ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราลงกรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PEAK99 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
PEAK99 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 65: บรรทัด 65:
==== '''18 เมษายน''' ====
==== '''18 เมษายน''' ====
- '''เวลา 17:19 - 21:30 น. เชิญคนโทน้ำอภิเษกรวมจากทั่วประเทศจากกระทรวงมหาดไทยมาเสกน้ำอภิเษก ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ [[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร|วัดสุทัศนเทพวราราม]] <sup>[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร#fn 1|1]]</sup>'''
- '''เวลา 17:19 - 21:30 น. เชิญคนโทน้ำอภิเษกรวมจากทั่วประเทศจากกระทรวงมหาดไทยมาเสกน้ำอภิเษก ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ [[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร|วัดสุทัศนเทพวราราม]] <sup>[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร#fn 1|1]]</sup>'''
*'''19 เมษายน''' - เวลา 7:30 น. แห่เชิญน้ำอภิเษกจากวัดสุทัศนเทพวรารามไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
==== '''19 เมษายน''' ====
- เวลา 7:30 น. แห่เชิญน้ำอภิเษกจากวัดสุทัศนเทพวรารามไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
*'''22 เมษายน''' - เวลา 16:00 น. พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
*'''22 เมษายน''' - เวลา 16:00 น. พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
*'''23 เมษายน''' - '''เวลา 8:19 - 11:35 น. จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม'''
*'''23 เมษายน''' - '''เวลา 8:19 - 11:35 น. จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:01, 19 เมษายน 2562

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกใน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ไฟล์:Emblem for Coronation of King Vajiralongkorn.svg
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฯ
วันที่4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°45′01″N 100°29′32″E / 13.750146°N 100.492090°E / 13.750146; 100.492090
ผู้รายงานคนแรกสำนักพระราชวัง
ผู้เข้าร่วมพระบรมวงศานุวงศ์, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และนับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะทำการเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[1]

การเตรียมการ

การเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุม[2] มีการตั้งคณะกรรมการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ส่วนการปรับภูมิทัศน์กรุงเทพมหานครเพื่อเตรียมการเฝ้ารับเสด็จทั้งทางกายภาพ การปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคาร สถานที่ และถนน พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับผิดชอบ

ริ้วขบวน

ในพระราชพิธีอย่างเป็นทางการจะมี 3 ริ้วขบวน ดังนี้

การฝึกซ้อม

  • 20 กุมภาพันธ์ - กรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกพื้นฐานลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในริ้วขบวนทั้ง 3 ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน[3]
  • 12 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 เสมือนจริงเป็นกรณีพิเศษ เน้นกำลังพลของหน่วยทหารและข้าราชบริพารที่ต้องรับผิดชอบ[4]
  • 19 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 แบบรวมการทุกเหล่าเป็นครั้งแรก[5]
  • 26 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 1 และ 2 บนพื้นที่จำลอง ในพื้นที่กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11 เป็นครั้งแรก[6]
  • 28 มีนาคม - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 บนพื้นที่จำลองครั้งสุดท้าย โดยมีพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ร่วมลงฝึกซ้อม[7]
  • 17 เมษายน - ฝึกซ้อมย่อยริ้วขบวนที่ 3 บนพื้นที่จริงครั้งแรก[7]
  • 21 เมษายน - ฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 3 บนพื้นที่จริงครั้งที่ 2[7]
  • 28 เมษายน - ฝึกซ้อมใหญ่ริ้วขบวนที่ 3 บนพื้นที่จริง[7]

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธี

ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานในครั้งนี้ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒" ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำเข็มที่ระลึกขึ้นเพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยต่อไป[8]

การเตรียมสถานที่และปรับปรุงภูมิทัศน์

  • วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 กิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม ถนนอัษฎางค์ และถนนบำรุงเมือง มีหน่วยพระราชทานจิตอาสา ประชาชนจิตอาสา เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ กรมราชทัณฑ์ สมาคมรุกขกรรมไทย และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกว่า 400 คน ระดมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไปตัดแต่งกิ่งก้าน และฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ ให้มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดกิ่งก้านต้นไม้ตามหลักรุกขกรรม เพื่อให้ต้นไม้ริมคลองคูเมืองเดิมทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปถึงสะพานช้างโรงสี[9]

หมายกำหนดการ[10]

พิธีเบื้องต้น

6 เมษายน

- พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร1

    • เวลา 10:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธี อ่านโองการบวงสรวง เพื่อบูชาเทพยดา เทพารักษ์ 
    • เวลา 11:52 - 12:38 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ใส่ขันน้ำสาคร และเคลื่อนขบวนรถไปยังสถานที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกของจังหวัด (ทั้งนี้ ในจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสระบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์สำหรับสรงมุรธาภิเษก ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมการปกครอง จะเป็นผู้ตักน้ำในส่วนของน้ำสรงมุรธาภิเษก ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยกเว้นจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์มากกว่า 1 แหล่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดเป็นผู้ตักน้ำในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนั้น ๆ ด้วย) โดยจังหวัดนนทบุรี พิธีพลีกรรมตักน้ำประกอบพิธี ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร โดยดำเนินการตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา และประกอบพิธีเบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[11]

8 เมษายน

- พิธีทำน้ำอภิเษก

    • เวลา 15:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ พระอารามหลวงประจำจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจุดธูปเทียนที่หน้าเครื่องสังเวยบูชาฤกษ์
    • เวลา 17:00 น. ประธานสงฆ์ประกาศชุมนุมเทวดาในการพิธีทำน้ำอภิเษก ประธานสงฆ์เจิมเทียนชัย เทียนมงคลและ เทียนพุทธาภิเษก ประธานในพิธีถวายเทียนชนวนแด่ประธานสงฆ์
    • เวลา 17:10 - 22:00 น. ประธานสงฆ์จุดเทียนชัยและเทียนพุทธาภิเษก พระสงฆ์ 30 รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย โดยก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทไตรสรณคมน์ (พุทธัง) เจ้าหน้าที่จะเชิญประธานพิธีจุดเทียนมงคล เทียนหน้าพระ และเทียนนวหรคุณ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ได้นิมนต์พระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่นิมนต์พระสงฆ์เถราจารย์ และพระสวดภาณวารขึ้นอาสน์สงฆ์ ประธานพิธีจุดเทียนทอง เทียนเงิน และธูปเทียนหน้าเตียงพระสวดภาณวาร เจ้าหน้าที่อาราธนาพระสงฆ์สวดภารวาร พระสงฆ์เถราจารย์ และพระสงฆ์สวดภารวาร จะได้ผลัดเปลี่ยนกันนั่งเจริญจิตภาวนาอธิษฐานจิต และสวดภาวนาต่อไปจนถึงเวลาอันสมควร

9 เมษายน

- พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก

    • เวลา 09:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
    • เวลา 10:00 น. พระสงฆ์เถราจารย์ประธานสงฆ์ดับเทียนชัย พระสงฆ์ 30 รูป เจิญพระพุทธมนต์คาถาดับเทียนเทียนชัย เจ้าหน้าที่ประโคมฆ้องชัย ดุริยางค์บรรเลงเพลง ประธานสงฆ์เจือน้ำพระพุทธมนต์ในน้ำอภิเษก และมอบให้ประธานพิธี ประธานพิธีตักน้ำอภิเษกใส่คนโท เพื่อเตรียมเชิญไปกระทรวงมหาดไทย
    • เวลา 12:00 น. ตั้งพิธีบายศรีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก บัณฑิตหรือโหรทำพีธีบายศรี และแว่นเวียนเทียน แว่นที่ 1 และส่งให้ประธานพิธี ประธานพิธีรับแว่นเวียนเทียนจากบัณฑิตหรือโหรแล้ววักแว่นที่จุดเทียนแล้วเข้าหาตัว 3 ครั้ง แล้วใช้มือขวาโบกควันออก แล้วส่งต่อให้คนที่อยู่ซ้ายมือ เวียนไปจนครบ 3 ครบ เมื่อครบแล้วคนสุดท้ายส่งให้บัณฑิตหรือโหร ผู้ทำหน้าที่เบิกแว่นเทียน เป็นอันเสร็จพิธี

10 เมษายน

- เชิญน้ำอภิเษกมาเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย

    • เวลา 07:30 น. ปลัดกระทรวงมหาดไทยเปิดกรวยกระทงดอกไม้ เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในสถานที่เก็บรักษาคนโทน้ำอภิเษก ณ ห้องดอกแก้ว ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
    • เวลา 07:50 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ เชิญน้ำอภิเษกทยอยเดินทางมาถึงกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่เชิญคนโทลงจากรถ โดยมีผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย นำโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยตั้งแถวรอรับขบวน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่เชิญคนโทน้ำอภิเษกขึ้นไปยังห้องดอกแก้ว ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นเจ้าหน้าที่เชิญคนโทส่งต่อให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อวางลงในจุด ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์ และเดินทางกลับ

12 เมษายน

- พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง

    • เวลา 12:50 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์โดยรอบพระราชฐานชั้นใน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นประธานในพิธีอธิษฐานจิตพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบาตรน้ำมนต์ภายในหอศาสตราคมบรรจุในคนโท จากนั้นเชิญคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคมขึ้นรถยนต์ประจำตำแหน่ง นำไปวางบนแท่นที่จัดไว้สำหรับกรุงเทพมหานครที่กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับคนโทน้ำอภิเษกจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ

18 เมษายน

- เวลา 17:19 - 21:30 น. เชิญคนโทน้ำอภิเษกรวมจากทั่วประเทศจากกระทรวงมหาดไทยมาเสกน้ำอภิเษก ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม 1

19 เมษายน

- เวลา 7:30 น. แห่เชิญน้ำอภิเษกจากวัดสุทัศนเทพวรารามไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

  • 22 เมษายน - เวลา 16:00 น. พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • 23 เมษายน - เวลา 8:19 - 11:35 น. จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • 2 พฤษภาคม - เวลา 16:09 - 20:30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า พระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต และเสด็จพระราชดำเนินบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • 3 พฤษภาคม - มีการแบ่งพิธีออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้
    • เวลา 10:00 น. เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกรจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
    • เวลา 16:00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร นมัสการพระรัตนตรัย ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ
    • เวลา 16:19 - 18:00 น. จุดเทียนชัย พระสงฆ์ประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเจริญพระพุทธมนต์


หมายเหตุ 1: หมายกำหนดการพระราชพิธีหรือพิธีที่เป็นตัวหนา มีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[12]

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ

พระราชพิธีทั้งหมดดังต่อไปนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยทั้งหมด[12]

4 พฤษภาคม

5 พฤษภาคม

6 พฤษภาคม

พระราชพิธีเบื้องปลาย

การเผยแพร่ต่อสาธารณชน

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กรมประชาสัมพันธ์ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับแนวทางการออกอากาศในช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยแบ่งแนวปฏิบัติการออกอากาศเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงการเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  2. ช่วงการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 2 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  3. ช่วงเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และให้งดเว้นการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดในช่วงการพระราชพิธี โดยให้ขึ้นข้อความหรือคำถวายพระพรและแสดงความจงรักภักดีแทน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำข่าวยาวเป็นกรณีพิเศษเพื่อนำเสนอพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ออกอากาศในช่วงเวลาข่าวในพระราชสำนัก พร้อมทั้งจัดทำสารคดีเฉลิมพระเกียรติหรือรายการพิเศษเฉลิมพระเกียรติเพื่อเผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย[13]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 สถานีโทรทัศน์ทุกช่องทยอยนำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ขื้นแสดงตรงมุมซ้ายบนของหน้าจอ ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ฯ จะแสดงในทุกช่วงข่าวและรายการไปจนถึงเดือนปลายเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ยกเว้นในรายการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาจากต่างประเทศ การถ่ายทอดสดงานสำคัญจากต่างประเทศ และรายการแสดงสินค้า[14]

กิจกรรมก่อน ระหว่างและหลังพระราชพิธี

ก่อนและระหว่างพระราชพิธี

  • การรับสมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในระหว่างวันที่ 8 - 9 เมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ประชาชนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนจิตอาสาได้มีส่วนร่วมในพระราชพิธีฯ โดยกลุ่มงานจิตอาสาเฉพาะกิจ ที่เข้าร่วมปฏิบัติในพิธีการต่างๆ ทั้งก่อนระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจังหวัดแบ่งเป็น 7 กลุ่มงาน ประกอบด้วยกลุ่มงานรักษาความปลอดภัยและการจราจรกลุ่มงานแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มงานการขนส่งกลุ่มงานบริการและส่งกำลังบำรุงกลุ่มงานนิทรรศการ และพิธีการกลุ่มงานโยธาและกลุ่มงานโครงการ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ที่มีกลุ่มย่อยอีก 7 กลุ่ม[15] [16][17]
  • โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จัดปฏิบัติธรรม ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 7 วัน หรือตามความเหมาะสม
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทั่วประเทศ จำนวน 6,810 รูป ระหว่างวันที่ 2 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 15 วัน โดยนายกรัฐมนตรี ให้ข้าราชการลาบรรพชาอุปสมบท โดยไม่ถือเป็นวันลา[18]
  • พิธีทำบุญตักบาตร วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 07.00 น.
  • ให้วัดทุกวัดทั่วประเทศ เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในเวลาเดียวกันกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยดูการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
  • ตั้งโต๊ะหมู่พระฉายาลักษณ์ พร้อมประดับธงชาติ ธงธรรมจักร ธงพระปรมาภิไธย ตามความเหมาะสม

หลังพระราชพิธี

  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ ฯ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ ตามบทสวดมนต์ที่กำหนด ส่วนกลาง จัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาค จัดพิธี ณ วัดที่จังหวัดกำหนด[19]

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติภาคเอกชน

  • เครือซิเมนต์ไทยจัดทำโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562[20]

อ้างอิง

  1. "คอมเมนต์จากโพสต์ใน Facebook". www.facebook.com. 12 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. กรมประชาสัมพันธ์ (26 มกราคม 2562). "สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 คมชัดลึก (20 กุมภาพันธ์ 2562). "กรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกกำลังพลในริ้วขบวน"บรมราชาภิเษก"". www.komchadluek.net. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ไทยรัฐ (13 มีนาคม 2562). "ซ้อมเสมือนจริงขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. มติชน (19 มีนาคม 2562). "ซ้อมรวมครั้งแรก ริ้วขบวนที่ 3 พยุหยาตราสถลมารค". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "กำลังพลฝึกซ้อมริ้วขบวนพิธีแห่พระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกร".
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ทีเอ็นเอ็น24 (28 มีนาคม 2562). "ผบ.ทบ.ร่วมซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ". tnnthailand.com. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. กรมประชาสัมพันธ์ (11 มีนาคม 2562). "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ช่อง 7 สี (13 มีนาคม 2562). "รุกขกร-หน่วยพระราชทานจิตอาสา ปรับภูมิทัศน์รับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". ch7.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. กรมประชาสัมพันธ์. "หมายกำหนดการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1440130
  12. 12.0 12.1 กรมประชาสัมพันธ์ (6 เมษายน 2562). "หมายกำหนดการถ่ายทอดสดพิธีบรมราชาภิเษก จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. กสทช. (4 มีนาคม 2562). "กสทช. กำหนดแนวทางออกอากาศวิทยุ-ทีวี ช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.prachachat.net. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ยามเฝ้าจอ (31 มีนาคม 2562). "ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2562) เป็นต้นไป สถานีโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องขึ้นตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ไว้ที่มุมบนซ้ายของหน้าจอ และขึ้นยาวไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. สยามรัฐ (9 เมษายน 2562). "จัดพิธีพลีกรรมสมพระเกียรติ ทรงชื่นชมทุกจังหวัด". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. กระทรวงมหาดไทย (7 เมษายน 2562). "สมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. กรมประชาสัมพันธ์ (7 เมษายน 2562). "ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร. กำหนดให้มีการลงทะเบียนรับจิตอาสาใหม่ สมัครด้วยตนเอง ณ วัดที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษก (๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ) ในวันที่ ๘ - ๙ เมษายน ๒๕๖๒". www.phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. รัฐบาลไทย (26 มีนาคม 2562). "นายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ข้าราชการลาบรรพชาอุปสมบท โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยไม่ถือเป็นวันลา". www.thaigov.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (10 มกราคม 2562). "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 1/2562 เรื่องโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" (PDF). mahathera.onab.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ (4 เมษายน 2562). "เอสซีจีจัดโครงการ "เฉลิมราชย์ราชา" ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น