ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเรวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ref
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น|Mt.Fuji & Tokyo SkyTree (6906783193)b.jpg|200px}}
{{ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น|Mt.Fuji & Tokyo SkyTree (6906783193)b.jpg|200px}}

[[ไฟล์:Yoshihide Suga announcing new imperial era Reiwa 2 (cropped).jpg|thumb|นายโยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำลังแสดงนามรัชศกใหม่ต่อสื่อมวลชน]]
[[ไฟล์:Yoshihide Suga announcing new imperial era Reiwa 2 (cropped).jpg|thumb|นายโยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำลังแสดงนามรัชศกใหม่ต่อสื่อมวลชน]]


บรรทัด 11: บรรทัด 11:


[[ชินโซ อาเบะ]] นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงการตั้งชื่อรัชสมัยใหม่ว่า “เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะพบกับจุดเปลี่ยนของประเทศครั้งใหญ่ (สื่อถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง) แต่คุณค่าและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะไม่จางหายไปไหน” ซึ่งประเพณีการตั้งชื่อรัชสมัยนี้ยังมีมานานถึง 1,300 ปีอีกด้วย
[[ชินโซ อาเบะ]] นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงการตั้งชื่อรัชสมัยใหม่ว่า “เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะพบกับจุดเปลี่ยนของประเทศครั้งใหญ่ (สื่อถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง) แต่คุณค่าและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะไม่จางหายไปไหน” ซึ่งประเพณีการตั้งชื่อรัชสมัยนี้ยังมีมานานถึง 1,300 ปีอีกด้วย



==ตารางเทียบศักราช==
==ตารางเทียบศักราช==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:28, 3 เมษายน 2562

นายโยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำลังแสดงนามรัชศกใหม่ต่อสื่อมวลชน

ยุคเรวะ (ญี่ปุ่น: 令和時代โรมาจิReiwa jidai) เป็นศักราชของญี่ปุ่นยุคต่อไป โดยรัชศกเรวะจะเริ่มต้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 โดยเริ่มนับจากวันที่สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 126 ในวันหลังสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดของยุคเฮเซ[1] โดยนามรัชศกเรวะได้มีการประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2019 โดยนาย โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เป็นผู้ประกาศนามรัชศกในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศรัชสมัยใหม่ เรวะ เพื่อต้อนรับรัชสมัยของสมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุครัชสมัย เฮเซ ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปีอีกด้วย

โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้อธิบายถึงชื่อของรัชสมัยใหม่ โดยคำว่า “เร” หมายถึง ความรุ่งเรืองหรือคำสั่ง ส่วนคำว่า “วะ” หมายถึง สันติภาพหรือความสามัคคี

นอกจากนี้การตั้งชื่อรัชสมัยยังเป็นครั้งแรกที่นำตัวอักษรจากกวีโบราณของญี่ปุ่น มารวมกับอักษรคันจิยุคจีนโบราณ โดยในการตั้งชื่อรัชสมัยในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ถึง 9 คน ค้นหาชื่อที่เหมาะสม นอกจากนี้ถ้าหากมีชื่อรัชสมัยใดเล็ดลอดออกมาก็จะยกเลิกชื่อนั้นและหาชื่อใหม่ ก่อนที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่ารัชสมัยใหม่จะใช้คำว่า “อังคิว” ที่แปลว่า สันติสุขและความยั่งยืน

ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงการตั้งชื่อรัชสมัยใหม่ว่า “เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะพบกับจุดเปลี่ยนของประเทศครั้งใหญ่ (สื่อถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง) แต่คุณค่าและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะไม่จางหายไปไหน” ซึ่งประเพณีการตั้งชื่อรัชสมัยนี้ยังมีมานานถึง 1,300 ปีอีกด้วย

ตารางเทียบศักราช

เรวะ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ค.ศ. 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028
พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571

อ้างอิง

  1. "New Japanese imperial era Reiwa takes name from ancient poetry". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.


ก่อนหน้า ยุคเรวะ ถัดไป
เฮเซ ศักราชของญี่ปุ่น
(1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 –)