ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เล่าขำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==


ภายหลังจากสูญเสียเมืองกิมก๊ก และทราบข่าวของเตงงายที่นำกองกำลังที่เตรียมยุกยึดจ๊กก๊ก พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงหารือแก่เหล่าขุนนางในราชสำนัก ซึ่งให้คำแนะนำต่างกัน บ้างก็แนะให้หลบหนีไปทางทิศใต้ซึ่งมีหัวเมืองหกหัวเมือง เพื่อสำหรับยับยั้งอาศัยและซ่อมสุมกองกำลัง แล้วไปคำนับเมืองกังตั๋งเพื่อขอกำลังมาช่วยคิดทำการสืบต่อไป แต่[[เจียวจิ๋ว]]ทูลขัดเหล่าขุนนางว่า ''"อันธรรมเนียมโบราณซึ่งจะตั้งตังเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น จะได้อาศัยกำลังผู้อื่นหามิได้ ย่อมเพียรพยายามได้เป็นดีด้วยปัญญาความคิดแลกำลังของตัว เมื่อแลต่อด้วยข้าศึกมิได้เข้าไปนบนอบเมืองกังตั๋งนั้น ใช่ว่าเมืองกังตั๋งจะตั้งมั่นเป็นเอกโทอยู่ก็หาไม่ ก็จะเสียแก่วุยก๊กเป็นมั่นคง นานไปก็ต้องกลับไปคำนำเขา ก็จะมิได้อัปยศเป็นสองซ้ำไปหรือจะต้องการอันใด ถ้าเข้าคำนับแก่พระเจ้าวุยก๊กเสียครั้งนี้เห็นจะได้อายแต่ครั้งเดียว ขอให้พระองค์ดำริดูเถิด"''<ref name="พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก">พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777</ref>
ภายหลังจากสูญเสียเมืองกิมก๊ก และทราบข่าวของเตงงายที่นำกองกำลังที่เตรียมยุกยึดจ๊กก๊ก พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงหารือแก่เหล่าขุนนางในราชสำนัก ซึ่งให้คำแนะนำต่างกัน บ้างก็แนะให้หลบหนีไปทางทิศใต้ซึ่งมีหัวเมืองหกหัวเมือง เพื่อสำหรับยับยั้งอาศัยและซ่อมสุมกองกำลัง แล้วไปคำนับเมืองกังตั๋งเพื่อขอกำลังมาช่วยคิดทำการสืบต่อไป แต่[[เจียวจิ๋ว]]ทูลขัดเหล่าขุนนางว่า ''"อันธรรมเนียมโบราณซึ่งจะตั้งตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น จะได้อาศัยกำลังผู้อื่นหามิได้ ย่อมเพียรพยายามได้เป็นดีด้วยปัญญาความคิดแลกำลังของตัว เมื่อแลต่อด้วยข้าศึกมิได้เข้าไปนบนอบเมืองกังตั๋งนั้น ใช่ว่าเมืองกังตั๋งจะตั้งมั่นเป็นเอกโทอยู่ก็หาไม่ ก็จะเสียแก่วุยก๊กเป็นมั่นคง นานไปก็ต้องกลับไปคำนำเขา ก็จะมิได้อัปยศเป็นสองซ้ำไปหรือจะต้องการอันใด ถ้าเข้าคำนับแก่พระเจ้าวุยก๊กเสียครั้งนี้เห็นจะได้อายแต่ครั้งเดียว ขอให้พระองค์ดำริดูเถิด"''<ref name="พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก">พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777</ref>


พระเจ้าเล่าเสี้ยนเห็นชอบด้วยคำแนะนำของเจียวจิ๋ว จึงจัดแจงสิ่งของเครื่องบรรณาการจะออกไปคำนับพระเจ้าวุยก๊ก พระราชบุตรทั้งหมดของพระเจ้าเล่าเสี้ยนมิอาจทัดทานประการใดในการตัดสินพระทัยของพระเจ้าเล่าเสี้ยน แต่เล่าขำกล่าวแก่เจียงจิ๋วว่า ''"มึงนี้เป็นมิดีหากตัญญูมิได้ การศึกมีมามิได้คิดอ่านรักษาเจ้า ธรรมเนียมมีหรือเป็นกษัตริย์จะไปคำนับผู้อื่น ถึงมาตรว่าจะตายก็ควรจะสู้เสียชีวิต จะนบนอบแก่ข้าศึกหาควรไม่"''<ref name="พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก">พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777</ref> ซึ่งคำกล่าวของเล่าขำทำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนตรัสถามว่า ''"บรรดาขุนนางทั้งปวงปรึกษาว่าจะไปคำนับเห็นชอบด้วยกันสิ้น เป็นไฉนตัวเจ้าก็เป็นเด็กถือทิฐิมานะว่าฝีมือกล้าแข็งรู้กว่าผู้ใหญ่ จะให้อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนนั้นมิชอบ"''<ref name="พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก">พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777</ref>
พระเจ้าเล่าเสี้ยนเห็นชอบด้วยคำแนะนำของเจียวจิ๋ว จึงจัดแจงสิ่งของเครื่องบรรณาการจะออกไปคำนับพระเจ้าวุยก๊ก พระราชบุตรทั้งหมดของพระเจ้าเล่าเสี้ยนมิอาจทัดทานประการใดในการตัดสินพระทัยของพระเจ้าเล่าเสี้ยน แต่เล่าขำกล่าวแก่เจียงจิ๋วว่า ''"มึงนี้เป็นมิดีหากตัญญูมิได้ การศึกมีมามิได้คิดอ่านรักษาเจ้า ธรรมเนียมมีหรือเป็นกษัตริย์จะไปคำนับผู้อื่น ถึงมาตรว่าจะตายก็ควรจะสู้เสียชีวิต จะนบนอบแก่ข้าศึกหาควรไม่"''<ref name="พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก">พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777</ref> ซึ่งคำกล่าวของเล่าขำทำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนตรัสถามว่า ''"บรรดาขุนนางทั้งปวงปรึกษาว่าจะไปคำนับเห็นชอบด้วยกันสิ้น เป็นไฉนตัวเจ้าก็เป็นเด็กถือทิฐิมานะว่าฝีมือกล้าแข็งรู้กว่าผู้ใหญ่ จะให้อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนนั้นมิชอบ"''<ref name="พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก">พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777</ref>

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:42, 25 มีนาคม 2562

เล่าขำ
รูปปั้นของเล่าขำ
พระราชบุตรของพระเจ้าเล่าเสี้ยน
สวรรคตพ.ศ. 806
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม劉諶
อักษรจีนตัวย่อ刘谌
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

เล่าขำ (อังกฤษ: Liu Chen; จีนตัวย่อ: 刘谌; จีนตัวเต็ม: 劉諶) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก พระราชบุตรในพระเจ้าเล่าเสี้ยนแห่งจ๊กก๊ก มีพระเชษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือเล่ายอย เล่าเอียว เล่าจ้อง เล่าจ้าน เล่าสุนและเล่ากี่ ภายหลังจากเตงงายนำกองกำลังทหารบุกโจมตีจ๊กก๊ก เล่าขำเป็นพระราชบุตรเพียงคนเดียวที่ไม่ยอมให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนเข้าคำนับแก่พระเจ้าวุยก๊ก พร้อมกับจัดสิ่งของบรรณาการออกไปคำนับ

ประวัติ[แก้]

ภายหลังจากสูญเสียเมืองกิมก๊ก และทราบข่าวของเตงงายที่นำกองกำลังที่เตรียมยุกยึดจ๊กก๊ก พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงหารือแก่เหล่าขุนนางในราชสำนัก ซึ่งให้คำแนะนำต่างกัน บ้างก็แนะให้หลบหนีไปทางทิศใต้ซึ่งมีหัวเมืองหกหัวเมือง เพื่อสำหรับยับยั้งอาศัยและซ่อมสุมกองกำลัง แล้วไปคำนับเมืองกังตั๋งเพื่อขอกำลังมาช่วยคิดทำการสืบต่อไป แต่เจียวจิ๋วทูลขัดเหล่าขุนนางว่า "อันธรรมเนียมโบราณซึ่งจะตั้งตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น จะได้อาศัยกำลังผู้อื่นหามิได้ ย่อมเพียรพยายามได้เป็นดีด้วยปัญญาความคิดแลกำลังของตัว เมื่อแลต่อด้วยข้าศึกมิได้เข้าไปนบนอบเมืองกังตั๋งนั้น ใช่ว่าเมืองกังตั๋งจะตั้งมั่นเป็นเอกโทอยู่ก็หาไม่ ก็จะเสียแก่วุยก๊กเป็นมั่นคง นานไปก็ต้องกลับไปคำนำเขา ก็จะมิได้อัปยศเป็นสองซ้ำไปหรือจะต้องการอันใด ถ้าเข้าคำนับแก่พระเจ้าวุยก๊กเสียครั้งนี้เห็นจะได้อายแต่ครั้งเดียว ขอให้พระองค์ดำริดูเถิด"[1]

พระเจ้าเล่าเสี้ยนเห็นชอบด้วยคำแนะนำของเจียวจิ๋ว จึงจัดแจงสิ่งของเครื่องบรรณาการจะออกไปคำนับพระเจ้าวุยก๊ก พระราชบุตรทั้งหมดของพระเจ้าเล่าเสี้ยนมิอาจทัดทานประการใดในการตัดสินพระทัยของพระเจ้าเล่าเสี้ยน แต่เล่าขำกล่าวแก่เจียงจิ๋วว่า "มึงนี้เป็นมิดีหากตัญญูมิได้ การศึกมีมามิได้คิดอ่านรักษาเจ้า ธรรมเนียมมีหรือเป็นกษัตริย์จะไปคำนับผู้อื่น ถึงมาตรว่าจะตายก็ควรจะสู้เสียชีวิต จะนบนอบแก่ข้าศึกหาควรไม่"[1] ซึ่งคำกล่าวของเล่าขำทำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนตรัสถามว่า "บรรดาขุนนางทั้งปวงปรึกษาว่าจะไปคำนับเห็นชอบด้วยกันสิ้น เป็นไฉนตัวเจ้าก็เป็นเด็กถือทิฐิมานะว่าฝีมือกล้าแข็งรู้กว่าผู้ใหญ่ จะให้อาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อนนั้นมิชอบ"[1]

เล่าขำจึงทูลตอบพระเจ้าเล่าเสี้ยนว่า "ทหารในเมืองเสฉวนยังมีอยู่เป็นหลายหมื่น พอจะจัดแจงกองทัพออกไปต่อสู้ด้วยข้าศึกได้อยู่ อนึ่งเกียงอุยก็ตั้งรักษาด่านอยู่ภายนอก ถ้าจะมีหนังสือออกไปให้ตีกระหนาบหลังข้าศึกเข้ามากระทบเข้าเป็นสองทัพ ศัตรูก็จะแตกกลับไปไม่พอที่จะอัปยศแก่ทหารเมืองวุยก๊กเลย"[1] แต่พระเจ้าเล่าเสี้ยนกลับพิโรธเล่าขำเป็นอย่างมากและตรัสว่า "มีงนี้เป็นเด็กมิได้รู้ลักษณะดีแลร้าย จะมาขัดขืนผู้ใหญ่นั้นเรามิเชื่อฟัง"[1] เล่าขำก็น้อยใจพระราชบิดา ทูลให้ทรงระลึกถึงพระเจ้าเล่าปี่ที่ทรงกระทำความพากเพียรและได้รับความลำบากยากเข็ญเพียงใด จึงได้มาตั้งเป็นภูมิฐานอยู่ ณ เมืองเสฉวนจนได้สืบสันติวงศ์เรื่อยมา แต่พระเจ้าเล่าเสี้ยนมิฟัง กลับตวาดและขับเล่าขำให้ออกไปเสีย เล่าขำน้อยใจพระบิดาก็เดินร้องไห้ออกไป

ภายหลังจากพระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมสวามิภักดิ์และออกไปคำนับแก่พระเจ้าวุยก๊ก เมื่อเล่าขำทราบเรื่องก็ถอดกระบี่เดินไปหานางซุยฮูหยินผู้เป็นภรรยาพร้อมกับเล่าเรื่องราวให้ฟัง นางซุยฮูหยินได้ฟังเรื่องราวจากเล่าขำจึงว่า "ถ้าพระองค์มิรักชีวิตจะเชือดคอตายเสียแล้ว ต้วข้าพเจ้าเป็นภรรยาของพระองค์ก็จะไปให้อัปยศแก่ศัตรูหาประโยชน์มิได้ ข้าพเจ้าจะขอตายไปกับพระองค์ดูประเสริฐกว่า"[2] แล้วก็เอากระบี่เชือดคอตาย เล่าขำเห็นนางซุยฮูหยินถึงแก่ความตาย ก็สังหารบุตรทั้งสามคนเสีย แล้วตัดเอาศีรษะบุตรทั้งสามและศีรษะนางซุยฮูหยินไปบูชาที่หน้าตึกสำหรับฝังพระศพพระเจ้าเล่าปี่ แล้วร้องไห้เสียใจที่ไม่อาจรักษาแผ่นดินเสฉวนไว้ได้ แล้วก็เอากระบี่เชือดคอตาย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 พระเจ้าเล่าเสี้ยนอ่อนน้อมต่อข้าศึก, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 777
  2. นางซุยฮูหยินเชือดคอตาย, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 778

ดูเพิ่ม[แก้]