ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกแอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| callsign = NOK AIR
| callsign = NOK AIR
| parent = บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited)
| parent = บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited)
| company_slogan = ''Nok Air...Smiling Across Asia''
| company_slogan = ''We Fly Smiles''
(นกแอร์...ส่งรอยยิ้ม ทั่วเอเชีย)
(ทุกเที่ยวบินมีรอยยิ้ม)
| frequent_flyer = Nok Fan Club<br>[[การบินไทย|Royal Orchid Plus]]
| frequent_flyer = Nok Fan Club<br>[[การบินไทย|Royal Orchid Plus]]
| alliance = [[แวลูอัลไลแอนซ์]]
| Value Alliance = [[แวลูอัลไลแอนซ์]]
| destinations = 31
| destinations = 29
| fleet_size = 23
| fleet_size = 26
| founded = 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ({{Age|2004|02|10}} ปี)
| founded = 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ({{Age|2004|02|10}} ปี)
| hubs = [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]
| hubs = [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]
| headquarters = 3 อาคารรัจนาการ ชั้น 16-17 [[ถนนสาทรใต้]] แขวงยานนาวา [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพฯ]]
| headquarters = 3 อาคารรัจนาการ ชั้น 16-17 [[ถนนสาทรใต้]] แขวงยานนาวา [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพฯ]]
| key_people = นายประเวช องอาจสิทธิกุล (รักษาการ [[CEO]])
| key_people = นายประเวช องอาจสิทธิกุล (รักษาการ [[CEO]])
| website = http://www.nokair.com
| website = https://www.nokair.com
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:56, 19 มีนาคม 2562

นกแอร์
IATA ICAO รหัสเรียก
DD NOK NOK AIR
ก่อตั้ง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (20 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานดอนเมือง
สะสมไมล์Nok Fan Club
Royal Orchid Plus
ขนาดฝูงบิน26
จุดหมาย29
บริษัทแม่บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด(มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited)
สำนักงานใหญ่3 อาคารรัจนาการ ชั้น 16-17 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ
บุคลากรหลักนายประเวช องอาจสิทธิกุล (รักษาการ CEO)
เว็บไซต์https://www.nokair.com

นกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดของประเทศไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อบริษัท สกายเอเชีย จำกัด (Sky Asia Ltd.) เริ่มทำการบินครั้งแรกวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (Nok Airlines Co., Ltd.) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 เพื่อเตรียมนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 20 มิถุนายนปีเดียวกัน

สายการบินนกแอร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีบริษัทร่วมทุนดังนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น 49%) บริษัท นกแอร์แมนเนจเม้นท์ฮ่องกง จำกัด (25%) บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) (6%) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (5%) บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (5%) ผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ (10%) โดยมีนายพาที สารสิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่ก่อตั้งสายการบิน จนกระทั่งนายพาทีลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งนายปิยะ ยอดมณี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน[1] ในปีต่อมานายปิยะได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าขอลาออกจากตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 พร้อมกันนี้ ได้เแต่งตั้งนายประเวช องอาจสิทธิกุล กรรมการบริษัท ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แทนนายปิยะ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป[2]

เส้นทางการบิน

สายการบินนกแอร์ได้ให้บริการไปยังจุดหมายดังต่อไปนี้


นอกจากนี้นกแอร์ยังมีบริการ Fly'n'Ferry Service สู่เกาะต่างๆในประเทศไทย และ บริการ Fly 'n' Ride สู่เวียงจันทน์ และ ปากเซ สปป.ลาว

  • เส้นทางที่ให้บริการ ไป-กลับ จากท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ให้บริการโดยเครื่องบิน Dash Q400, ไม่รวมถึงเส้นทาง ดอนเมือง-เชียงใหม่)
    • อุดรธานี
    • อุบลราชธานี

เส้นทางการบินในอดีต

ฝูงบิน

ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 สายการบินนกแอร์ มีเครื่องบินประจำการในฝูงบิน ดังนี้[3]

ฝูงบินนกแอร์
เครื่องบิน ประจำการ สั่งซื้อ ความจุผู้โดยสาร
C Y รวม
บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 8 - - 86 86
โบอิง 737-800 15 - - 189 189
โบอิง 737 MAX 8 - 8 TBA TBA TBA
รวม 23 8

ฝูงบินปัจจุบัน

ไฟล์:Q400NextGenNok.jpg
เครื่องบิน บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 สายการบินนกแอร์
เครื่องบิน โบอิง 737-800 สายการบินนกแอร์
รายชื่อเครื่องบินนกแอร์
ลำดับ เครื่องบิน ทะเบียน ชื่อ สี (จากหัวเครื่อง) วันเข้าประจำฝูงบิน จำนวนผู้โดยสาร หมายเหตุ
P Y รวม
1 เอทีอาร์ 72-500 HS-DRC นกร่มรื่น ม่วงขาว 15/10/2012 0 66 66 ปลดประจำการ
2 เอทีอาร์ 72-500 HS-DRD นกสายลม ม่วงขาว 15/10/2012 0 66 66 ปลดประจำการ
3 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQA นกอันนา ขาวเหลืองม่วง 30/09/2014 0 86 86
4 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQB นกข้าวเหนียว ขาวม่วงชมพู 15/10/2014 0 86 86
5 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQC นกข้าวปั้น ขาวชมพูฟ้า 06/11/2014 0 86 86
6 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQD นกข้าวปุ้น ขาวเขียวส้ม 13/11/2014 0 86 86
7 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQE นกลาเต้ ขาวเนื้อเหลือง 25/09/2015 0 86 86
8 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQF นกคาปู น้ำตาลขาวเหลือง 28/09/2015 0 86 86
9 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQG นกสุขสันต์ ส้มขาวเหลือง 15/07/2016 0 86 86
10 บอมบาเดีย แดช 8 คิว400 HS-DQH นกของขวัญ เขียวขาวฟ้า 26/07/2016 0 86 86
11 โบอิง 737-800 HS-DBA นกยิ้มหวาน ม่วงขาว 25/10/2011 42 147 189

ปลดประจำการ

12 โบอิง 737-800 HS-DBE นกฟลามิงโก้ ชมพู 07/08/2012 42 147 189
13 โบอิง 737-800 HS-DBG นกใบเตย เขียว 16/11/2012 42 147 189 ปลดประจำการ
14 โบอิง 737-800 HS-DBK นกสบาย ขาวฟ้า 31/01/2013 42 144 186 มี WIFI
15 โบอิง 737-800 HS-DBO นกดีดี ขาวฟ้า 16/10/2013 42 147 189
16 โบอิง 737-800 HS-DBP นกเพชรน้ำเงิน น้ำเงินขาว 14/03/2014 42 147 189 มี Wi-Fi
17 โบอิง 737-800 HS-DBQ นกบุษราคัม ชมพูขาวเขียว 15/07/2014 42 147 189 มี WIFI, ลายครบรอบ 10 ปีนกแอร์
18 โบอิง 737-800 HS-DBR นกหยกนภา เหลืองเขียวขาว 14/12/2014 42 147 189 มี Wi-Fi
19 โบอิง 737-800 HS-DBS นกทองชมพู เหลืองชมพูขาว 23/10/2014 42 147 189 มี Wi-Fi
20 โบอิง 737-800 HS-DBT นกบุษน้ำเพชร เหลืองส้มขาว 25/08/2015 42 147 189
21 โบอิง 737-800 HS-DBU นกทับทิมสยาม ม่วงชมพูขาว 25/11/2015 42 147 189
22 โบอิง 737-800 HS-DBV นกภูผา ขาวเขียวน้ำเงิน 14/03/2016 42 147 189
23 โบอิง 737-800 HS-DBW นกฟ้าคราม ฟ้าขาวส้ม 17/08/2016 42 147 189
24 โบอิง 737-800 HS-DBX นกตะวัน เหลืองม่วงชมพู 18/11/2016 42 147 189
25 โบอิง 737-800 HS-DBY นกเวหา ม่วงขาวส้ม 07/06/2017 42 147 189
26 โบอิง 737-800 HS-DBZ นกนภาพราว มิ้นขาวเหลือง 20/09/2017 42 147 189 ลำใหม่ล่าสุด

อดีต

ไฟล์:ATR-72-200.jpg
เครื่องบิน เอทีอาร์ 72-200 สายการบินนกแอร์
  • เอทีอาร์ 72-200 จำนวน 2 ลำ ได้แก่
ไฟล์:Boeing737-400.jpg
เครื่องบิน โบอิง 737-400 สายการบินนกแอร์
  • โบอิง 737-400 จำนวน 14 ลำ ได้แก่
  • โบอิง 737-800 จำนวน 11 ลำ ได้แก่
    • G-XLAI - (เช่าจาก XL Airways) (หมดสัญญาเช่า)
    • G-OXLC - (เช่าจาก XL Airways) (หมดสัญญาเช่า)
    • HS-DBF - นกสดใส (เช่าจาก SMBC) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBL - นกสนุก (เช่าจาก BBAM) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBM - นกสุขใจ (เช่าจาก BBAM) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBN - นกใจดี (เช่าจาก SMBC) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBD - นกน่านฟ้า (เช่าจาก SMBC) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBH - นกการ์ตูน (เช่าจาก GECAS) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBJ - นกร่าเริง (เช่าจาก GECAS) (ยกเลิกสัญญาเช่า)
    • HS-DBB - นกรักยิ้ม (โอนไปนกสกู๊ต)
    • HS-DBC - นกอมยิ้ม (เช่าจาก Aircastle) (ยกเลิกสัญญาเช่า)

อุบัติการณ์

  • 15 ธันวาคม 2550 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8715 เส้นทางเชียงราย-ดอนเมือง เครื่องบินโบอิง 737-400 ขณะบินผ่านอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีเครื่องบินแมคดอนเนลล์ดักลาส MD-82 ของสายการบินวัน-ทู-โก ที่บินสวนทิศทางมา (เส้นทางดอนเมือง-เชียงใหม่) เกิดผิดพลาดในการกำหนดหรือควบคุมเพดานบิน จนมาอยู่ในระดับเพดานบินเดียวกันกับเครื่องบินนกแอร์ ซึ่งอาจจะทำให้ชนกันกลางอากาศได้ ทำให้ระบบแจ้งเตือนในห้องนักบินนกแอร์ทำงาน ว่ามีเครื่องบินอื่นพุ่งตรงเข้ามา นักบินจึงหลบหลีกโดยรีบลดระดับเพดานบินลงในทันที[4][5]
  • 28 ตุลาคม 2553 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8326 เส้นทางดอนเมือง-เชียงใหม่ ขณะออกบินได้ไม่นานเกิดชนฝูงนก กัปตันได้แจ้งว่าเกิดเหตุขัดข้องต้องบินกลับมาลงจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่เมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบปัญหาใด ๆ จึงออกบินใหม่อีกครั้งในอีกประมาณ 30 นาทีต่อมา[6]
  • 30 พฤษภาคม 2556 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8714 เส้นทางดอนเมือง-เชียงราย เครื่องบินโบอิง 737-800 ทะเบียน HS-DBE ขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ในระหว่างการเบรกเครื่องบินนั้นล้อหน้าได้หลุดออก 1 ล้อ เหลือเพียงล้อเดียว แต่นักบินยังคงสามารถขับไปจอดที่หลุมจอด เหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ มีเพียงต้องซ่อมเครื่องบิน[7][8]
  • 6 สิงหาคม 2556 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7411 เส้นทางตรัง-ดอนเมือง เครื่องบินโบอิง 737-800 ทะเบียน HS-DBM ขณะเตรียมจะนำเครื่องขึ้น เกิดลื่นไถลตกรันเวย์ที่สนามบินตรัง ซึ่งเปียกลื่นเพราะฝนตกหนัก และล้อติดหล่ม สายการบินได้ใช้รถโดยสารพาผู้โดยสารไปขึ้นเครื่องบินอีกลำหนึ่งที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่แทน[9] จากเหตุการณ์นี้ท่าอากาศยานตรังได้ประกาศปิดถึง 2 วัน เพื่อให้สามารถกู้เครื่องบินจนแล้วเสร็จ[10]
  • 23 มีนาคม 2557 – เครื่องบินใบพัดของนกแอร์ขัดข้องที่ท่าอากาศยานน่านนคร ทำให้เกิดปัญหาเที่ยวบินล่าช้าต่อเนื่องยาวนาน[11][12][13]
  • 31 สิงหาคม 2557 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7805 เส้นทางนครศรีธรรมราช-ดอนเมือง เครื่องบินโบอิง 737-800 ทะเบียน HS-DBD ขณะออกบินได้ไม่นานเกิดชนฝูงนก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี[14]เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องจากเหตุดังกล่าว และได้เปลี่ยนเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินแทน[15] อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นกับเครื่องบินที่นครศรีธรรมราชถึง 4 ครั้งในปีเดียวกัน ซึ่งรวมถึงของนกแอร์ในครั้งนี้ด้วยนั้น เกิดจากพื้นที่โดยรอบสนามบินมีนกอาศัยอยู่มาก และในขณะนั้นทางท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างถาวร[16]
  • 28 ตุลาคม 2557 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7503 เส้นทางภูเก็ต-ดอนเมือง นักบินเบรกเครื่องบินกะทันหันขณะเทคออฟบนรันเวย์ และแจ้งว่าจำเป็นต้องนำเครื่องบินเข้าตรวจสอบความผิดปกติ ในที่สุดเที่ยวบินนี้ก็ต้องถูกยกเลิก[17]
  • 1 กุมภาพันธ์ 2558 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 9114 เส้นทางดอนเมือง-ร้อยเอ็ด หลังบินขึ้นได้ไม่นานมีสัญญาณเตือนขึ้นในห้องนักบิน จึงวนกลับมาจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อแก้ไข และเมื่อออกบินใหม่อีกครั้งกลับมีสัญญาณเดิมปรากฏขึ้นอีกจึงวนกลับมาจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมืองอีก และเปลี่ยนเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินแทน รวมเที่ยวบินล่าช้าไป 3 ชั่วโมง[18]
  • 6 กุมภาพันธ์ 2558 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8505 เส้นทาง ลำปาง-ดอนเมือง เครื่องบินบอมบาเดีย แดช 8 คิว400 ทะเบียน HS-DQD กำหนดออกบินเวลา 10.15 น. เกิดระบบประตูเครื่องบินขัดข้อง จึงยกเลิกเที่ยวบินขากลับ และให้ช่างจากกรุงเทพฯ มาแก้ไข ด้านผู้โดยสารมีทั้งที่ได้รับการเปลี่ยนเป็นเที่ยวบินถัดไป, นั่งรถตู้เพื่อเปลี่ยนไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และบางส่วนขอเงินคืนเพื่อไปโดยสารกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เส้นทาง ลำปาง-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แทน[19] และหลังจากช่างแก้ปัญหาประตูแล้วเสร็จ นักบินก็ได้นำเครื่องบินบินกลับดอนเมืองเมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ของวันเดียวกัน[20]
  • 18 กุมภาพันธ์ 2558 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8819 เส้นทาง น่าน-ดอนเมือง เกิดระบบประตูเครื่องบินขัดข้อง ไม่สามารถปิดได้ สายการบินส่งเครื่องบินลำอื่นบินไปรับผู้โดยสารแทน เที่ยวบินล่าช้า 3 ชั่วโมง[21]
  • 26 มีนาคม 2558 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7805 เส้นทางนครศรีธรรมราช-ดอนเมือง เครื่องบินโบอิง 737-800 เกิดกระจกหน้าแตกร้าว ต้องเปลี่ยนกระจกใหม่ก่อนจึงบินเที่ยวบินขากลับไปยังดอนเมืองได้[22]
  • 29 มีนาคม 2558 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7105 เส้นทางหาดใหญ่-ดอนเมือง เกิดระบบประตูเครื่องบินขัดข้อง ไม่สามารถปิดได้ จึงมีการแก้ไข เที่ยวบินล่าช้า 6 ชั่วโมง[23]
  • 30 สิงหาคม 2558 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7805 เส้นทางนครศรีธรรมราช-ดอนเมือง เครื่องบินโบอิง 737-800 ทะเบียน HS-DBE ขณะออกบินได้ไม่นานเกิดชนฝูงนก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี[24] เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องจากเหตุดังกล่าว และต้องรอเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินมาเปลี่ยนแทน รวมแล้วเที่ยวบินล่าช้าราว 4 ชั่วโมง[25]
  • 17 มิถุนายน 2559 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 7313 เส้นทางระนอง-ดอนเมือง เครื่องบินเอทีอาร์ 72-500 ทะเบียน HS-DRD หลังออกบินได้ไม่นานเกิดกระจกหน้าแตกร้าว จึงตัดสินใจลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานชุมพร และสายการบินได้ย้ายผู้โดยสารไปยังเครื่องบินอีกลำหนึ่งที่จะบินออกจากชุมพรไปดอนเมือง[26]
  • 28 มิถุนายน 2559 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8506 เส้นทางลำปาง-ดอนเมือง เครื่องบินบอมบาเดีย แดช 8 คิว400 ก่อนออกบินพบว่ายางล้อเครื่องบินด้านซ้ายแบนและมีรอยฉีกขาด เบื้องต้นได้ประกาศระงับเที่ยวบินขากลับไปดอนเมือง ผู้โดยสารบางส่วนได้ขอย้ายไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่แทน และผู้โดยสารบางส่วนตัดสินใจรอการเปลี่ยนยาง ซึ่งสายการบินได้ส่งช่างพร้อมเครื่องมือและอะไหล่จากดอนเมืองไปเปลี่ยนยาง เที่ยวบินนี้ล่าช้าราว 5 ชั่วโมง[27]
  • 3 สิงหาคม 2559 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8722 เส้นทางดอนเมือง-เชียงราย เครื่องบินโบอิง 737-800 กัปตันพบสิ่งผิดปกติบางประการของระบบการทำงานเครื่องบิน จึงเบรกเครื่องบินกะทันหันขณะเทคออฟบนรันเวย์ และขับเครื่องบินกลับมาจอดเพื่อเปลี่ยนเครื่องบินลำอื่นบินแทน เป็นเหตุให้เที่ยวบินต้องล่าช้าออกไป[28]
  • 25 สิงหาคม 2559 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8826 เส้นทางดอนเมือง-น่าน เครื่องบินบอมบาเดีย แดช 8 คิว400 ทะเบียน HS-DQE ขณะออกบินได้ไม่นานพบว่ายางล้อเครื่องบินด้านหนึ่งพังเสียหาย จึงตัดสินใจบินกลับท่าอากาศยานดอนเมืองและเปลี่ยนเครื่องบิน[29] เที่ยวบินล่าช้าไป 1 ชั่วโมง 45 นาที[30]
  • 5 ตุลาคม 2559 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8125 เส้นทางแม่สอด-ดอนเมือง เมื่อบินออกไปได้ประมาณ 10 นาที ได้บินกลับมายังท่าอากาศยานแม่สอดเนื่องจากระบบลมขัดข้อง[31]
  • 30 มิถุนายน 2560 – เวลาประมาณ 22.55 น. เครื่องบินโบอิง 737-800 ทะเบียน HS-DBK ของนกแอร์ ขณะจอดอยู่ที่หลุมจอด 35 ท่าอากาศยานดอนเมือง ถูกรถบัสของสายการบินไทยแอร์เอเชียชนเข้าที่ส่วนหน้าของเครื่องบินจนได้รับความเสียหาย ต้องนำไปซ่อม[32]
  • 12 ธันวาคม 2560 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 8127 เส้นทางแม่สอด-ดอนเมือง เครื่องบินบอมบาเดีย แดช 8 คิว400 เกิดเหตุระบบไฟขัดข้อง ต้องแก้ไขก่อนจึงจะนำเครื่องบินขึ้นบินได้[33]
  • 18 กุมภาพันธ์ 2561 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 9407 เส้นทางสกลนคร-ดอนเมือง เครื่องบินบอมบาเดีย แดช 8 คิว400 ทะเบียน HS-DQA ขณะออกบินได้ไม่นานเครื่องยนต์ด้านซ้ายเกิดขัดข้องขึ้น ต้องดับเครื่องยนต์ด้านซ้าย แล้วบินวนกลับมาลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสกลนคร[34]
  • 28 กุมภาพันธ์ 2561 – นกแอร์เที่ยวบิน ชุมพร-ดอนเมือง กำหนดออกบินเวลา 21.40 น. เกิดเหตุเครื่องบินขัดข้อง จนเวลาราว 2.00 น. สายการบินได้ส่งทีมช่างนั่งเครื่องบินอีกลำหนึ่งมา และเมื่อมาถึงชุมพรก็ได้ให้ลำที่บินมาใหม่นั้นรับผู้โดยสารแทน โดยออกบินจากชุมพรได้ในเวลาประมาณ 3.00 น. เที่ยวบินนี้ล่าช้ากว่า 5 ชั่วโมง[35]
  • 6 มีนาคม 2561 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 9214 เส้นทางดอนเมือง-อุดรธานี เครื่องบินโบอิง 737-800 ระบบไฟฟ้าขัดข้อง เบื้องต้นทีมช่างได้ลงมือแก้ไข แต่พบว่าต้องใช้เวลานานในการซ่อมให้แล้วเสร็จ จึงเปลี่ยนเครื่องบินเป็นลำอื่นแทน เที่ยวบินล่าช้าไปราว 3 ชั่วโมง เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้โดยสารเป็นอันมาก โดยอ้างว่าต้องติดอยู่ภายในเครื่องบินที่ร้อนจัดนานเกือบ 2 ชั่วโมง[36]
  • 2 เมษายน 2561 – นกแอร์เที่ยวบินที่ 9603 เส้นทางบุรีรัมย์-ดอนเมือง เกิดปัญหาขัดข้อง มีการรั่วซึมของน้ำมันไฮโดรลิก ทำให้ไม่สามารถขึ้นบินได้สำเร็จ และต้องจอดเสียขวางรันเวย์ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันดังกล่าว ซึ่งท่าอากาศยานบุรีรัมย์ยังมีเพียงรันเวย์เดียว ทำให้เที่ยวบินอื่นของสายการบินต่าง ๆ ไม่สามารถบินขึ้นลงได้ในวันดังกล่าว ต้องใช้ท่าอากาศยานร้อยเอ็ดแทนโดยจัดรถรับส่งผู้โดยสาร[37] จนกระทั่งสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องบินออกพ้นรันเวย์ได้เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. จึงเปิดใช้รันเวย์ได้[38]
  • 15 เมษายน 2561 - นกแอร์เที่ยวบินที่ 9311 เส้นทางอุบลราชธานี-ดอนเมือง กำหนดออกบินเวลา 11.10 น. เกิดอุบัติการณ์ยางแตก จึงไม่นำเครื่องขึ้น และนำช่างมาเปลี่ยนยาง[39] สร้างความไม่พอใจให้กับผู้โดยสารเนื่องจากเที่ยวบินล่าช้ายาวนานกว่า 5 ชั่วโมง[40]

การยกเลิกเที่ยวบิน

  • 14 กุมภาพันธ์ 2559 นักบินกลุ่มหนึ่งของสายการบินประท้วง ไม่พอใจที่ทางบริษัทมีการปรับเพิ่มมาตรฐานการ Audit การบริหารงานของฝ่ายบิน โดยอิงมาตรฐานของเอียซา ปรากฏว่า มีนักบินบางส่วนไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว จึงได้สร้างความไม่พอใจ และประท้วงหยุดบิน จึงยกเลิกเที่ยวบินรวม 13 เที่ยวบิน โดยนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ จำกัด ได้แถลงข่าวขอโทษผู้โดยสารที่ตกค้างอยู่ที่สนามบิน หลังมีการยกเลิกเที่ยวบินรวม 13 เที่ยวบินดังกล่าว

อ้างอิง

  1. "'พาที สารสิน'ลาออกCEOนกแอร์ นั่งรองปธ.กก". ฐานเศรษฐกิจ. 14 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. http://www.thansettakij.com/content/309523
  3. "Nok Air Fleet Details and History". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ).
  4. "นกแอร์-วันทูโก บินเฉี่ยว! หวิดชนเละ-กลางเวหา". Krungthep Metro Travel (Thailand). 18 มกราคม 2550. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เผยเหตุระทึก นกแอร์-วันทูโกเกือบชนกลางอากาศ". รัฐสภาไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "นกจริงชนนกแอร์ เครื่องสะดุด บินกลับเช็คสภาพ". ไทยรัฐ. 29 ตุลาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Simon Hradecky (May 30, 2013). "Incident: NOK B738 at Chiang Rai on May 30th 2013, nose wheel detached". สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
  8. "ระทึก! เครื่องนกแอร์ล้อหลุดคาสนามบินแม่ฟ้าหลวง โชคดีผู้โดยสาร-ลูกเรือปลอดภัย". ผู้จัดการออนไลน์. 30 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "อีกแล้ว! นกแอร์ไถลออกนอกรันเวย์สนามบินตรัง". ไทยรัฐ. 6 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "เปิดสนามบินตรังคึกคัก'ชวน'ประเดิมนั่งเที่ยวแรก". คมชัดลึก. 9 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ผู้โดยสารนกแอร์โวย! ตกค้างสนามบินน่านกว่า 4 ชม.โดยไร้การดูแล". ผู้จัดการออนไลน์. 23 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ผู้โดยสารนกแอร์โวยเที่ยวบินจาก'น่าน'ดีเลย์กว่า 7 ชม". ไทยรัฐ. 23 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "เบื้องหลัง...เหตุเกิดที่น่าน : จองตั๋วบิน 4 โมงเย็นได้ขึ้นเครื่องตี 3 สายการบิน "นกแอร์"". ประชาชาติธุรกิจ. 23 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. Simon Hradecky (September 1, 2014). "Incident: Nok B738 at Nakhon Si Thammarat on Aug 31st 2014, bird strike". สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
  15. ""นกแอร์" ขอลงฉุกเฉินที่สุราษฎร์ฯ หลังบินชนนก". ผู้จัดการออนไลน์. 31 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ""แอร์เอเซีย"บินชนนกกระยาง ที่สนามบินเมืองคอน ผู้โดยสารโวย! เผยเป็นครั้งที่ 4 ในรอบปีแล้ว". มติชน. 2014-10-16. สืบค้นเมื่อ 2017-07-04. เกิดอุบัติเครื่องบินสายการบินทั้ง2สายการบินบินชนนกที่สนามบินนครศรีธรรมราชแล้วจำนวน 4 ครั้ง ในรอบปี 2557นี้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากบริเวณป่าพรุรอบๆสนามบินนครศรีธรรมราช มีฝูงนกกระยางจำนวนมากมาวางไข่ ซึ่งแม้ว่าทางเจ้าหน้าที่สนามบินเคยตามเก็บไข่นกกระยาง บริเวณป่าพรุรอบสนามบิน เดือนละ 200-300 ฟอง ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถาวรก็ยังมาเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินชนนกอีกเป็นครั้งที่ 4 ในรอบปี 2557
  17. "ระทึก! นกแอร์เบรกกะทันหันกลางรันเวย์ภูเก็ต โชคดีไร้เจ็บ". ไทยรัฐ. 28 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "ระทึก! นกแอร์ทำเสียว วนกลับดอนเมือง 2 รอบ ต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่". ไทยรัฐ. 1 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "นกแอร์ลำปางย้ายผู้โดยสารออกจากเครื่อง หลังประตูปิดล็อกไม่ได้". ข่าวสด. 6 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "ซ่อมเสร็จแล้ว ประตูนกแอร์ลำปาง-กทม. บินอีกครั้ง 1 ทุ่มคืนนี้". ไทยรัฐ. 6 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "'นกแอร์' ประตูขัดข้องที่น่าน คนวีไอพีเพียบ! ส่งลำใหม่รับกลับ กทม". ไทยรัฐ. 18 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "นกแอร์ระทึก! ห้องนักบินกระจกร้าว ก่อนเหินฟ้ามา กทม". ไทยรัฐ. 26 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "นกแอร์แจงขัดข้องทางเทคนิค ทำดีเลย์ที่หาดใหญ่ 6 ชม. (ชมคลิป)". ไทยรัฐ. 29 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "คืบนกแอร์ชนนก! เปลี่ยนลำใหม่นำผู้โดยสารกลับดอนเมือง". ไทยรัฐ. 30 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. Simon Hradecky (August 31, 2015). "Incident: NOK B738 at Nakhon Si Thammarat on Aug 30th 2015, bird strike". สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
  26. "นกแอร์กระจกร้าว ลงจอดฉุกเฉินที่ชุมพร". สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. 17 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "นกแอร์เที่ยวบินลำปาง-ดอนเมือง ยางฉีกกะทันหัน แก้ไขทันก่อนบินกลับ". ไทยรัฐ. 28 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. ""นกแอร์"อีกแล้ว จู่ๆเบรกกลางรันเวย์ดอนเมือง ผู้โดยสารผวาทั้งลำ". ข่าวสด. 3 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "นกแอร์เที่ยวบินน่านทำเสียว "ยางล้อเสียหาย" กัปตันบินกลับดอนเมืองเปลี่ยนลำใหม่". มติชน. 25 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. Simon Hradecky (August 26, 2016). "Incident: Nok DH8D at Bangkok on Aug 25th 2016, burst tyre on departure". สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
  31. "ระทึก-วิตก นกแอร์ขัดข้อง บินจากแม่สอด ไปกทม.ได้ 10 นาที ต้องรีบบินกลับ". มติชน. 5 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "รถบัสแอร์เอเชีย ชนนกแอร์". ไทยรัฐ. 2 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "ยังไม่ทันได้บิน! เที่ยวบินแม่สอด-ดอนเมืองสายการบินนกแอร์ขัดข้อง พนง.แจ้งผู้โดยสารให้ลงจากเครื่อง". ประชาชาติธุรกิจ. 12 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. Simon Hradecky (February 19, 2018). "Incident: Nok DH8D at Sakon Nakhon on Feb 18th 2018, engine shut down in flight". สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
  35. "นกแอร์ชุมพร-ดอนเมืองขัดข้อง 30ผู้โดยสารตกค้าง5ชม". เดลินิวส์. 1 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "ระบบปั่นไฟขัดข้อง นกแอร์แจงเครื่องไปอุดรฯดีเลย์ ผู้โดยสารโวยร้อน 2 ชม". ไทยรัฐ. 7 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "ทำป่วน! "นกแอร์" ขัดข้องจอดตายกลางรันเวย์บุรีรัมย์ เที่ยวบินอื่นขึ้นลงไม่ได้ เครื่องบินจากจีนต้องเลื่อน". ผู้จัดการออนไลน์. 2 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "สนามบินบุรีรัมย์ เปิดบินปกติ หลังนกแอร์ขัดข้องจอดขวางรันเวย์นาน 13 ชม". ไทยรัฐ. 3 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. ""นกแอร์"ขอโทษเที่ยวบินอุบลฯ ล้อยางพัง". เดลินิวส์. 15 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. "นกแอร์ยางระเบิด!! โวยแผนเดินทางล่มหลังเครื่องดีเลย์กว่า 5 ชม.ทำผู้โดยสารตกค้างสนามบินอุบลฯ เพียบ แจกคูปอง 100 บ.ปลอบใจ". มติชน. 15 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น