ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระเบนค้างคาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
V.patipon (คุย | ส่วนร่วม)
มีการอัพเดทวิจัยใหม่ในปี 2010
V.patipon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
}}
}}
'''ปลากระเบนค้างคาว''',<ref>ทัศพล กระจ่างดารา. 2560. ''[https://drive.google.com/file/d/0B83_my-FPRvcWWQwYm1oZnEtTEk/edit ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง.] กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 331 หน้า.''</ref> หรือ '''ปลากระเบนนก, ปลากระเบนเนื้อดำ''', '''ปลากระเบนยี่สน'''หรือ'''ปลากระเบนนกจุดขาว''' ({{lang-en|spotted eagle ray}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Aetobatus Ocellatus}}<ref name=":0">W�ll�am T. Wh�ite, Peter R. Last, Gav�n J.P. Naylor, K�rsten Jensen & Jan�ne N. Ca�ra (2010). Descriptions of new
'''ปลากระเบนค้างคาว''',<ref>ทัศพล กระจ่างดารา. 2560. ''[https://drive.google.com/file/d/0B83_my-FPRvcWWQwYm1oZnEtTEk/edit ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง.] กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 331 หน้า.''</ref> หรือ '''ปลากระเบนนก, ปลากระเบนเนื้อดำ''', '''ปลากระเบนยี่สน'''หรือ'''ปลากระเบนนกจุดขาว''' ({{lang-en|spotted eagle ray}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Aetobatus Ocellatus}}<ref name=":0">White, W. T., Last, P. R., Naylor, G. J. P, Jensen, K. and Caira, J. N. 2010. Descriptions of new sharks and rays from Borneo. [https://www.cmar.csiro.au/docs/Descriptions-of-sharks-and-rays-from-Borneo-small.pdf "'''Clarification of ''Aetobatus ocellatus'' (Kuhl, 1823) as a valid species, and a comparison with ''Aetobatus narinari'' (Euphrasen, 1790) (Rajiformes: Myliobatidae)"''']</ref>) เป็น[[ปลากระเบน]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง อยู่ใน[[วงศ์ปลากระเบนนก]] (Myliobatidae)

sharks and rays from Borneo. [https://www.cmar.csiro.au/docs/Descriptions-of-sharks-and-rays-from-Borneo-small.pdf "'''Clarification of ''Aetobatus ocellatus'' (Kuhl, 1823) as a valid species, and a comparison with ''Aetobatus narinari'' (Euphrasen, 1790) (Rajiformes: Myliobatidae)"''']</ref>) เป็น[[ปลากระเบน]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง อยู่ใน[[วงศ์ปลากระเบนนก]] (Myliobatidae)


มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม<ref>[http://www.elasmodiver.com/spotted_eagle_ray.htm SPOTTED EAGLE RAY]</ref>
มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม<ref>[http://www.elasmodiver.com/spotted_eagle_ray.htm SPOTTED EAGLE RAY]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:43, 9 มีนาคม 2562

ปลากระเบนค้างคาว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียสตอนต้น-ปัจจุบัน[1]
รูปวาดลำตัวด้านบน
ลำตัวด้านข้าง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Myliobatiformes
วงศ์: Myliobatidae
สกุล: Aetobatus
สปีชีส์: A.  Ocellatus
ชื่อทวินาม
Aetobatus Ocellatus
(Kuhl, 1823)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Aetobatis latirostris
  • Aetobatis narinari
  • Aetomylus maculatus
  • Myliobatis eeltenkee
  • Myliobatis macroptera
  • Myliobatus punctatus
  • Raia quinqueaculeata
  • Raja narinari
  • Stoasodon narinari

ปลากระเบนค้างคาว,[3] หรือ ปลากระเบนนก, ปลากระเบนเนื้อดำ, ปลากระเบนยี่สนหรือปลากระเบนนกจุดขาว (อังกฤษ: spotted eagle ray; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aetobatus Ocellatus[4]) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae)

มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม[5]

หากินจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น หอย, กุ้ง, กั้ง, ปู บริเวณใต้พื้นน้ำเป็นอาหาร โดยใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหา บางครั้งอาจเข้ามาหากินถึงบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ บางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงหลายตัว และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 80 เมตร

ในปี ค.ศ. 2010 มีงานวิจัย[4]ว่าด้วยเรื่องการแบ่งชื่อสายพันธุ์ใหม่จากสายพันธุ์เดิม Aetobatus Narinari เนื่องจากมีในงานวิจับพบความแตกต่างอย่างชัดเจนของตัวอย่างที่พบในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก พบการกระจายพันธุ์ Aetobatus Narinari ในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก สายพันธุ์ Aetobatus Laticeps ในบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ Aetobatus Ocellatus ในบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย รวมถึงบริเวณ อ่าวไทย และ ทะเลอันดามัน ของประเทศไทย

ปลากระเบนค้างคาวออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ได้พัฒนาเป็นตัวในช่องท้องของปลาตัวเมีย เมื่อแรกเกิดลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดตัวมาด้วย

ปลากระเบนค้างคาวนั้น มักถูกล่าเป็นอาหารจากปลาฉลาม โดยเฉพาะปลาฉลามหัวค้อน[6] สำหรับความสัมพันธ์ต่อมนุษย์แล้ว นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ เพราะความสวยงามในสีสันและการว่ายน้ำ และยังนิยมใช้เนื้อเพื่อการบริโภคด้วยทั้งการบริโภคสดและเก็บรักษาเป็นปลาแห้ง และทำเป็นปลาหย็อง[7]

ณ ปัจจุบันกระเบนค้างคาวยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากความมีค่าใช้จ่ายที่สูงในการจัดการพื้นที่ จึงทำให้ยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ทดแทนกับปริมาณที่ลดลงในธรรมชาติได้

รูปภาพ

อ้างอิง

  1. Summers, Adam (2001). "Aetobatus narinari". Digital Morphology. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  2. แม่แบบ:IKyne, P.M., Dudgeon, C.L., Ishihara, H., Dudley, S.F.J. & White, W.T. 2016. Aetobatus ocellatus. The IUCN Red List of Threatened Species 2016: e.T42566169A42566212. http://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2016-1.RLTS.T42566169A42566212.en.
  3. ทัศพล กระจ่างดารา. 2560. ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง. กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 331 หน้า.
  4. 4.0 4.1 White, W. T., Last, P. R., Naylor, G. J. P, Jensen, K. and Caira, J. N. 2010. Descriptions of new sharks and rays from Borneo. "Clarification of Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823) as a valid species, and a comparison with Aetobatus narinari (Euphrasen, 1790) (Rajiformes: Myliobatidae)"
  5. SPOTTED EAGLE RAY
  6. Chapman, D.D. and Gruber, S.H. (May 2002). "A further observation of the prey-handling behavior of the great hammerhead shark, Sphyrna mokarran: predation upon the spotted eagle ray, Aetobatus narinari". Bulletin of Marine Science 70 (3): 947–952
  7. ปลาค้างคาวสนหยอง ของดีเมืองแม่กลอง

แหล่งข้อมูลอื่น