ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิจจสมุปบาท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
Loychun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
* เพราะผัสสะเป็นปัจจัย [[เวทนา]]จึงมี
* เพราะผัสสะเป็นปัจจัย [[เวทนา]]จึงมี
* เพราะเวทนาเป็นปัจจัย [[ตัณหา]]จึงมี
* เพราะเวทนาเป็นปัจจัย [[ตัณหา]]จึงมี
* เพราะตัณหาเป็นปัจจัย [[อุปาทาน|อุปทาน]]จึงมี
* เพราะตัณหาเป็นปัจจัย [[อุปาทาน|อุปาทาน]]จึงมี
* เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย [[ภพ]]จึงมี
* เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย [[ภพ]]จึงมี
* เพราะภพเป็นปัจจัย [[ชาติ]]จึงมี
* เพราะภพเป็นปัจจัย [[ชาติ]]จึงมี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:08, 21 มีนาคม 2562

ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) (บาลี: Paticcasamuppāda; สันสกฤต: Pratītyasamutpāda) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ

การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา

หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา

ลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์

ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่) ดับ

ชาติ จะดับไปได้เพราะ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ) ดับ

ภพ จะดับไปได้เพราะ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ) ดับ

อุปาทาน จะดับไปได้เพราะ ตัณหา (ความอยาก) ดับ

ตัณหา จะดับไปได้เพราะ เวทนา (ความรู้สึกทุกข์หรือสุขหรือเฉยๆ) ดับ

เวทนา จะดับไปได้เพราะ ผัสสะ (การสัมผัส) ดับ

ผัสสะ จะดับไปได้เพราะ สฬายตนะ (อายตนะใน๖+นอก๖) ดับ

สฬายตนะ จะดับไปได้เพราะ นามรูป (รูปขันธ์) ดับ

นามรูป จะดับไปได้เพราะ วิญญาณ (วิญญาณขันธ์) ดับ

วิญญาณ จะดับไปได้เพราะ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่งวิญญาณ-เจตสิก) ดับ

สังขาร จะดับไปได้เพราะ อวิชชา (ความไม่รู้อย่างแจ่มแจ้ง) ดับ

สมุทยวาร-นิโรธวาร

การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงให้เห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจข้อที่สอง (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท

(ดังแสดงสองตัวอย่างที่ผ่านไป เป็น อนุโลมเทศนา และ ปฏิโลมเทศนา ของอนุโลมปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ)

การแสดงตรงกันข้ามกับข้างต้นนี้ เรียกว่า นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจข้อที่สาม (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย สืบทอดกันไป เช่น

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติ ดับชรามรณะ (จึงดับ) ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ

ดังนี้เรียกว่า อนุโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท

ส่วนปฏิโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะเป็นต้น ดับเพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น