ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยพะเยา"

พิกัด: 19°01′43″N 99°53′49″E / 19.028712°N 99.896904°E / 19.028712; 99.896904
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 489: บรรทัด 489:
* [[ศรีเรศ โกฎคำลือ|นายศรีเรศ โกฎคำลือ]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] [[พรรคเพื่อไทย ]]
* [[ศรีเรศ โกฎคำลือ|นายศรีเรศ โกฎคำลือ]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] [[พรรคเพื่อไทย ]]
* [[ธนพร ศรีวิราช|นางสาวธนพร ศรีวิราช]] (นิสิตหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (คู่ขนาน)) [[นางสาวไทย]] ปี 2559 และรอง[[มิสทีนไทยแลนด์]] ปี 2012 (พ.ศ. 2555)
* [[ธนพร ศรีวิราช|นางสาวธนพร ศรีวิราช]] (นิสิตหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (คู่ขนาน)) [[นางสาวไทย]] ปี 2559 และรอง[[มิสทีนไทยแลนด์]] ปี 2012 (พ.ศ. 2555)
*วง YEN-TED สังกัด Macrowave


== แผนที่ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ==
== แผนที่ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:21, 16 มีนาคม 2562

มหาวิทยาลัยพะเยา
ไฟล์:UPLogo.png
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเดิมมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
คติพจน์ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน
คติพจน์อังกฤษ
Wisdom for Community Empowerment
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา)
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา)
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (มหาวิทยาลัยพะเยา)
งบประมาณ1,397,954,900 บาท (ปีงบประมาณ 2562)[1]
เจ้าหน้าที่ดูแลสถาบัน1,893 คน (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2561)[2][3]
นายกสภาฯศ.(เกียรติคุณ) คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
อธิการบดีรศ. ดร. สุภกร พงศบางโพธิ์
ผู้ศึกษา18,691 คน (ปีการศึกษา 2561)[4]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตหลัก
19 หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา
, ,
19°01′43″N 99°53′49″E / 19.028712°N 99.896904°E / 19.028712; 99.896904
วิทยาเขตวิทยาเขตเชียงราย
333 หมู่ 4 ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงราย บ้านฝั่งหมิ่น ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
สี███ สีม่วง - ███ สีทอง
เว็บไซต์www.up.ac.th
ไฟล์:มหาวิทยาลัยพะเยา1.PNG

มหาวิทยาลัยพะเยา (อังกฤษ: University of Phayao; ชื่อย่อ: มพ / UP) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ตั้งอยู่ในจังหวัดพะเยา เดิมเป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร[5] ต่อมา มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[6] จึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยพะเยาได้แยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศอย่างเต็มรูปแบบ

ประวัติ

ไฟล์:King Nareuan Monument at UP.jpg
พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยพะเยา

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ขยายเขตการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคได้ใน 11 จังหวัด คือ จังหวัดหนองคาย พะเยา จันทบุรี แพร่ สุราษฎร์ธานี ตรัง สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร และปราจีนบุรี ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ[7] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงได้จัดทำโครงการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค (จังหวัดพะเยา) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ขึ้นเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นอาคารเรียนชั่วคราว

ต่อมาในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา"[8] และได้ย้ายมาจัดการศึกษา ณ สถานที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2542

ต่อมาในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 13 (4/2550) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา" เพื่อเตรียมยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคตต่อไป[9] หลังจากนั้นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552[10][11]

ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้น และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้แยกตัวออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[12]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 5,700 ไร่

การบริหารงาน

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย
ลำดับ รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556 [13]
29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 [14] (วาระที่ 2)
2 มีนาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน [15] (วาระที่ 3)

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นคำนำหน้านามในขณะนั้น

ทำเนียบอธิการบดี

ทำเนียบอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา
ลำดับ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เภสัชกร ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี 20 กันยายน พ.ศ. 2553 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 [16]
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 [17]
2
รองศาสตราจารย์ ดร. สุภกร พงศบางโพธิ์ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (รักษาการแทน)[18]
25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน[19]

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามในขณะนั้น

การจัดการศึกษา

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยพะเยา ประกอบไปด้วยหน่วยงานวิชาการที่ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 16 คณะ 2 วิทยาลัย 1 โรงเรียน และ 1 วิทยาเขต ดังต่อไปนี้

คณะกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยาเขต

  • มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาเขตเชียงราย

โรงเรียนสาธิต

หลักสูตร

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

สำนักงานอธิการบดี

  • กองกลาง
  • กองกิจการนิสิต
  • กองบริการการศึกษา
  • กองแผนงาน
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองคลัง
  • กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา
  • กองอาคารสถานที่

ศูนย์/โครงการ/หน่วยงานอื่น ๆ

  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  • ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ศูนย์บริการและสนับสนุนนิสิตพิการ
  • หน่วยตรวจสอบภายใน
  • โครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต)
  • โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
  • สภาพนักงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์
  • ศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง
  • อุทยานวิทยาศาสตร์
  • หน่วยบริหารความเสี่ยง
  • ศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • หน่วยปฏิบัติการวิชาชีพการโรงแรมและการท่องเที่ยว
  • หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศูนย์วิจัยพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อชุมชน

โรงพยาบาล/คลินิก

การวิจัย

มหาวิทยาลัยพะเยา มุ่งส่งเสริมการวิจัย และพัฒนา เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมที่มีรูปแบบซับซ้อนขึ้น เช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่ใช้ ทุนปัญญามากกว่าทุนแรงงาน หรือวัตถุดิบ การวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การฟื้นฟู และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การวิจัยเชิงอุตสาหกรรม การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุข ตลอดจนการวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม เป็นต้น

โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการวิจัยพื้นฐาน โดยควบคู่ไปกับการวิจัย ประยุกต์ในสาขาต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล และมี คุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริงในระยะยาว โดยจะต้องสร้างผู้นำในการวิจัยให้สามารถดำเนินการในลักษณะหุ้นส่วน หรือการสร้าง เครือข่ายกับสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักวิจัย ให้นำไปสู่ ความเป็นสากลได้เร็วขึ้น

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
UI Green (City Center) (2018) 15(284)
Webometrics (2019) 35(4504)

การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยพะเยาได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 15 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 284 ของโลก[20] อันดับที่ ... ของโลกในการจัดอันดับประเภทมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตชนบท

การจัดอันดับโดย Webometrics

การจัดอันดับโดย Webometrics ประจำปี พ.ศ. 2562 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วย Search Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยพะเยาได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 35 ของประเทศไทย 1706 ของทวีปเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 4504 ของโลก[21]

พื้นที่มหาวิทยาลัย

ไฟล์:Phaya Ngam Muang Auditorium UP.jpg
หอประชุมพญางำเมือง
ไฟล์:OfficeofPresidentUP.jpg
อาคารสำนักงานอธิการบดี
ไฟล์:OfficeofPresidentUP2010.jpg
อาคารสำนักงานอธิการบดี (ตึกแหลม) ก่อนมีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2553
ไฟล์:CLM UP.jpg
อาคารศูนย์บรรสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
ไฟล์:Building Science and Technology UP.jpg
กลุ่มอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไฟล์:PKY Building UP.jpg
อาคารเรียนรวมหลังเก่าและกลุ่มอาคารศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์
ไฟล์:ทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยา.jpg
ทางเข้าด้านหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา

พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยพะเยา มีพื้นที่การศึกษา 3 แห่งดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่หลักในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย บนเนื้อที่ประมาณ 5,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองพะเยาไปทางทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 19 หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยก่อนหน้านี้ได้ใช้อาคารของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นการชั่วคราว เมื่อการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ได้แล้วเสร็จ จึงได้ย้ายมาสถานที่ตั้งถาวรและเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา
  2. มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาเขตเชียงราย เป็นพื้นที่จัดการศึกษาในจังหวัดเชียงราย บริเวณริมแม่น้ำกก บนเนื้อที่ 25 ไร่ ตั้งอยู่ ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงราย บ้านฝั่งหมิ่น เลขที่ 333 หมู่ 4 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  3. วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มีสถานะเป็นหน่วยงานวิชาการระดับคณะ ในสังกัดสำนักอธิการบดี โดยมีที่ตั้ง ณ เลขที่ 55 ชั้น 8 อาคารเวฟเพลส (อาคารเชื่อม BTS สถานีเพลินจิต) กรุงเทพมหานคร

สถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัย

  • หอประชุมพญางำเมือง ได้รับการออกแบบโดยจุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย รูปทรงของอาคารเป็นแนวศิลปะล้านนาร่วมสมัย แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ห้องประชุมขนาด 2,800 ที่นั่ง ลานอเนกประสงค์ และห้องสำนักงาน ปัจจุบันใช้สำหรับพระราชทานปริญญาบัตร ให้กับผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัย
  • อาคารสำนักงานอธิการบดี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ลักษณะอาคารแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น มียอดแหลม พื้นที่ใช้สอยประมาณ 8,600 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยห้องทำงานผู้บริหาร ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ ห้องประชุมและห้องสมุด เมื่อเริ่มเปิดใช้อาคาร มหาวิทยาลัยยังไม่มีหอพักนิสิตจึงแบ่งพื้นที่บางส่วนบริเวณชั้น 2 ทำเป็นหอพักนิสิต ต่อมาได้ทำการตัดยอดแหลมออกเนื่องจากถูกไฟไหม้ในปี พ.ศ. 2552 และเพื่อให้เข้ากับลักษณะของหอประชุมพญางำเมืองซึ่งเป็นอาคารที่อยู่บริเวณเดียวกัน ปัจจุบันเป็นห้องทำงานของผู้บริหาร ห้องประชุมบวรรัตนประสิทธิ์ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ประกอบไปด้วย กองกลาง กองบริการการศึกษา กองแผนงาน กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา กองอาคารสถานที่ สำนักงานสภามหาวิทยาลัย และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อาคารเรียนรวมหลังเก่า (ภูกามยาว; PKY) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 ลักษณะอาคารแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 18,400 ตารางเมตร เมื่อย้ายการเรียนการสอนจากโรงเรียนพะเยาพิทยาคมมาอยู่ที่อาคารเรียนรวมยังไม่มีหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยจึงแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งทำการเรียนการสอน หอพักนิสิต โรงอาหาร ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องทำงานของอาจารย์ ห้องสมุด หลังจากที่ปรับปรุงอาคารสำนักงานอธิการบดีแล้วเสร็จ จึงย้ายห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องสมุด ไปอยู่ ณ สำนักงานอธิการบดี ปัจจุบันอาคารเรียนรวมได้ปรับปรุงใหม่ให้เป็นห้องเรียนและสำนักงานของ 3 คณะและ 1 วิทยาลัย ได้แก่ 1. คณะนิติศาสตร์ 2. คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3. คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ 4. วิทยาลัยการศึกษา
  • อาคารเรียนรวมหลังใหม่ (CE) และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นอาคาร 3 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด 11,213 ตารางเมตร ประกอบไปด้วย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีที่นั่งอ่านทั้งหมด 600 ที่นั่ง ห้องเรียน ห้องประชุม โรงอาหารและเป็นที่ตั้งของธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยพะเยา
  • กลุ่มอาคารหอพักนิสิต เนื่องจากมหาวิทยาลัยพะเยามีนโยบายรับนิสิตพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในเขตพื้นที่ให้บริการและนอกพื้นที่ให้บริการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยควรมีพอพักให้นิสิตที่ไม่สะดวกในเรื่องการเดินทางมาศึกษาโดยมหาวิทยาลัยมีหอพักไว้ให้บริการนิสิตภายในมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย หอพักของมหาวิทยาลัยเอง (หอพัก มพ.) และหอพักในกำกับมหาวิทยาลัย (หอพัก UP DORM) รองรับนิสิตได้มากกว่า 5,000 คน ได้แก่
    • หอพักนิสิต UP DORM (University of Phayao Dormitory; UP DORM) จำนวน 32 หลัง
    • หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา (หอ มพ. หรือ หอเขียว) จำนวน 18 หลัง
  • ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งจำลองรูปแบบจาก พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าทีเป็นที่ปรึกษาในการสร้างพระบรมรูป เป็นรูปแบบในท่าประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคาร หลั่งทักษิโณทกประกาศอิสรภาพ มีขนาดขนาด 2.5 เท่าของพระองค์จริง ความสูงของพระบรมรูป จากพื้นแท่นประดิษฐานถึงยอดพระเศียร 4.40 เมตร น้ำหนักประมาณ 4,000 กิโลกรัม ทำด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งได้มีพิธีเททองหล่อองค์พระบรมรูปเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และได้นำขึ้นประดิษฐานเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
  • ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นซุ้มประตูสีขาวขนาดใหญ่ซุ้มประตูด้านซ้ายมีคำว่า UNIVERSITY OF PHAYAO และ Wisdom for Community Empowerment ประดับอยู่ ด้านขวามีคำว่า มหาวิทยาลัยพะเยา และ ปญฺญาเสฏฺฐชีวี นาม ดำรงชีวิตด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด ประดับอยู่ ตรงกลางระหว่างซุ้มประตูมีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยทำด้วยปูนปั้น
  • ลานพระพุทธภุชคารักษ์ เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธภุชคารักษ์ พระพุทธรูประจำมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนเนินเขาด้านหลังอาคารหอประชุมพญางำเมืองถัดจากอ่างหลวง
  • อาคารเวียงพะเยา
  • ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
  • อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กลุ่มอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มอาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • อาคารสงวนเสริมศรี
  • อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธัมมปัญโญ)
  • ประตูศรีโคมคำ
  • สวนรักและสวนแฟนฉัน
  • อ่างหลวง

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

ไฟล์:รถเมล์ม่วง.jpg
รถสวัสดิการ (รถเมล์ม่วง) มหาวิทยาลัยพะเยา
ไฟล์:HosUp.JPG
ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา
ไฟล์:Phra Phuttha Kusharak's pavilion.jpg
หอพระพุทธภุชคารักษ์ ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา

มหาวิทยาลัยพะเยา มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อบริการนิสิตภายในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดังนี้

การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยจัดรถบัสโดยสารพลังงาน NGV ฟรี เดินทางโดยรอบมหาวิทยาลัย รถออกระยะห่างประมาณ 5 นาทีต่อเที่ยว บริการตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 22.00 น. ไม่มีวันหยุด โดยมีจุดรับส่งเส้นทางตั้งแต่ หน้ามหาวิทยาลัยถึงจุดเปลี่ยนรถ (บริเวณอาคารเรียนรวมหลังเก่าหรือตึกภูกามยาว PKY) และจากจุดเปลี่ยนรถจนถึงหอพักนิสิตในกำกับมหาวิทยาลัย (UP DORM)

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ร้านมินิมาร์ท โรงอาหาร พื้นที่สันทนาการและการพักผ่อน พื้นที่ให้บริการ WIFI ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย
  • 7-Eleven (เซเว่น อีเลฟเว่น) สาขามหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขามหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยพะเยา (อาคารเรียนรวมหลังเก่าหรือตึกภูกามยาว PKY)
  • ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยพะเยา (อาคารเรียนรวมหลังใหม่หรือตึก CE)
  • ไปรษณีย์ไทย สาขามหาวิทยาลัยพะเยา (อาคารสำนักงานอธิการบดี)
  • ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยา (อาคารเรียนรวมหลังใหม่หรือตึก CE)
  • ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา (กำลังสร้าง)
  • ห้องบริการคอมพิวเตอร์ (อาคารเรียนรวมหลังเก่าหรือตึกภูกามยาว PKY)
  • อาคารสงวนเสริมศรี (อาคารกิจกรรมฟ้ามุ่ย/อาคารกีฬาในร่ม)
  • สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยพะเยา
  • สระว่ายน้ำมหาวิทยาลัยพะเยา
  • สนามวอลเลย์บอล
  • สนามวอลเลย์บอลชายหาด
  • สนามเทนนิส
  • สนามแบตมินตัน
  • สนามฟุตซอล
  • สนามแบตมินตัน
  • สนามฟุตบอล
  • สนามบาสเกตบอล
  • สนามเปตอง

กิจกรรมนิสิต

มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้นิสิตได้ร่วมระหว่างศึกษาเพื่อเสริมทักษะการอยู่ร่วมในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ชมรม ชุมนุม กิจกรรมสาขา งานกีฬาต่าง ๆ วงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยพะเยา โดยแบ่งออกเป็น กิจกรรมส่วนกลางโดย องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา (อ.มพ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ กิจกรรมส่วนของคณะโดย สโมสรนิสิตแต่ละคณะทั้งหมด 15 คณะ 2 วิทยาลัย กิจกรรมเลือกเสรี คือชมรมต่าง ๆ และมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียว ที่มีการจัดกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า กิจกรรมเวียง ซึ่งมีบางอย่างคล้ายกับรูปแบบในระบบคอลเลจของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยทั้งนี้กิจกรรมเวียงแบ่งออกเป็น 6 เวียง คือ

  • เวียงกาหลวง
  • เวียงจอมทอง
  • เวียงบัว
  • เวียงเชียงแรง
  • เวียงน้ำเต้า
  • เวียงลอ

ทั้งนี้เวียงคือระบบการปกครองหนึ่งซึ่งครั้งอดีต อาณาจักรภูกามยาว (พะเยา) ได้ปกคตรองในระบอบนี้ และทั้งนี้ยังมี สภานิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา (ส.มพ.) เป็นผู้ดูแล รักษาสิทธิ พิทักษ์ผลประโยชน์ และชีวิตความเป็นอยู่ของนิสิตภายในมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่งด้วย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ไฟล์:1stGraduationCeremonyUP.jpg
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยาครั้งแรก ประจำปีการศึกษา 2554 - 2555 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพิธีต่างๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยพะเยา และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นประจำทุกปีนับแต่แรกเริ่มก่อตั้งจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ณ หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา

ครุยวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่ง

ไฟล์:FabricBarUP.jpg
แถบผ้าทอลายต่ำก้าวประดับชุดครุยมหาวิทยาลัยพะเยา

ครุย มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นชุดพิธีการสำหรับสำหรับใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แบ่งเป็นสองประเทภคือ ครุยวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง[22] ดังนี้

  • ครุยดุษฎีบัณฑิต
    • เสื้อครุย ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้า ประมาณ 15 เซนติเมตร หลังและไหล่จีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอดความยาว มีแถบผ้าทอลายไทลื้อประดับบนชุดครุย เรียกว่า "ผ้าทอลายต่ำก้าว" ทำด้วยผ้าฝ้ายสีม่วงสอดดิ้นสีทอง กว้าง 10 เซนติเมตร เย็บติดยาวตลอดสาบหน้าทั้งสองข้าง ขลิบที่ขอบตลอดความยาวของสาบทั้งสองด้านด้วยเส้นไหมสีทอง มีดิ้นถักสีประจำคณะหรือวิทยาลัยขนาด 3 มิลลิเมตร ติดที่รอบคอ ปล่อยปลายห้อยยาว 14 เซนติเมตรโดยมีพู่ที่ปลาย แขนเสื้อเป็นแขนพวงยาวระดับข้อมือ ตอนกลางแขนทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่สีม่วง กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร พับปลายแถบเป็นมุมแหลมขลิบรอบแถบด้วยไหมเกลียวสีทอง จำนวนสามแถบติดเรียงกัน ระยะห่าง 5 เซนติเมตร ติดเข็มวิทยฐานะตรงกลางสาบหน้าระดับอกทั้งสองด้าน
    • เข็มวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยพะเยาสำหรับผู้ได้ปริญญามีลักษณะเป็นรูปวงรีทำด้วยโลหะ สีทอง ความยาว 5 เซนติเมตร มีตรามหาวิทยาลัยดุนนูนสีทองลงยาสีม่วง สูง 3 เซนติเมตร อยู่ตรงกลาง ด้านหลังมีชื่อย่อปริญญา
    • ผ้าคล้องคอ เป็นผ้าคล้องคอแบบใบโพธิ์ ยาว 120 เซนติเมตร ด้านนอกทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ มีแถบกำมะหยี่สีม่วง กว้าง 8 เซนติเมตร ทาบรอบคอ ด้านในทำด้วยกำมะหยี่สีม่วงและให้แลบออกมาด้านนอก ขอบนอกของผ้าคล้องคอด้านนอกขลิบด้วยแถบทำด้วยดิ้นทอง กว้าง 1 เซนติเมตร
    • หมวก เป็นหมวกอ่อนแปดเหลี่ยมทรงฝาชี ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีดำเส้นผ่าศูนย์กลางเมื่อพับแบน 25 เซนติเมตร มีปีกโดยรอบกว้างพอสมควร มีพู่ทำด้วยดิ้นสีทองยาว 22 เซนติเมตร ติดด้วยกระดุมดิ้นทองหนึ่งเม็ดตรงกลางหมวกให้ปลายพู่ห้อยพ้นปีกหมวก
  • ครุยมหาบัณฑิต มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิตแต่แขนเสื้อกว้าง ตอนกลางแขนทั้งสองข้างไม่มีแถบกำมะหยี่ ปลายแขนทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่สีม่วงกว้าง 5 เซนติเมตร ขลิบด้วยไหมสีทองโดยรอบ ประกอบด้วยหมวกแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 25 เซนติเมตร ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีดำ มีพู่ทำด้วยดิ้น สีดำ ยาว 22 เซนติเมตร ติดด้วยกระดุมห่อผ้าสีดำหนึ่งเม็ดตรงกลางหมวกให้ปลายพู่ห้อยพ้นปีกหมวก
  • ครุยบัณฑิต มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต ไม่มีเส้นไหมสีทองที่ขอบสาบด้านหน้าทั้งสองด้าน
  • ครุยประจำตำแหน่ง
    • นายกสภามหาวิทยาลัย
      • เสื้อคลุม ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าประมาณ 15 เซนติเมตร หลังและไหล่จีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบผ้าทอลายไทลื้อประดับบนชุดครุย เรียกว่า "ผ้าทอลายต่ำก้าว" ทำด้วยผ้าฝ้ายสีม่วงสอดดิ้นสีทอง กว้าง 10 เซนติเมตร เย็บติดยาวตลอดสาบหน้าทั้งสองข้าง มีเส้นไหมสีทองขลิบที่ขอบตลอดความยาวของสาบทั้งสองด้าน มีไหมถักสีทองขนาด 3 มิลลิเมตร ติดที่รอบคอ ปล่อยปลายห้อยยาว 14 เซนติเมตร โดยมีพู่ที่ปลาย แขนเสื้อเป็นแขนพวงยาวระดับข้อมือ
      • ผ้าคล้องคอ เป็นผ้าคล้องคอแบบใบโพธิ์ ยาว 120 เซนติเมตร ด้านนอกทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำ มีแถบกำมะหยี่สีม่วงกว้าง 10 เซนติเมตร ทาบรอบคอ ด้านในทำด้วยกำมะหยี่สีม่วงและให้แลบออกมาด้านนอก ขอบนอกของผ้าคล้องคอด้านนอกขลิบด้วยแถบทำด้วยดิ้นทอง กว้าง 1.5 เซนติเมตร
      • สังวาล ทำด้วยโลหะสีทองรูปตรามหาวิทยาลัยขนาดเล็กร้อยด้วยสร้อยสีทอง จำนวน 2 เส้น คล้องทางด้านหน้าระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง
      • เข็มตรามหาวิทยาลัย ลักษณะเช่นเดียวกับเข็มวิทยฐานะ แต่ไม่มีอักษรย่อปริญญาที่ด้านหลัง ใช้ติดบนสาบหน้าระดับอกทั้งสองด้าน ใต้ระนาบของสังวาล
      • หมวก เป็นหมวกอ่อนแปดเหลี่ยมทรงฝาชี ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีดำเส้นผ่าศูนย์กลางเมื่อพับแบน 25 เซนติเมตร มีปีกกว้างพอสมควรโดยรอบ มีพู่ทำด้วยดิ้นสีทองยาว 22 เซนติเมตร ติดด้วยกระดุมดิ้นทองหนึ่งเม็ดตรงกลางหมวกให้ปลายพู่ห้อยพ้นปีกหมวก
    • กรรมการสภามหาวิทยาลัย มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย ไม่มีสังวาล
    • อธิการบดี มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย มีสังวาล จำนวน 1 เส้น
    • คณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย มีลักษณะเช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย

ปริญญากิตติมศักดิ์

พระบรมวงศานุวงศ์ที่มหาวิทยาลัยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ปริญญากิตติมศักดิ์

พระบรมวงศานุวงศ์ที่มหาวิทยาลัยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญากิตติมศักดิ์
ปีการศึกษา สาขาวิชา รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ที่มหาวิทยาลัยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
2554
1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
2.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2556
1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

บุคคลที่มหาวิทยาลัยถวาย/อนุมัติ ปริญญากิตติมศักดิ์

บุคคลที่มหาวิทยาลัยถวาย/อนุมัติ ปริญญากิตติมศักดิ์
ปีการศึกษา สาขาวิชา รายพระนามและรายนามบุคคลที่มหาวิทยาลัยถวาย/อนุมัติ ปริญญากิตติมศักดิ์
2554
1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)
2.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)
2556
1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ เภสัชกรหญิง ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร
2.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา นายสมประสงค์ มั่งอะนะ
2557
1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี
2.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ นายวีระยุทธ ปั้นน่วม
3.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาแพทย์แผนจีน ศาสตราจารย์หวาง เซิ่ง เหลียง
2558
1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
2.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาพัฒนาสังคม ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ
3.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข
2559
1. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร)

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ

ระดับปริญญาตรี

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นไปตามระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบคัดเลือกรวม (Thai university Central Admission System: TCAS) โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น 4 รอบดังนี้

  1. รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio
    1. รอบที่ 1/1 มีโครงการที่เปิดรับสมัครดังนี้
      1. โครงการบ่มเพาะและพัฒนาอาชีพด้าน ICT (รับเฉพาะโรงเรียนที่ทำความร่วมมือ กับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
      2. โครงการทายาทธุรกิจอาหารและสินค้าเกษตร
      3. โครงการผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ด้านศิลปกรรมศาสตร์
      4. โครงการส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์การกีฬารุ่นใหม
      5. โครงการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (รับเฉพาะนักเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน)
    2. รอบที่ 1/2 มีโครงการที่เปิดรับสมัครดังนี้
      1. โครงการรับตรง 10 % ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 รับเฉพาะพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยออกแนะแนวสัญจรหรือทำความร่วมมือ (MOU)
  2. รอบที่ 2 การรับแบบโควตา ที่มีการจัดสอบข้อเขียน มีโครงการที่เปิดรับสมัครดังนี้
    1. ระบบรับตรง 17 จังหวัดภาคเหนือ (รับเฉพาะนักเรียนที่กำลังศึกษาในเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ)
    2. โครงการรับนิสิตหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (รับเฉพาะนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน)
    3. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โควตาแหล่งฝึก (รับเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดเชียงราย)
  3. รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
  4. รอบที่ 4 การรับแบบ Admissions
  5. รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ (มหาวิทยาลัยพะเยาไม่มีการเปิดรับสมัครในรอบนี้)

บัณฑิตศึกษา

ประเพณีที่และกิจกรรมที่สำคัญภายในรั้วมหาวิทยาลัย

ไฟล์:P19b6orda91l98i6h4811j5e70c9.1.jpg
First Step Camp
ไฟล์:Worship King Naresuan UP 2017.jpg
พิธีบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ไฟล์:UP .jpg
ประเพณีเดินเข้ามอ
  • First Step Camp (FSC)

เป็นกิจกรรมแรกของการก้าวสู่มหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่หนึ่ง โดยจะมีการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ กิจกรรมการต้อนรับและแสดงของนิสิตรุ่นพี่ โดยมีองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา(อ.มพ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ร่วมกับสภานิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา (ส.มพ.) และนิสิตรุ่นพี่จากทั้งหมด 15 คณะ 2 วิทยาลัย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน ได้มีการงดเว้นกิจกรรมดังกล่าวอันเนื่องด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ

  • กราบคุรุปู่จา ครูบาอาจารย์เจ้า

พิธีไหว้ครูของมหาวิทยาลัย จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ของทุกปี เพื่อให้นิสิตได้ระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ นอกจากนี่ยังมีกิจกกรรมการมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิต และมอบรางวัลนิสิตยอดเยี่ยมและดีเด่นในสาขาต่างๆ เพื่อเป็นกำลังใจในการศึกษาอีกด้วย

  • วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยพะเยา

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถือเป็นวันมหามงคล เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถานปนามหาวิทยาลัยพะเยา โดยยกฐานะขค้นจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยาในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และให้มีผลในวันถัดไป ดังนี้จึงถือว่า วันที่ 17 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีกิจกรรมและการแสดงหลากหลายที่ยิ่งใหญ่ในวันดังกล่าวทุกปี

  • พิธีบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและประเพณีเดินเข้ามอ

พิธีบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช "ศักดิ์ศรี ศักดิ์สิทธิ์ สัมฤทธิ์พระนาม" เป็นกิจกรรมที่นับว่าเป็นกิจกรรมที่นิสิตใหม่ทุกคน ต้องได้เข้าร่วมและต่างภาคภูมิใจ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงคุณูปการต่อแผ่นดินไทย และระลึกถึงมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้ง ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยพะเยาในปัจจุบัน และกิจกรรมเดินเข้ามหาวิทยาลัยนี้เป็นกิจกรรมที่สานต่อประเพณีอันดีงาม โดยการนำชื่อของเวียงแต่โบราณของจังหวัดพะเยามาใช้เป็นชื่อของกลุ่มนิสิตที่ดำเนินกิจกรรม เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนในท้องถิ่นจังหวัดพะเยา นำเอาอัตลักษณ์มาประยุกต์เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ก่อเกิดประโยชน์ต่อไป ซึ่งแต่ละเวียงก็จะมีรูปแบบการจัดขบวนที่แตกต่างกันตามปรัชญาของเวียง โดยเน้นศิลปวัฒนธรรมทางล้านนา โดยมีงาน แสง สี เสียง สุดอลังการ

  • Freshmen Day & Freshmen Night Party

กิจกรรมของน้องใหม่ ที่จัดโดยองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา (อ.มพ.) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงกลางวัน จะเป็นการแข่งขันกีฬาภายในโดยจัดแข่งขัน ผู้นำเชียร์ สแตนด์เชียร์ กีฬาชนิดต่างๆ จากทั้ง 15 คณะและ 2 วิทยาลัย และในช่วงกลางคืน จะเป็นกิจกรรมประกวดดาวเดือนของมหาวิทยาลัย โดยภายในมีกิจกรรมการแสดงของผู้เข้าประกวดดาวเดือนจากทุกคณะทุกวิทยาลัย และมีการแสดงของศิลปิน ดารา โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานบริษัทเอกชนภายนอก

การเดินทาง

การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย

การเกิดทางโดยรถยนต์

  1. เส้นทางกรุงเทพมหานคร - พะเยา (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - ลำปาง - พะเยา) ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ผ่านจังหวดพระนครศรีอยุทธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองคลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่จังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 730 กิโลเมตร
  2. เส้นทางกรุงเทพมหานคร - พะเยา (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ - พิษณุโลก - อุตรดิตถ์ - แพร่ - พะเยา) ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ผ่านจังหวดพระนครศรีอยุทธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษรุโลก แยกซ้ายเข้าสู่งทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 690 กิโลเมตร

การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย

การเดินทางภายในมหาวิทยาลัยพะเยา เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้นำรถจักรยานยนต์เข้าไปภายในมหาวิทยาลัยได้ จึงสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลหรือเดินทางด้วยรถโดยสารที่มหาวิทยาจัดไว้ให้ ซึ่งมี 2 สายการเดินรถได้แก่

  1. สายที่ 1 สายหน้ามอ เป็นสายการเดินรถจากหน้ามหาวิทยาลัยไปยังอาคารเรียนรวมหลังเก่า แบ่งออกเป็น 2 สายย่อย
    1. สายย่อยที่ 1 (UP เลขคี่)
      • ขาเข้า จากหน้าหมาวิทยาลัย - โรงพยาบาลทันตกรรม - ลานเรือนเอื่องคำ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - หอประชุมพญางำเมือง - อาคารสำนักงานอธิการบดี - อาคารเรียนรวม (PKY)
      • ขาออก จากอาคารเรียนรวม (PKY) - อาคารเรียนรวม CE - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ลานเรือนเอื่องคำ - โรงพยาบาลทันตกรรม - หน้าหมาวิทยาลัย
    2. สายย่อยที่ 2 (UP เลขคู่)
      • ขาเข้า จากหน้าหมาวิทยาลัย - โรงพยาบาลทันตกรรม - ลานเรือนเอื่องคำ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - หอประชุมพญางำเมือง - อาคารสำนักงานอธิการบดี - อาคารเรียนรวม (PKY)
      • ขาออก จากอาคารเรียนรวม (PKY) - อาคารเรียนรวม CE - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - ลานเรือนเอื่องคำ - โรงพยาบาลทันตกรรม - หน้าหมาวิทยาลัย
  2. สายที่ 2 สายหอพัก/โรงเรียนสาธิต มพ. จากอาคารเรียนรวม (PKY) - ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา - UP DORM - สนามกีฬา/โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา

เส้นทางการเดินรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยพะเยา

แผนที่ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา

แผนที่ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๕ ตอน ๗๑ ก, หน้า ๑, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๑
  2. มหาวิทยาลัยพะเยา, กองการเจ้าหน้าที่, สรุปอัตรากำลังบุคลากร สายวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เดือน พฤษภาคม 2561
  3. มหาวิทยาลัยพะเยา, กองการเจ้าหน้าที่, สรุปอัตรากำลังบุคลากร สายบริการ มหาวิทยาลัยพะเยา เดือน พฤษภาคม 2561
  4. มหาวิทยาลัยพะเยา, ระบบบริการการศึกษา, ข้อมูลจำนวนนิสิตปัจจุบัน, 29 มิถุนายน 2561
  5. ประวัติมหาวิทยาลัยพะเยา
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553, เล่ม 127, ตอนที่ 44 ก, หน้า 4, วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
  7. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขออนุมัติขยายวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยไปในส่วนภูมิภาค, 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538, สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  8. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, เรื่อง ขออนุมัติการขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคอย่างมีคุณภาพ, 8 ตุลาคม พ.ศ. 2539, สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  9. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพะเยา, ประวัติมหาวิทยาลัย, สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  10. มติชนออนไลน์, ส.ส.พท.ดี๊ด๊าครม.ไฟเขียวตั้งม.พะเยาเตรียมฉลองใหญ่ ยกความดี"ลดาวัลลิ์"ผู้ผลักดัน
  11. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ...., 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552, สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๔๔ ก, หน้า ๔, ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยพะเยา, เล่ม 127, ตอนพิเศษ 138 ง, หน้า 31, วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู่ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยพะเยา, เล่ม 130, ตอนพิเศษ 141 ง, หน้า 9, วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู่ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยพะเยา, เล่ม 134, ตอนพิเศษ 72 ง, หน้า 3, วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา , เล่ม 127, ตอนพิเศษ 122 ง, หน้า 22, วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553.
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, เล่ม 131, ตอนพิเศษ 231 ง, หน้า 4, วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 .
  18. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 3179/2561 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑ ง. หน้า ๓, ๒ มกราคม ๒๕๖๒
  20. http://greenmetric.ui.ac.id/overall-ranking-2018/ Retrieved December 24, 2018
  21. http://www.webometrics.info/en/detalles/up.ac.th , Retrieved Jan 1, 2019
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง ปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า 68 เล่ม 128 ตอนพิเศษ 61 ง, 1 มิถุนายน 2554

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น