ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอมิเรตส์สเตเดียม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox_Stadium
{{สนามกีฬา
| stadium_name = เอมิเรตส์สเตเดียม
| stadium_name = เอมิเรตส์สเตเดียม
| nickname = แอชเบอร์ตันโกรฟ, บ้านแห่งฟุตบอล, อาร์เซนอลสเตเดียม (ชื่อที่[[ยูฟ่า]]ใช้)
| nickname = แอชเบอร์ตันโกรฟ, บ้านแห่งฟุตบอล, อาร์เซนอลสเตเดียม (ชื่อที่[[ยูฟ่า]]ใช้)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:04, 4 เมษายน 2562

เอมิเรตส์สเตเดียม
แอชเบอร์ตันโกรฟ, บ้านแห่งฟุตบอล, อาร์เซนอลสเตเดียม (ชื่อที่ยูฟ่าใช้)
แผนที่
ชื่อเดิมแอชเบอร์ตันโกรฟ
ที่ตั้งแอชเบอร์ตันโกรฟ, ลอนดอน
เจ้าของเจสซี่ ลินการ์ด
ผู้ดำเนินการอาร์เซนอล
ความจุ60,355
พื้นผิวหญ้า, 105 × 68 เมตร (ประมาณ 114 x 71 หลา) [1]
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามกรกฎาคม ค.ศ. 2006
งบประมาณในการก่อสร้าง430 ล้านปอนด์
สถาปนิกHOK Sport
วิศวกรโครงสร้างBuro Happold
วิศวกรบริการBuro Happold
การใช้งาน
สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

เอมิเรตส์สเตเดียม (อังกฤษ: Emirates Stadium) หรือ สนามกีฬาเอมิเรตส์ คือ สนามฟุตบอลที่มีที่ตั้งอยู่ที่แอชเบอร์ตันโกรฟในฮอลโลเวย์ (Holloway) ลอนดอนเหนือ และเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ตั้งแต่เปิดใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2006 สนามแห่งนี้อัฒจรรย์จะเป็นเก้าอี้ทั้งหมด 60,355 ที่นั่ง[2] ซึ่งนับว่าเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีกตามหลังเพียงสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด และเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในลอนดอนรองจากสนามเวมบลีย์และสนามทวิกเคนแฮม ในช่วงวางแผนและกำลังก่อสร้างอยู่นั้น เดิมสนามนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ แอชเบอร์ตันโกรฟ ก่อนที่จะมีการใช้ชื่อตามข้อตกลงของสายการบินเอมิเรตส์ ผู้สนับสนุนการก่อสร้างสนามนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2004 มูลค่าการก่อสร้างสนามอยู่ที่ 430 ล้านปอนด์[3]

สนาม

สนามแห่งนี้มีอัฒจันทน์ที่มีหลังคารายล้อมทั้ง 4 ทิศ แต่ที่พื้นสนามไม่มีหลังคาคลุม ออกแบบโดยสถาปัตยกรรม HOK Sport ตรวจสอบโครงสร้างทางวิศวกรรมโดยบริษัท Buro Happold ผู้ควบคุมการสร้างคือ เซอร์ โรเบิร์ต แมคอัลไพน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเขตอุตสาหกรรมแอชเบอร์ตันโกรฟเดิม ห่างจากสนามไฮบิวรี สนามเดิมของอาร์เซนอลเพียงไม่กี่ร้อยเมตร

อัฒจันทน์ครึ่งบนของสนามจุได้ 26,646 ที่นั่ง และครึ่งล่างจุได้ 24,425 ที่นั่ง ที่นั่งทั้งหมดเป็นแบบมาตรฐาน ในฤดูกาล 2006-07 นั้น ส่วนใหญ่แล้วตั๋วเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่จะมีราคาประมาณ 32 ปอนด์ถึง 66 ปอนด์ แต่ตั๋วสำหรับเด็กจะมีราคาเพียง 13 ปอนด์เท่านั้น แต่ในแมตช์สำคัญบางแมตช์ ตั๋วเข้าชมอาจจะมีราคาสูงถึง 46-94 ปอนด์[4] ตั๋วสำหรับเข้าชมทั้งฤดูกาลมีราคาอยู่ในช่วง 885 ปอนด์ถึง 1,825 ปอนด์[5]

อัฒจันทร์ชั้นกลาง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ระดับสโมสร" (Club Level) คะมีราคาสูงและยังมีชั้นบ๊อกซ์รวมอยู่ในอัฒจันทน์ระดับนี้ด้วย สามารถจุผู้ชมประมาณ 7,139 ที่นั่ง ในฤดูกาล 2006-07 ราคาตั๋วของชั้นนี้มีราคาตั้งแต่ 2,500 ปอนด์จนถึง 4,750 ปอนด์ต่อฤดูกาล ซึ่งเจ้าของตั๋วสามารถเข้าชมเกมลีกในบ้านได้ทั้งหมดรวมถึงเกม ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, เอฟเอคัพ และ คาร์ลิ่งคัพ ที่อาร์เซนอลได้เล่นในบ้านด้วย[6] แต่ตั๋วทุกใบจำหน่ายหมดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 แล้ว

ถัดจากชั้นนี้ขึ้นไป จะมีชั้นเล็กๆที่เป็นบ๊อกซ์ขนาดความจุ 10, 12 และ 15 ที่นั่งจำนวน 150 บ๊อกซ์ ชั้นนี้จึงสามารถจุผู้ชมได้ทั้งหมด 2,222 คน ราคาของชั้นบ๊อกซ์เริ่มต้นที่ 65,000 ต่อปีรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถนำตั๋วนี้มาเข้าชมเกมลีกในบ้านและเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เอฟเอคัพ และคาร์ลิ่งคัพที่อาร์เซนอลได้เล่นในบ้านด้วย[7] บริเวณที่ยอดเยี่ยมที่สุดในสนามแห่งนี้สำหรับการชมเกมรู้จักกันดีในชื่อ "ไดมอนด์คลับ" (Diamond Club) จัดไว้สำหรับแขกรับเชิญเท่านั้น มีราคาเพียง 25,000 ปอนด์ต่อที่นั่ง

ผู้ที่มีตั๋วเข้าชมสามารถใช้บริการพื้นที่ส่วนตัวพิเศษ ภัตตาคาร และบาร์ได้อีกด้วย และยังมีสิทธิ์ในการจอดรถในที่จอดรถของสนาม สมาชิกยังมีสิทธิ์ได้ลุ้นไปชมเกมยุโรปด้วยเครื่องบินลำเดียวกับที่นักเตะใช้เดินทาง

เนื่องจากว่าตั๋วเป็นที่ต้องการของแฟนบอลอย่างมากและมีค่าสูงตามราคาค่าครองชีพของแฟนบอลในลอนดอน อาร์เซนอลจึงสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากตั๋วเข้าชมชั้นพรีเมียมและชั้นบ๊อกซ์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับรายได้ที่ได้จากที่นั่งทั้งหมดที่สนามไฮบิวรีเลยทีเดียว[8]

ชื่อของสนาม

โลโก้ของสโมสรอาร์เซนอลกำลังส่องสว่างในยามค่ำคืนที่เอมิเรตส์สเตเดียม

วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2004 มีการประกาศว่า สนามแห่งนี้จะใช้ชื่อว่า เอมิเรตส์สเตเดียม เป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี หลังจากที่สโมสรตกลงรับเงินสนับสนุนมูลค่า 100 ล้านปอนด์สำหรับการก่อสร้างสนามจากสายการบินเอมิเรสต์แอร์ไลน์ โดยเงินจำนวนนี้รวมไปถึงการจ่ายเงินค่าโลโก้ของเอมิเรตส์บนเสื้อของอาร์เซนอลเป็นเวลา 8 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2006-07[9]

สนามแห่งนี้มีชื่อเรียกสั้นๆว่า "ดิเอมิเรตส์" แต่ก็มีแฟนบอลจำนวนหนึ่งนิยมใช้ชื่อเก่าที่เรียกว่า "แอชเบอร์ตัน โกรฟ" หรือแม้แต่ "เดอะโกรฟ" มากกว่า ความรู้สึกแตกต่างระหว่างชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการของสนามแห่งนี้ก็คล้ายๆกับที่มีการเรียกชื่อสนามแห่งเก่าของอาร์เซนอลที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อาร์เซนอลสเตเดียม แต่มักจะได้ยินกันคุ้นหูว่า ไฮบิวรี ที่เรียกกันติดปากในหมู่แฟนบอลของทีม ผู้สื่อข่าว หรือแม้แต่ทางสโมสรเอง[10]

เนื่องจากข้อบังคับของทางยูฟ่าเรื่องผู้สนับสนุนสนาม ในเกมการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สนามแห่งนี้จะไม่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอมิเรตส์สเตเดียม เนื่องจากเอมิเรตส์ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก สนามแห่งอื่นก็เช่นกัน อย่างเช่น อลิอานซ์อารีนา ในเมืองมิวนิค ก็ผิดกฎของยูฟ่าเช่นกันและไม่สามารถใช้ชื่อนี้ได้[11] ยูฟ่าจึงใช้ชื่อสนามแห่งนี้ว่า "อาร์เซนอลสเตเดียม"[12] ซึ่งตรงกับชื่ออย่างเป็นทางการของสนามเดิมที่ไฮบิวรี

อ้างอิง

  1. "Questions & Answers". Arsenal.com. 22 สิงหาคม ค.ศ. 2006. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2006. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "Statement of Accounts and Annual Report 2006/2007" (PDF). Arsenal Holdings plc. May 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-12-19.
  3. arsenal.com, Results for the year ended 31 May 2007, page 7.
  4. "Ticket Information". Arsenal.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  5. "Season Ticket Information 2006/07" (PDF). Arsenal.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  6. "Arsenal launch Club Level". Arsenal.com. 2004-11-01. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  7. "Platinum Membership". Arsenal.com.
  8. ตามคำกล่าวของเคท อีเดลแมน ใน Management Today, อ้างใน: "Reasons to be cheerful". ANR. 2004-08-06. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  9. "Arsenal name new ground". BBC Sport. 2004-10-05. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  10. "Farewell to Highbury". Arsenal.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  11. "UEFA likely to fine Bayern for breaching advertising laws". World Soccer News. 2005-10-06. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.
  12. Matthew Spiro (2006-09-26). "New home, old mentality at Arsenal". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 51°33′18″N 0°06′31″E / 51.555°N 0.108611°E / 51.555; 0.108611