตัวให้บริการเว็บไซต์ (Web Service) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน


JSON นั้นใช้ความสัมพันธ์ของภาษาจาวาสคริปต์ แต่ไม่ถูกมองว่าเป็นภาษาโปรแกรม กลับถูกมองว่าเป็นภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากกว่า ในปัจจุบันมีไลบรารีของภาษาโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ JSON มากมาย

โค้ดตัวอย่างของ JSON เป็นดังนี้

 {
     "firstName": "John",
     "lastName": "Smith",
     "address": {
         "streetAddress": "21 2nd Street",
         "city": "New York",
         "state": "NY",
         "postalCode": 10021
     },
     "phoneNumbers": [
         "212 555-1234",
         "646 555-4567"
     ]
 }

แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ

ในการส่งข้อมูลและบันทึกข้อมูลระหว่างระบบ มีหลากหลาย รูปแบบ รูปแบบที่เป็นที่นิยมคือ