ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคคุดทะราด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
}}
}}


'''คุดทะราด''' ({{lang-en|yaws}}) เป็น[[โรคติดต่อ]]เรื้อรัง มีอาการเป็นแผลตามผิวหนัง พบได้ทั่วร่างกาย เป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากเชื้อบัคเตรีที่มีชื่อว่า ''Treponema pallidum pertenue'' ระยะฟักตัวนานประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน
'''คุดทะราด''' ({{lang-en|yaws}}) เป็น[[โรคติดต่อ]]เรื้อรัง มีอาการเป็นแผลตามผิวหนัง พบได้ทั่วร่างกาย เป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ''Treponema pallidum pertenue'' ระยะฟักตัวนานประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน


== ลักษณะอาการ ==
== ลักษณะอาการ ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 03:16, 15 มีนาคม 2562

คุดทะราด
ตุ่มที่ข้อศอก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum pertenue
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A66
ICD-9102
MedlinePlus001341

คุดทะราด (อังกฤษ: yaws) เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง มีอาการเป็นแผลตามผิวหนัง พบได้ทั่วร่างกาย เป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Treponema pallidum pertenue ระยะฟักตัวนานประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

ลักษณะอาการ[แก้]

ภายหลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลแล้วประมาณ 3-6 สัปดาห์ จะเกิดโรคระยะแรกคือ มีตุ่มนูนคล้ายหูดที่ผิวหนัง ตุ่มนี้เรียกว่า ตุ่มแม่ (mother yaw) ต่อมาอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ตุ่มนี้จะค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นตุ่มนูนแดง หรือเป็นแผล หรือโตคล้ายดอกกะหล่ำปลี ต่อมน้ำเหลืองซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้แผลอาจจะอักเสบและบวมโต ในระยะแรกผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการไข้ แผลคุดทะราดจะพบได้ทั่วร่างกาย มีตุ่มนูนและผิวหนังหนาขึ้น พบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากจนเดินหรือทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาส่วนใหญ่จะหายเองได้ในระยะแรก มีประมาณร้อยละ 10 ที่ไม่หายและเข้าสู่ระยะหลังของโรค มีการทำลายของผิวหนังและกระดูก ทำให้เกิดความพิการ โรคคุดทะราดทั้งระยะแรกและระยะหลังอาจหายเอง และอาจกลับเป็นใหม่ได้

การติดต่อ[แก้]

เชื้อโรคคุดทะราด จะพบอยู่ตามบาดแผลที่ผิวหนัง หรืออยู่ที่เยื่อบุช่องปากและจมูกติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำเหลือง น้ำหนองที่บาดแผลคุดทะราดโดยตรง หรือติดจากของใช้ที่แปดเปื้อนเชื้อหรืออาจติดโดยแมลงนำเชื้อโรคมาเข้าสู่ร่างกายทางรอยถลอกหรือบาดแผล ผู้ป่วยที่มีบาดแผลเป็น ๆ หาย ๆ จะแพร่เชื้ออยู่ได้นานหลายปี การป้องกันและควบคุมโรคทำได้โดยให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล มีการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การรักษาผู้ป่วยและผู้ที่สัมผัสโรค